เครื่องมือช่วยหุ่นยนต์ทางการแพทย์ ในการตรวจหาเนื้อเยื้อมะเร็งที่ผิดปกติในขณะการผ่าตัดแบบเจาะช่องขนาดเล็ก

ข่าวทั่วไป Wednesday January 25, 2012 09:41 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--25 ม.ค.--มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ดร.เกียรติศักดิ์ แสงประดิษฐ์ นักวิจัย จาก มทร.ธัญบุรี ร่วมกับ Prof. Proka Dasgupta แพทย์ จาก guy’s Hospital ลอนดอน ประเทศอังกฤษ คิดค้นเครื่องมือช่วยการทำงานของหุ่นยนต์ทางการแพทย์ ในการตรวจหาเนื้อเยื้อมะเร็งที่ผิดปกติในขณะการผ่าตัดแบบเจาะช่องขนาดเล็ก(Minimally invasive surgery (MIS))ได้เป็นผลสำเร็จ ดร.เกียรติศักดิ์ เปิดเผยว่า เครื่องมือชนิดนี้จะช่วยให้แพทย์ได้เห็นและเข้าใจตำแหน่งของเนื้อเยื้อที่ผิดปรกติ โดยใช้เซนเซอร์วัดแรง โดยหลักความคิดง่ายๆคือจะใช้ ตัวเซนเซอร์วัดแรงในโรงงานอุตสากรรมทั่วไป เข้าไปทำหน้าที่คล้ายกับมือของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ตรวจบริเวณอวัยวะที่คาดว่าจะมีเนื้อเยื้อที่ผิดปรกติ แต่จะแสดงผลให้แพทย์เห็นข้อมูลในลักษณะกราฟรูปภาพสามมิติ ของแรงปฏิกิริยาระหว่างตัวเซนเซอร์กับอวัยวะ แทนความรับรู้สึกของแพทย์ ซึ่งแพทย์จะสามารถรู้ข้อมูลที่เที่ยงตรงจากเครื่องมือนี้ และสามารถนำไปใช้ในการผ่าตัดหรือวิธีรักษาต่อไป เครื่องมือจะถูกติดตั้งเข้ากับแขนกลของหุ่นยนต์ผ่าตัด ซึ่งเครื่องมือนี้มีขนาดเท่ากับ 8 มิลลิเมตร เพื่อที่จะสามารถสอดผ่านช่องท้องจะเจาะรูไว้สำหรับแขนกล ทั้งนี้ยังมีการออกแบบแบบจำลองของเครื่องมือดังกล่าวขณะทำงานบนอวัยวะอีกด้วย เพื่อใช้ในการคาดเดาพฤติกรรมการเครื่องไหวของอวัยวะเมื่อถูกกระทำโดยเครื่องมือนี้ และ ยังใช้แบบจำลองนี้ในการวิเคราะห์คาดการณ์ หาความข้อมูลของเนื้อเยื้อที่ผิดปรกติได้ ไม่ว่าจะเป็น คาดการณ์หาความแข็งของตัวเนื้อเยื้อที่ปรกติ หาตำแหน่ง หาขนาด และหาความลึก เป็นต้น ซึ่งการหาข้อมูลเหล่านี้ นั้นทำได้ยาก ถ้าใช้เครื่องมือเพียงอย่างเดียว ทั้งนี้ ในการผ่าตัด ตั้งแต่ปี คศ. 1985 ศูนย์วิจัย Cholecystectomy ได้เริ่มคิดค้นการผ่าตัดแบบเจาะช่องขนาดเล็ก (Minimally invasive surgery (MIS)) โดยปกติการผ่าตัดชนิดนี้จะใช้หุ่นยนต์ในการปฏิบัติการ โดยจะเจาะช่องเล็กๆบนช่องท้องขนาดเล็กไม่เกิน 10 มิลลิเมตร จำนวน 3 ช่องหรือมากกว่า โดยหลักการทำงานทั่วไปของการผ่าตัดเจาะช่องขนาดเล็กนั้น จะมีการเจาะช่องหนึ่งหรือมากกว่าเพื่อจะสอดใส่กล้องเพื่อจะแสดงผลภาพภายในร่างกายต่อแพทย์ผู้ผ่าตัด และจะมีช่องอีก2 ช่องสำหรับสอดแขนกลซ้าย-ขวาของหุ่นยนต์เพื่อปฏิบัติการ หุ่นยนต์ทางการแพทย์ที่นิยมในปัจจุบันคือ หุ่นยนต์ Da Vinci หลักการทำงานของระบบหุ่นยนต์ Da VinCi นั้นจะมีแขนกลซ้ายขวาของหุ่นยนต์จะถูกควบคุมโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญผ่านทางก้านควบคุม (joystick) โดยแพทย์จะมองภาพจากกล้องบนจอคอมพิวเตอร์ที่รับจากกล้องที่สอดเข้าไปไหนตัวผู้ป่วย