ใครจะได้รับเลือกเป็นตัวแทนประเทศไทยไปร่วมลุ้นรับมอบรางวัลสุดยอดผู้นำธุรกิจแห่ง เอเชียในปี 2547

ข่าวทั่วไป Tuesday March 16, 2004 16:49 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--16 มี.ค.--สปาร์ค คอมมิวนิเคชั่นส์
ใครจะได้รับเลือกเป็นตัวแทนประเทศไทยไปร่วมลุ้นรับมอบรางวัลสุดยอดผู้นำธุรกิจแห่ง เอเชียในปี 2547
รางวัลสุดยอดผู้นำธุรกิจแห่งเอเชีย
เชิดชูผู้นำทางธุรกิจในภูมิภาคที่มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงที่สุดในโลก
ซีเอ็นบีซี เอเชีย แปซิฟิก ผู้ให้บริการข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจชั้นนำระดับโลก ทีเอ็นที เอเชีย ผู้ให้บริการลอจิสติกส์ชั้นนำระดับโลก และไชน่า บิสสิเนส เน็ตเวิร์ค (ซีบีเอ็น) สำนักข่าวชั้นนำในประเทศจีน ประกาศเปิดตัวการมอบรางวัลสุดยอดผู้นำทางธุรกิจแห่งภูมิภาค เอเชีย (ABLA) ครั้งที่ 3 ประจำปี 2547
งานมอบรางวัลสุดยอดผู้นำทางธุรกิจในครั้งนี้ ซึ่งจะจัดขึ้นที่เมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน เป็นระยะเวลาสองวัน คือในวันที่ 25 และ 26 พฤษภาคม 2547 โดยรายละเอียดของงานจะ ประกอบด้วยงานประกาศรางวัลพร้อมเลี้ยงรับประทานอาหารค่ำ การประชุมสุดยอดผู้บริหาร จากทั่วทุกประเทศ ในภูมิภาคเกี่ยวกับประเด็นปัญหาที่ผลกระทบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ โลก และการแข่งขันกอล์ฟระดับผู้บริหาร ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของงานทั้งสองวัน
รางวัล ABLA ดำเนินการจัดงาน และนำเสนอโดย ซีเอ็นบีซ ีและทีเอ็นที ร่วมสนับสนุน โดยซีบีเอ็น ฮิวเลต-แพคการ์ด และสายการบินมาเลเซีย เริ่มขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 2544 เป็นรางวัล เพียงรางวัลเดียวในภูมิภาค ที่มอบให้กับผู้บริหารที่มีความโดดเด่นในการเป็นผู้นำ และมีทักษะ ในการบริหาร เพื่อให้องค์กรประสบความสำเร็จอย่างสูงจนเป็นที่ยอมรับทั้งภายใน และต่าง ประเทศ
ในปี 2545 ผู้ที่ได้รับรางวัลสุดยอดผู้นำทางธุรกิจแห่งภูมิภาคเอเชีย คือ นายเอส รามาโดไร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ทาทา คอนซัลแทนซี่ เซอร์วิส ซึ่งผู้ได้รับ คัดเลือกให้ร่วมเข้า ชิงรางวัลในรอบสุดท้ายประกอบด้วย ดร. ดำรง เกษมเศรษฐ ประธานบริษัท ชิน แซทเทิลไลท์ จำกัด (มหาชน) จาก ประเทศไทย และ นายทัน ศรี ดาโต๊ะ ลี ชิน เฉิง ประธานบริษัท ไอโอไอ คอร์ปอเรชั่น เบอร์แฮด จากประเทศมาเลเซีย
แนวความคิดหลักในปีนี้คือ "สู่ความสำเร็จด้วยความเป็นผู้นำ" การเป็นผู้นำของ ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในทุกๆภาวะแวดล้อมนั้น จะต้องมีวิสัยทัศน์มองการณ์ไกล และมีความ มั่นใจในการตัดสินใจ ดังนั้นรางวัล ABLA ในปีนี้ จึงจะมอบให้แก่เหล่าผู้นำที่มีความสามารถ และประสบความสำเร็จในธุรกิจ อีกทั้งยังเป็นรากฐานในการนำพาองค์กรสู่ความสำเร็จในอนาคต ซึ่งความสามารถในการมองหาโอกาส กล้าที่จะเสี่ยง ปรับองค์กรให้ทันสมัยเพื่อตอบสนอง ความท้าทายใหม่ๆ และสร้างองค์กรที่มองการณ์ไกล ทำให้บุคคลเหล่านั้นสามารถนำพา ธุรกิจไปสู่ความสำเร็จด้วยความเป็นผู้นำอย่างแท้จริง
