วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (อุดมศึกษา) ร่วม BOI Fair 2011 จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ‘Flexible Warehousing Operations’

ข่าวทั่วไป Tuesday January 17, 2012 15:42 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--17 ม.ค.--วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม สาขาวิชาเทคโนโลยีโลจิสติกส์ คณะเทคโนโลยี วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (ระดับอุดมศึกษา) ร่วมงาน BOI Fair 2011 จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ‘Flexible Warehousing Operations’ 7-8 มกราคม 2555 ณ ห้อง Sapphire 2 อิมแพ็ค เมืองทองธานี อาจารย์พรพิสุทธิ์ มงคลวนิช อธิการบีดีวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (อุดมศึกษา) ประธานเปิดงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ Flexible Warehousing Operations กล่าวว่า ในนามวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม รู้สึกยินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสมาจัดงานสัมมนาในงาน BOI Fair 2011 การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง Flexible Warehousing Operations นอกจากผู้เข้าร่วมสัมมนาจะได้รับองค์ความรู้และประสบการณ์จากมืออาชีพด้านโลจิสติกส์ อย่างศาสตราจารย์ ดร.ฐาปนา บุญหล้า และทีมงานหลักสูตรปริญญาตรีและปริญญาโท สาขาวิชาเทคโนโลยีโลจิสติกส์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามแล้ว ผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมสัมมนายังจะได้รับวุฒิบัตรวิชาชีพด้านโลจิสติกส์ จากวิทยาลัยเทคโนโลยีสยามและมูลนิธิสถาบันโลจิสติกส์แห่งเอเชียอีกด้วย “วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม มุ่งเน้นความเป็นเลิศทางด้านนวัตกรรมหลากหลายสาขา ทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโท สอนโดยคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิและมืออาชีพเฉพาะทาง ประกอบด้วย หลักสูตรปริญญาตรี คณะเทคโนโลยี คณะบริหารธุรกิจ คณะศิลปศาสตร์คณะบัญชีและคณะรัฐศาสตร์ ส่วนหลักสูตรปริญญาโท เปิดสอนในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตและหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต” อาจารย์นงลักษณ์ นิมิตภูวดล หัวหน้าสาขาววิชาเทคโนโลยีโลจิสติกส์ กล่าวว่า การจัดการคลังสินค้า วันนี้ต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ การปฏิบัติการบริการลูกค้าทั้งภายในและภายนอกอย่างบูรณาการ เพื่อรักษาฐานลูกค้าเดิมและเพิ่มลูกค้าใหม่ จากการแนะนำบอกต่อ และเป็นจุดขายที่ทรงประสิทธิภาพ ด้วยการยกระดับการบริการลูกค้าและลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน โดยระบบสารสนเทศ การพัฒนาบุคลากรและการปฏิบัติการคลังสินค้าให้มีความรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำและสะดวกรวดเร็ว ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า การสัมมนาเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ สาขาวิชาเทคโนโลยีโลจิสติกส์ ได้รับเกียรติจากทางคณะกรรมการจัดงาน BOI Fair 2011 ให้ร่วมจัดสัมมนาเรื่อง “Flexible Warehousing Operations” เป็นการบริการทางวิชาการแก่สังคม จัดขึ้นตามแผนปฏิบัติงาน ประจำปี 2554 โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนา 120 คน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพูนความรู้แลกเปลี่ยน ระดมความคิด ถ่ายทอดเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทิศทางและแนวโน้มการจัดการคลังสินค้า การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจไทยในอนาคต ให้กับนักธุรกิจ นักลงทุน ผู้บริหาร ผู้ประกอบการ สถาบันการศึกษา คณาจารย์ นักศึกษาและผู้สนใจทั่วไป ให้สามารถนำความรู้จากการสัมมนาไปประยุกต์ใช้และพัฒนาคุณภาพการทำงาน คุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้น ด้านศาสตราจารย์ ดร.