แนวโน้ม 10 อันดับแรกของระบบจัดเก็บข้อมูลในปี 2555

ข่าวเทคโนโลยี Thursday December 29, 2011 16:52 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--29 ธ.ค.--คอร์ แอนด์ พีค ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ความวุ่นวายทางการเมือง และวิกฤตการณ์ทางการเงินในปี 2554 ได้ผลักดันให้บริษัทต่างๆ ต้องวางแผนรองรับสำหรับปี 2555 เพื่อรับมือกับความผันผวนทางเศรษฐกิจและภาวะความไม่แน่นอนอย่างมาก ที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม ในบางภาคส่วนของธุรกิจ ยังคงมีความแน่นอนบางอย่างอยู่ หนึ่งในนั้นก็คือความต้องการระบบจัดเก็บข้อมูลและโครงสร้างพื้นฐานระบบจัดเก็บข้อมูลที่จะเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมาก และยังคงมีแนวโน้มที่จะ ขยายตัวอย่างต่อเนื่องในปีต่อๆ ไปที่กำลังจะมาถึงอีกด้วย สิ่งท้าทายสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีในขณะนี้ก็คือการจัดการกับภาวะกดดันเหล่านี้ภายใต้งบประมาณที่มีอยู่อย่างจำกัด ซึ่งเป็นผลมาจากวิกฤตการณ์ทางการเงินโลก และนั่นส่งผลให้การปรับใช้โครงสร้างพื้นฐานใหม่ๆ กลายเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก นอกจากจะต้องจัดการงบประมาณอย่างระมัดระวังแล้ว พวกเขายังจะต้องสามารถทราบผลกระทบที่แท้จริงของระบบที่นำเข้ามาแทนที่ได้อย่างแม่นยำด้วย เช่น เทคโนโลยีคลาวด์ เพื่อให้เกิดการพัฒนาระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งการประเมินผลดังกล่าวถือเป็นเรื่องยุ่งยากอย่างยิ่งท่ามกลางความไม่แน่นอนของวิกฤตเศรษฐกิจ ฮิว โยชิดะ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี (ซีทีโอ) บริษัท ฮิตาชิ ดาต้า ซิสเต็มส์ กล่าวว่า แนวโน้มองค์กรธุรกิจต่างๆ ในปัจจุบันให้ความสำคัญกับการยกระดับระบบจัดเก็บข้อมูลให้มีประสิทธิภาพ ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจผันผวน งบประมาณมีจำกัด เจ้าหน้าที่ไอทีต้องอาศัยสภาพแวดล้อม 10 ประการในการตัดสินใจ ประกอบด้วย 1. ความมีประสิทธิภาพของระบบจัดเก็บข้อมูล (Storage efficiency) เพื่อการใช้ประโยชน์จากระบบเดิมได้อย่างเต็มที่ แทนการซื้อระบบใหม่ โดยให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพของการจัดเก็บข้อมูลเพิ่มขึ้น อาทิ ระบบจัดเก็บข้อมูลเสมือนจริง (storage virtualization) การจัดสรรพื้นที่แบบจำกัดตามการใช้งานจริง (dynamic or thin provisioning) การจัดเก็บข้อมูลตามระดับชั้นความสำคัญข้อมูลตามใช้งานจริง(dynamic tiering) และการจัดเก็บข้อมูลถาวร (archiving) 2. การผสานรวมระบบเข้าด้วยกัน (Consolidation to convergence) เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย ซึ่งจะเห็นได้ว่าในช่วง2-3 ปีที่ผ่านมา ตลาดไอทีได้ให้ความสำคัญกับการรวมระบบและัคุณสมบัติที่มีประโยชน์ต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย จึงให้ความสำคัญกับการผสานรวมเซิร์ฟเวอร์ ระบบจัดเก็บข้อมูล เครือข่าย และแอพลิเคชั่น โดยอาศัยแอพลิเคชั่นโปรแกรมมิ่งอินเทอร์เฟซ (Application programming interfaces (APIs)) ในการช่วยจัดการภาระงาน (workload) ให้กับระบบจัดเก็บข้อมูล ทำให้เซิร์ฟเวอร์และหน่วยความจำมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในขณะที่ซอฟต์แวร์การจัดระเบียบจะช่วยในการผสานรวมการจัดการ และการจัดสรรทรัพยากรเป็นไปโดยอัตโนมัติ ตลอดจนสามารถจัดทำรายงานระหว่างเครือข่าย ระบบจัดเก็บข้อมูล รวมถึงเซิร์ฟเวอร์แบบเฉพาะที่ แบบระยะไกล และแบบคลาวด์ได้ 3.การบริหารระบบที่เข้าถึงได้อย่างชัดเจน (Transparency) ซึ่งจะช่วยให้การผสานรวมผ่านอินเทอร์เฟซแบบเปิด เช่น API, ไคลเอ็นต์/ตัวให้บริการ (Client/Service) และปลั๊กอินเป็นเรื่องง่าย เทคโนโลยีดังกล่าว เรียกว่า Hitachi Command Director ที่ช่วยให้มองเห็นมุมมองการบริการ การใช้ประโยชน์ และสภาพของโครงสร้างพื้นฐานระบบจัดเก็บข้อมูลที่อยู่เบื้องหลังระบบจัดเก็บข้อมูลเสมือนที่กำลังใช้งานอยู่ได้อย่างชัดเจน 4.