MyDoom ขึ้นแท่นอันดับหนึ่งในรายงาน 10 อันดับไวรัสอินเตอร์เน็ต และไวรัสหลอก เดือนมกราคม 2547

ข่าวเทคโนโลยี Wednesday February 4, 2004 11:13 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--4 ก.พ.--โทเทิลควอลิตี้ พีอาร์ (ประเทศไทย)
MyDoom ขึ้นแท่นอันดับหนึ่งในรายงาน 10 อันดับไวรัสอินเตอร์เน็ต และไวรัสหลอก ประจำเดือนมกราคม 2547VeriTest ชูโซโฟสสามารถอัพเดทรายชื่อไวรัสถี่ที่สุด และ สแกนหาไวรัสได้อย่างรวดเร็วที่สุด
โซโฟส (Sophos) ผู้นำทางการป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์ และสแปม ภายในองค์กรระดับโลก รายการสองอันดับใหม่ล่าสุดที่เข้ามาใหม่ อันได้แก่ มายดูม (MyDoom) และ หนอน Bagle ไวรัสสองตัวใหม่ที่ครองชาร์ต
1. W32/MyDoom-A (MyDoom worm) 25.1% เข้ามาใหม่
2. W32/Bagle-A (Bagle worm) 16.3% เข้ามาใหม่
3. W32/Sober-C (Sober variant) 9.9%
4. W32/Dumaru-A (Dumaru virus) 5.3%
5. W32/Mimail-J (Mimail variant) 3.1%
6. W32/Mimail-A (Mimail worm) 2.7%
7. W32/Mimail-K (Mimail variant) 2.6%
8. W32/Mimail-C (Mimail variant) 2.2%
9. W32/Mimail-I (Mimail variant) 1.0%
10.W32/Klez-H (Klez variant) 0.8% ครองชาร์ตนาน 24 เดือน
อื่นๆ 31.0%
มร. ชาลส์ คัสซิ่นส์ ผู้อำนวยการบริหารของบริษัทโซโฟส แอนตี้-ไวรัส เอเชีย กล่าวว่า “ไวรัสใหม่ทั้งสองตัวที่ติดอันดับต้นๆ ในชาร์ตเดือนมกราคมนี้ ถูกตรวจพบเป็นครั้งแรกในปลายเดือนมาราคม หนอนมายดูม (MyDoom) ซึ่งได้ปฏิบัติงานด้วยการโจมตีแบบ Denial of service บนเว็บไซด์ของ SCO และส่งออกอีเมลเป็นจำนวนมากทำให้อินบ็อกซ์ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเต็มไปด้วยอีเมลขยะ ซึ่งนับเป็นจำนวนถึงหนึ่งในสี่ของของรายงานที่ได้รับทั้งหมดถึงแม้ได้ปรากฎตัวเป็นครั้งแรกในวันที่ 26 มกราคมที่ผ่านมาก็ตาม”
“ส่วนหนอน Bagle กลายเป็นดาวตก เนื่องจากถูกสกัดได้ในครั้งแรกช่วงกลางเดือน และอยู่ในชาร์ตไม่นานนัก” มร. ชาลส์ คัสซิ่นส์ กล่าวเสริม “แต่หนอนไวรัสตัวนี้ได้ถูกเขียนขึ้นมา และออกแบบให้หยุดทำงานในวันที่ 28 มกราคมที่ผ่านมา”
ผลการวิเคราะห์โดย VeriTest
ในการวิเคราะห์เชิงความสามารถในการแข่งขันของซอฟท์แวร์ป้องกันไวรัสระดับองค์กรซึ่งจัดโดย VeriTest ส่วนหนึ่งของ Lionbridge Technologies (NASDAQ:LIOX) โดยผลิตภัณฑ์ โซโฟส แอนตี้-ไวรัส ได้แสดงประสิทธิภาพที่เหนือชั้นกว่าของคู่แข่งต่างๆ ในหลายๆ ด้านด้วยกัน ทั้งนี้รวมถึง การอัพเดทไวรัสที่สามารถทำได้ถี่ที่สุด สามารถทำการสแกนเครื่องได้เร็วที่สุด และไฟล์ที่รวบรวมรายชื่อของไวรัสต่างๆ ที่ใช้ในการสแกนเป็นขนาดที่เล็กที่สุด หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทดสอบ โปรดหาดูได้ที่ www.sophos.com/veritest
