กรุงเทพ--24 ม.ค.--ดาคอน อินสเป็คชั่น เซอร์วิสเซส
ทีมนักซิ่งทีมเล็กๆจากประเทศไทยได้มีโอกาสเยือนประเทศดูไบ เพื่อเข้าร่วมการแข่งขัน ดูไบ ทเว็นตี้โฟร์ อาวร์ เอ็นดูรานซ์เรซ 2012 (Dubai 24 Hour Endurance Race) เช่นดียวกันกับนักขับจากทั่วโลก การแข่งขันดังกล่าวเป็นการแข่งขันเอ็นดูรานซ์ 24 ชั่วโมงระดับนานาชาติที่มีชื่อเสียง จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี และในปี 2012นี้ ก็มีนักขับอย่าง แบนด์ ชไนเดอร์ (Bernd Schneider), จารูน ปลีกเคอร์มูลิน (Jarooen Bleekemolen),โทมัส เอ็งเง (Thomas Enge ) และนักขับชื่อดังอีกหลายๆคน พร้อมทีมที่มีชื่อเสียงอย่าง เอเอฟ คอสเซอร์ (AF Corse), ไฮโค มอเตอร์สปอร์ต (Heico Motorsport), ชูแบร์ท มอร์เตอร์สปอร์ต (Schubert Motorsport) และ ซาอุดี ฟัลคอนส์ (The Saudi Falcon’s)ทีมนักขับจากเมืองไทย ซึ่งบริหารจัดการโดย โทมัส ราลดอร์ฟ (Thomas Raldorf) มีการเตรียมความพร้อมตั้งแต่ เดือนสิงหาคมปีที่แล้ว รถที่จะใช้แข่งได้ถูกขนส่งไปยังสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เมื่อต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ในตอนแรกมีความตั้งใจที่จะเป็นทีมไทยแบบร้อยเปอร์เซ็นต์ ทั้งนักขับและทีมช่างเป็นคนไทยทั้งหมด ทว่า มหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในประเทศไทย ส่งผลกระทบให้นักขับไทยหลายคนไม่สามารถเข้าร่วมการแข่งได้ สุดท้ายจึงลงตัวที่นักขับที่มีใบอนุญาตขับขี่จากประเทศไทย 3 คน คือ เอกรัตน์ วิหวัธประภา, พิษณุ ศิริมงคลเกษม, โทมัส ราลดอร์ฟ และนักขับที่มีใบอนุญาตขับขี่จากเดนมาร์ก อีก 2 คน คือ จาค็อบ โบรัม (Jakob Borum) และ นีลส์ โบรัม (Niels Borum) ที่ร่วมลงขับในฐานะทีมตัวแทนจากประเทศไทย ทีมช่างได้เดินทางไปถึงดูไบ ตั้งแต่วันที่ 7 มกราคม ช่วงวันที่ 8 -10 มกราคม เป็นช่วงเตรียมความพร้อมเรื่องเครื่องยนต์ ทีมซิ่งไทยได้เริ่มต้น การซ้อมครั้งแรก (first practice session) วันที่ 11 มกราคม ช่วงแรกที่ลงสนามทุกอย่างเป็นไปอย่างราบรื่น กระทั่งจบการซ้อมทีมช่างได้พบว่า ตัวเซ็นเซอร์ของรถประมวลผลผิดพลาดทำให้การสั่งจ่ายน้ำมันมีปัญหา ทีมช่างจึงทำงานตลอดคืน เพื่อซ่อมให้ทุกอย่างเข้าสู่สภาพที่ควรจะเป็นก่อนควอลิฟายในวันถัดมา วันที่ 12 มกราคม ควอลิฟายแรก และควอลิฟายครั้งที่สอง รถก็ยังคงมีปัญหา เรื่องน้ำมัน ทำให้ทีมซิ่งไทยเราอยู่อันดับสุดท้ายในกริดสตาร์ท ทีมช่างจึงต้องทำงานกันตลอดทั้งคืนอีกครั้ง