สรุปเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ของอินเทล

ข่าวเทคโนโลยี Wednesday December 21, 2011 08:48 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--21 ธ.ค.--คาร์ล บายร์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์ 1) พลังงานเริ่มทวีความสำคัญมากขึ้น อินเทล ตระหนักถึงความสำคัญของการประหยัดพลังงานและมุ่งมั่นที่จะลดการใช้พลังงานในผลิตภัณฑ์ต่างๆ มาตลอด อินเทล คาดว่าสถาปัตยกรรมไมโครอาคิเทคเจอร์รุ่นต่อไปที่อินเทลเตรียมเปิดตัวในปี 2556 โดยใช้ชื่อรหัสว่า “แฮสเวลล์” (Haswell) จะช่วยลดการใช้พลังงานมากกว่าเทคโนโลยีปัจจุบันได้มากกว่า 20 เท่าในช่วงที่เครื่องคอมพิวเตอร์เปิดไว้แต่ไม่ได้ใช้งาน “แฮสเวล” เป็นชิปที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีขนาด 22 นาโนเมตร โดยใช้ทรานซิสเตอร์แบบ Tri-Gate 3 มิติ และจะเป็นหัวใจสำคัญของอัลตร้าบุ๊ก? รวมถึงแพลตฟอร์มพีซีรุ่นอื่นๆ ต่อไป โดยจะทำให้อัลตร้าบุ๊ก? สามารถสแตนด์บายการใช้งานแบตเตอรี่ได้นานกว่า 10 วัน 2) การเติบโตของอุปกรณ์เพื่อการประมวลผล เมื่ออุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตมีจำนวนเพิ่มขึ้น อุปกรณ์ทุกชนิดที่เราใช้กันอยู่ต่างก็มีวิวัฒนาการมาจากอุปกรณ์ที่ใช้เพียงเพื่อการสื่อสาร (static systems) มาเป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่ต้องใช้พลังจากไมโครโปรเซสเซอร์ โทรศัพท์มือถือซึ่งเดิมเคยเป็นเพียงแค่อุปกรณ์สื่อสาร ปัจจุบันกลายเป็นสมาร์ทโฟนที่เราใช้เพื่อเข้าอินเทอร์เน็ต โหลดเพลงมาฟัง และดูหนัง สำหรับอินเทลแล้ว นอกจากจะเป็นผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมสำหรับคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นตลาดที่มียอดจำหน่ายพีซีมากถึง 1 ล้านเครื่องต่อวันแล้ว อินเทลยังเป็นผู้นำนวัตกรรมด้านการประมวลผลสำหรับอุปกรณ์อัจฉริยะมากมาย เช่น อุปกรณ์เอ็มเบ็ดเด็ด แท็บเบล็ต เน็ตบุ๊ก และสมาร์ทโฟน เป็นต้น และยิ่งอุปกรณ์เพื่อการประมวลผลเติบโตขึ้นเท่าไร ระบบรักษาความปลอดภัยก็จะทวีความสำคัญมากขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน - ระบบรักษาความปลอดภัย: โซลูชั่นที่ใช้เพื่อรักษาความปลอดภัยสำหรับพีซีเพียงอย่างเดียวในปัจจุบัน เริ่มไม่เพียงพออีกต่อไปแล้วสำหรับอนาคต เนื่องจากข้อมูลที่ถูกส่งผ่านสมาร์ทโฟน แท็บเบล็ต หรือแม้แต่อุปกรณ์ภายในรถยนต์จะเริ่มมีมากขึ้น จากผลสำรวจพบว่ามัลแวร์ที่โจมตีสมาร์ทโฟนและแท็บเบล็ตมีจำนวนเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 250[1] ทำให้โซลูชั่นในอนาคตจำเป็นต้องรองรับอุปกรณ์ได้หลากหลายชนิด และต้องมีฟุตพรินท์ของหน่วยความจำที่เล็กลงสำหรับอุปกรณ์โมบายล์ รวมถึงความสามารถในการเชื่อมต่อได้ตลอดเวลา อินเทลได้ร่วมมือกับแมคอาฟี พัฒนาโซลูชั่นสำหรับฮารด์แวร์และซอฟต์แวร์ที่ต่อยอดคุณสมบัติที่แมคอาฟีกำลังพัฒนาเพื่อใช้ในอุปกรณ์โมบายล์ยุคใหม่ ผลิตภัณฑ์ตัวแรกที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือดังกล่าว คือ แพลตฟอร์มเทคโนโลยี McAfee DeepSAFE ที่ดึงความสามารถระดับฮารด์แวร์ใน อินเทล? คอร์ ไอ3 ไอ5 และ ไอ7 โปรเซสเซอร์ มาใช้ได้ - เอ็มเบ็ดเด็ด: ไอดีซี เปิดเผยถึงการเปลี่ยนแปลงของตลาดเอ็มเบ็ดเด็ดจากเดิมที่นิยมอุปกรณ์ชนิด fixed function และ isolated embedded systems มาเป็นอุปกรณ์กลุ่มใหม่ที่มีระบบเชื่อมต่ออัจฉริยะ จากรายงานของไอดีซีระบุว่า[2] ตลาดผลิตภัณฑ์ที่ใช้ระบบอัจฉริยะมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วโดยมียอดขายไปแล้วกว่า 1,800 ล้านชิ้น และสามารถสร้างรายได้กว่า 1 แสนล้านบาทในปัจจุบัน อินเทลได้ผลักดันการผลัดเปลี่ยนเทคโนโลยีผ่านตัวผลิตภัณฑ์และเทคโนโลยีใหม่ๆ นับตั้งแต่ ดาต้าเซ็นเตอร์ สตอเรจ และธุรกิจอัจฉริยะ เป็นต้น การเชื่อมต่อ ระบบรักษาความปลอดภัย และการบริหารจัดการ เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญสำหรับแพลตฟอร์มที่พร้อมให้บริการซึ่งใช้มากในระบบอัจฉริยะสำหรับตลาดอุปกรณ์สื่อสาร เฮลธ์แคร์ และคมนาคม - แท็บเบล็ต และเน็ตบุ๊ก: อินเทล อะตอม โปรเซสเซอร์ Z670 ซึ่งเดิมใช้ชื่อรหัสว่า “โอ๊คเทรล” (Oak Trail) เป็นโปรเซสเซอร์ที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้กับแท็บเบล็ต ด้วยคุณสมบัติเด่นคือ ใช้พลังงานน้อยลง ความร้อนน้อยลง ใช้กับระบบปฏิบัติการได้หลายชนิด รวมถึงแอนดรอยด์* ของกูเกิล และวินโดวส์*ของไมโครซอฟท์ ส่วนแพลตฟอร์มรุ่นถัดไปสำหรับเน็ตบุ๊ก คือ อินเทล อะตอม ซึ่งมีชื่อรหัสว่า “ซีดาร์ เทรล” (Cedar Trail) ซึ่งเป็นโซลูชั่นทางเลือกสำหรับเน็ตบุ๊กเจนเนอเรชั่นถัดไปที่มีเครื่องเดินเงียบ เย็น ไม่ต้องใช้พัดลม ตัวเครื่องบางเบาและทันสมัย รวมถึงเดสก์ท้อปสำหรับผู้ใช้เริ่มต้น และอุปกรณ์ที่มีดีไซน์แบบออล-อิน-วัน นับตั้งแต่ปี 2551 จนถึงปัจจุบัน อินเทลได้จัดส่งโปรเซสเซอร์สำหรับเน็ตบุ๊กให้แก่ผู้ผลิตไปแล้วมากกว่า 100 ล้านตัว - สมาร์ทโฟน: อินเทลมีพัฒนาการที่โดดเด่นสำหรับผลิตภัณฑ์ในกลุ่มโมบายล์ผ่านเทคโนโลยีซิลิกอน ซอฟต์แวร์ และระบบเชื่อมต่อ นอกจากนี้ อินเทลและกูเกิลยังได้ทำงานร่วมกันเพื่อเตรียมใช้ประโยชน์จากการเปิดตัวของแพลตฟอร์มแอนดรอยด์?อย่างเต็มที่เพื่อใช้งานร่วมกับชิปอินเทลในตระกูลของอะตอม โปรเซสเซอร์ ซึ่งกินไฟต่ำ ความร่วมมือดังกล่าวเป็นไปเพื่อผลักดันให้สมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ๆ ใช้เทคโนโลยีอินเทลและทำงานบนแพลตฟอร์มแอนดรอยด์ จากทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดระหว่างอินเทลและลูกค้าเพื่อพัฒนาโทรศัพท์มือถือทีใช้สถาปัตยกรรมอินเทล ทำให้ “เมดฟิลด์” (Medfield) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่เพิ่มประสิทธิภาพจากการใช้งานของสถาปัตยกรรมอินเทล x86 ไปใช้กับโซลูชั่นที่กินไฟต่ำสำหรับตลาดสมาร์ทโฟน เข้าสู่กระบวนการผลิตได้ในปีนี้ และเตรียมที่จะเปิดตัวดีไซน์แรกในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2555 3) ประดิษฐกรรมใหม่สำหรับทรานซิสเตอร์: อินเทล ทรานซิสเตอร์ Tri-Gate 3 มิติ หลังจากประดิษฐ์ทรานซิสเตอร์จากซิลิกอนเมื่อ 50 ปีก่อน นับเป็นครั้งแรกที่อินเทลสามารถผลิตทรานซิสเตอร์โดยใช้โครงสร้างสามมิติ และสามารถผลิตได้ในปริมาณมากเพื่อป้อนสู่ตลาด ในเดือนพฤษภาคม 2554 อินเทลได้เปิดเผยถึงนวัตกรรมอันล้ำสมัย คือ ทรานซิสเตอร์ Tri-Gate 3 มิติ ซึ่งช่วยตอกย้ำถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เติบโตได้อย่างยั่งยืน และพิสูจน์ว่า “กฎของมัวร์” ยังคงเป็นจริงต่อไป ทรานซิสเตอร์ Tri-Gate 3 มิติ เป็นการผสมผสานกันอย่างลงตัวของประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นและอัตราการใช้พลังงานที่ลดลง ซึ่งคาดว่าจะช่วยผลักดันให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ สำหรับอุปกรณ์ในอนาคตที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 22 นาโนเมตร นับตั้งแต่อุปกรณ์มือถือขนาดเล็กที่สุด ไปจนถึงเซิร์ฟเวอร์ประสิทธิภาพสูงที่ใช้เทคโนโลยีคลาวด์ สถาปัตยกรรมไมโครอาคิเทคเจอร์รุ่นแรกที่จะใช้ประโยชน์จากทรานซิสเตอร์ที่ล้ำสมัยนี้ คือ อินเทล? คอร์ โปรเซสเซอร์ เจนเนอร์เรชั่น 3 ที่มีชื่อรหัสว่า “ไอวี่ บริดจ์” (Ivy Bridge) ซึ่งจะเป็นขุมพลังให้กับอัลตร้าบุ๊ก? รุ่นถัดไป รวมถึงพีซีทั่วโลก โดยมีกำหนดเปิดตัวภายในช่วงครึ่งแรกของปี 2555 4) อัลตร้าบุ๊ก?The Next Big Thing? ในโลกของอุปกรณ์โมบายล์ ความบาง คือสิ่งที่มาแรงที่สุด เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา อินเทลได้ แนะนำอุปกรณ์กลุ่มใหม่ซึ่งมีชื่อว่า อัลตร้าบุ๊ก? ซึ่งสร้างความตื่นเต้นให้กับวงการเทคโนโลยีถึง อนาคตของโมบายล์คอมพิวติ้ง โดยอินเทลคาดว่า อุปกรณ์อัลตร้าบุ๊กจะเข้ามาเปลี่ยนแปลงโมบายล์คอมพิวตื้ง เช่นเดียวกับที่ อินเทล เซนทริโน โมบายล์ เทคโนโลยี เคยสร้างความนิยมให้ให้กับแล็ปท้อปที่รองรับสัญญาณ WIFI ได้มาแล้ว อัลตร้าบุ๊กแบ่งพัฒนาการออกเป็น 3 ระยะในช่วงเวลา 3 ปี โดยในแต่ละระยะจะมีการเพิ่มคุณสมบัติพิเศษ เช่น ระบบสัมผัสมือ อายุการใช้งานแบตเตอรรี่ที่ยาวนานขึ้น พร้อมดีไซน์ที่บางขึ้น เพื่อนำเสนอประสบการณ์ในการประมวลผลที่สมบูรณ์และตอบสนองความต้องการได้ดีที่สุด ระบบของอัตร้าบุ๊กรุ่นแรกจะเน้นการตอบสนองที่รวดเร็วและดีไซน์ที่บางเฉียบ ซึ่งมาพร้อมกับอายุการใช้งานแบตเตอรี่ที่ยาวนานขึ้น พ่วงด้วยคุณสมบัติด้านการรักษาความปลอดภัยที่ดีกว่าเดิม โดยมีราคาที่หลากหลายและต่ำกว่า 1,000 เหรียญสหรัฐ เอเซอร์ กรุ๊ป* เอซุสเทค* เลอโนโว กรุ๊ป* และ โตชิบา คอร์ป* เป็น 4 บริษัทแรกที่เปิดตัวและจัดส่ง อัลตร้าบุ๊กออกสู่ตลาดแล้วในปีนี้ และคาดว่าอีกหลายบริษัทจะทยอยเปิดตัวอัลตร้าบุ๊กในปี 2555 5) ข้อมูลขนาดใหญ่ + คลาวด์ คอมพิวติ้ง = ธุรกิจขนาดใหญ่ ในขณะที่คลาวด์คอมพิวติ้งกำลังได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีเมื่อปีที่แล้ว ในปี 2554 ถือเป็นปีที่คลาวด์คอมพิวติ้ง และ “ข้อมูลขนาดใหญ่” กลายเป็น ธุรกิจขนาดใหญ่ จากผลสำรวจของซิสโก้[3], ข้อมูลจำนวน 345 quintillion ไบต์ ได้มีการสังเคราะห์ผ่านเว็บไซต์ต่างๆ ในปี 2553 มากกว่าปีอื่นๆ รวมกัน มีการคาดการณ์ว่าปรากฏการณ์การแพร่กระจายข้อมูลจำนวนมากจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้บริษัททุกแห่งและผู้บริโภคทั่วไปต้องเตรียมหาวิธีการในการเก็บรักษา จัดการ และเข้าถึงข้อมูลจำนวนมหาศาลเหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพ 6) เอเชิย คือ ฐานการดำเนินธุรกิจสำหรับกระบวนการผลิตและออกแบบของอินเทลทั่วโลก เอเชีย คือ ฐานการดำเนินธุรกิจของอินเทลในด้านการออกแบบและการผลิตที่สำคัญ โดยมีพนักงานกว่า 18,000 คนที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีอันล้ำสมัย เพื่อรองรับการผลิตในปริมาณมาก อีกทั้งยังร่นระยะเวลาในการทำงานของระบบซัพพลายเชนให้กับการผลิตทั่วโลกของอินเทลได้ถึงร้อยละ 40 ตั้งแต่ปี 2552- 2553 นอกจากนี้ในส่วนของการพัฒนาในด้านอื่นๆ ประกอบด้วย การลดระยะเวลาของการผลิตสำหรับในส่วนของการก่อสร้าง (ร้อยละ 15) ลดระยะเวลาในการติดตั้งอุปกรณ์ในโรงงานผลิต (ร้อยละ 31) และลดระยะเวลาในการติดตั้งอุปกรณ์เพื่อการประกอบและทดสอบ (ร้อยละ 27) โมเดลของอินเทลที่บูรณการขั้นตอนการดีไซน์เข้ากับกระบวนการผลิต จะนำไปสู่กลยุทธ์เพื่อผลักดันการเติบโตที่ยั่งยืนต่อไป ยกตัวอย่างเช่น the agile model ช่วยให้การผลิตอินเทล คอร์ โปรเซสเซอร์ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 20 ในช่วงไตรมาส 4 ของปี 2553 และ ไตรมาสแรกของปี 2554 ส่งผลให้ยอดความต้องการมีปริมาณมากกว่าที่ อินเทลคาดการณ์ไว้ 7) 40 ปี กับไมโครโปรเซสเซอร์เครื่องแรก เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายนที่ผ่านมา เป็นวันฉลองครบรอบ 40 ปีของการเปิดตัวอินเทล? 4004 ไมโครโปรเซสเซอร์รุ่นแรกของโลกออกสู่ตลาด ในช่วงเวลานั้นไม่มีนักประดิษฐ์คนไหนหรือแม้แต่อินเทลที่คาดการณ์ได้ว่า สิ่งประดิษฐ์ชิ้นนี้จะสร้างมูลค่าให้แก่อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลกกว่า 300,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจทั่วโลกเป็นมูลค่าหลายล้านล้านเหรียญสหรัฐ ทุกวันนี้ ไมโครโปรเซสเซอร์ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเราไปแล้ว และเป็นแพลตฟอร์มสำหรับนวัตกรรมหลายพันชิ้นที่ถูกสร้างขึ้น นับตั้งแต่เครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ อินเทอร์เน็ต ไปจนถึงเครื่องเอทีเอ็ม ยานอวกาศ ซี่โครงเทียม และแผงควบคุมรถยนต์อัตโนมัติ เป็นต้น หากดูภาพรวมตลาดโลกเฉพาะแค่เครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ก็มีมูลค่าเกือบ 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐเข้าไปแล้ว ติดต่อ: สุภารัตน์ โพธิวิจิตร บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัด โทรศัพท์: (66 2) 648-6022 e-Mail: suparat.photivichit@intel.com อรวรรณ ชื่นวิรัชสกุล บริษัท คาร์ล บายร์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์ โทรศัพท์: (66 2) 627-3501 e-Mail: ochuenwiratsakul@carlbyoir.com [1] รายงานของ Juniper Networks เรื่อง State of Mobile Security 2010 Report วันที่ 26 ตุลาคม 2553 [2] รายงานของไอดีวีเรื่อง Intelligent Systems: The Next Big Opportunity วันที่ 9 กันยายน 2554 [3] รายงานจากซิสโก้เรื่อง Cisco Visual Networking Index Forecast and Methodology, 2010-2015วันที่ 1 มิถุนายน 2554 ผู้บริหารจากอินเทล (จากซ้ายไปขวา) นายเอกรัศมิ์ อวยสินประเสริฐ กรรมการผู้จัดการ นางดรรชนีพร พฤกษ์วัฒนานนท์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด และนายสนธิญา หนูจีนเส้ง ผู้จัดการฝ่ายขาย ตัดเค็กฉลองครบรอบ 40 ปี ไมโครโปรเซสเซอร์รุ่นแรกของโลก
แท็ก อินเทล  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