กรุงเทพฯ--11 มี.ค.--ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
เวทีสาธารณะเรื่อง จริยธรรมกับการวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์สมัยใหม่ :
แนวปฏิบัติที่พึงประสงค์
ในวันที่ 12 มีนาคม 2547 เวลา 09.00-16.30 น.
ณ ห้องเมจิก 3 โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ ถ.วิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ
ตรวจเลือดหามะเร็ง ครั้งเดียววินิจฉัยได้ 18 ชนิด, การรักษาโรคด้วยเซลล์,หวั่นต่างชาติเอาเปรียบดันศูนย์แลกเปลี่ยนเชื้อ,คนไทย 20 ล้านพาหะ ธาลัสซีเมีย, เซลล์ไขกระดูกอาจช่วยซ่อมสมอง
เหล่านี้คือความก้าวหน้าทางด้านการวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ นำมาซึ่งเทคโนโลยีและการคิดค้นสมัยใหม่ อาทิ ชีวสารสนเทศ การวิจัยเซลล์ต้นตอ หรือสเต็มเซล เป็นต้น
แต่ความก้าวหน้าทางการวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เป็นไปอย่างรวดเร็วนี้ ได้ส่งผลกระทบต่อสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบที่มีต่อความรู้สึกในเรื่องคุณค่า สิทธิ และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ทำให้สังคมต้องเริ่มคำนึงถึงข้อพิจารณาทางจริยธรรม และความเหมาะสมทั้งในด้านกระบวนการศึกษาวิจัย และการนำผลจากการวิจัยไปใช้ประโยชน์
ดังนั้นแนวปฏิบัติและประเด็นพิจารณาทางชีวจริยธรรมด้านการทำวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์สมัยใหม่ ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์จึงเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องมีการนำมาใช้ในประเทศไทย ดังนั้นศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ และมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) ภายใต้โครงการชีวจริยธรรมกับการวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์สมัยใหม่ ได้จัดทำแนวปฏิบัติขึ้น และได้จัดเวทีสาธารณะขึ้น ในวันที่ 12 มีนาคม 2547 เวลา 09.00-16.30 น. ณ ห้องเมจิก 3 โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ ถ.วิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ
เพื่อพิจารณาแนวทางปฏิบัติใน 3 ด้านคือ
1. แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการวิจัยทางพันธุกรรมในมนุษย์
2. แนวปฏิบัติการจัดทำข้อตกลงการใช้ตัวอย่างชีวภาพเพื่อการวิจัยระหว่างสถาบัน
3. แนวปฏิบัติการวิจัยด้านสเต็มเซลล์ในมนุษย์
วิทยากรร่วมอภิปรายและให้ข้อคิดเห็น อาทิ รศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์, รศ.ดร.ชัยวัฒน์ คุประตกุล
เวทีสาธารณะ
เรื่อง จริยธรรมกับการวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์สมัยใหม่: แนวปฏิบัติที่พึงประสงค์
วันศุกร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2547
ณ ห้องเมจิก 3 ชั้น 2 โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น ถ.วิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ
08.00 - 09.00 น. ลงทะเบียน
09.00 - 09.15 น. กล่าวนำ -ชี้แจงที่มา - เป้าหมาย ของการจัดประชุมครั้งนี้โดย
นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ เลขาธิการมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ
09.15 - 09.45 น. ปาฐกถาพิเศษ "จริยธรรมกับการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์"
โดย รศ.ดร.ชัยวัฒน์ คุประตกุล กรรมการบริหารสภาวิจัยแห่งชาติ
09.45 - 11.30 น. อภิปรายกลุ่ม "จริยธรรมกับการวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์สมัยใหม่:
มุมมองหลากหลายวิชาชีพ"
- มุมมองนักสังคมศาสตร์
โดย รศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์
คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- มุมมองนักวิทยาศาสตร์
โดย ศ.ดร.ประพนธ์ วิไลรัตน์
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- มุมมองนักกฎหมาย
โดย คุณนันทน อินทนนท์
ศาลฎีกา
ดำเนินรายการโดย
รศ.นพ.ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
11.30 - 12.30 น. ประชุมกลุ่มย่อย (แบ่งเป็น 3 กลุ่ม)
"แลกเปลี่ยนข้อมูล - รับฟังความเห็นและข้อเสนอแนะ" ต่อ (ร่าง)
แนวปฏิบัติและประเด็นพิจารณาทางชีวจริยธรรม
ด้านการทำวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์สมัยใหม่ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์
กลุ่มที่ 1 : แนวปฏิบัติการวิจัยทางพันธุกรรมในมนุษย์
ผู้ดำเนินรายการ รศ.ดร.คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
นำเสนอโดย พญ.ดวงฤดี วัฒนศิริชัยกุล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
กลุ่มที่ 2 : แนวปฏิบัติการจัดทำข้อตกลงการใช้ตัวอย่างชีวภาพเพื่อการวิจัยระหว่างสถาบัน
ผู้ดำเนินรายการ รศ.นพ.จิตติวัฒน์ สุประสงค์สิน คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
นำเสนอโดย นพ.วีรยุทธ ประพันธ์พจน์ โรงพยาบาลราชานุกูล
กลุ่มที่ 3: แนวปฏิบัติการวิจัยด้านสเต็มเซลล์ในมนุษย์
ผู้ดำเนินรายการ นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ เลขาธิการมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ
นำเสนอโดย รศ.นพ.สมชาย สุวจนกรณ์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
12.30 -13.30 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.30 - 15.00 น. ประชุมกลุ่มย่อย (ต่อ)
15.00 - 16.15 น. นำเสนอ "ข้อสรุป - ความเห็นแตกต่าง - ข้อเสนอในการใช้แนวปฏิบัติฯ" จากกลุ่มย่อย
ประธานการนำเสนอ รศ.นพ.ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
นำเสนอโดย พญ.ดวงฤดี วัฒนศิริชัย
นพ.วีรยุทธ ประพันธ์พจน์
รศ.นพ.สมชาย สุวจนกรณ์
16.30 น. ปิดการประชุม
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 02-511-5855 ต่อ 116--จบ--
-นห-