เวิลด์ไวด์ ไฟล์ท เซอร์วิสเซส และบางกอก แอร์เวย์ ได้รับคัดเลือกเป็นผู้รับสัมปทานคลังสินค้า

ข่าวทั่วไป Thursday February 19, 2004 09:36 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--19 ก.พ.--โทเทิล ควอลิตี้ พีอาร์ (ประเทศไทย)
เวิลด์ไวด์ ไฟล์ท เซอร์วิสเซส และบางกอก แอร์เวย์ ได้รับคัดเลือกเป็นผู้รับสัมปทานคลังสินค้า และ
สัมปทานการให้บริการในลานจอดเครื่องบิน ที่ สนามบิน สุวรรณภูมิ
เวิลด์ไวด์ ไฟล์ท เซอร์วิสเซส (WFS) และบางกอก แอร์เวย์ ได้รับคัดเลือกจากบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ให้เป็นผู้รับสัมปทานโครงการคลังสินค้า และสัมปทานโครงการอุปกรณ์บริการภาคพื้นและสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการซ่อมบำรุง ที่สนามบินนานาชาติแห่งใหม่ของกรุงเทพมหานคร (สนามบินสุวรรณภูมิ) ซึ่งจะเปิดให้บริการในปี 2548 โดยบริษัท WFS และ บางกอก แอร์เวย์ ได้ทำการก่อตั้งบริษัทร่วมค้าเพื่อการให้บริการต่าง ๆ และในวันนี้ บริษัทได้ร่วมลงนามเซ็นสัญญาในการดำเนินงานของสองสัมปทานดังกล่าว ซึ่งจะมีอายุในสัญญา 20 ปี เริ่มต้นตั้งแต่วันเปิดบริการสนามบินแห่งใหม่ ซึ่งได้รับการกำหนดไว้ในวันที่ 29 กันยายน 2548
สัมปทานดังกล่าวจะส่งผลให้เป็นหน่วยปฏิบัติงานในสนามบินที่กรุงเทพฯ ของ WFS และบางกอก แอร์เวย์ เป็นหน่วยปฏิบัติงานที่ใหญ่ที่สุด สำหรับสนามบินสุวรรณภูมิ นั้นจะมีพื้นที่ครอบคลุมถึง 32 ตารางกิโลเมตร และจะเป็นสนามบินนานาชาติแห่งใหม่แทนที่สนามบินดอนเมือง
ในปี 2545 สนามบินดอนเมืองมีจำนวนผู้โดยสารใช้บริการมากเป็นอันดับ 3 ในขณะที่ส่วนที่ให้บริการสินค้าทางอากาศจัดเป็นอันดับ 6* ของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งมีจำนวนผู้โดยสารกว่า 32 ล้านคน และสินค้าทางอากาศจากนานาชาติจำนวน 1 ล้านตัน
การพัฒนาสนามบินในระยะแรก นั้นจะสามารถเปิดให้บริการได้ 2 รันเวย์ โดยจะรองรับการบริการได้ 76 เที่ยวบินต่อชั่วโมง และรองรับผู้โดยสารจำนวน 45 ล้านคน และสินค้าทางอกาศจำนวน 3 ล้านตันต่อปี ส่วนการพัฒนาในระยะที่สองจะสามารถเปิดใช้ได้ 4 รันเวย์ ซึ่งจะทำให้สามารถรองรับบริการได้สูงถึง 112 เที่ยวบินต่อชั่วโมง นับเป็นการขยายขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารสูงถึง 100 ล้านคนต่อปี และคาร์โก้จำนวน 6.4 ล้านตัน
และเพื่อเป็นการรองรับบริการใหม่เหล่านี้อย่างมีประสิทธิภาพ ทางบริษัท WFS และ บางกอก แอร์เวย์ จึงจะได้ก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกที่ทันสมัย อันได้แก่ คลังสินค้าทางอากาศ และจัดให้มีเครื่องมือและอุปกรณ์ในการให้บริการภายในลานจอดเครื่องบิน (Ground Support Equipments) ซึ่งจะมีพื้นที่ในการก่อสร้างกว่า 45,000 ตรม. สำหรับคลังสินค้าทางอากาสได้รับการออกแบบให้สามารถรองรับสินค้าได้ถึง 350,000 ตันต่อปี และในอนาคตก็ยังมีแผนที่จะขยายพื้นที่ก่อสร้างคลังสินค้าเพิ่มเติมอีกกว่า 27,000 ตรม. ซึ่งจะทำให้บริษัท WFS และบางกอก แอร์เวย์ มีประสิทธิภาพในการรองรับสินค้าทางอากาศได้ถึง 600,000 ตันต่อปี สำหรับการให้บริการในลานจอดเครื่องบินนั้น บริษัทร่วมค้าระหว่างบริษัท WFS และ บางกอก แอร์เวย์ จะมีสามารถให้การบริการแก่เที่ยวบินนานาชาติกว่า 14,000 เที่ยวบินในปีแรกของการดำเนินการ และจะขยายฐานการดำเนินงานต่อไปอีกในอนาคต โดยที่เครื่องมืออุปกรณ์ในการอำนวยความสะดวกในลานจอดเครื่องบินจะครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 12,000 ตรม. ซึ่งรวมถึงอุปกรณ์บริการเครื่องบินในลานจอดรถเพิ่มเติมเป็น 20,000 ตรม. นอกจากนี้ ทางบริษัท WFS และ บางกอก แอร์เวย์ จะดำเนินการหาหาแหล่ง และจัดซื้ออุปกรณ์ในส่วนที่เป็นเครื่องมือที่เป็นเครื่องจักรกล และไม่ใช่เครื่องจักรกลกว่า 700 ชิ้นเพื่อใช้ในการบริการแก่สายการบินที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
