ผลการสำรวจพบว่าประเทศไทยมีอัตราสินค้าสูญหายเป็นอันดับ 2 ของเอเชียติดต่อกันเป็นปีที่ 5

ข่าวทั่วไป Wednesday December 21, 2011 15:43 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--21 ธ.ค.--เวเบอร์ แชนด์วิค - อัตราสินค้าสูญหายของไทยอยู่ที่ร้อยละ 1.64 สูงกว่าอัตราเฉลี่ยของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 1.22 - ประเทศไทยลงทุนในมาตรการรักษาความปลอดภัยในระบบค้าปลีกน้อยสุดในภูมิภาคหรือเพียงร้อยละ 0.13 ของยอดขาย รายงานผลการสำรวจอัตราการขโมยสินค้าในร้านค้าปลีกทั่วโลก หรือ Global Retail Theft Barometer ฉบับที่ 5 (จัดทำขึ้นเป็นประจำทุกปี) ระบุว่า ระหว่างเดือนกรกฎาคม 2010 -มิถุนายน 2011 ธุรกิจค้าปลีกของไทยมีอัตราสินค้าสูญหายร้อยละ 1.64 ของยอดขาย หรือมีมูลค่าความเสียหายทั้งหมด 32,250 ล้านบาท (1.05 พันล้านเหรียญสหรัฐ) ซึ่งเป็นการสูญเสียของสินค้าคงคลังที่เกิดจากลูกค้าขโมย การฉ้อโกงของพนักงานหรือผู้ค้า รวมถึงส่วนที่เกิดจากข้อผิดพลาดในการบริหารจัดการ อัตรานี้สูงสุดเป็นอันดับสองของเอเชียแปซิฟิกติดต่อกันเป็นปีที่ 5 นับตั้งแต่ปี 2007 ซึ่งเป็นปีแรกที่มีการสำรวจโดยรวมประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเข้ามาด้วย และสูงกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาคซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 1.22 ของยอดขาย นอกจากนี้ อุตสาหกรรมค้าปลีกไทยยังใช้จ่ายในส่วนของการป้องกันการสูญเสียและการรักษาความปลอดภัยเป็นอัตราส่วนที่ต่ำสุดของรายได้ในเอเชียแปซิฟิกอีกด้วย โดยค่าใช้จ่ายเหล่านี้มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 0.13 ของยอดขาย แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์แบบผกผันกันอย่างมากระหว่างการลงทุนด้านความปลอดภัย/ป้องกันการสูญเสียกับอัตราสินค้าสูญหาย อัตราสินค้าสูญหายของอุตสาหกรรมค้าปลีกไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งเป็นอัตราสูงสุดในภูมิภาคนี้ สาเหตุหลัก คือ การขโมยของโดยลูกค้า ซึ่งมีสัดส่วนเกือบร้อยละ 50 ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของเอเชียแปซิฟิกที่อยู่ที่ร้อยละ 53.3 การขโมยของโดยพนักงานคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 24 ของอัตราสินค้าสูญหาย ซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาคเพียงเล็กน้อย (ร้อยละ 22.7) ส่วนข้อผิดพลาดที่เกิดจากการบริหารจัดการภายในคิดเป็นร้อยละ 19.6 (ค่าเฉลี่ยของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอยู่ที่ร้อยละ 17.1) ในขณะที่การฉ้อโกงโดยผู้ผลิต/ผู้ค้าคิดเป็นร้อยละ 6.8 (ค่าเฉลี่ยของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอยู่ที่ร้อยละ 6.9) การสำรวจดังกล่าว ซึ่งดำเนินการโดยเช็คพอยท์ ซิสเต็มส์ (Checkpoint Systems) ได้ตรวจติดตามมูลค่าของสินค้าสูญหายในอุตสาหกรรมค้าปลีกทั่วโลกระหว่างเดือนกรกฎาคม 2010 ถึงมิถุนายน 2011 ผลการศึกษาพบว่า แม้การขโมยของในร้านค้าปลีกโดยรวมจะลดลงในปีที่แล้ว แต่อัตราสินค้าสูญหายทั่วโลกกลับเพิ่มขึ้นอีกครั้งในสัดส่วนที่สูงมาก คือไปอยู่ที่ร้อยละ 6.6 หรือมูลค่า 3.65 ล้านล้านบาท (119 พันล้านเหรียญสหรัฐ) ผู้บริโภคชาวไทยและครอบครัวของพวกเขาชดเชยการสูญเสียในธุรกิจค้าปลีกด้วยการจ่าย "ภาษีความซื่อสัตย์" หรือเรียกง่ายๆ ว่าราคาที่บวกเพิ่ม เฉลี่ย 461.28 บาท (15.02 เหรียญสหรัฐ) ต่อหัว หรือ 1, 665.76 บาท (54.24 เหรียญสหรัฐ) ต่อครอบครัว ดร.