กรุงเทพ--24 ม.ค.--สถาบัน GIT
6 จิวเวลรี่ดีไซน์เนอร์ เลือดใหม่ จาก GITร่วมถอดรหัสงานสถาปัตaย์อันวิจิตรเนรมิตสู่อัญมณีสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ GIT ตัดสินผลงานรอบตัดเชือก ได้ 6 จิวเวลรี่ดีไซน์เนอร์เลือดใหม่ จากเวทีประกวดออกแบบเครื่องประดับ ครั้งที่ 5 (GIT Gem and Jewelry Design Award 2011) ร่วมโชว์ฝีมือถอดรหัสงานสถาปัตย์อันวิจิตรเนรมิตสู่อัญมณี : The Mega Project - Jewelry Design Inspired by Architectural Conceptนายจุมพล เด่นเมฆา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ หรือ GIT กล่าวว่า “สถาบันได้จัดโครงการประกวดออกแบบเครื่องประดับ ครั้งที่ 5 (GIT Gem and Jewelry Design Award 2011) ในหัวข้อ สถาปัตย์อันวิจิตร เนรมิตสู่อัญมณี : The Mega Project - Jewelry Design Inspired by Architectural Concept เพื่อเป็นเวทีให้กับนักเรียน นิสิต นักศึกษา รวมถึงนักออกแบบมืออาชีพรุ่นใหม่ได้แสดงพลังแห่งการคิดสร้างสรรค์และจินตนาการด้านการออกแบบเครื่องประดับ เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพด้านการออกแบบเครื่องประดับให้เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในเวทีโลก โดยในปีนี้ได้ตั้งเป้ายกระดับคุณภาพ มาตรฐานของนักออกแบบเครื่องประดับไทยในระดับภูมิภาคเอเชีย จึงได้เปิดกว้างเวทีการประกวดให้ชาวต่างชาติ ได้มีโอกาสเข้าร่วมแข่งขันในเวทีนี้ด้วย ปรากฎว่าได้รับความสนใจอย่างคึกคัก โดยมีผู้ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดทั้งหมด 502 แบบวาด โดยเป็นผลงานจากประเทศไทย จำนวน 462 แบบวาด และจากต่างประเทศ จำนวน 40 แบบวาด มีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากแวดวงต่างๆมาร่วมตัดสินอย่างคับคั่ง อาทิคุณบุญกิต จิตรงามปลั่ง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เบนสัน จิวเวลรี่ จำกัด, คุณสุวลักษณ์ มหันตคุณ นักออกแบบ และกรรมการผู้จัดการ บริษัท บี ครีเอชั่นส์ จำกัด และเจ้าของร้านแบรนด์ "บี บิฌูส์", คุณสุริยน ศรีอรทัยกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท บิวตี้เจมส์ แฟคตอรี่ จำกัด , ผศ.ทวีศักดิ์ มูลสวัสดิ์ อาจารย์ประจำสาขาการออกแบบเครื่องประดับ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และคุณอภิสิทธิ์ ไล่ศัตรูไกล ผู้อำนวยการศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ เป็นต้น”ในปีนี้ได้รับเกียรติจากนายศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน ซึ่งทางกระทรวงพานิชย์เล็งเห็นถึงศักยภาพของสถาบันฯ GIT ในการส่งเสริมและสนับสนุนทรัพยากรด้านบุคคลและสร้างนักออกแบบอัญมณีและเครื่องประดับรุ่นใหม่เพื่อเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้แก่อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยผ่านการประกวดออกแบบเครืองประดับ เพราะถือเป็นการเปิดเวทีให้นักออกแบบได้ฝึกฝนฝีมือและความคิดสร้างสรรค์ และยังช่วยให้นักออกแบบรุ่นใหม่ได้มีโอกาสนำเสนอผลงานแก่สายตาประชาชน พร้อมแสดงศักยภาพและขีดความสามารถให้เป็นที่ประจักษ์ในระดับโลกรองผู้อำนวยการสถาบัน GIT กล่าวต่อไปว่า “การประกวดในปีนี้มี 6 รางวัล แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทเครื่องประดับสำหรับสุภาพบุรุษ , ประภทเครื่องประดับสำหรับสุภาพสตรี โดยทั้ง 