ฐาปนา บุญหล้า ผู้อำนวยการหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีโลจิสติกส์ เปิดเผยว่า หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีโลจิสติกส์ ถือเป็นหลักสูตรแรกในประเทศที่เปิดโอกาสให้ผู้ศึกษาทางด้านเทคโนโลยีโลจิสติกส์ ได้แสวงหาความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ รู้จักประมวลความคิด วิเคราะห์เหตุและผล ศึกษาการวางแผน กำหนดยุทธศาสตร์ทางด้านธุรกิจ การประยุกต์ใช้ในการบริหารและจัดการ ตลอดจนคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณแห่งโลกวิชาชีพ การเรียนการสอนในหลักสูตรมีทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เพื่อเพิ่มพูนทักษะในการเรียนรู้ โดยมีคณาจารย์ที่มีความรู้และประสบการณ์ มีเครื่องมืออุปกรณ์ทางการศึกษาที่ทันสมัยและเพียงพอในอันที่จะส่งเสริมการเรียนการสอน และเกิดงานวิจัยทางด้านโลจิสติกส์ เพื่อสร้างนวัตกรรมและองค์ความรู้ใหม่อันจะเป็นประโยชน์ต่อสังคม บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา จะต้องเป็นบัณฑิตที่มีองค์ความรู้ เทคนิคและเทคโนโลยีสมัยใหม่ ที่สามารถนำไปประยุกต์ในงานด้านโลจิสติกส์ และพร้อมที่จะประกอบอาชีพในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง ทั้งในหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน หรือสามารถประกอบอาชีพอิสระได้ อาทิ เจ้าหน้าที่หรือพนักงานระดับปฏิบัติการในสายงานโลจิสติกส์ นักวิเคราะห์ นักวิชาการ หัวหน้างาน ผู้จัดการฝ่ายโลจิสติกส์ และ Supply Chain ในกระทรวงคมนาคม กรมศุลากร การท่าเรือแห่งประเทศไทย บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) บริษัทสายการบิน บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด บริษัทขนส่งทั้งภายในและระหว่างประเทศ หรือผู้ให้บริการทางด้านโลจิสติกส์ ธุรกิจคลังสินค้า และการกระจายสินค้า ธุรกิจนำเข้าและส่งออก ธุรกิจจัดซื้อ จัดจ้าง คำว่า “เทคโนโลยี” หมายถึงความก้าวหน้าและทันสมัย ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ตัวสินค้าแทนที่จะใช้บาร์โค้ด แต่ปัจจุบันใช้ไมโครชิพ ทำให้ติดตามตรวจสอบได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ในหลักสูตรจะสอนอย่างนี้ เรียนจากของจริง ในสถานประกอบการ ซึ่งมีเครื่องมืออุปกรณ์พร้อม เรียนจากกรณีศึกษา เรียนจากการไปศึกษาดูงาน ผสมผสานกับทฤษฎี นี่คือหลัก ซึ่งจะแตกต่างจากที่อื่น โดยการเรียนในระดับปริญญาตรี จะเน้นการปฏิบัติ ส่วนระดับปริญญาโท จะเน้นในเรื่องการทำโครงการ การนำเสนองานวิจัย หรือวิทยานิพนธ์ จะอย่างไรก็ตาม ในอนาคตจะมีหลักสูตรการบิน ซึ่งจะเป็นสาขาหนึ่งของหลักสูตรเทคโนโลยีโลจิสติกส์ “ตลาดแรงงานต้องบุคลากรทางด้านโลจิสติกส์ ทั้งระดับล่างและระดับสูงปีละกว่า 3.5 แสนคน อ้างอิงจากข้อมูลของสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แต่จำนวนบัณฑิตที่ทุกสถาบันผลิตออกมา ทั้งระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประกาศนียบัตวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และระดับปริญญาตรี-โท ปีละไม่เกิน 5,000 คน” ผู้อำนวยการหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีโลจิสติกส์ กล่าว

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