และก็สำเร็จในที่สุด ช่วงวอมอัพแลปทีมซิ่งไทยได้ fastest lap เร็วกว่าตอน ควอลิฟายถึง 9 วินาทีการแข่งขันเริ่มต้น 14.00น. ของวันที่ 13 มกราคม เวลาประเทศดูไบ หลังจากวอมอัพแลปและโรลลิ่งสตาร์ททีมใน6 แลปแรก ทีมซิ่งไทยก็ไล่แซงขึ้นมาเรื่อยๆจนอยู่อันดับที่ 7 ของกลุ่ม ทำเวลาได้เร็วกว่าเดิม 3 วินาที และเวลาเร็วเป็นอันดับที่ 2 ของกลุ่ม หลังจากผ่านไป 6 แลป ก็ถูกแซงขึ้นรถโดยรถกลุ่มนำ จากนั้นเริ่มเสียเวลากับการมองกระจกหลังเพื่อระวัง รถกลุ่ม A6 ซึ่งเร็วกว่ามาก ไม่ว่าจะเป็น Mercedes SLS AMG’s, Lamborghini’s และ Porsches ไม่นานนัก ปรากฏว่า ถังน้ำมันคู่ซึ่งเพิ่งถูกติดตั้งเมื่อ 2-3 วันก่อน เพื่อให้ใส่น้ำมันได้ครบถึง 120 ลิตร ตามกำหนด เป็นอีกปัญหาที่ทีมปวดหัวตลอด ทีมจึงตัดสินใจแก้ปัญหาถอดถังน้ำมันออกไปหนึ่งถัง เหลือถังเพียงแค่ถังเดียวทำให้ทีมต้องกลับเข้าพิทบ่อยมากเพื่อเติมน้ำมัน เพราะไม่มีทางเลือกอื่น กระทั่งเริ่มพลบค่ำก็ยังคงรักษาอันดับอยู่ที่ 7 มีสลับขึ้นไอยู่ที่ 3 ที่4 ที่5 และ ที่ 6 ตามลำดับ แต่พอเริ่มมืดทีมซิ่งไทยก็เริ่มเจอปัญหาใหม่ ทีมได้ทำการติดตั้งไฟสูงสำหรับรถแรลลี่ไว้ที่ เอ็นจิน ฮู๊ด (Engine hood) แต่ไม่ได้เทสท์ก่อน ปรากฏว่าเมื่อเริ่มเปิดไฟ รถไม่สามารถจ่ายกระแสไฟได้พอ ทำให้แบตเตอรี่หมด เป็นเหตุให้ต้องกลับเข้าพิตเลนเพื่อเปลี่ยนไฟตัวที่คิดว่าเป็นปัญหา ทว่าปัญหาก็ยังคงอยู่ ทำให้ทีมกลับเข้าพิทอีกครั้งเพื่อตัดไฟสูงแรลลี่ออก 2 ตัว จากนั้นก็เริ่มตัดไฟสูงแรลลี่ออกหมดทุกตัว ตามด้วยไฟสูงซีนอน และสุดท้ายต้องตัดระบบปั๊มน้ำมันตัวที่ 2 ออก เพื่อให้รถมีกระแสไฟพอที่จะใช้ สิ่งที่เกิดขึ้นได้ทำให้นักซิ่งทีมไทยเข้า-ออกพิทตลอดเวลา ต้องขับช้าลงเพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่เกิดอุบัติเหตุใดใดขณะที่ไฟรถไม่สว่างมากพอในการมองถนนและเข้าโค้ง ผ่านไปอีก 3 ชั่วโมง ECU ก็เริ่มมีปัญหา ทุกครั้งที่เร่งเครื่องเกินกว่า 7000 ECU ก็จะดับ ทำให้นักขับต้องดับเครื่องและสตาร์ทใหม่อีกครั้ง เมื่อกลับเข้าไปในพิตก็ยังไม่สามารถหาสาเหตุได้ ทีมจึงตัดสินใจขับต่อไปเพื่อที่จะเก็บจำนวนแลป และก็หวังว่าจะไม่มีปัญหาอื่นๆเกิดขึ้นมาเพิ่มอีก เริ่มเข้าสู่เช้าของวันที่ 14 มกราคม ทีมไทยก็ยังคงอันดับไว้ที่ 7 คาดว่าจะคงที่อยู่เท่านี้ เพราะรถคันอื่นๆก็ดูไม่มีจุดอ่อนใด พอเข้าสู่ 9.00 น. รถที่อยู่อันดับที่ 4 และ 5 ก็เริ่มเข้า-ออกพิตเพราะเริ่มมีปัญหา ช่วงเวลา 10.00 น. รถที่อยู่อันดับที่ 