VeriTest ได้ทำการวิเคราะห์เชิงความสามารถในการแข่งขันอย่างละเอียดด้วยการทดสอบผลิตภัณฑ์โซลูชั่นแอนตี้-ไวรัส เวอร์ชั่น 3.75 เปรียบเทียบกับคู่แข่งขันอื่นๆ โดยเน้นใน 3 จุดสำคัญๆ ดังนี้ ความง่ายดายในการติดตั้งซอฟท์แวร์ ความแม่นยำในการสร้างตารางเวลาทำงาน รวมถึงจำนวนเวลาทั้งสิ้นที่ใช้ในการสแกนตามเวลาที่ได้ตั้งไว้ และระดับขั้นใช้ในการอัพเดทข้อมูลรายชื่อไวรัสต่างๆ
“ผลลัพธ์ที่ได้รับจากแหล่งวิเคราะห์อิสระแสดงให้เห็นถึงความสามารถของโซโฟสในด้านการพัฒนาซอฟท์แวร์ป้องกันไวรัสที่สามารถปกป้องไวรัสตัวฉกาจทั้งหลาย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญและเป็นที่ต้องการในธุรกิจต่างๆ” มร. คัสซิ่นส์ กล่าว “ผู้จัดการดูแลเครือข่ายคอมพิวเตอร์ต้องการซอฟท์แวร์ป้องกันไวรัสที่ง่ายต่อการจัดการ และสามารถติดตั้งได้อย่างรวดเร็ว มีความแม่นยำในด้านการตรวจค้นหาไวรัส และที่สำคัญอย่างยิ่ง ซอฟท์แวร์ต้องมีประสิทธิภาพในด้านการอัพเดทอย่างรวดเร็วทันเหตุการณ์ เพื่อป้องกันไวรัสตัวใหม่ๆ ที่อาจจะก่อความเสียหายให้แก่องค์กรและประสิทธิภาพของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในองค์กร จากการทดสอบนี้ ซอฟท์แวร์โซโฟส แอนตี้-ไวรัส สามารถตอบสนองความต้องการต่างๆ ของผู้ใช้ได้ดีกว่าซอฟท์แวร์ของบริษัทใหญ่อื่นๆ”
ผลิตภัณฑ์ใหม่ | Enterprise Manager Library
เพื่อสนองนโยบายของบริษัทฯ ในด้านการอำนวยความสะดวกแก่ลูกค้าในการอัพเดทอย่างรวดเร็ว โซโฟสได้เปิดเผยถึงเพิ่มพูนประสิทธิภาพของเครื่องมือป้องกันไวรัสแบบอัตโนมัติ ชื่อว่า Enterprise Manager (EM) Library ด้วยเครื่องมือตัวนี้ ลูกค้าของโซโฟสสามารถตั้งค่าการอัพเดทแบบอัตโนมัติให้แก่ซอฟท์แวร์ป้องกันไวรัสใหม่ล่าสุดครอบคลุมได้หลายๆ ระบบฐานปฏิบัติงาน ไม่ว่าจะเป็นระบบวินโดวส์ แม็ค เน็ตแวร์ ลีนุกซ์ และยูนิกซ์ ฟีเจอร์ด้านการใช้งานอื่นๆ เพิ่มเติม รวมถึง กลไกของการเตือนแบบโพรแอ็คทีฟ ซึ่งมีความสามารถในการรักษาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ให้ทันสมัยอยู่เสมอ อีกทั้งยังมีเงื่อนไขในการปฏิบัติงานให้เลือกใช้อีกด้วย
EM Library สามารถอำนวยความสะดวกให้ผู้จัดการเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในด้านการเลือกเวลา และความถี่ของตา รางการอัพเดทของซอฟท์แวร์การป้องกันไวรัสต่างๆ ในหลายๆ ระบบฐานปฏิบัติงานในเครือข่ายต่างๆ ขององค์กร EM Library สามารถรับการอัพเดทได้สม่ำเสมอทุกๆ ชั่วโมง เพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้ใช้ว่า การป้องกันไวรัสตัวใหม่ล่าสุดสามารถทำได้ด้วยการดาวน์โหลดอย่างอัตโนมัติ และติดตั้งได้อย่างง่ายดายโดยแทบที่จะไม่มีผลกระทบต่อทรัพยากรของระบบแต่อย่างไร การเตือนภัยแบบโพรแอ็คทีฟของ EM Library นั้น สามารถรับได้ผ่านทางอีเมล การส่งข้อความระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ในองค์กร หรือ ไฟล์บันทึกเหตุการณ์ของระบบ กลไกดังกล่าวสามารถสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้จัดการดูแลเครือข่ายคอมฯ ในด้านการรับข่าวสารที่ทันต่อเหตุการณ์เกี่ยวกับประสิทธิภาพของระบบ ซึ่งผู้ดูแลสามารถตรวจตราเกี่ยวกับการดาวน์โหลด และการติดตั้งว่าเป็นไปอย่างเรียบง่ายโดยใช้ทรัพยากรของระบบอย่างน้อยที่สุด นอกเหนือจากนี้การอัพเดทใหม่ๆ ยังได้ถูกบันทึกเพื่อช่วยให้การจัดการดูแลเครือข่ายคอมฯ เป็นไปอย่างสะดวกง่ายดาย
โซโฟสทำการวิเคราะห์ และปกป้องไวรัสใหม่ๆ 608 ตัวในเดือนมกราคม เป็นจำนวนไวรัสที่ซอฟท์แวร์ของโซโฟสสามารถทำการปกป้องทั้งสิ้น 87,419 ตัว
โซโฟสได้จัดเตรียมบริการอินฟอร์เมชั่น ฟีด ซึ่งเว็บไซต์ขององค์กรสามารถใช้บริการนี้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้นเพื่อรับข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับไวรัสคอมพิวเตอร์ และไวรัสหลอกล่าสุด รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถหาดูได้ที่ www.sophos.com/virusinfo/infofeed/
ตารางกราฟฟิคของไวรัสคอมพิวเตอร์ที่ติดอันดับท้อปเท็น สามารถหาดูได้ที่:
www.sophos.com/pressoffice/imgallery/topten
ข้อมูลเกี่ยวกับการปกป้อง และใช้คอมพิวเตอร์อย่างปลอดภัย รวมถึงการป้องกันไวรัสหลอก สามารถหาดูได้ที่: www.sophos.com/safecomputing/
หมายเหตุ: โปรแกรมป้องกันไวรัส ฟรีสำหรับ นักข่าว สามารถหาดูรายละเอียดได้ที่ http://www.sophos.com/pressprotection
ข้อมูลเกี่ยวกับ Sophos:
โซโฟส เป็นบริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์แอนตี้-ไวรัส และแอนตี้สแปมระดับโลก มีสำนักงานใหญ่ ณ ประเทศอังกฤษ โปรแกรมต่างๆ ของโซโฟส ได้ทำการปกป้องธุรกิจและองค์กรมากมายให้พ้นจากไวรัส และสแปม ไม่ว่าจะเป็นองค์กรเล็กๆ จนถึงระดับรัฐบาล และองค์กรที่มีเครือข่ายระดับโลก โซโฟส ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรมถึงความสามารถสนองความต้องการของลูกค้า และปกป้ององค์กรของลูกค้าให้พ้นจากการคุกคามของไวรัสคอมพิวเตอร์ได้อย่างดีเยี่ยม โดยผลิตภัณฑ์แอนตี้-ไวรัส ได้ถูกใช้อย่างแพร่หลาย รวมถึงการให้คำปรึกษาด้านเทคนิคแก่ลูกค้า ในกว่า 150 ประเทศทั่วโลก
ผู้สนใจสามารถหาดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโซโฟส และสินค้าต่าง ๆ ได้ที่ http://www.sophos.com
สำหรับผู้ที่สนใจ กรุณาสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
มร.ชาลส์ คัสซิ่นส์ หรือ คุณสุรัตน์ ตัณทนาวิวัฒน์ / คุณบุณฑรา วรมงคลชัย
ผู้อำนวยการบริหาร บริษัท โทเทิลควอลิตี้ พีอาร์ (ประเทศไทย) จำกัด
Sophos Anti-Virus Asia Pte Ltd, Singapore
โทร.0-2260-5820
โทรสาร.0-2260-5847 ถึง 8
Email: tqprthai@ksc9.th.com
Tel: +65 429 0060
Email: charles.cousins@sophos.com Web Site: www.sophos.com --จบ--
-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