กรุงเทพฯ--2 ธ.ค.--ยูโอบี
คุณวนา พูลผล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กล่าวว่า “ต้องขอขอบคุณนักลงทุนทุกท่านที่ได้ให้ความไว้วางใจและเลือกลงทุนในกองทุนเปิดยูโอบี สมาร์ท โกลบอล บอนด์ ฟันด์ (UOBSGB) ซึ่งเน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน Templeton Global Bond Fund — I class (กองทุนหลัก) สำหรับท่านที่พลาดโอกาส บลจ.ยูโอบี จะเปิดเสนอขายกองทุนนี้อีกครั้งตั้งแต่วันที่ 6 ธันวาคม 2554 เป็นต้นไป”
ทาง บลจ.ยูโอบี (ไทย) จำกัด ยังคงมีมุมมองที่ดีต่อการลงทุนในตลาดตราสารหนี้ทั่วโลก เนื่องจากภาวะตลาดในปัจจุบันที่มีความผันผวนจากผลกระทบ ทั้งปัจจัยภายนอกที่นักลงทุนมีความกังวลต่อสถานการณ์หนี้ในยุโรปที่อาจจะเผชิญกับอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอลงในช่วง 2 ปีข้างหน้า อีกทั้งมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อการลดลงของปริมาณการค้าและปริมาณการลงทุน ในส่วนของปัจจัยภายในประเทศ ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วมส่งผลให้ธนาคารแห่งประเทศไทยปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ
ฉะนั้น การลงทุนตลาดตราสารหนี้ทั่วโลก นอกจากจะเป็นการแสวงหาโอกาสสร้างผลตอบแทนที่มีความผันผวนน้อยกว่าตลาดหุ้นแล้ว ยังเป็นการกระจายความเสี่ยงในพอร์ตการลงทุนของท่านได้อีกด้วย และความน่าสนใจของกองทุนเปิดยูโอบี สมาร์ท โกลบอล บอนด์ ฟันด์ (UOBSGB) คือ กลยุทธ์การบริหารนั้นใช้หลักการ 3C คือ
Curve — ผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ย (Interest Rate)Credit — โอกาสในการทำกำไรจากราคาซื้อขาย (Spread)Currency - โอกาสในการทำกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน
รวมทั้งกองทุนนี้มีนโยบายการป้องกันความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยนไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของมูลค่าเงินลงทุนในต่างประเทศ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน เนื่องจากสกุลเงินของกองทุนหลักเป็นดอลล่าร์สหรัฐฯ
คุณวนาได้กล่าวเพิ่มเติม “จากหลักการ 3C ดังกล่าว ทำให้กองทุนหลักสามารถสร้างอัตราผลตอบแทนย้อนหลังตั้งแต่ต้นปีถึง 30 กันยายน 2554 ที่ 7.07% เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่ -3.83%* ซึ่งเป็นอัตราผลตอบแทนที่น่าพอใจ และเนื่องจากเป็นสินทรัพย์ประเภทตราสารหนี้ การลงทุนในระยะยาวจะส่งผลให้ได้รับโอกาสสร้างผลตอบแทนและยังช่วยลดความผันผวนได้อีกด้วย”
ท่านต้องการลงทุนเพิ่มเติมหรือสอบถามข้อมูลของ กองทุนเปิด ยูโอบี สมาร์ท โกลบอล บอนด์ ฟันด์ (UOBSGB) สามารถติดต่อได้ที่ ธนาคาร ยูโอบี ทุกสาขา ผู้สนับสนุนการขายหรือรับซื้อคืนที่บลจ. แต่งตั้ง และฝ่ายงานบริการผู้ถือหน่วย บลจ.ยูโอบี (ไทย) โทร. 0-2676-7200
รายละเอียดกองทุนเปิด ยูโอบี สมาร์ท โกลบอล บอนด์ ฟันด์ (UOBSGB)
กองทุนรวมหน่วยลงทุนที่ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศเพียงกองทุนเดียว
เป็นกองทุนเปิด ไม่กำหนดอายุโครงการ / ไม่จ่ายเงินปันผล / ระดับความเสี่ยง 4
มูลค่าโครงการ 2,000 ล้านบาท (Green Shoe 15%)
เงินลงทุนขั้นต่ำ 2,000 บาท ในการสั่งซื้อครั้งแรก และ 1 บาทขึ้นไปในการสั่งซื้อครั้งถัดไป
เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนหลักคือ Templeton Global Bond Fund (โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่ต่ำกว่า 80% ของ NAV)
ส่วนที่เหลือจะลงทุนในตราสารหนี้และเงินฝากทั้งในและต่างประเทศ
โดยปกติ กองทุนจะป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของมูลค่าเงินลงทุนในต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ในอนาคตกองทุนอาจจะทำหรือไม่ทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าเพื่อป้องกันความเสี่ยงดังกล่าวก็ได้ โดยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
เงื่อนไขการเลิกกองทุน
กรณีสัดส่วนการลงทุนใน Non-investment grade ของ UOBSGB เกินกว่าเกณฑ์ของสำนักงาน กลต. และ บลจ. พิจารณาแล้วเห็นว่าการปรับลดสัดส่วนการลงทุนในกองทุนหลักไม่สามารถแก้ปัญหาได้ และ/หรือไม่เป็นผลประโยชน์กับผู้ถือหน่วย บริษัทจัดการขอสงวนสิทธิในการเปลี่ยนแปลงกองทุนหลัก หรือเลิกกองทุน
กองทุนหลัก Templeton Global Bond Fund
นโยบายการลงทุน : มีวัตถุประสงค?ในการลงทุนเพื่อโอกาสสร?างผลตอบแทนรวมสูงสุดจาก 3 แหล่ง คือ รายได?ดอกเบี้ย การเพิ่มขึ้นของเงินลงทุน และกําไรจากอัตราแลกเปลี่ยน กองทุนมุ?งเน?นการลงทุนในตราสารหนี้ หรือภาระหนี้ที่ออกโดยรัฐบาลหรือภาครัฐของประเทศต?าง ๆ ทั่วโลก ทั้งนี้ กองทุนอาจมีการลงทุนในตราสารหนี้ที่ออกโดยภาคเอกชน ภาระหนี้ที่ออกโดยองค?กรระหว่างประเทศ (Supranational) หรือใช?ตราสารอนุพันธ?เพื่อป?องกันความเสี่ยงหรือเพื่อการลงทุนด้วย
ประเภท : กองทุนเป?ดตราสารหนี้
จดทะเบียนในประเทศ : ลักเซมเบิร์ก
ผู้จัดการกองทุน : Franklin Advisers, Inc. โดย Michael Hasenstab
วันก่อตั้งกองทุน : 28 กุมภาพันธ์ 2534
สกุลเงิน : ดอลลาร์สหรัฐ (I Class)
เกณฑ์วัดผลการดำเนินงาน : JP Morgan Global Government Bond Index
*อัตราผลตอบแทนย้อนหลังต่อปี
แหล่งที่มา : Franklin Templeton Investments
คำเตือน : ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน กองทุนนี้มีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนในต่างประเทศ ถึงแม้ว่ากองทุนอาจป้องกันความเสี่ยงตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุนรวม แต่เนื่องจากกองทุนไม่ได้ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนทั้งจำนวนผู้ลงทุนอาจจะขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้