แพทย์ที่จะทำการผ่าตัดแบบนี้ต้องมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และต้องผ่านการฝึกฝนมาเป็นอย่างดี โดยจะมีผู้ช่วยแพทย์ที่จะค่อยช่วยเหลือในการขยับกล้องหรืออุปกรณ์ต่างๆอีก 2-3 คน การผ่าตัดแบบเจาะช่องขนาดเล็กได้ถูกพัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆจนถึงปัจจุบันและการผ่าตัดชนิดนี้ก็ได้มีการนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย เมื่อเปรียบเทียบการผ่าตัดแบบเจาะช่องขนาดเล็ก กับการผ่าตัดแบบเปิดช่องท้อง นั้นจะเห็นได้ว่า การผ่าตัดแบบเจาะช่องขนาดเล็กนั้นมีข้อดีหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น ลดความเจ็บปวดของคนป่วย การเสียเลือดน้อยกว่า และระยะการพักฟื้นเร็วกว่า อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดแบบเจาะช่องขนาดเล็ก ก็มีข้อด้อย คือ ข้อจำกัดในการมองเห็นภายในอวัยวะ ซึ่งแพทย์ได้รับจากกล้องขนาดเล็ก และแพทย์ไม่สามารถรับแรงปฏิกิริยาตอบโต้จากก้านควบคุมแขนกลในขณะที่อวัยวะสัมผัสกับแขนกลของหุ่นยนต์ นั้นอาจจะทำให้แขนกลอาจจะไปทำลายอวัยวะในขณะปฏิบัติการได้ และยากที่จะสามารถควบคุมแรงของแขนกลไม่ให้กระทบกับอวัยวะใกล้เคียง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องใช้แพทย์ที่มีความชำนาญเท่านั้น การตรวจหาเนื้อเยื้อที่ผิดปรกตินั้นอาจทำได้คร่าวๆ โดยการกด หรือ คลำของแพทย์ผู้มีประสบการณ์ เพื่อหาตำแหน่งที่แข็งผิดปรกติ และโดยปรกติแล้วส่วนใหญ่ เนื้อเยื้อที่ก่อเกิดมะเร็งนั้นจะมีความแข็งกว่าเนื้อเยื้อปรกติ ดังนั้นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะสามารถคาดเดาตำแหน่งของเนื้อเยื้อที่ผิดปรกติได้ แต่แพทย์นั้นก็ไม่สามารถคลำ หรือ กด พบเนื้อเยื้อร้ายดังนั้นกล่าวเมื่อเกิดขึ้นในอวัยวะที่อยู่ลึกจากจากผิวหนัง แต่อาจจะทำได้ถ้าทำการผ่าตัวแบบเปิดช่องท้อง อย่างไรก็ตามแพทย์จะไม่สามารถทำเช่นนี้ได้เลยในการปฏิบัติการผ่าตัดแบบเจาะช่องขนาดเล็กซึ่งแขนกลของหุ่นยนต์เท่านั้นที่สามารถสอดผ่านไปได้ ด้วยข้อจำกัดข้างต้น จึงเป็นที่มาของการคิดค้น วิจัยและประดิษฐ์เครื่องมือช่วยการทำงานของหุ่นยนต์ทางการแพทย์ ในการตรวจหาเนื้อเยื้อมะเร็งที่ผิดปกติในขณะการผ่าตัดแบบเจาะช่องขนาดเล็ก ขึ้นมาช่วยในการผ่าตัด ซึ่งในขณะนี้ใช้กับหุ่นยนต์ผ่าตัดสำหรับผู้ป่วย ดังกล่าว สามารถใช้ได้กับหุ่นยนต์ที่ผ่าตัดกับผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ของ guy’s Hospital เป็นผลสำเร็จซึ่งในขณะนี้ ดร.เกียรติศักดิ์และ Prof.Proka Dasgupta ยังมีโครงการที่จะพัฒนาอุปกรณ์ดังกล่าวให้สามารถใช้กับหุ่นยนต์ผ่าตัดกับผู้ป่วยโรคชนิดอื่นๆต่อไป ผู้ใดสนใจต้องการทราบรายละเอียดสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ ดร.เกียรติศักดิ์ แสงประดิษฐ์ หมายเลขโทรศัพท์ 081-4932489

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