เอบีเอ็น แอมโร ชี้-ประเด็นการค้าระหว่างประเทศส่งผลกระทบกับบริษัทไทยเป็นอย่างมาก

ข่าวทั่วไป Monday March 15, 2004 16:39 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--15 มี.ค.--เวเบอร์ แชนด์วิค (ประเทศไทย)
ความเข้าใจที่ดีในกฎเกณฑ์ LETTER OF CREDIT (หนังสือยืนยันการชำระเงิน) ช่วยบริษัทไทยประหยัดได้อีกหลายล้านบาท
เอบีเอ็น แอมโร ชี้ให้เห็นว่าถ้าบริษัทต่างๆ มีความเข้าใจกฎ UCP500 (Uniform Customs and Practice for Documentary Credits) ดียิ่งขึ้น และสามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้องจะเป็นการช่วยลดปัญหาและต้นทุนที่ต้องเสียไปกับข้อขัดแย้งในเอกสารทางการค้าได้เป็นอย่างมากทีเดียว
มร. คาร์ล สต็อคกิ้ง หัวหน้าส่วนภูมิภาคเอเชียเหนือของฝ่ายงานการให้บริการและคำปรึกษาทางด้านการค้า - Global Trade Advisory (GTA)ของธนาคาร เอบีเอ็น แอมโร กล่าวว่า "กว่า 60 - 70 เปอร์เซ็นต์ในการทำเอกสารทางการค้าทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทยนั้นไม่ผ่านการตรวจสอบจากธนาคารในการนำเสนอครั้งแรก ทั้งนี้ปัญหาที่พบมากเกิดจากการที่ผู้เกี่ยวข้องในการจัดทำเอกสารดังกล่าวซึ่งรวมถึงฝ่ายธนาคารเองยังขาดความเข้าใจและการตีความในกฎระเบียบทางการค้า ทำให้ต้องมีการตรวจทาน แก้ไข และดำเนินการกับธนาคารใหม่ ซึ่งคิดเป็นค่าใช้จ่ายจำนวนมาก อาทิเช่น การสูญเสียดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมการดำเนินการที่เพิ่มขึ้น เป็นต้น"
มร.สต็อคกิ้ง กล่าวต่อไปว่า "เอกสารทางการค้าทั่วโลกนั้นมีเงินหมุนเวียนมากกว่า 40 ล้านล้านบาทต่อปี เพราะฉะนั้นการลดปัญหาที่เกิดขึ้นและการตรวจสอบเอกสารต่างๆ ให้เป็นไปตามกฎระเบียบตั้งแต่เริ่มดำเนินการจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการหมุนเวียนกระแสเงินสดและช่วยลดเงินทุนหมุนเวียนได้นับล้านบาทต่อปีเลยทีเดียว"
มร.แกรี่ โคลเยอร์ หัวหน้าที่ปรึกษาทางเทคนิคด้านการค้าและการพัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับส่วนงานการให้บริการและคำปรึกษาทางด้านการค้า - Global Trade Advisory (GTA) ของธนาคาร เอบีเอ็น แอมโร ซึ่งเป็นวิทยากรให้กับงานสัมมนาเรื่อง "ความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่าง UCP และ ISBP" ที่จัดขึ้นที่กรุงเทพฯ เมื่อเร็วๆ นี้ ได้ให้ความเห็นว่า "ถึงแม้ว่ากฎ UCP นั้นจะมีการจัดตั้งขึ้นมานานกว่า 70 ปีแล้ว แต่คนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจและไม่สามารถนำหลักการและเงื่อนไขต่างๆ ไปใช้ได้อย่างถูกต้อง สิ่งที่เราต้องเรียนรู้คือการให้ความสำคัญกับรายละเอียดที่จำเป็นต่อการนำไปใช้และกฎระเบียบต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อเงื่อนไขในการทำการค้าระหว่างประเทศ"กฎ UCP นั้นได้มีการออกแบบขึ้นสำหรับการทำ Letter of Credit โดยเฉพาะได้มีการปรับปรุงแก้ไขภายใต้การนำของ มร. โคลเยอร์ ทั้งนี้ มร. โคลเยอร์เห็นว่าการ แก้ไขกฎต่างๆ ที่จะช่วยให้การค้าทั่วโลกมีประสิทธิภาพและราบรื่นมากยิ่งขึ้นนั้นจะต้องมีฉบับเนื้อหาที่ช่วยในการอธิบายกฎระเบียบได้อย่างชัดเจน เนื่องจากว่าประเทศส่วนใหญ่ที่มีการใช้ Letter of Credit นั้นอาจไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก"จากความคิดดังกล่าว ICC จึงได้มีการร่างกฎ ISBP (International Standard Banking Practice for the Examination of Documents under Documentary Credits) ขึ้นใช้เพื่ออธิบายการนำไปใช้ในระดับสากล ซึ่งจะช่วยลดความคลุมเครือในการตีความระหว่างบริษัทไทยกับธนาคาร และธนาคารไทยกับธนาคารต่างชาติ ความเข้าใจถึงสิ่งที่ธนาคารยอมรับและไม่ยอมรับนี้จะช่วยลดจำนวนเอกสารที่ไม่ผ่านการอนุมัติจากธนาคารลงเป็นจำนวนมาก