ผู้พิจารณาการตัดสินในปีนี้นำทีมโดยศาสตราจารย์มาร์ค อี. ซีมิสจิวสกี้ ผู้ทรงคุณวุฒิ จากคณะบริหารธุกิจ มหาวิทยาลัยสำหรับบัณฑิตประจำมลรัฐชิคาโก ศาสตราจารย์ลีออน คาร์โรล มาร์แชล ศาสตราจารย์ด้าน บัญชีและ คณบดีคณะบริหารธุรกิจระดับสูง และมร. วิลเลี่ยม ดับบลิว คูเซอร์ รองคณบดีคณะบริหารธุรกิจ (ภาคพิเศษ)
กระบวนการตัดสินถูกแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนด้วยกัน คือ ในขั้นตอนแรก คณะกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒิจะเก็บรวบรวมข้อมูลทางสถิติของบริษัททั่วทวีปเอเชีย แล้วคัดเลือกผู้นำจาก 50 บริษัทแรก มาทำการสัมภาษณ์เพื่อวิเคราะห์คุณสมบัติของความเป็นผู้นำตามตามเกณฑ์ต่างๆ ที่กำหนดไว้ แล้วทำการคัดเลือกผู้เข้ารอบให้เหลือเพียง 20 ท่าน ในขั้นตอนสุดท้าย คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จะร่วมกันคัดเลือกผู้บริหารจนเหลือ 10 คน ซึ่งผู้เข้ารอบ 4 คนสุดท้าย จะเป็นผู้ที่ได้รับรางวัลอันทรงเกียรตินี้
มร. อเล็กซานเดอร์ บราวน์ ประธานและซีอีโอ บริษัท ซีเอ็นบีซี เอเชีย แปซิฟิก กล่าวว่า "บริษัท ซีเอ็นบีซี เป็นบริษัทที่มีชื่อเสียงทางด้านการวิเคราะห์ และให้ข้อมูลธุรกิจเชิงลึกที่มี ความทันสมัย ซึ่งช่วยให้ผู้บริหารในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก สามารถตัดสินใจดำเนินธุรกิจ ได้อย่างมีประสิทธิภาพรางวัลสุดยอดผู้นำทางธุรกิจริเริ่มขึ้นโดยซีเอ็นบีซี โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้รางวัลในความสามารถของผู้บริหาร และนำพาองค์กรของตนผ่านสภาวะต่างๆ ทางเศรษฐกิจในเอเชีย จนประสบความสำเร็จ ในที่สุด ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 เป็นต้นมา จำนวนผู้เข้าร่วมชิงรางวัลรวมทั้งขอบเขต และการรับรู้ในฐานะรางวัลสำหรับผู้บริหารอันดับหนึ่ง ในภูมิภาคก็มีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งในปีนี้เราเลือกจัดงานประกาศรางวัลที่ประเทศจีน เพราะจีน เป็นประเทศที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ เป็นอย่างมาก "
มร. เคน แมคคอล ซีอีโอ ของทีเอ็นที เอเชีย ตะวันออกกลาง และแอฟริกา กล่าวว่า "มากกว่า 500 องค์กร ในทวีปเอเชีย มีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน ซึ่งทีเอ็นที เข้าใจดีว่าผู้นำในทวีปเอเชียต้องใช้ความ สามารถอย่างมากมายในการปรับตัวให้ทันกับความ ท้าทายในโลกธุรกิจ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วของประเทศจีน ทำให้มีความ ต้องการผู้นำธุรกิจทั้งในประเทศจีน และในภูมิภาคอย่างเร่งด่วน เพื่อที่จะได้ก้าวทันโอกาสการ เจริญเติบโตทางเศรษฐกิจดังกล่าว ซึ่งบางคนเรียกว่า "ศตวรรษแห่งเอเชีย" และในฐานะ ผู้ร่วมก่อตั้งรางวัลสุดยอดผู้นำทางธุรกิจ ทีเอ็นที เชื่อมั่นว่า เอเชียจะสามารถแสดงศักยภาพ ตลอดจนความสามารถต่างๆ ได้ในโลกธุรกิจที่เปลี่ยนไปอยู่ตลอดเวลาใบนี้"