กล่าวโดยรวมแล้ว บริษัท WFS และ บางกอก แอร์เวย์ จะลงทุนใน 2 โครงการกว่า 55 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อเข้าทำบริการในสนามบินนานาชาติแห่งใหม่ โดยส่วนปฏิบัติงานในประเทศไทยนี้จะถือเป็นสถานีที่ใหญ่ที่สุดของเครือข่าย WFS ซึ่งมีการคาดการณ์รายได้ต่อปีโดยรวมอยู่ที่ประมาณ 42 ล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้ หากรวมถึงฐานปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพสูงและมั่นคงที่สนามบินนานาชาติฮ่องกงด้วยแล้ว จะทำให้บริษัท WFS กลายเป็นองค์กรให้บริการคลังสินค้าทางอากาศที่ใหญ่ที่สุดเอเชีย ทั้งสองสัมปทานที่กล่าวมาข้างต้น จะสร้างงาน และฝึกอบรมบุคคลากรในระยะเริ่มต้นกว่า 1,700 งาน
บริษัท เวิลด์ไวด์ ไฟสท์ เซอร์วิสเซส (WFS) เป็นหนึ่งในสามองค์กรให้บริการด้านการจัดการต่าง ๆ ทางภาคพื้นดินในสนามบินทั่วโลก และเป็นผู้นำด้านการดูแลและจัดการสินค้าทางอากาศ ปัจจุบันมีฐานปฏิบัติงานในสนามบินทั่วโลกกว่า 100 แห่ง โดยนำเสนอการบริการแบบครบวงจร ทั้งนี้รวมถึงบริการในลานจอดเครื่องบิน การดูแลจัดการกระเป๋าและสัมภาระของผู้โดยสาร การปฏิบัติงานของสถานีรองรับสินค้าทางอากาศ การให้การบริการแก่ผู้โดยสาร และบริการด้านเทคนิคต่าง ๆ ด้วยฐานปฏิบัติงานหลักในทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป และฮ่องกง บริษัท WFS มีความมุ่งมั่นในการขยายการพัฒนาธุรกิจใน เอเชียอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว โดยมี Vinci Airports เป็นเจ้าของของบริษัท WFS ทั้งหมด
บริษัทบางกอก แอร์เวย์ เริ่มต้นดำเนินธุรกิจในปี 2511 โดยในครั้งแรกได้ใช้ชื่อบริษัทว่า สหกล แอร์ ซึ่งในระยะแรกเป็นการให้บริการแอร์ แท็กซี่ ให้แก่ Tradewind ซึ่งเป็นเครื่องบินขนาด 2 เครื่องยนต์ แบบ 10 ที่นั่ง ปัจจุบัน บางกอก แอร์เวย์เป็นสายการบินอันดับที่สองของไทยที่มีการปฏิบัติการบริการการบินอยู่ในภูมิภาคเอเชีย โดยมีเที่ยวบินไปยังจุดหมายปลายทางทั้งสิ้น 14 แห่งใน 5 ประเทศ ในปีนี้บางกอก แอร์เวย์จะมีการฉลองครบรอบ 36 ปีของการก่อตั้งสายการบิน โดยจะนำเสนอแคมเปญใหม่ ชื่อ ความประทับใจแห่งเอเชีย (Asia's Boutique Airline) เพื่อเจาะกลุ่มตลาดเฉพาะ และมุ่งเน้นในปรัชญาในด้านการให้บริการที่ให้ความปลอดภัยสูงสุด อีกทั้งเป็นการให้บริการที่ตรงต่อเวลา (Safety, On-Time Service) ในปีนี้ บางกอก แอร์เวย์จะมีการเพิ่มเครื่องบินแอร์บัสใหม่ A320 จำนวน 2 ลำจากฝูงบินซึ่งมีเครื่องบินประกอบด้วยเครื่องบิน ATRs และโบอิ้ง 717 ที่มีอยู่ นอกเหนือจากนี้ บางกอก แอร์เวย์ยังเป็นเจ้าของและดำเนินงานสนามบิน 3 แห่งในประเทศไทย ซึ่งนับเป็นการส่งเสริมการขยายการท่องเที่ยวในประเทศไทยอีกด้วย และยังมีแผนงานในการขยายเครือข่ายต่อไปในอนาคตสู่ประเทศจีน ด้วยแรงสนับสนุนจากบุคคลากร และลูกเรือทุกคน
*ข้อมูลจาก Airports Council International
หากต้องการรายละเอียดหรือ ข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อ
โทเทิล ควอลิตี้ พีอาร์ (ประเทศไทย) จำกัด บางกอก แอร์เวย์
สุรัตน์ ตัณทนาวิวัฒน์ / ครึกโครม ประภาวัต ม.ล.นันทิกา วรวรรณ
โทรศัพท์: 0 2260 5820 ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายโฆษณาและประชาสัมพันธ์
โทรสาร: 0 2260 5847-8 โทรศัพท์: +66 (02) 265 5678
อีเมล์: tqprthai@ksc9.th.com โทรสาร: +66 (02) 265 5665--จบ--
-รก-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