กรุงเทพฯ--25 ม.ค.--บลจ.ฟินันซ่า
นายธีรพันธุ์ จิตตาลาน กรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ฟินันซ่า จำกัด แจ้งว่าเพื่อเป็นการรองรับการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย ทางบลจ.ฟินันซ่าได้เสนอขายกองทุนกองทุนตราสารหนี้ ประมาณการผลตอบแทน 3.45% ต่อปีเพื่อให้นักลงทุนได้รับผลตอบแทนท่ามกลางการประกาศลดดอกเบี้ยนโยบาย และถ้าสถานการณ์เศรษฐกิจยุโรปแย่ลงต่อเนื่องอาจจะได้เห็นการปรับลดของดอกเบี้ยนโยบายอีกในช่วงที่เหลือของปี นอกจากนี้ จากการที่ ธนาคารแห่งประเทศไทยมีนโยบายจะจัดเก็บค่าธรรมเนียมจากธนาคารพาณิชย์เพิ่มเติมเพื่อลดภาระหนี้จากกองทุนฟื้นฟูจะยิ่งส่งผลให้แนวโน้มดอกเบี้ยเงินฝากอยู่ในระดับที่ต่ำ ดังนั้น การลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ที่มีส่วนผสมของพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้เอกชนคุณภาพดี จะช่วยเพิ่มผลตอบแทนให้แก่ผู้ลงทุนได้ดีกว่าการฝากเงินเพียงอย่างเดียว
แนะนักลงทุนควรที่จะเริ่มฝากเงินด้วยระยะเวลาที่ยาวขึ้น ก่อนที่อัตราดอกเบี้ยในตลาดจะปรับลดลง ฟินันซ่าออกกองทุนเปิดฟินันซ่าตราสารหนี้พลัส 6 เดือน 6 (FAM FIP 6M6) ให้ประมาณการผลตอบแทน 3.45 % ต่อปีอายุประมาณ 6 เดือน เสนอขายถึงวันที่ 31 มกราคม 2555 ผู้ที่สนใจสามารถจองซื้อขั้นต่ำ 2,000 บาท สำหรับผลตอบแทนน่าสนใจเมื่อเปรียบเทียบกับกองตราสารหนี้ระยะสั้นอายุเท่ากันที่เสนอขายอยู่ในตอนนี้
FAM FIP 6M6 มีนโยบายที่จะลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งหนี้ที่มีความสามารถในการชำระดอกเบี้ยและเงินต้น โดยกองทุนจะพิจารณาลงทุนในตราสารแห่งหนี้ ตราสารทางการเงิน และ/หรือ เงินฝาก ของภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหรือผู้ออกตราสารอยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (Investment Grade) FAM FIP 6M6 จะลงทุนใน เงินฝากต่างประเทศ สกุลเงิน USD หรือ CNY กับธนาคาร (BOC, ICBC, HK หรือ Macau, Sydney) ตั๋วเงินหรือเงินฝากธนาคารพาณิชย์ในประเทศ ตั๋วแลกเงิน บริษัท ดั๊บเบิ้ลเอ (1991) ตั๋วแลกเงิน บมจ. บัตรกรุงไทย บมจ.ทางด่วนกรุงเทพ บมจ.เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น บมจ.เอเซียเสริมกิจลีสซิ่ง บมจ.แลนด์แอนด์เฮ้าส์ บมจ.ควอลิตี้เฮ้าส์ บมจ.ภัทรลิสซิ่ง และตั๋วเงินคลังหรือพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย อัตรารับซื้อคืนอัตโนมัติ (ต่อปี) ถึง 3.45 นับว่าเป็นกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีเมื่อเทียบกับกองทุนอื่นในลักษณะเดียวกัน โดยในเดือนที่ผ่านมาตัวเลขประมาณการที่เห็นสำหรับกอง 6 เดือนจะเป็น 2.9-3.4%[1]ต่อปีเท่านั้น
ตราสารที่ลงทุน ผลตอบแทนของตราสารในรูปสกุลเงินบาทโดยประมาณ (ต่อปี) สัดส่วนการลงทุนโดยประมาณ ผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุนในรูปสกุลเงินบาทโดยประมาณ (ต่อปี) ระยะเวลาการลงทุนโดยประมาณ
เงินฝากต่างประเทศ สกุลเงินUSD หรือ CNY กับธนาคาร (BOC ,ICBC,HK หรือ Macau,Sydney )* 3.60%* 35.50% 1.27% 6 เดือน
ตั๋วเงินหรือเงินฝากธนาคารพาณิชย์ในประเทศ**
ตั๋วแลกเงิน บริษัท ดั๊บเบิ้ลเอ (1991)(BBB)*** 4.20% 22.50% 0.94% 6 เดือน