ABLA มีความภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ บริษัท ซีบีเอ็น ร่วมเป็นเจ้าภาพในการจัดงานครั้งนี้ โดย มร. ลี รุยกัง ประธานบริษัท เซียงไฮ มีเดีย กรุ๊ป (เอสเอ็มจี) และประธานที่ปรึกษาบริษัท ไชน่า บิสสิเนส เนตเวิร์ค (ซีบีเอ็น) ให้ความเห็นว่า"ขณะนี้เศรษฐกิจเอเชียมีความสำคัญ ต่อเศรษฐกิจโลกเป็นอย่างมาก ดังนั้น จึงไม่มีช่วงเวลาไหนที่เหมาะสมไปกว่าช่วงเวลานี้อีกแล้ว สำหรับการมอบรางวัลให้แก่ผู้นำที่มีความสามารถอันยอดเยี่ยม และโดดเด่น ซึ่งทางเราเห็นว่า วัตถุประสงค์ของ ABLA นั้น ตรงกับกลยุทธ์ในการนำ ความเข้าใจทางธุรกิจที่ประเมินค่ามิได้ มาสู่ประเทศที่มีอัตราการเจริญเติบโตของกลุ่มธุรกิจ ผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนผู้บริหารระดับสูง"
รางวัลจะประกอบด้วย รางวัลสุดยอดผู้นำธุรกิจแห่งปี รางวัลผู้มีความคิดริเริ่มแห่งปี และรางวัลองค์กรผู้ทำประโยชน์แก่ส่วนรวมแห่งปี นอกจากนี้ การเจริญเติบโตและการประสบ ความสำเร็จทาง เศรษฐกิจของประเทศจีน ส่งผลให้มีการเพิ่มรางวัลขึ้นอีก 1 รางวัล ได้แก่ รางวัลสุดยอดซีอีโอของประเทศจีนแห่งปี และยังมีการร่วมโหวตให้คะแนนในกลุ่มผู้นำ ในภูมิภาคเพื่อหาผู้ชนะ สำหรับรางวัลซีอีโอยอดนิยม อีกด้วย ซึ่งหากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ ABLA 2004 ฮอทไลน์ หมายเลขโทรศัพท์ +65-6326-1716 อีเมล์ abla2004@gsb.uchicago.edu หรือเยี่ยมชมเวปไซต์ www.cnbcasia.com/abla2004.
เกี่ยวกับ รางวัลสุดยอดผู้นำทางธุรกิจแห่งภูมิภาคเอเชีย
รางวัล ABLA เริ่มขึ้นครั้งแรกเมื่อปี 2544 เป็นรางวัลที่มอบให้แก่ผู้นำที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง ในภูมิภาค เกิดขึ้นจากความร่วมมือกันระหว่าง บริษัท ซีเอ็นบีซี เอเชีย แปซิฟิก และทีเอ็นที ร่วมเป็นเจ้าภาพการจัดงานโดย ซีบีเอ็น ฮิวเลต-แพคการ์ด และสายการบินมาเลเซีย ผู้ร่วมสนับสนุน ที่พักอย่างเป็นทางการ คือ โรงแรม เดอะ โฟร์ ซีซั่น ด้านวิชาการสนับสนุนโดยมหาวิทยาลัยชิคาโก จีเอสบี ค้นคว้าและวิจัยข้อมูลโดย ดีดีไอ อินเตอร์เนชั่นแนล สื่อมวลชนที่ร่วมสนับสนุน ได้แก่ หนังสือพิมพ์ ดิ เอเชียน วอล สตรีท เจอร์นัล และฟาร์อีสเทิร์น อีโคโนมิครีวิว และบริหารการตลาดโดยโดเรมัส
นำเสนอโดย
ซีเอ็นบีซี ผู้นำในด้านข้อมูลทางธุรกิจและการเงินระดับโลก บริการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกและ ประมวลผลข้อมูลด้วยความฉับไว ซีเอ็นบีซี มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศสิงค์โปร์ ซีเอ็นบีซี เอเชีย แปซิฟิก เป็นองค์กรที่ให้บริการข้อมูลทางการเงินและธุรกิจของบริษัท ดาว โจนส์ และ เอ็นบีซี บริษัท ดาว โจนส์ เป็นสำนักพิมพ์ของ เดอะ วอล สตรีท เจอร์นัล และบริการข้อมูลออนไลน์ โดยให้ข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจและการเงินที่สำคัญ ส่วน บริษัท เอ็นบีซี เป็นบริษัทเครือข่ายโทรทัศน์ใน ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งของเจนเนอรัล อิเล็คทริซิตี้ หนึ่งในบริษัทที่ประสบ ความสำเร็จที่สุดในโลก
ช่อง ซีเอ็นบีซี เอเชีย แปซิฟิก ประกอบไปด้วย ซีเอ็นบีซี เอเชีย, ซีเอ็นบีซี ออสเตรเลีย, ซีเอ็นบีซี อินเดีย, นิเคอิ-ซีเอ็นบีซี (ญี่ปุ่น), เอ็มบีเอ็น-ซีเอ็นบีซี (เกาหลี), ซีเอ็นบีซี สิงค์โปร์, และ ซีเอ็นบีซี ฮ่องกง ปัจจุบัน ซีเอ็นบีซีเป็นช่องที่มีอยู่มากกว่า 29 ล้านครัวเรือนในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก กระจายสัญญาณ ผ่านระบบแซทเทิลไลท์ เคเบิล และภาคพื้นดิน ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.cnbcasia.com
