เส้นทางสู่คลาวด์

ข่าวเทคโนโลยี Wednesday January 11, 2012 18:45 —ThaiPR.net

กรุงเทพ--11 ม.ค.--Piton Communications โดย ?มร. โธมัส คอนราด แซค ?กรรมการผู้จัดการ เอสเอพี ประเทศไทย คลาวด์ คอมพิวติ้งกำลังมาแรงและองค์กรธุรกิจจำเป็นต้องเตรียมพร้อม ?องค์กรต่างๆ เริ่มผันตนเองมาสู่พับลิคหรือไปรเวทคลาวด์กันมากขึ้น เพราะต้องการเพิ่มศักยภาพเชิงธุรกิจ และถือเป็นโอกาสในการผลักดันนวัตกรรมบริการ ออกสู่ตลาด ?อันที่จริง ขณะที่บริการคลาวด์นี้ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น ?ไอดีซีประเมินว่าขนาดของตลาดทั่วโลกเมื่อปี 2009 นั้นอยู่ที่ 16 พันล้านเหรียญสหรัฐไปแล้ว และคาดว่าจะเติบโตถึง 55 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี 2014 คือ การใช้จ่ายด้านไอทีที่เกี่ยวข้องกับคลาวด์นั้นยังเป็นเพียง 4% ของตลาดรวมไอทีเมื่อปี 2009 แต่คาดว่าจะเติบโตเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 12% ของตลาดรวมไอทีในปี 2014 คลาวด์ คอมพิวติ้งเป็นเรื่องเกี่ยวกับการสร้างโซลูชั่นที่สามารถรับส่งบริการประเภทใหม่ๆ ที่มีความเฉพาะตัวและมูลค่าเชิงธุรกิจ ขณะที่ยังคงค่าใช้จ่ายการลงทุนไอทีให้ได้น้อยที่สุด บริษัทที่ตัดสินใจใช้คลาวด์คอมพิวติ้ง สามารถเรียกใช้ทรัพยากรจำนวนมหาศาลของตนเองได้ ไม่ว่าจะเป็นสตอเรจ แอพพลิเคชั่นหรือข้อมูล ซึ่งเคยเป็นเรื่องที่มีค่าใช้จ่ายสูงเกินกว่าที่บริษัทขนาดกลางและเล็กจะติดตั้งทรัพยากรเหล่านั้นได้ แต่คลาวด์เปิดโอกาสของการใช้แอพพลิเคชั่นเชิงธุรกิจ และสร้างโอกาสธุรกิจ แต่สำหรับองค์กรขนาดใหญ่ที่มีซอฟท์แวร์และโครงสร้างไอทีที่เข้าที่เข้าทางดีแล้ว คลาวด์คอมพิวติ้งก็จะเป็นโอกาสพัฒนากระบวนการไอที ประสิทธิภาพ และประสิทธิภาพของงานต่อเวลาที่สูญเสียไปอย่างมีคุณค่า ก่อนที่จะมีการตัดสินใจอย่างแน่นอนเรื่องคลาวด์ องค์กรต้องวางแผนการติดตั้งโซลูชั่นที่ทำงานบนคลาวด์ พร้อมทั้งเข้าใจประเด็นสำคัญๆ เช่น ความสมบูรณ์ของข้อมูล ?ความสอดคล้องของข้อมูล การปฏิบัติตามข้อกำหนด ?และรวมกระบวนการดำเนินธุรกิจทั้งบริษัทให้เป็นหนึ่งเดียว ปัจจุบัน บริษัทธุรกิจเป็นจำนวนมากมาปรึกษาเอสเอพี เรื่องการใช้แอพพลิเคชั่นบนโครงสร้างแบบคลาวด์ หรือให้ช่วยด้านการแปลงโครงสร้างในปัจจุบันสู่แบบคลาวด์ ไม่ว่าจะเป็นพับลิกหรือไปรเวทคลาวด์กันมากขึ้น วิธีการที่มีความยืดหยุ่นคล่องตัวและเข้าใจได้ง่าย คลาวด์คอมพิวติ้งนั้น ถือเป็นจุดเปลี่ยนพื้นฐานพัฒนาการของแอพพลิเคชั่นและบริการ จำหน่าย บำรุงรักษา และการใช้งาน ?