เทศกาลการศึกษา ไทย-อังกฤษ ครั้งที่ 4 (EdFest 04) เป็นศูนย์กลางการสนทนาเพื่อพัฒนาการศึกษาเพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการแข่งขันทางเศรษฐกิจ

ข่าวทั่วไป Wednesday February 11, 2004 10:29 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--11 ก.พ.--โทเทิล ควอลิตี้ พีอาร์ (ประเทศไทย)
บริติช เคานซิล ประเทศไทย นำเสนองานเทศกาลด้านการศึกษาซึ่งเป็นงานใหญ่ยิ่งประจำปี และได้ถูกจัดขึ้นเป็นปีที่ 4 โดยในปีนี้งานเทศกาลดังกล่าวจะถูกจัดขึ้นที่ กรุงเทพ เชียงใหม่ และหาดใหญ่ ตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม ถึง 12 กุมภาพันธ์ 2547 โดยจะเน้นที่ 4 หัวข้อหลักรวมถึงหัวข้อด้านการศึกษาเพื่อการแข่งขันทางเศรษฐกิจ
งานเทศกาล EdFest04 นั้นเป็นการมาพบกันระหว่างผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาจากอังกฤษ ประเทศไทย และประเทศอื่นๆ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ความคิดเห็น ในหัวข้อต่างๆ ที่สำคัญต่อภาคการศึกษาในศตวรรษที่ 21 นี้ ทั้งประเทศอังกฤษและประเทศไทยจะมาแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในหลายๆระดับครอบคลุมระดับการวางนโยบาย ของรัฐบาลในระดับการจัดการของสถาบันการศึกษา ครูอาจารย์ นักเรียนนิสิตนักศึกษาและภาคเอกชน
งานเทศกาลการศึกษาไทย-อังกฤษครั้งนี้จะเน้นในเรื่องการปฏิรูปและการพัฒนาด้านการศึกษาโดยมีหัวข้อหลัก ๆ 4 หัวข้อ คือ
- ด้านความเป็นผู้นำ
- ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร หรือ ไอซีที
- ด้านความสร้างสรรค์ในการเรียน การสอน
- ด้านการศึกษาเพื่อการแข่งขันทางเศรษฐกิจ
การศึกษาเพื่อเพิ่มศักายภาพด้านการแข่งขันทางเศรษฐกิจ
การมีแรงงานที่มีทักษะความชำนาญสูงจะส่งผลทำให้มีผลิตภาพการผลิตที่สูงขึ้นซึ่งช่วยเสริมความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ดังนั้นการลงทุนในด้านการศึกษา และส่งเสริมด้านการเพิ่มทักษะความชำนาญ จึงเป็นแกนหลักซึ่งสำคัญมากในการแข่งขันระดับประเทศ เทศกาลการศึกษาดังกล่าว มุ่งเน้นในข้อคิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีพ การพัฒนาเยาวชนให้เป็นนักเรียนที่รู้จักไตร่ตรอง มีความคิดสร้างสรรค์ และมีความเป็นอิสระเป็นตัวของตัวเอง
จากผลการวิจัยในสหราชอาณาจักร แสดงให้เห็นว่าประชากรที่ด้อยความรู้ ความสามารถในการอ่านและการคำนวณ มีความเสี่ยงต่อการตกงานมากกว่าถึง 5 เท่า และประชากรที่มีรายได้ต่ำ วุฒิการศึกษาไม่สูง หรือทำงานในรูปแบบว่าจ้างชั่วคราวจะเป็นกลุ่มประชากรที่ความเป็นไปได้ในการรับการอบรมในสถานที่ทำงานจะมีอยู่น้อยมาก
ประชากรส่วนใหญ่ที่ทำงานอยู่ในปัจจุบัน จะยังคงทำงานอยู่จนกระทั่งในปีพ.ศ. 2563 แต่พวกเขาเหล่านั้นจะทำงานได้อย่างไรหากเขาเหล่านั้นมีเพียงทักษะที่จำกัดที่มีอยู่ในขณะนี้กับสภาวะเศรษฐกิจที่ต้องใช้ความรู้ในการทำงานที่เพิ่มมากขึ้น ระบบการศึกษาที่มีการพัฒนาอยู่เสมอ ในทุกระดับตั้งแต่ในระดับประถมศึกษา ผนวกกับการเสริมสร้างทักษะอยู่สม่ำเสมอจะฐานสำคัญของความมั่นคง และการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจอย่างแท้จริง
แล้วภาคการศึกษาและฝ่ายพัฒนาแรงงานจะขานรับอย่างไรกับความต้องการนี้ สภาวะแวดล้อมด้านการศึกษาอาจจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงจากวิธีดั้งเดิม ไปสู่รูปแบบตามอุปสงค์ “demand-led” กล่าวคือความต้องการของผู้ว่าจ้างและผู้รับจ้างจะเป็นแกนหลักที่ใช้ในการตัดสินข้อกำหนดในการเรียนการสอน ถ้าเป็นเช่นนั้นความต้องการต่างๆ อาจจะเปลี่ยนไปตามระดับภูมิภาค ซึ่งอาจจำเป็นจะต้องมีความยืดหยุ่นในทักษะการสอนเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งการเสริมความสัมพันธ์ระหว่างผู้ว่าจ้างและผู้ให้บริการด้านการศึกษาที่มีมาตรฐานสูงให้มีความแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น
ในการที่ประเทศหนึ่งๆ จะมีความสามารถในการแข่งขันสูงได้นั้น ทักษะการเรียนการสอน และการพัฒนากลุ่มคนทำงานนั้น จำต้องเป็นแกนสำคัญในจุดมุ่งหมายของรัฐบาลในด้านการส่งเสริมเศรษฐกิจ ด้านบริการสาธารณชน การว่าจ้างแรงงาน การส่งเสริมธุรกิจ และโอกาสส่วนบุคคล
ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าผู้ว่าจ้างส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการอบรมพนักงานที่มีทักษะพื้นฐานที่ได้รับจากสถาบันการศึกษา แต่ค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในการอนุญาตให้ลางานเพื่อไปเข้าฝึกอบรมนั้นเป็นปัจจัยที่หยุดยั้งการอบรม โดยเฉพาะสำหรับองค์กรขนาดเล็ก แล้วทางรัฐบาลควรพิจารณาการทดแทนค่าใช้จ่ายส่วนนี้หรือไม่อย่างไร
หนทางใดจะเป็นหนทางที่ดีที่สุดในการเพิ่มบทบาทของมหาวิทยาลัย และวิทยาลัยต่างๆ ที่ได้หันมาร่วมมือกับภาคธุรกิจส่วนตัวเพิ่มมากขึ้นด้วยการก่อตั้งบริษัทลูกเพื่อหาผลกำไรจากโครงการการวิจัยต่างๆ
ประเด็นต่างๆ ดังที่กล่าวมา เป็นทั้งโอกาส และสร้างความน่าวิตกกังวลแก่สังคม โดยวิธีแก้ปัญหาในมีอยู่ในทุกระดับการศึกษา นับตั้งแต่จากในห้องเรียน ไปจนถึงที่ทำงาน และรัฐบาล เทศกาลการศึกษาไทย - อังกฤษ เป็นแหล่งศูนย์กลางสำหรับตัวแทนจากรัฐบาลของประเทศไทยและของสหราชอาณาจักร ผู้มีอาชีพด้านการศึกษา รวมไปถึงนักธุรกิจในภาคเอกชนมากมาย เพื่อถกปัญหาต่างๆ ดังกล่าว รวมถึงแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ในการพัฒนาการศึกษาให้ดีขึ้นเพื่อการแข่งขันในระดับประเทศที่ดีกว่า
บริติช เคานซิล
เป็นองค์กรระหว่างประเทศของประเทศอังกฤษ ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษา และความร่วมมือทางศิลปะวัฒนธรรม โดยเป็นองค์กรอิสระในพระบรมราชินูปถัมภ์ บริติช เคานซิล จะทำงานใกล้ชิดกับกระทรวงการต่างประเทศและสถานทูตอังกฤษใน 110 ประเทศที่เราดำเนินการอยู่ในประเทศไทย บริติช เคานซิล ทำงานเพื่อสร้างความร่วมมือระยะยาวระหว่างประเทศไทยและอังกฤษโดยนำเสนอความเป็นอังกฤษร่วมสมัย ในรูปแบบความคิดสร้างสรรค์ การศึกษา และ ความสำเร็จล่าสุด
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมตารางการสัมมนาและเสวนากรุณาติดต่อ
บริติช เคานซิล ประเทศไทย โทเทิล ควอลิตี้ พีอาร์ (ประเทศไทย) จำกัด
อรุณี อัชชะกุลวิสุทธิ์ / ณัฏฐา มหัทธนา เมธาวรินทร์ มณีกุลพันธ์ / สุรัตน์ ตัณทนาวิวัฒน์
โทรศัพท์ 0 2652 5480-9 โทรศัพท์ 0 2260 5820
โทรสาร 0 2253 5312 โทรสาร 0 2260 5847-8
อีเมล: arunee.achakulwisut@britishcouncil.or.th อีเมล: tqprthai@ksc9.th.com
อีเมล: nuttaa.mahattana@britishcouncil.or.th
เว็บไซต์: www.britishcouncil.or.th--จบ--
-นห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