ทีเอ็นที ผู้ให้บริการขนส่งด่วน ลอจิสติกส์ และพัสดุภัณฑ์ชั้นนำระดับโลก
ทีเอ็นที เอ็กซ์เพรส ให้บริการส่งพัสดุจำนวน 3.6 ล้านชิ้นต่อสัปดาห์ ไปยังกว่า 200 ประเทศทั่วโลก ผ่านศูนย์กลางกระจายสินค้า 900 แห่ง ด้วยยานพาหนะมากกว่า 20,000 คัน และเครื่องบินอีก 43 ลำ นอกจากนี้ ยังเป็นผู้ให้บริการที่มีความพร้อมด้านระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานในการให้บริการขนส่งด่วน ทั้งทางอากาศและทางภาคพื้นดินมากที่สุดในยุโรป
ทีเอ็นที เอ็กซ์เพรส เป็นบริษัทขนส่งด่วนสำหรับธุรกิจเพื่อธุรกิจชั้นนำระดับโลก มีพนักงาน 43,000 คน ทั่วโลก และเป็นองค์กรแรกที่ได้รับการยอมรับ ในระดับโลกในฐานะองค์กรที่มีความเป็นเลิศ ด้านการพัฒนาบุคลากร (Investor in People) ในปี 2546 บริษัทฯ ยอดขาย 4.251 พันล้านยูโร มีกำไร 276 ล้านยูโร สูงกว่ากำไรของปี 2545 ซึ่งได้กำไร 246 ล้านยูโร ถึง 12.2 เปอร์เซ็นต์ ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.tnt.com
ทีเอ็นที โลจิสติกส์ ผู้ให้บริการด้านลอจิสติกส์ชั้นนำของโลก ให้บริการซัพพลายเชนครบวงจร แก่วิสาหกิจขนาดกลางไปถึงขนาดใหญ่ในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับโลก ตั้งแต่ออกแบบ พัฒนา และปฏิบัติงาน ทีเอ็นที โลจีสติกส์ มีพนักงานรวมกว่า 32,000 คน ใน 36 ประเทศ และมีพื้นที่คลังสินค้าภายใต้การบริหารงานกว่า 6.2 ล้านตารางเมตร ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.tntlogistics.comทีเอ็นที เป็นบริษัทในเครือของ ทีพีจี เอ็นวี ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ประเทศเนเธอร์แลนต์ ทีพีจี มีบุคลากรมากกว่า 163,000 คนใน 64 ประเทศทั่วโลก และมีเครือข่ายธุรกิจครอบคลุมกว่า 200 ประเทศ ในปี 2546 มียอดขายรวม 11.9 พันล้านยูโร ทีพีจี เอ็นวี จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของอัมสเตอร์ดัม นิวยอร์ค ลอนดอน และแฟรงก์เฟิร์ท ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับทีเอ็นที โพสต์ กรุ๊ป ได้ที่ www.tpg.com
เจ้าภาพร่วม
ไชน่า บิสสิเนส เน็ทเวิร์ค บริษัทในเครือของ เอสเอ็มจี เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพในเดือนสิงหาคม 2546 และเริ่มดำเนินการในเดือนตุลาคม ปี 2546 การควบรวมกิจการกับสถานีโทรทัศน์เซี่ยงไฮ้และสถานีวิทยุ อีสเทิร์น เรดิโอ เซี่ยงไฮ้ ทำให้บริษัทสามารถบริหารทรัพยากรบุคคล ข้อมูล และแบรนด์ ร่วมกัน เพื่อประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่าย นอกจากนี้ บริษัทฯ จะยังมุ่งเสริมความแข็งแกร่งในอีกหลายๆ ด้าน และจะ เริ่มให้บริการข้อมูลของกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ ระหว่างภูมิภาคในหลากหลายช่องทาง อีกด้วย
ซีบีเอ็น เป็นหุ้นส่วนกับบริษัทสื่อมวลชนด้านธุรกิจยักษ์ใหญ่ของโลก ซีเอ็นบีซี ซึ่งนับเป็นก้าวแรก ในประวัติศาสตร์วงการโทรทัศน์ในประเทศจีน ในการร่วมงานกับสื่อมวลชนนานาชาติ