ระบบจัดเก็บข้อมูลแบบศูนย์ประมวลผล (Storage computerization) ซึ่งมีความสำคัญขึ้นเรื่อยๆ เพราะสามารถรองรับฟังก์ชั่นใหม่ๆ โดยพร้อมรองรับการทำงานทั้ง Input / output (I/O workload) ที่มีแหล่งรวมประมวลผลในตัวเองที่แยกออกมา นับเป็นระบบเทคโนโลยีที่มีความต้องการอย่างมาก ในการนำไปใช้ในการจัดการกับฟังก์ชั่นต่างๆ 5. ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ซึ่งแนวโน้มในปี 2555 ข้อมูลจะขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็น “ข้อมูลขนาดมหึมา” (Big Data) เนื่องจากการเพิ่มจำนวนอย่างมหาศาลของข้อมูลแบบไม่มีโครงสร้าง (Unstructured Data) และแอพลิเคชั่นบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ต่างๆ ซึ่งหากเราสามารถจัดการและเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะก่อให้เกิดประโยชน์มากมายในการสร้างมูลค่าทางธุรกิจ มีข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน และมีข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจ อย่างไรก็ตาม การนำชุดข้อมูลขนาดใหญ่ไปใช้ในการทำซ้ำ สำรองข้อมูล และทำเหมืองข้อมูลผ่านเครื่องมือแบบดั้งเดิมอาจไม่สามารถได้ประโยชน์ตามที่ต้องการได้ จะเห็นได้ว่าข้อมูลขนาดใหญ่สามารถนำข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจได้ ดังนั้น ในปี 2555 จะมีการนำแพลตฟอร์มเกี่ยวกับเนื้อหาเข้ามาใช้ในการจัดเตรียมการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่มากยิ่งขึ้น 6.การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ (Energy efficiency) เนื่องจากพลังงาน ไม่ว่าจะเป็นระบบทำความเย็น และการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ หรือร่องรอยคาร์บอน (carbon footprint) จะกลายเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่งเมื่อความต้องการด้านพลังงานเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ประเทศต่างๆ เริ่มบังคับใช้ภาษีคาร์บอน โดยฝ่ายไอทีจะต้องเข้ามามีส่วนในการรับภาระด้านพลังงานนี้ด้วย 7.บริการกำหนดรูปแบบเทคโนโลยีที่เหมาะสม (Ergonomic services) เนื่องจาก ช่องว่างระหว่างการใช้เทคโนโลยีและการดำเนินการของฝ่ายไอทีจะกลายเป็นเรื่องสำคัญเมื่อองค์กรธุรกิจต้องการผลักดันให้ฝ่ายไอทีปรับใช้เทคโนโลยีให้รวดเร็วยิ่งขึ้น เพื่อให้สามารถสร้างประโยชน์จากเทคโนโลยีที่มีอยู่เดิมได้เพิ่มขึ้น ซึ่งนั่นจะทำให้เกิดความต้องการในด้านบริการเพิ่มขึ้นอย่างมาก เพื่อช่วยลดภาระงานที่พนักงานไอทีต้องดำเนินการและช่วยเร่งการนำเทคโนโลยีใหม่เข้ามาใช้งาน 8.การปรับขยายระบบจัดเก็บข้อมูล (Storage scaling) โดย องค์กรจะต้องการระบบเซิร์ฟเวอร์และเดสก์ท็อปเสมือนจริงเพิ่มขึ้นเพื่อปรับขยายระบบจัดเก็บข้อมูลไมให้เกิดการกระจัดกระจายเนื่องจากความต้องการเซิร์ฟเวอร์ที่เพิ่มขึ้น ระบบจัดเก็บข้อมูลแบบโมดูลจะต้องได้รับการแทนที่ด้วยระบบจัดเก็บข้อมูลองค์กรที่สามารถตอบสนองภารกิจสำคัญของเซิร์ฟเวอร์เสมือนจริงได้ ขณะเดียวกันสถาปัตยกรรมระบบจัดเก็บข้อมูลแบบสเกล-เอาท์ (scale-out) จะไม่สามารถตอบสนองความต้องการด้านการปรับขยายแบบ สเกล-อัพ (scale-up) ของระบบเซิร์ฟเวอร์และเดสก์ท็อปเสมือนจริงได้ 9.การย้ายข้อมูลแบบเสมือน (Virtualized migration) จะเข้ามาแทนที่ การย้ายข้อมูลของอุปกรณ์แบบเดิมที่ต้องหยุดระบบ เนื่องจากการย้ายข้อมูลลักษณะนี้ไม่ไม่จำเป็นต้องรีบูตระบบใหม่ สุดท้าย การปรับใช้ระบบคลาวด์ (Cloud acquisition) ทั้งในแบบบริการตนเอง (self-service) แบบจ่ายเท่าที่ใช้งาน (pay per use) และตามความต้องการ (on demand) ได้เริ่มเข้ามาแทนที่วงจรการปรับใช้ผลิตภัณฑ์แบบเดิมๆ 10.การปรับใช้ระบบคลาวด์ (Cloud acquisition) : การปรับใช้ระบบคลาวด์ ทั้งในแบบบริการตนเอง แบบจ่ายเท่าที่ใช้งาน และตามความต้องการ ได้เริ่มเข้ามาแทนที่วงจรการปรับใช้ผลิตภัณฑ์ปัจจุบันที่มีระยะเวลาระหว่าง 3 — 5 ปี เนื่องจากการผสานรวมเริ่มที่จะสร้างแหล่งรวมทรัพยากรแบบผสมผสานขึ้นมา

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