1 มิ.ย. นี้ ตลาดตราสารหนี้ (BEX) ดีเดย์รับพันธบัตรรัฐบาลเข้าจดทะเบียนครั้งแรก พร้อมเริ่มซื้อขาย 10 รุ่น มูลค่ารวมเกือบสามแสนล้าน

ข่าวทั่วไป Monday May 30, 2005 16:13 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--30 พ.ค.--ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
นางสาวโสภาวดี เลิศมนัสชัย รองผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในฐานะประธาน
คณะอนุกรรมการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ของตลาดหลักทรัพย์ฯ กล่าวถึงพัฒนาการของตลาดตราสารหนี้
(Bond ElectronicExchange - BEX) ว่า ภายหลังการเปิดดำเนินการทำหน้าที่เป็นตลาดรองซื้อขาย
ตราสารหนี้
มาตั้งแต่วันที่ 26 พ.ย. 2546 BEX มีการเติบโตขึ้นมากเป็นลำดับ โดยเริ่มแรกมีตราสารหนี้ที่
ออก โดยบริษัท จดทะเบียน 6 แห่งเข้าจดทะเบียนซื้อขายจำนวน 23 รายการ มูลค่ารวม 158,648
ล้านบาท จนมาถึงปัจจุบันที่มี
ตราสารหนี้จดทะเบียนจากทั้งหมด 16 บริษัทรวม 42 รายการ มูลค่ารวม 203,031 ล้านบาท
“นับจากนี้ BEX ก็ยิ่งจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น เนื่องจากได้ขยายขอบเขตการให้บริการสู่นักลงทุนสถาบัน
และผู้ค้าตราสารหนี้ รวมถึงเปิดรับตราสารหนี้ทุกประเภทเข้าจดทะเบียนซื้อขาย ทำให้สามารถทำหน้าที่เป็นตลาด
รองตราสารหนี้ได้สำหรับทั้งภาครัฐและเอกชน ทำให้ BEX ให้บริการตลาดรองซื้อขายตราสารหนี้ได้อย่างมีประ
สิทธิภาพและสมบูรณ์แบบมากขึ้น สอดรับกับแผนพัฒนาตลาดตราสารหนี้ระยะที่ 2 ของคณะกรรมการกำกับการพัฒนา
ตลาดตราสารหนี้ในประเทศ ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธาน
การนำพันธบัตรรัฐบาลที่มีมูลค่าการซื้อขายและมีสภาพคล่องสูงสุดจำนวน 10 รุ่นซึ่งมีมูลค่ารวมเกือบ
สามแสนล้านบาท เข้ามาจดทะเบียนซื้อขายใน BEX ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. 2548 นี้ จะส่งผลให้มูลค่าคงค้างของ
ตราสารหนี้ใน BEX เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดอีกกว่าเท่าตัวเป็นเกือบ 5 แสนล้านบาท จึงนับว่าเป็นก้าวที่สำคัญ
ของ BEX และเชื่อว่าในอนาคตเราจะมีสินค้าที่หลากหลาย สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ลงทุนทุกกลุ่มได้
รวมถึงพัฒนาเป็นกลไกสำคัญในภาคการเงินและระบบเศรษฐกิจไทย” นางสาวโสภาวดีกล่าว
ดร.สันติ กีระนันทน์ ผู้จัดการตลาดตราสารหนี้ (Bond Electronic Exchange- BEX)
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้รับพันธบัตรรัฐบาลที่ออก
โดยกระทรวงการคลังจำนวน 10 รุ่น รวมมูลค่า 293,190 ล้านบาท เข้าเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนใน
ตลาดตราสารหนี้ พร้อมเริ่มซื้อขายได้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2548 เป็นต้นไป
“การเข้าจดทะเบียนของพันธบัตรรัฐบาล จำนวน 10 รุ่นในตลาดตราสารหนี้ BEX นับเป็นครั้ง
แรกที่ผู้ลงทุน
รายย่อยจะสามารถลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลได้โดยตรง และลงทุนได้อย่างสะดวกมากขึ้น และ
นับจากนี้ไป จะมีตราสารหนี้ภาครัฐอื่นๆ เช่น ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย พันธบัตรกองทุน
เพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ รวมถึงพันธบัตรออมทรัพย์ ทยอยเข้ามาจด
ทะเบียนใน BEX อย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ลงทุนมีทางเลือกลงทุนที่หลากหลายมากขึ้น
สำหรับการเข้าจดทะเบียนของตราสารหนี้10 รุ่นนี้ จะทำให้ปริมาณตราสารหนี้ใน BEX เพิ่มขึ้น
จาก 42 เป็น 52 รายการ มีมูลค่าคงค้างรวมทั้งหมด 496,221 ล้านบาท” ดร.สันติกล่าว
พันธบัตรรัฐบาล 10 รุ่นที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดตราสารหนี้ ประกอบด้วย
1. พันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษในปีงบประมาณ พ.ศ. 2542 ครั้งที่ 5/2 ชนิดดอกเบี้ยร้อยละ 8
ต่อปี ใช้ชื่อย่อในการซื้อขายหลักทรัพย์ว่า “LB06DA” พันธบัตรมีอายุ 8 ปี รวมมูลค่า 35,000 ล้านบาท
2. พันธบัตรรัฐบาลในปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 ครั้งที่ 5 ใช้ชื่อย่อในการซื้อขายหลักทรัพย์ว่า
“LB082A” พันธบัตรมีอายุ 7 ปี รวมมูลค่า 34,950 ล้านบาท
3. พันธบัตรรัฐบาลเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 ครั้งที่ 1 ใช้ชื่อย่อในการ
ซื้อขายหลักทรัพย์ว่า “LB104A” พันธบัตรมีอายุ 9 ปี รวมมูลค่า 39,440 ล้านบาท
4. พันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษในปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 ครั้งที่ 4 ใช้ชื่อย่อในการซื้อขายหลัก
ทรัพย์ว่า “LB108A” พันธบัตรมีอายุ 6 ปี รวมมูลค่า 30,000 ล้านบาท
5. พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 ครั้งที่ 3 ใช้ชื่อย่อใน
การซื้อขายหลักทรัพย์ว่า “LB11NA” พันธบัตรมีอายุ 10 ปี รวมมูลค่า 39,100 ล้านบาท
6. พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 ครั้งที่ 4 ใช้ชื่อย่อใน
การซื้อขายหลักทรัพย์ว่า “LB123A” พันธบัตรมีอายุ 7 ปี รวมมูลค่า 18,000 บาท
7. พันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษในปีงบประมาณ พ.ศ. 2542 ครั้งที่ 6/4 ชนิดดอกเบี้ยร้อยละ 8.25
ต่อปี ใช้ชื่อย่อในการซื้อขายหลักทรัพย์ว่า “LB143A” พันธบัตรมีอายุ 15 ปี รวมมูลค่า 40,000 บาท
8. พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 ครั้งที่ 3 ใช้ชื่อย่อใน
การซื้อขายหลักทรัพย์ว่า “LB14DA” พันธบัตรมีอายุ 10 ปี รวมมูลค่า 15,000 บาท
9. พันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษในปีงบประมาณ พ.ศ.2547 ครั้งที่ 5 ใช้ชื่อย่อในการซื้อขายหลัก
ทรัพย์ว่า “LB198A” พันธบัตรมีอายุ 15 ปี รวมมูลค่า 14,800 บาท
10.พันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 ครั้งที่ 3 ใช้ชื่อย่อใน
การซื้อขายหลักทรัพย์ว่า “LB19DA” พันธบัตรมีอายุ 15 ปี รวมมูลค่า 26,900 บาท
ผู้สนใจลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล สามารถซื้อขายผ่านบริษัทหลักทรัพย์ที่เป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์ฯ
(โบรกเกอร์) ได้ทุกแห่งเช่นเดียวกับการลงทุนในหุ้นสามัญ โดยลงทุนขั้นต่ำ 100 หน่วยๆ ละ 1,000 บาท