ตั๋วแลกเงิน บมจ. บัตรกรุงไทย(BBB+),บมจ.ทางด่วนกรุงเทพ (A),บมจ.เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น (BBB+), 3.62% 40.50% 1.46% 6 เดือน
บมจ.เอเซียเสริมกิจลีสซิ่ง(BBB+),บมจ.แลนด์แอนด์เฮ้าส์ (A),บมจ.ควอลิตี้เฮ้าส์ (A-),บมจ.ภัทรลิสซิ่ง (A)***
ตั๋วเงินคลัง หรือ พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย 3.05% 1.50% 0.040% 6 เดือน
ประมาณการค่าใช้จ่ายกองทุน (ต่อปี) (0.26%)
อัตรารับซื้อคืนอัตโนมัติ (ต่อปี) 3.45%
เมื่อครบกำหนดการลงทุนบริษัทจัดการจะทำการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนอัตโนมัติ โดยจะจัดให้มีการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนส่วนที่เหลือทั้งหมดของกองทุนนี้เพื่อใช้ในการสับเปลี่ยนไปยังกองทุนเปิดฟินันซ่าเพิ่มพูนทรัพย์ (FAM VF) หรือกองทุนรวมตลาดเงินอื่นภายใต้การจัดการของบริษัทจัดการของผู้ถือหน่วยลงทุนทุกรายโดยอัตโนมัติ โดย FAM VF มีผลการดำเนินงานที่โดดเด่น ให้ประมาณการผลตอบแทนที่ 3.19 % ต่อปี 3 เดือนย้อนหลัง ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2554[2] ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ของธนาคารใหญ่ไม่ถึง 1 %
ผลตอบแทนย้อนหลัง FAM VF เกณฑ์มาตรฐาน*
3 เดือน 3.19% 1.95%
6 เดือน 3.07% 1.88%
1 ปี 2.55% 1.60%
3 ปี n/a n/a
YTD 2.57% 1.61%
ตั้งแต่จัดตั้งกองทุน 2.41% 1.51%
หมายเหตุ
*เกณฑ์มาตรฐาน อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนเฉลี่ย ประเภทบุคคลธรรมดาวงเงิน 1 ล้านบาทของธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
การวัดผลการดำเนินงานของกองทุนรวมนี้ ได้จัดทำขึ้นตามมาตรฐานการวัดผลการดำเนินงานกองทุนรวมของสมาคมบริษัทจัดการลงทุน
- การลงทุนในหน่วยลงทุนมิใช่การฝากเงิน และมีความเสี่ยงของการลงทุน ผู้ลงทุนควรลงทุนในกองทุนเปิดฟินันซ่าตราสารหนี้พลัส 6เดือน 6 เมื่อเห็นว่าการลงทุนในกองทุนนี้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การลงทุนของตนและผู้ลงทุนยอมรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนได้
- ในกรณีที่มีเหตุการณ์ไม่ปกติ ผู้ลงทุนอาจได้รับชำระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนล่าช้ากว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ในหนังสือชี้ชวน
- ในกรณีที่กองทุนนี้ไม่สามารถดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องได้ ผู้ลงทุนอาจไม่สามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้ตามที่มีคำสั่งไว้
- เนื่องจากกองทุนนี้ลงทุนในต่างประเทศบางส่วน จึงมีความเสี่ยงที่ทางการของต่างประเทศอาจออกมาตรการในภาวะที่เกิดวิกฤตการณ์ไม่ปกติ ทำให้กองทุนไม่สามารถนำเงินกลับเข้ามาในประเทศ ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้ลงทุนไม่ได้รับคืนเงินตามระยะเวลาที่กำหนด
-กองทุนนี้มีความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมของประเทศที่กองทุนไปลงทุน ผู้ลงทุนควรศึกษาถึงปัจจัยต่างๆ ที่อาจมีผลกระทบอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจลงทุน
[1] จากตารางสรุปรายละเอียดกองทุนตราสารหนี้ ประจำเดือนมกราคม 2555 จัดทำโดย บล.ฟินันซ่า
2 จาก fund fact sheet กองทุนเปิดฟินันซ่า เพิ่มพูนทรัพย์ เดือนธันวาคม 2554