กรุงเทพฯ--27 ม.ค.--กระทรวงวัฒนธรรม
เมื่อวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๕๔ ที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย นางสุกุมล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ได้แถลงผลการประชุมคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ว่า คณะกรรมการได้มีมติระกาศยกย่องผู้ที่ได้รับการคัดเลือกศิลปินแห่งชาติ พุทธศักราช ๒๕๕๔ ใน ๓ สาขา ได้แก่ ๑.สาขาทัศนศิลป์ ๒.สาขาวรรณศิลป์ ๓.สาขาศิลปะการแสดง จำนวน ๙ คน ดังนี้ ๑.นายเฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ๒.นายเมธา บุนนาค ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรม) ๓. นายทองร่วง เอมโอษฐ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ประณีตศิลป์ — ศิลปะปูนปั้น) ๔. นายประภัสสร เสวิกุล ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ (นวนิยายและกวีนิพนธ์) ๕.นายสุชาติ สวัสดิ์ศรี ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ (เรื่องสั้นและกวีนิพนธ์) ๖.นางรัจนา พวงประยงค์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์ไทย-ละคร) ๗.นายนคร ถนอมทรัพย์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทยสากล-ประพันธ์และขับร้อง) ๘.นายเศรษฐา ศิระฉายา ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทยสากล-ขับร้อง) ๙.รองศาสสวตราจารย์สดใส พันธุมโกมล ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ละครเวทีและละครโทรทัศน์)
นางสุกุมล กล่าวต่อว่า ศิลปินแห่งชาติเหล่านี้เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติที่โดดเด่นทางศิลปะและเป็นตัวอย่างที่ดี รวมทั้ง มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งต่องานด้านวัฒนธรรมของกระทรวงวัฒนธรรม โดยศิลปินที่ได้รับการประกาศยกย่องในครั้งนี้ จะได้รับสวัสดิการเป็นค่าตอบแทน เดือนละ ๒ หมื่นบาท จากกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมและยังได้รับสวัสดิการค่ารักษาพยายบาลในกรณีที้เจ็บป่วยตามระเบียบราชการอีกด้วย นอกจากนี้ ศิลปินแห่งชาติและผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยก็ยังได่รับการช่วยเหลือเยียวยา เพื่อบรรเทาความเดือดร้อยอีกด้วย
ด้าน นางปริศนา พงษ์ทัดศิริกุล อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กล่าวว่า สำหรับเกณฑ์การคัดเลือกศิลปินแห่งชาติ ประกอบด้วย ๓ หลักเกณฑ์ใหญ่ ได้แก่ ๑.คุณสมบัติของศิลปินแห่งชาติ ได้แก่ เป็นผู้มีสัญชาติไทยและยังมีชีวิตอยู่ในวันตัดสิน เป็นผู้มีความรู้ความสามารถ มีความเชียวชาญ และมีผลงานดีเด่นเป็นที่ยอมรับของวงการศิลปะแขนงนั้น เป็นผู้สร้างสรรค์และพัฒนาศิลปะแขนงนั้น เป็นผู้ผดุง ถ่ายทอดหรือเป็นต้นแบบศิลปะแขนงนั้น เป็นผู้มีคุณธรรม และมีความรักในงานศิลปะของตน ละเป็นผู้มีผลงานที่ยังประโยชน์ต่อสังคมและมนุษยชาติ ๒.คุณค่ามาตรฐานผลงานศิลปะของศิลปินแห่งชาติ เช่น ผลงานต้องสื่อให้เห็นถึงคุณคาในความดี ความงาม คุณค่าทางอารมณ์ สะท้องความเป็นธรรมชาติ และ ๓. การเผยแพร่และยอมรับคุณค่าผลงานของศิลปินแห่งชาติ
ทั้งนี้ โครงการศิลปินแห่งชาติเริ่มตั้งแต่เมื่อปีพ.ศ. ๒๕๒๗ และประกาศผลการคัดเลือกศิลปินแห่งชาติในปีแรก เมื่อพ.ศ. ๒๕๒๘ จนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. ๒๕๕๓) มีศิลปืนสาขาต่างๆที่ได้รับการคัดเลือกเป็นศิลปินแห่งชาติแล้วรวม ๒๑๒ คน เสียชีวิตไปแล้ว ๙๒ คน มีชีวิตอยู่ ๑๒๐ คน
นายชัยพล สุขเอี่ยม
กลุ่มประชาสัมพันธ์ กระทรวงวัฒนธรรม
โทร.02-4228851