ฉัตรชัย ตวงรัตนพันธ์ ที่ปรึกษาสมาคมผู้ค้าปลีกไทย กล่าวว่า “จากเหตุการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมาส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางกับอุตสาหกรรมค้าปลีก อย่างน้อย 31 จังหวัด ร้านค้าปลีกรายย่อยได้รับผลกระทบประมาณร้อยละ 10 ในขณะที่ร้านค้าปลีกรายใหญ่ก็ประสบปัญหาไม่กักตุนสินค้าเช่นกัน ในขณะนี้ เรายังไม่สามารถระบุได้ว่าเหตุการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมาส่งผลกระทบต่ออัตราสินค้าสูญหายหรือไม่ ผมเชื่อว่าเหตุการณ์น้ำท่วมได้ให้บทเรียนให้เราเตรียมรับมือกับสถานการณ์อื่นๆที่เลวร้าย นอกจากนั้น ผมคิดว่าเราควรเพิ่มระดับการจัดการป้องกันสินค้าสูญหายเนื่องจากเรากำลังจะต้องเผชิญปัญหาเศรษฐกิจในอนาคตอันใกล้” มร.พอล ชู ประธานภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก เช็คพอยท์ ซิสเต็มส์ กล่าวว่า "ผู้ค้าปลีกทั่วโลกยังคงเผชิญกับแรงกดดันด้านความปลอดภัยและการจัดการสินค้าคงคลังด้วยสาเหตุหลายๆ ประการอันเป็นผลพวงจากเศรษฐกิจโลก เช่น ต้นทุนราคาสินค้าที่เพิ่ม อัตราเงินเฟ้อ และการว่างงาน ประเทศไทยเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของความสำคัญของการลงทุนด้านการรักษาความปลอดภัยและการป้องกันการสูญเสียในธุรกิจค้าปลีก ประเทศนี้ลงทุนในมาตรการเหล่านี้น้อยที่สุดในเอเชียแปซิฟิก ด้วยเหตุนี้จึงเป็นประเทศที่มีอัตราสินค้าสูญหายสูงสุดเป็นอันดับสองของภูมิภาค ปัญหาเช่นนี้จะยังคงดำเนินต่อไปในขณะที่เศรษฐกิจโลกกำลังพยายามฟื้นตัว" อัตราสินค้าสูญหายในเอเชียแปซิฟิก ในทั้ง 10 ตลาดที่ทำการศึกษาในเอเชียแปซิฟิก (ออสเตรเลีย, จีน, ฮ่องกง, อินเดีย, ญี่ปุ่น, มาเลเซีย, สิงคโปร์, เกาหลีใต้, ไต้หวัน และไทย) มีอัตราสินค้าสูญหายเฉลี่ยร้อยละ 1.22 ของยอดขายปลีก รวมแล้วคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ที่น้อยที่สุดเมื่อเทียบกันในระดับทวีป (เทียบกับอเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ ยุโรป และอัฟริกา) อย่างไรก็ตาม มูลค่าความเสียหาย 561.70 พันล้านบาท (18.29 พันล้านเหรียญสหรัฐ) นั้นสูงสุดเป็นอันดับสามถัดจากยุโรปที่มีมูลค่า 1.493 ล้านล้านบาท (48.62 พันล้านเหรียญสหรัฐ) และอเมริกาเหนือ 1.392 ล้านล้านบาท (45.32 พันล้านเหรียญสหรัฐ) การขโมยของตามร้าน หรือถูกขโมยโดยลูกค้า เป็นสาเหตุใหญ่ที่สุดของอัตราสินค้าสูญหาย ซึ่งคิดเป็นมูลค่า 299.12 พันล้านบาท (9.74 พันล้านเหรียญสหรัฐ) หรือร้อยละ 53.3 ของทั้งหมด การขโมยโดยพนักงานคิดเป็นร้อยละ 22.7 หรือเกือบ 127.76 พันล้านบาท (4.16 พันล้านเหรียญสหรัฐ) โดยผู้กระทำผิดที่ถูกจับโดยร้านค้าปลีกส่วนใหญ่เป็นพวกลักเล็กขโมยน้อย (ร้อยละ 88) ที่เหลือเป็นพนักงาน (ร้อยละ 12) อย่างไรก็ตาม มูลค่าเฉลี่ยของสินค้าที่ถูกขโมยโดยพวกลักเล็กขโมยน้อยอยู่ที่ 2,325 บาท (75.70 เหรียญสหรัฐ) น้อยกว่าส่วนที่ถูกพนักงานขโมยมาก (เฉลี่ยอยู่ที่ 10,657 บาท หรือ 347 เหรียญสหรัฐ) อัตราสินค้าสูญหายสูงสุด (เมื่อเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์ของยอดขาย) พบในกลุ่มสินค้าดังต่อไปนี้ - เครื่องสำอาง/น้ำหอม/สินค้าเพื่อสุขภาพและความงาม/ยา (ร้อยละ 1.75) - เครื่องแต่งกาย/เสื้อผ้าและแฟชั่น/เครื่องประดับ (ร้อยละ 1.74) และ - วิดีโอ/เพลง/เกม (ร้อยละ 1.64) ของที่มีขนาดเล็กแต่ราคาแพงมีความเสี่ยงจะถูกขโมยสูงสุด โดยของที่ถูกขโมยมากที่สุดในกลุ่มสินค้าประเภทเครื่องสำอาง ได้แก่ - ผลิตภัณฑ์โกนหนวด (ร้อยละ 2.64) - น้ำหอม/ผลิตภัณฑ์ที่ให้กลิ่นหอม (ร้อยละ 2.60) - ลิปสติก/ลิปกลอส (ร้อยละ 2.50) - กรรไกร/ที่ตัดเล็บ/แหนบ (ร้อยละ 1.30) อาหารทะเล/ปลาคุณภาพสูง (ร้อยละ 2.21), เครื่องดื่มแอลกอฮอล์/สุรา (ร้อยละ 1.84) และเนื้อสด (ร้อยละ 1.83) เป็นสินค้าที่มี 'ความเสี่ยงสูง' ที่จะถูกขโมยมากที่สุดในกลุ่มสินค้าเพื่อการบริโภค Global Retail Theft Barometer: อีกหนึ่งตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ รายงาน Global Retail Theft Barometer 2011 ระบุว่า ประเทศที่มีเศรษฐกิจถดถอยมีอัตราสินค้าสูญหายเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเทียบกับช่วงปี 2009 — 2010 ที่มีสัญญาณของการฟื้นตัวจากวิกฤตการเงินโลก (Global Financial Crisis - GFC) เนื่องจากเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่ลดการลงทุนติดตั้งเทคโนโลยีรักษาความปลอดภัย ร้านค้าปลีกในยุโรปจึงต้องเผชิญกับปัญหาการลักขโมยที่สูงขึ้นโดยรวมถึงร้อยละ 7.8 ในการโจรกรรมร้านค้าปลีก โดยไอร์แลนด์นำโด่งที่ร้อยละ 8.3 ตามด้วยประเทศที่เศรษฐกิจกำลังย่ำแย่อย่างกรีซ (ร้อยละ 7.7), สเปน (ร้อยละ 7.7) และอิตาลี (ร้อยละ 7) เมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ แล้ว ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกสามารถปรับตัวท่ามกลางวิกฤติการเงินโลกได้มากกว่าและมีอัตราสินค้าสูญหายเพิ่มขึ้นน้อยที่สุด คือ ร้อยละ 0.8 ความสัมพันธ์ระหว่างการลงทุนติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัยและการลักขโมย จากการสำรวจในปี 2011 พบว่า ในขณะที่ร้านค้าปลีกใช้เงินลงทุนติดตั้งระบบป้องกันการสูญหายและรักษาความปลอดภัยเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 5.6 ในช่วงปี 2010 ซึ่งคิดเป็นค่าใช้จ่ายรวมทั่วโลกสูงถึง 869.43 พันล้านบาท (28.31 พันล้านเหรียญสหรัฐ) สัดส่วนการลงทุนในอุปกรณ์ป้องกันการสูญหายเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายในการป้องกันการสูญหายโดยรวมลดลงเล็กน้อย นี่อาจเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมหัวขโมยจึงถูกจับได้น้อยลงทั่วโลก การสำรวจ การสำรวจนี้เริ่มในปี 2001 ในยุโรป และการขยายไปทั่วโลกในปี 2007 โดย Global Retail Theft Barometer (GRTB) เป็นการสำรวจประจำปีที่จัดทำโดย Centre for Retail Research ในน็อตติงแฮม สหราชอาณาจักร โดยได้รับทุนสนับสนุนจาก Checkpoint Systems นับเป็นการสำรวจที่ครอบคลุมและครบถ้วนมากที่สุดในโลกในเรื่องของการขโมยสินค้าและอาชญากรรมในธุรกิจค้าปลีก โดยครอบคลุมแนวโน้มสำคัญๆ ในเรื่องการลักขโมยและอาชญากรรมในร้านค้าปลีกใน 43 ประเทศและภูมิภาคต่างๆทั่วโลก ซึ่งรวมถึงสหรัฐอเมริกา, จีน, อินเดีย, ยุโรป, รัสเซีย, ญี่ปุ่นและออสเตรเลีย ส่วนเกาหลีใต้เพิ่งรวมเข้ามาเป็นครั้งแรกในปีนี้ รายงานฉบับนี้จัดทำขึ้นจากข้อมูลที่รวบรวมที่เป็นความลับจากธุรกิจค้าปลีกรายใหญ่ 1,187 ราย (มีร้านค้ารวมกันมากกว่า 250,000 ร้าน) ซึ่งมียอดขายรวม 30.299 แสนล้านบาท (986.58 พันล้านเหรียญสหรัฐ) เกี่ยวกับศูนย์เพื่อการวิจัยธุรกิจค้าปลีก (Centre for Retail Research) รายงาน Global Retail Theft Barometer ฉบับที่ 5 (ฉบับที่ 11 สำหรับของยุโรป) จัดทำโดยศาสตราจารย์ โจชัว แบมฟิลด์ ผู้อำนวยการศูนย์เพื่อการวิจัยธุรกิจค้าปลีก หรือ CRR (www.retailresearch.org) โดยได้รับการสนับสนุนจาก เช็คพอยท์ ซิสเต็มส์ อิงค์ ทั้งนี้ CRR เป็นองค์กรอิสระที่ให้บริการด้านงานวิจัยและการให้คำปรึกษาสำหรับภาคธุรกิจค้าปลีก โดยวิจัยเกี่ยวกับการเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจค้าปลีกและให้ความสนใจเกี่ยวกับการฉ้อโกงและอาชญากรรมในธุรกิจค้าปลีก ที่ผ่านมาได้ทำการศึกษาวิจัยอย่างกว้างขวางในเรื่องมูลค่าความเสียหายจากอาชญากรรม และการประยุกต์ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์และระบบคอมพิวเตอร์เพื่อต่อกรกับการขโมยของในร้านค้าและการทุจริตในหลายภูมิภาคของโลก เกี่ยวกับเช็คพอยท์ ซิสเต็มส์ อิงค์ (Checkpoint Systems, Inc.) เช็คพอยท์ ซิสเต็มส์ เป็นผู้นำระดับโลกด้านโซลูชั่นสำหรับการจัดการการสูญหายของสินค้า การตรวจนับสินค้า และการติดฉลากเครื่องแต่งกาย โดยช่วยให้ธุรกิจค้าปลีกและซัพพลายเออร์ของพวกเขาลดอัตราการสูญหายของสินค้า เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการสินค้าบนชั้นวาง และใช้ประโยชน์จากข้อมูลเรียลไทม์เพื่อความเป็นเลิศในการดำเนินงาน โซลูชั่นของเช็คพอยท์พัฒนามาจากความเชี่ยวชาญที่สั่งสมมากว่า 40 ปีในด้านเทคโนโลยี RF, ความหลากหลายของผลิตภัณฑ์เพื่อการจัดการสินค้าสูญหาย, โซลูชั่นสำหรับการติดฉลากเครื่องแต่งกายที่ครอบคลุม, ความเป็นผู้นำตลาดด้าน RFID application, นวัตกรรมป้องกันการโจรกรรมสินค้าขั้นสูง และ Check-Net ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มจัดการข้อมูลแบบ Web-based ด้วยความเชี่ยวชาญดังกล่าว ลูกค้าของเช็คพอยท์จะได้ประโยชน์จากยอดขายและผลกำไรที่เพิ่มมากขึ้น โดยการปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบซัพพลายเชน ด้วยการติดตั้งระบบการพิมพ์ฉลากแบบ on-demand label printing และด้วยการสร้างสภาพแวดล้อมสำหรับการขายสินค้าแบบเปิดที่มีความปลอดภัยเพื่อเสริมสร้างประสบการณ์การจับจ่ายของผู้บริโภค เช็คพอยท์เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก (NYSE: CKP) โดยดำเนินธุรกิจในตลาดใหญ่ๆ ทุกแห่งและมีพนักงาน 5,700 คนทั่วโลก อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.checkpointsystems.com สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายงานและการดาวน์โหลดภาพถ่ายหรือดูวิดีโอโปรดไปที่ : www.globalretailtheftbarometer.com เพื่อขอสำเนาของรายงานฉบับเต็มโปรดติดต่อที่แซนดี้หลิว sandy.lau @ checkpt.com สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ: ปัญญ์ณัฐ ศิวะพรพันธ์/ รุ่งนภา ชาญวิเศษ เวเบอร์ แชนด์วิค (ประเทศไทย) โทร: 02-343-6000 ต่อ 181, 061 อีเมล์: pannat@webershandwick.com; rungnapa@webershandwick.com
แท็ก เอเชีย  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