6 ก็เริ่มมีปัญหาเช่นกัน นักซิ่งไทยลงความเห็นที่จะคงความเร็วที่ระดับเดิม หวังให้ได้แข่งจนจบการแข่งขัน อีกหนึ่งชั่วโมงก่อนหมดเวลา ดูเหมือนมีความเป็นไปได้สำหรับการไต่ไปที่อันดับที่ 6 หรือแม้กระทั่งอันดับที่ 5 แต่ทีมก็มองว่าการได้แข่งจนจบการแข่งขันนั้น สำคัญกว่าการได้ที่ 5 หรือ ที่ 6 ซึ่งก็ไม่ได้ต่างอะไรกันมากนัก นักขับทุกคนจึงพยายามประคองเพื่อจะให้รถขับไปได้จนจบการแข่งขัน ถ้ามีโอกาสที่จะทำอันดับได้ดีขึ้นก็จะทำ ถ้าไม่มีก็ไม่เป็นไร 10 นาทีสุดท้ายก่อนสิ้นสุดการแข่งขัน ทีมซิ่งไทยเขยิบขึ้นมาที่อันดับที่ 6 ไม่กี่นาทีก่อนจบก็เขยิบขึ้นมาอันดับที่ 5 ในแลปที่ 4 เมื่อหมดเวลาการแข่งขันทีมนักขับไทยคว้าที่ 6 ของกลุ่ม ที่ 46 ของโอเวอร์ออล จากที่เริ่มต้นการแข่งขันมีรถทั้งหมด 75 คัน มีหลายคันที่ไม่สามารถแข่งจนจบการแข่งขันได้ เนื่องจากปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นระหว่างแข่ง คอมเม้นเตเตอร์ของผู้จัดได้พูดถึงทีมซิ่งไทยว่า เข้าออกพิตทั้งหมด 30 ครั้ง มากว่าทีมอื่นๆในการแข่ง แต่เป็นที่สังเกตุได้ชัดว่าใช้เวลาในพิตน้อยกว่าทีมอื่นๆมาก ซึ่งก็ต้องยกความดีความชอบให้กับทีมช่างที่ดูแลให้รถแข่งได้จนจบ 24 ชั่วโมง ทีมก็รู้สึกว่าพอใจหลังจากสิ้นสุดการแข่งที่ทรหดและยาวนาน ทุกคนก็ต่างตั้งใจว่าจะลงแข่งซีรีส์นี้อีกครั้งในปี 2013 เพราะทุกคนต่างก็มีประสบการณ์และรู้แล้วว่าจะต้องเตรียมตัวและเตรียมพร้อมอย่างไรสำหรับปีหน้า ด้านสื่อมอร์เตอร์สปอร์ตต่างประเทศให้ความสนใจในทีมเล็กๆจากประเทศไทย ที่บินมาไกลเพื่อที่จะมาแข่งกับทีมที่มีชื่อเสียง อย่าง เบซาพลัสท์ (Besaplast) และ เอส ไอ จี (S.I.G) จากประเทศเยอรมัน ต่างก็สนใจอยากรู้เกี่ยวกับมอร์เตอร์สปอร์ตในประเทศไทย ซึ่งโดยส่วนใหญ่ไม่รู้ว่ามอร์เตอร์สปอร์ตในประเทศไทยใหญ่ขนาดไหน ทีมนักขับไทยก็ขอขอบคุณกลุ่มของผู้สนับสนุนที่ทำให้มีโอกาสเข้าร่วมการแข่งขันครั้งนี้ ได้แก่ เดอะพิซซ่าคอมปะนี, ไรเดน, บีควิก, ลิควิ โมลี, การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, ยูนิคาร์ ดีทู ซัสเป็นชั่น,ราชยานยนต์สมาคมฯ, เอ็นเอฟเอส,คุณเจริญ อ่วมจันทร์ อู่สอิ้งการ์เด้น ไข่ เซอร์วิส เรซซิ่ง, ต้นสติ๊กเกอร์, แลป 57, สเปนเซอร์ เอสวีดีพี เรสซิง, เจมส์ เคย์. ดูเอล เรสซิง และ ครีเวนติกFor more information, please contact โทมัส ราลดอร์ฟ Mobile +66 81 377 1553 raldorf@hotmail.com
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net