ดังนั้น เวนเดอร์และผู้ให้บริการไอที ควรมีวิธีการทำงานกับลูกค้าที่เข้าใจง่าย เพื่อขับเคลื่อนนวัตกรรม ควบรวม และกระตุ้นการประสานงานจากทั้งสามส่วนหลักของคลาวด์คอมพิวติ้ง ได้แก่ Software as a Service (SaaS); Platform as a Service (PaaS) และ Infrastructure as a Service (IaaS) ได้ดียิ่งขึ้น SaaS ทำให้บริษัทองค์กรธุรกิจสามารถใช้แอพพลิเคชั่นได้แบบออนดีมานด์ เพื่อให้ตอบรับรูปแบบงานที่หลากหลาย และ PaaS เป็นแพลตฟอร์มรองรับขั้นตอนการดำเนินธุรกิจที่สอดประสานกัน และเป็นแพลตฟอร์มแบบเปิดและยืดหยุ่น รองรับการพัฒนาและใช้แอพพลิเคชั่นในองค์กรได้ ส่วน IaaS นั้น ขณะที่คอนซูมเมอร์ไม่จำเป็นต้องบริหารโครงสร้าง แต่ก็สามารถควบคุมระบบปฏิบัติการ สตอเรจ แอพพลิเคชั่นที่ใช้งาน และบางคอมโพเน้นท์บนเครือข่าย แทนการลงทุนกับโครงสร้างจริงด้วยการชำระค่าใช้จ่ายตามการใช้งานจริงเท่านั้นเอง คาดว่าคลาวด์จะเติบโตอย่างรวดเร็วในศตวรรษหน้า ?ความพร้อม เพื่อก้าวสู่การใช้คลาวด์จึงเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้น จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องมีคู่มือแนวทางการปฏิบัติของโซลูชั่นไม่ว่าจะเป็นแบบออนดีมานด์และแบบ ณ สถานที่ติดตั้ง รวมไปถึงนวัตกรรมเด่นๆ และสิทธิประโยชน์ที่พันธมิตรพึงได้รับจากระบบ Ecosystem ที่สมบูรณ์ครบถ้วน นอกไปจากการแอคเซสเข้าถึงพับลิกคลาวด์แล้ว องค์กรธุรกิจสามารถทดลองที่จะทำเวอร์ช่วลไลซ์ดาต้าเซ็นเตอร์ และใช้ระบบของตนเองบนโครงสร้างไปรเวทคลาวด์ได้ด้วย ?การทำเวอร์ช่วลไลเซชั่น (เสมือนจริง) นั้น ได้กลายมาเป็นโอกาสช่องทางที่ได้ผลชัดจนในการลด TCO ผ่านประสิทธิภาพของการปฏิบัติที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม องค์กรที่เลือกใช้รูปแบบนี้ต้องมีเทคโนโลยีและบริการ เพื่อใช้ในการบริหารคลาวด์ที่มีเสถียรภาพ ตลอดจนการใช้งานไม่ยุ่งยากซับซ้อน เพื่อช่วยให้สามารถทำเวอร์ช่วลไลซ์และบริหารระบบที่อยู่ในสำนักงานที่ตั้งได้ดีที่สุด เส้นทางสู่สภาพแวดล้อมแบบลูกผสม (Hybrid) ตามความคิดที่ว่าสภาพแวดล้อมแบบไฮบริดลูกผสมนั้น จะเกิดขึ้นในองค์กรที่ใช้บริการบางชนิดจากภายนอกองค์กร ผ่านทางคลาวด์ ขณะที่ยังคงใช้ระบบของตนด้วย ผู้ให้บริการเทคโนโลยี จำเป็นต้องสนับสนุนลูกค้าให้นำเอาคลาวด์มาใช้งานได้ตามความต้องการเฉพาะตัว โดยมีประเด็นน่าสนใจดังต่อไปนี้ ? กลุ่มโซลูชั่นออนดีมานด์ที่ปรับตามการใช้งาน: ควรเลือกใช้โซลูชั่นวิเคราะห์ธุรกิจแบบออนดีมานด์, สามารถทำงานแบบร่วมมือกัน, และให้การตอบสนองได้ดี โซลูชั่นแบบออนดีมานด์ที่ดีที่สุดที่วางตลาดอยู่ทุกวันนี้สร้างให้ทำงานผนวกเข้ากับโครงสร้างที่ใช้งานอยู่ ณ ที่ตั้งอยู่ได้ต่อเนื่องไม่ขาดตอน เพื่อให้สามารถทำงานแบบหลากหลายรูปแบบได้ (Hybrid Deployment Topologies) และเป็นการปกป้องการลงทุนที่ได้กระทำไปแล้ว ? ออนดีมานด์แพลตฟอร์มสำหรับสื่อกลางความร่วมมือในกลุ่ม Eco-system เพื่อสรรสร้างนวัตกรรม ให้การใช้คลาวด์นำความสำเร็จอย่างยั่งยืนมาสู่องค์กรนั้น มองหาผู้ให้บริการเทคโนโลยี ที่มีความน่าเชื่อถือ สามารถสร้างสรรค์และสนับสนุน Ecosystem ที่ให้ผลดี แก่พาร์ตเนอร์ในการช่วยสร้างสรรค์ ขาย ใช้ และบริหารจัดการโซลูชั่นสำหรับใช้งานบนคลาวด์ ?