มร. โคลเยอร์ กล่าวว่า "เอบีเอ็น แอมโร ในฐานะที่เป็นหนึ่งในสถาบันการเงิน มีบทบาทสำคัญในการให้ความรู้และสร้างความเข้าใจในเรื่องของการค้าและระเบียบทางการค้าโดยอาศัยการให้ความรู้ผ่านโครงการสัมมนาต่างๆ ซึ่งโครงการดังกล่าวนั้นจะเป็นกุญแจสำคัญช่วยให้เราสามารถศึกษาปัญหาและประเด็นต่างๆ ของแต่ละประเทศได้เป็นอย่างดี" เมื่อเร็วๆ นี้ มร.โคลเยอร์ นั้นได้เดินทางมาที่ประเทศไทยเพื่อเผยแพร่เรื่องการค้าระหว่างประเทศและการลงทุน อีกทั้ง มร. โคลเยอร์ ยังดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาให้กับ ICC โดยให้คำปรึกษาเรื่องกฎ UCP500 และกฎของ ICC อื่นๆ ซึ่งในฐานะที่ปรึกษานี้ทำให้สามารถนำผลที่ได้รับดังกล่าวไปใช้ในการพัฒนากฎมาตราต่างๆ ทางการค้า ธนาคาร เอบีเอ็น แอมโร และโดยความร่วมมือกับชมรมธุรกิจต่างประเทศ สมาคมธนาคารไทย ได้เป็นเจ้าภาพในการจัดสัมมนาเรื่อง "ความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่าง UCP และ ISBP" ที่กรุงเทพฯ นี้ และธนาคาร เอบีเอ็น แอมโร จะดำเนินการจัดสัมมนาในหัวข้อดังกล่าวในอีกสี่เมืองหลักทั่วเอเชีย ประกอบด้วย ฮ่องกง, จาร์กาต้า, ไทเป และ ซีอาน เอบีเอ็น แอมโร ดำเนินงานเพื่อมอบคุณค่าเพิ่มให้กับลูกค้ามาโดยตลอด ทั้งนี้มีการเสนอประเภทของความร่วมมือทางธุรกิจการค้าและการให้บริการจัดการทำธุรกรรมให้แบบเบ็ดเสร็จที่หลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่ การบริหารจัดการขั้นตอนการดำเนินธุรกิจต่างๆ ไปจนถึงการรับจัดการทำธุรกรรมให้ลูกค้า (Outsourcing) และความร่วมมือกันในด้านยุทธศาสตร์การค้า ทั้งนี้ช่องทางการให้บริการทางการค้าทางเว็บไซต์ MaxTrad ซึ่งได้รับรางวัลต่างๆ มาแล้วนั้นเป็นตัวอย่างบริการหนึ่งซึ่งจะช่วยให้ลูกค้าของธนาคารสามารถรักษาแบรนด์และแฟรนไชส์ของตนเองให้อยู่ในตำแหน่งผู้นำด้านเทคโนโลยีของตนเองไว้ได้โดยการนำเสนอวิวัฒกรรมผลิตภัณฑ์และบริการสินเชื่อทางการค้าอย่างเต็มรูปแบบผ่านระบบออนไลน์ให้กับลูกค้าของตนเอง
ด้วยประสบการณ์มากกว่า 175 ปีในการเป็นสื่อกลางด้านการค้าและการให้สินเชื่อในระดับโลก ทำให้ เอบีเอ็น แอมโร เป็นผู้นำในด้านการให้บริการด้านการค้า พร้อมด้วย Global Trade Advisory ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Working Capital Business ของธนาคาร ที่ทำให้ เอบีเอ็น แอมโร สามารถให้บริการที่เฉพาะเจาะจง, การค้าผ่านทางเว็บไซต์ และ ระบบการจัดการ ให้เงินหมุนเวียนทางการเงินให้กับบริษัทลูกค้าและสถาบันการเงินต่างๆ ทั่วโลก
เกี่ยวกับ เอบีเอ็น แอมโร
เอบีเอ็น แอมโรเป็นธนาคารชั้นนำระดับโลก มีสำนักงานใหญ่ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยมีสินทรัพย์รวมกว่า 560.4 พันล้านยูโร (ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2546) เอบีเอ็น แอมโร มีสาขากว่า 3,000 แห่งในกว่า 60 ประเทศ และมีพนักงานประจำกว่า 110,000 คนทั่วโลก เอบีเอ็น แอมโรนั้นเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ยูโรเน็กซ์ ลอนดอน และนิวยอร์ก ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ www.abnamro.com/wholesale
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อ
Charles Skeeles (ฮ่องกง) +852 2700 5251
Lim Li Koon (สิงค์โปร์) +65 6231 8465
หรือ บริษัท เวเบอร์ แชนด์วิค (ประเทศไทย) จำกัด
คุณลักษณ์พิไล วรทรัพย์ 662 257 0300 #312--จบ--
-นท-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