2 รางวัลประกอบด้วย รางวัลชนะเลิศ , รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 , รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 และมีรางวัลพิเศษ คือ รางวัลขวัญใจกรรมการ และรางวัล Popular Design ซึ่งเป็นรางวัลพิเศษที่มอบให้สำหรับผู้ที่มีผลงานเข้าตากรรมการที่สุด ผู้ชนะเลิศจะได้รับเงินรางวัลจำนวน USD4,000 หรือมูลค่ากว่า 120,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศ”สำหรับผลงานเครื่องประดับที่นำมาแสดงแฟชั่นโชว์ในรอบตัดสินนั้น เป็นผลงานที่ผ่านการคัดสรรจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมาแล้ว โดยผลิตเป็นชิ้นงานจริง และเชิญนายแบบ นางแบบมืออาชีพ อาทิ ชมพู่ — อารยา เอ ฮาเก็ต , เคน — ภูภูมิ , คิมเบอร์ลี แอน เทียมศิริ , หมาก — ปริญ สุภารัตน์รถเมล์ — คะนึงนิจ จักรสมิทธานนท์ , บอย — ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ มาร่วมเดินแฟชั่นโชว์ณ ลานแฟชั่นฮอลล์ ชั้น 1 ศูนย์การค้าสยามพารากอนโดยผลการตัดสินประเภทเครื่องประดับสุภาพบุรุษ ผู้คว้ารางวัลชนะเลิศ คือ นายเศรษฐา ธีระโสภณพิพัฒน์ จากผลงาน VIGOROUS , รองชนะเลิศอันดับที่ 1 นายชยวัธน์ อึ้งรังษีโสภณ จากผลงาน Un ete a Paris (ฤดูร้อน ณ กรุงปารีส) , รองชนะเลิศอันดับ 2 คุณนันทกุล ซีตันติเวช จากผลงาน Proposal ประเภทเครื่องประดับสุภาพสตรี ผู้คว้ารางวัลชนะเลิศ คือ นายไพโรจน์ ศรีธันวา จากผลงาน The Nest , รองชนะเลิศอันดับ 1 นางสาวณัฐฐา สุขประเสริฐ จากผลงาน GOLDEN GATE, และ นางสาวศุภรานันท์ กาญจนกุล จากผลงาน ชเวดากอง ส่วนรางวัลขวัญใจกรรมการ ได้แก่ นายโชคชัย ธีระศรีสมบัติ และรางวัล Popular Design ได้แก่ นางสาวณัชนุกร ศรีหาวงศ์ด้าน นายเศรษฐา ธีระโสภณพิพัฒน์ ผู้คว้ารางวัลชนะเลิศประเภทเครื่องประดับสุภาพบุรุษได้เปิดใจถึงผลงานภายหลังการประกวดว่า “ผลงาน VIGOROUS ได้แรงบันดาลใจมาจากตึก Mahanakornซึ่งเป็นศูนย์รวมความหรูหราทันสมัย โดยออกแบบผลงานให้สะท้อนความหรูหราและสง่างาม ตลอดจนคำนึงถึงการใช้งานให้ผลงานการออกแบบมีประโยชน์ใช้สอยที่หลากหลาย สามารถเป็นทั้งหูฟังและทรัมป์ไดร์ฟในคราวเดียวกัน”ส่วน นายไพโรจน์ศรีธันวา ผู้คว้าชัยชนะจากรางวัลประเภทเครื่องประดับสุภาพสตรีกล่าวว่า “ตนเองได้ไอเดียจากสนามกีฬารังนก ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมระดับโลกที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ชิ้นงานต้องใช้ฝีมือและความละเอียดโดยการสานวัสดุเข้าด้วยกันเพื่อเป็นตัวแทนของรังนก ส่วนไข่มุกซึ่งเป็นอัญมณีล้ำค่าแทนไข่นก ”สำหรับ รางวัลขวัญใจกรรมการ นายโชคชัย ธีระศรีสมบัติ ได้รับนั้น คณะกรรมการต่างเห็นพ้องเป็นเสียงเดียวกันว่ามีความประณีตและเลือกใช้วัตถุที่มีความน่าสนใจ ในผลงาน Athens Olympic Stadium ที่ได้แรงบันดาลใจจากความงดงามของโครงสร้างที่ประสานเชื่อมต่อเป็นหนึ่งเดียว เปรียบเสมือนดั่งความสามัคคีและความกลมเกลียวกันการประกวดออกแบบเครื่องประดับ ที่จัดขึ้นโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ GIT นับเป็นการปั้นจิวเวลรี่ดีไซน์เนอร์รุ่นใหม่มาประดับวงการอย่างต่อเนื่อง นับเป็นความภาคภูมิใจของสถาบันที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยผ่านกิจกรรมการประกวดที่จัดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net