แพลตฟอร์มแบบเปิด ให้ศักยภาพความคล่องตัวแก่พาร์ตเนอร์และลูกค้าในการสร้างโซลูชั่นที่ให้การตอบสนอง ทำงานได้อย่างสอดคล้อง และมีศักยภาพในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงธุรกิจ ที่จะมาช่วยเสริมประสิทธิภาพ ต่อยอดให้แก่การดำเนินธุรกิจของลูกค้าและศักยภาพในการปฏิบัติงาน ? พาร์ตเนอร์ที่นำโซลูชั่นในสำนักงานใช้ประโยชน์เต็มที่จากข้อได้เปรียบของคลาวด์: ตัวอย่างเช่น ผู้ให้บริการเทคโนโลยีอย่างเอสเอพี นำเสนอทูล เพื่อการบริหารเทคโนโลยี ให้การสนับสนุนและบริการ สามารถช่วยเพิ่มมูลค่าในการบริหารจัดการ เอสเอพีโซลูชั่นแบบ On-premise ไม่ว่าจะเป็นแบบไปรเวทหรือพับลิกคลาวด์ ?เอสเอพียังมีพาร์ตเนอร์อย่างเดลล์ และเวริซอน ที่พร้อมจะให้บริการสนับสนุนในการสร้างโครงสร้างคลาวด์ เพื่อลูกค้ามั่นใจได้ประโยชน์เต็มที่จากเทคโนโลยีคลาวด์ ประโยชน์ของคลาวด์ หากไม่นับเรื่องสถานที่ตั้งของบริษัทแล้ว บริษัทที่นำคลาวด์มาใช้งานมักจะได้เปรียบเกินหน้าคู่แข่งทางการธุรกิจอย่างมาก บริษัทที่ตัดสินใจใช้คลาวด์คอมพิวติ้ง สามารถเรียกใช้ทรัพยากรจำนวนมหาศาลของตนเองได้ ซึ่งไม่เพียงแต่จะช่วยเพิ่มศักยภาพขององค์กรในการตอบสนองต่อเงื่อนไขทางธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วเท่านั้น แต่ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายและประหยัดเวลา เปิดโอกาสให้สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ สู่ตลาดได้อย่างรวดเร็ว จากลักษณะเฉพาะตัวของคลาวด์ที่ยืดหยุ่นปรับขนาดได้ และกระจายตัวนั้นยังเป็นการช่วยเปิดโอกาสที่ไม่เคยมีมาก่อนให้การเชื่อมโยงระหว่างคน ธุรกิจ และประสบการณ์ที่เคยแต่ถูกจำกัดด้วยแอพพลิเคชั่นและรูปแบบการสื่อสารแบบเดิม ?ด้วยแผนผังที่ได้วางไว้อย่างดีและเทคโนโลยีที่น่าเชื่อถือจากผู้ให้บริการเทคโนโลยีที่ท่านไว้วางใจ องค์กรธุรกิจสามารถเริ่มต้นเก็บเกี่ยวผลกำไรจากการลงทุนด้านคลาวด์คอมพิวติ้งได้ตั้งแต่วันนี้ และสามารถช่วยธุรกิจของท่านให้เหนือคู่แข่งในอนาคต ติดต่อข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เจ้าหน้าที่ประสานงานประชาสัมพันธ์ พิตอน คอมมิวนิเคชั่น บูรณี จันทรปรรณิก, ชลวรรณ วงษ์อินทร์ โทรศัพท์ 081.841.37.67, 02.690.5681-4, buranii@piton.biz, chonlawon@piton.biz เอสเอพี ประเทศไทย นิตยา สอนวงค์ Nittaya.sornwong@sap.com สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net

แท็ก นวัตกรรม   ลาว  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