กรุงเทพฯ--22 ธ.ค.--โตโยต้า
นายวุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์เดือนพฤศจิกายน 2554 มีปริมาณการขายทั้งสิ้น 25,664 คัน ลดลง 67.5% ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 12,746 คัน ลดลง 62.1% รถเพื่อการพาณิชย์ 12,918 คัน ลดลง 71.5% รวมทั้ง รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ จำนวน 8,431 คัน ลดลง 78.6%
ประเด็นสำคัญ
1.) ตลาดรถยนต์เดือนพฤศจิกายน มีปริมาณการขาย 25,664 คัน ลดลง 67.5% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีปริมาณการขาย 12,746 คัน ลดลง 62.1% รถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีปริมาณการขาย 12,918 คัน ลดลง 71.5% แม้ว่าโรงงานผลิตรถยนต์หลายแห่งจะสามารถกลับมาผลิตได้อีกครั้งแต่ยังไม่กลับสู่ระดับการผลิตปกติ ซึ่งเป็นผลจากการขาดแคลนชิ้นส่วน
2.) ตลาดรถยนต์สะสม 11 เดือนแรก มีปริมาณการขาย 739,506 คัน เพิ่มขึ้น 4.6% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 8.8% ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 1.3% ทั้งนี้อัตราการเติบโตสะสม 11 เดือน ยังคงเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลจากช่วง 9 เดือนแรกของปี ที่กำลังซื้อของผู้บริโภคอยู่ในเกณฑ์ดี มีการเติบโตทั้งภาคการลงทุนและบริโภค และความนิยมอย่างต่อเนื่องของรถยนต์รุ่นใหม่ๆ ก่อนที่ผู้ผลิตรถยนต์จะได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วม จนทำให้ต้องหยุดการผลิตอยู่ช่วงหนึ่ง
3.) ตลาดรถยนต์ในเดือน ธันวาคม ลดลง ยังคงเป็นผลกระทบต่อเนื่องจากปัญหาอุทกภัย อย่างไรก็ดีการที่โรงงานผลิตรถยนต์เกือบทุกแห่ง และหลายนิคมอุตสาหกรรมสามารถกลับมาผลิตได้อีกครั้ง แม้ระดับการผลิตจะยังไม่เข้าสู่ภาวะปกติ แต่นับเป็นสัญญาณที่ดีต่อภาพเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เดือนพฤศจิกายน 2554
1.) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 25,664 คัน ลดลง 67.5%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 4,047 คัน ลดลง 88.0% ส่วนแบ่งตลาด 15.8%
อันดับที่ 2 มิตซูบิชิ 3,557 คัน ลดลง 12.7% ส่วนแบ่งตลาด 13.9%
อันดับที่ 3 นิสสัน 3,294 คัน ลดลง 36.9% ส่วนแบ่งตลาด 12.8%
2.) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 12,746 คัน ลดลง 62.1%
อันดับที่ 1 ฮอนด้า 2,835 คัน ลดลง 69.8% ส่วนแบ่งตลาด 22.2%
อันดับที่ 2 นิสสัน 2,686 คัน ลดลง 12.1% ส่วนแบ่งตลาด 21.1%
อันดับที่ 3 โตโยต้า 2,127 คัน ลดลง 85.6% ส่วนแบ่งตลาด 16.7%
3.) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 8,431 คัน ลดลง 78.6%
อันดับที่ 1 มิตซูบิชิ 3,214 คัน ลดลง 3.0% ส่วนแบ่งตลาด 38.1%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 2,029 คัน ลดลง 85.8% ส่วนแบ่งตลาด 24.1%
อันดับที่ 3 โตโยต้า 1,025คัน ลดลง 94.0% ส่วนแบ่งตลาด 12.2%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 1,507 คัน
มิตซูบิชิ 1,147 คัน - อีซูซุ 109 คัน - ฟอร์ด 106 คัน - โตโยต้า 64 คัน
4.) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 6,924 คัน ลดลง 80.2%
อันดับที่ 1 มิตซูบิชิ 2,067 คัน ลดลง 10.0% ส่วนแบ่งตลาด 29.9%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 1,839 คัน ลดลง 86.1% ส่วนแบ่งตลาด 26.6%
อันดับที่ 3 โตโยต้า 961 คัน ลดลง 93.6% ส่วนแบ่งตลาด 13.9%
5.) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 12,918 คัน ลดลง 71.5%
อันดับที่ 1 มิตซูบิชิ 3,214 คัน ลดลง 3.0% ส่วนแบ่งตลาด 24.9%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 2,592 คัน ลดลง 83.2% ส่วนแบ่งตลาด 20.1%
อันดับที่ 3 โตโยต้า 1,920 คัน ลดลง 89.8% ส่วนแบ่งตลาด 14.9%
สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม — พฤศจิกายน 2554
1) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 739,506 คัน เพิ่มขึ้น 4.6%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 275,265 คัน ลดลง 4.7% ส่วนแบ่งตลาด 37.2%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 123,953 คัน ลดลง 8.4% ส่วนแบ่งตลาด 16.8%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 81,754 คัน ลดลง 19.9% ส่วนแบ่งตลาด 11.1%
2) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 334,618 คัน เพิ่มขึ้น 8.8%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 131,165 คัน เพิ่มขึ้น 4.2% ส่วนแบ่งตลาด 39.2%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 75,974 คัน ลดลง 19.0% ส่วนแบ่งตลาด 22.7%
อันดับที่ 3 นิสสัน 41,586 คัน เพิ่มขึ้น 53.9% ส่วนแบ่งตลาด 12.4%
3) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 344,553 คัน เพิ่มขึ้น 0.9%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 128,835 คัน ลดลง 11.5% ส่วนแบ่งตลาด 37.4%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 112,885 คัน ลดลง 10.2% ส่วนแบ่งตลาด 32.8%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 53,306 คัน เพิ่มขึ้น 99.3% ส่วนแบ่งตลาด 15.5%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 35,913 คัน
มิตซูบิชิ 16,525 คัน — โตโยต้า 11,991 คัน - อีซูซุ 6,470 คัน - ฟอร์ด 927 คัน
4) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 308,640 คัน เพิ่มขึ้น 1.0%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 116,844 คัน ลดลง 8.1% ส่วนแบ่งตลาด 37.9%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 106,415 คัน ลดลง 10.5% ส่วนแบ่งตลาด 34.5%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 36,781 คัน เพิ่มขึ้น 115.9% ส่วนแบ่งตลาด 11.9%
5) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 404,888 คัน เพิ่มขึ้น 1.3%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 144,100 คัน ลดลง 11.6% ส่วนแบ่งตลาด 35.6%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 123,953 คัน ลดลง 8.4% ส่วนแบ่งตลาด 30.6%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 53,307 คัน เพิ่มขึ้น 99.3% ส่วนแบ่งตลาด 13.2%