หรือประมาณ 100,000 บาท มีระยะเวลาชำระราคาและส่งมอบ 2 วันทำการหลังจากวันที่ทำรายการ (T + 2)
ผู้สนใจข้อมูลเพิ่มเติมของทั้งพันธบัตรรัฐบาลและตราสารหนี้ภาคเอกชนที่จดทะเบียนใน BEX
สามารถดูข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจเช่น ราคาซื้อขายต่อวัน สถิติการซื้อขาย รายละเอียดของพันธบัตร/ตรา
สารหนี้ภาคเอกชน เป็นต้น รวมทั้งการอบรมต่างๆ เกี่ยวกับการลงทุนในตราสารหนี้ได้จากเว็บไซต์ของ BEX ที่
www.bex.or.th สอบถามเพิ่มเติมทางอีเมล์ ที่ bex@set.or.th หรือโทร. 0-2229-2783 - 91 รวมทั้ง
ติดต่อสอบถามที่บริษัทโบรกเกอร์ที่ให้บริการซื้อขายตราสารหนี้ทุกแห่ง
ติดต่อส่วนสื่อมวลชนสัมพันธ์ ฝ่ายสื่อสารองค์กร
ลดาวัลย์ กันทวงศ์ โทร. 0-2229 — 2036
กุลวิดา จินตกะวงส์ โทร. 0-2229 — 2037
ณัฐพร บุญประภา โทร. 0-2229 — 2049
รรษมน เสาวคนธ์เสถียร โทร. 0-2229-2797
เอกสารแนบประกอบข่าวตลาดหลักทรัพย์ฯ ฉบับที่ 125 / 2548 วันที่ 30 พฤษภาคม 2548
รายละเอียดพันธบัตรรัฐบาล 10 รุ่น มูลค่ารวม 293,190 ล้านบาท ออกโดยกระทรวงการคลัง
สัญลักษณ์ วันครบกำหนด มูลค่าคงค้าง อายุ อัตราดอกเบี้ย วันชำระดอกเบี้ย
ไถ่ถอน (ล้านบาท) (ปี) (%)
1 LB06DA 8 ธ.ค. 2549 35,000 8 8 8 มิ.ย. และ 8 ธ.ค.
2 LB082A 12 ก.พ. 2551 34,950 7 4.12512 ก.พ. และ 12ส.ค.
3 LB104A 9 เม.ย. 2553 39,440 9 4.8 9 เม.ย. และ 9 ต.ค.
4 LB108A 13 ส.ค. 2553 30,000 6 4.25 13 ก.พ. และ 13 ส.ค.
5 LB11NA 30 พ.ย. 2554 39,100 10 5.375 30 พ.ค. และ 30 พ.ย.
6 LB123A 11 มี.ค. 2555 18,000 7 4.5 11 มี.ค. และ 11 ก.ย.
7 LB143A 5 มี.ค. 2557 40,000 15 8.25 5 มี.ค. และ 5 ก.ย.
8 LB14DA 3 ธ.ค. 2557 15,000 10 5 3 มิ.ย. และ 3 ธ.ค.
9 LB198A 13 ส.ค. 2562 14,800 15 5.5 13 ก.พ. และ 13 ส.ค.
10 LB19DA 3 ธ.ค. 2562 26,900 15 5.375 3 มิ.ย. และ 3 ธ.ค.
บริษัทหลักทรัพย์ที่ให้บริการซื้อขายตราสารหนี้ผ่านตลาดตราสารหนี้ BEX
ผู้สนใจลงทุนในตราสารหนี้ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม และติดต่อซื้อขายได้ผ่านบริษัทหลักทรัพย์ต่อไปนี้
1. บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จำกัด
2. บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
3. บริษัทหลักทรัพย์ ธนชาติ จำกัด (มหาชน)
4. บริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้ จำกัด
5. บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด (มหาชน)
6. บริษัทหลักทรัพย์ พัฒนสิน จำกัด (มหาชน)
7. บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด
8. บริษัทหลักทรัพย์ ซิกโก้ จำกัด (มหาชน)
9. บริษัทหลักทรัพย์ กิมเอ็ง จำกัด (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
10. บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน)
11. บริษัทหลักทรัพย์ บีฟิท จำกัด (มหาชน)
12. บริษัทหลักทรัพย์ ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด
13. บริษัทหลักทรัพย์ ยูไนเต็ด จำกัด (มหาชน)
14. บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน)--จบ--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