กรุงเทพ--25 ม.ค.--สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ
นางสุชาดา ชยัมภร รอง ผอ. รักษาแทน ผอ. สพภ. ได้เผยกลยุทธ์การทำงานต้องเน้นการทำงานเชิงรุก ในปี 2555 เนื่องจากประเทศชาติของเราประสบปัญหาอุทกภัยมานานนับเดือน ซึ่งก็ส่งผลสร้างความเสียหายให้กับทรัพยากรชีวภาพของประเทศไทย เกิดผลกระทบกระเทือนไม่ใช่น้อย ทางด้านเศรษฐกิจ หรือ ด้านภูมิประเทศ ทางสพภ. ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ใกล้ชิดกับชุมชนและทรัพยากรชีวภาพโดยตรง จึงเล็งเห็นความสำคัญในปัญหาดังกล่าวการทำงานช่วง4 ปี ที่กำลังผ่านไปของ สพภ. ได้ผลักดันโครงการให้เกิดการมีส่วนร่วมด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรชีวภาพกว่า 60 ชุมชน และในปีนี้ก็เพิ่มอีก 20 ชุมชนที่สนใจเข้าร่วมโครงการ นายเสมอ ลิ้มชูวงศ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ เสริมว่าภาพรวมของชุมชนว่าการทำงานในปี2555 ว่า ปีหน้า สพภ.จะเข้าไปสนับสนุนชุมชนเพิ่มเติมอีก 20 ชุมชน จากเดิม 60 ชุมชน โดยจะกระจายไปยังจังหวัดต่างๆ ซึ่งชุมชนที่จะเข้าร่วมนั้นต้องผ่านเกณฑ์การคัดเลือก อาทิ ต้องมีวิถีชีวิตหรือตั้งบ้านเรือนอยู่ในแหล่งทรัพยากรชีวภาพและใช้ทรัพยากรชีวภาพในการดำรงชีวิต และต้องมีกลุ่มหรือองค์กร ทั้งที่เป็นองค์กรอาชีพหรือองค์กรอนุรักษ์ รวมทั้งมีปราชญ์หรือผู้รู้ในชุมชน “ตอนนี้มีหลายชุมชนที่เสนอตัวเข้ามา ส่วนการจะขยายจำนวนชุมชนหรือไม่นั้นต้องดูเรื่องงบประมาณที่เข้ามาสนับสนุนด้วย แต่ทางสพภ.จะรับทุกชุมชนที่สมัครเข้ามาเพื่อพิจารณาในปีต่อไป” สพภ. ให้คงให้ความสำคัญกับการทำงานร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นอย่างมาก เพราะทุกครั้งที่ลงพื้นที่เพื่อเพิ่มศักยภาพชุมชน ต้องประสานงานผ่านทั้งอบต. เทศบาล หรือกำนันผู้ใหญ่บ้านและเป็นองค์กรที่ช่วยให้การทำงานในพื้นที่สะดวกมากขึ้น “หากมองกลไกของอปท.ถือว่าเป็นกลไกสำคัญที่จะพัฒนาพื้นที่ทุกหมู่บ้าน ทุกชุมชน ฉะนั้น กลไกเหล่านี้จะเป็นกลไกผลักดันการทำงานต่างของชุมชน รวมทั้งการอนุรักษ์และฟื้นฟู”ส่วนชุมชนเดิมที่เข้าไปส่งเสริมทั้ง 60 ชุมชนนั้น ในปีหน้า สพภ.จะดำเนินการอยู่ 3 เรื่อง คือ 1.การเป็นที่ปรึกษาในการพัฒนาคุณภาพและบรรจุภัณฑ์ 2.เรื่องการทำการตลาดทั้งภายในและภายนอก 3.การพัฒนาวัตถุดิบให้ได้รับมาตรฐานGMP ขณะเดียวกันผลิตภัณฑ์ที่จะออกจากสพภ.จะต้องเป็นผลิตภัณฑ์จากชุมชน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และรายได้ที่เกิดขึ้นต้องนำกลับมาอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรที่นำมาใช้ประโยชน์ “ชุมชนต่างๆที่เราเข้าไปสนับสนุนมีการตื่นตัวกันมากขึ้นและพร้อมให้ความร่วมมือกับสพภ.ในการทำงาน ซึ่งในปี2555 สพภ.จะมีการร่วมกับสถาบันการศึกษาเข้าไปพัฒนาแบบครบวงจร ทั้งด้านวิชาการ การศึกษาวิจัย และการทำตลาด เนื่องจากสถาบันการศึกษาในต่างจังหวัดนั้นมีศักยภาพและสามารถต่อยอดผลิตภัณฑ์ในชุมชนได้”นางสุชาดา กล่าวทิ้งท้าย ว่า จากการลงพื้นที่เพื่อทำงานที่เข้มข้นทั้งทางด้านชุมชน ด้านการจัดเก็บและเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรชีวภาพ เพื่อประโยชน์สำหรับประเทศไทย หรือ กิจกรรมต่างๆ ตลอดระยะเวลา 4 และกำลังก้าวสู่ปีที่ 5 สพภ. มั่นใจว่า ถ้าประเทศเราหันมาใช้ฐานทรัพยากรชีวภาพของเรามากขึ้น สามารถพัฒนานำไปสู่การใช้ประโยชน์ในตลาดโลกมากขึ้น และใช้อย่างยั่งยืนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง จะทำให้ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจน้อยที่สุด “อยากให้ภาคเอกชนให้ความสำคัญในเรื่องนี้มากขึ้น เพื่อช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ไม่ใช่ว่าการทำงานเพื่อธุรกิจอย่างเดียว แต่อยากให้ตระหนักถึงผลกระทบในอนาคตด้วย เพื่อลูกหลาน และเพื่อประเทศชาติ”สอบถามเพิ่มเติม : กลุ่มงานสื่อสารองค์กรและสื่อสารการตลาด 02-141-7845
สามารถคลิกดูภาพประกอบได้ที่ www.thaipr.net