เอสเอ็มจี บริษัทแม่ของ ซีบีเอ็น เป็นสถานีวิทยุและโทรทัศน์ที่มีอิทธิพลมากที่สุดในประเทศจีน อาจกล่าวได้ว่าเอสเอ็มจีมีทรัพยากรที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่ซีบีเอ็น ไม่ว่าจะเป็นชั่วโมงการกระจายเสียง ความสามารถในการผลิตที่เป็นรองเพียงแค่บริษัท ไชน่า มีเดีย กรุ๊ป ค้นหาข้อมูลเพิ่มเกี่ยวกับซีบีเอ็นได้ที่ www.stv.sh.cn
ร่วมสนับสนุนโดย
เอชพี เป็นบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก นำเสนออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ ไอทีพื้นฐาน ตลอดจนอุปกรณ์อำนวยความสะดวกทางเทคโนโลยีต่างๆ มากมาย สำหรับผู้บริโภค องค์กร และสถาบันชั้นนำระดับโลก ในปีงบประมาณ 2546 สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2546 เอชพี มีรายได้รวม 73.1 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเอชพี (NYSE, Nasdaq: HPQ) ค้นหาได้ที่ www.hp.com
สายการบินมาเลเซีย เป็นหนึ่งในสายการบินแห่งชาติที่ใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชีย ให้บริการผู้โดยสาร มากกว่า 40,000 คน ไปยังกว่า 100 จุดหมาย ใน 6 ภาคพื้นทวีป ทุกวัน ด้วยเครื่องบิน 100 ลำ สายการบิน มาเลเซีย เป็นสายการบินที่ใหม่ที่สุดสายการบินหนึ่งในโลก มีเครื่องโบอิ้ง 737, 747, และ 777 ซึ่งเป็น เครื่องบินที่มีเทคโนโลยีการบินที่ก้าวล้ำนำสมัยมากที่สุดในปัจจุบัน
สายการบินมาเลเซีย ได้รับการยอมรับในเรื่องของการบริการที่เป็นเลิศ โดยได้รับรางวัลรับประกัน คุณภาพมากกว่า 100 รางวัล ในช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ล่าสุดได้รับรางวัล 'World's Best Cabin Crew 2003' หรือ "รางวัลพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินที่ดีที่สุดในโลกประจำปี 2546" จากสกายแทร็กซ์ ประเทศอังกฤษ ซึ่งนับเป็นสายการบินแรกที่ได้รับรางวัลนี้ติดต่อกันถึง 3 ปีซ้อน ตั้งแต่ปี 2544 นอกจากนี้ ยังได้รับการโหวตให้เป็นสายการบินที่ติดอันดับ 1 ใน 5 สายการบินชั้นนำของโลก ในปี 2545 และ 2546 เป็นหนึ่งในสายการบินเอเชียที่ดีที่สุด เป็นสายการบินอันดับสามที่มีชั้นธุรกิจที่ดีที่สุด เป็นสายการบิน อันดับสี่ที่มีการบริการระดับเฟิร์สคลาสที่ดีที่สุด และเป็นสายการบินอันดับที่ 5 ที่มี Long-Haul ชั้นธุรกิจที่ดีที่สุด
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ค้นหาได้ที่ www.malaysiaairlines.com
ฝ่ายวิชาการ
หลักสูตรการบริหารสำหรับทวีปเอเชีย คณะบริหารธุกิจ มหาวิทยาลัยสำหรับบัณฑิตประจำมลรัฐชิคาโก
คณะบริหารธุกิจ มหาวิทยาลัยสำหรับบัณฑิตประจำมลรัฐชิคาโก (จีเอสบี) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2441 เป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในด้านการสร้างสรรค์ ความรู้ใหม่ๆ ให้กับโลกปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังมีกิตติศัพท์ในด้านความสามารถจนเป็นคณะที่ได้รับรางวัลโนเบลถึง 6 รางวัล ซึ่งถือว่ามากที่สุดในโลก ชิคาโก จีเอสบี เป็นมหาวิทยาลัยที่สอนด้านธุรกิจที่แรกที่ได้รับรางวัลโนเบล ลอรีท และ เป็นมหาวิทยาลัยธุรกิจแห่งแรกและแห่งเดียวที่ได้รับรางวัลโนเบลถึง 6 รางวัล
ในปี พ.ศ. 2463 จีบีเอส เป็นมหาวิทยาลัยแห่งเดียวที่เปิดสอนระดับปริญญาเอกด้านธุรกิจ และในปี พ.ศ. 2486 ก็เป็นแห่งแรกที่เปิดสอนการบริหารระดับสูงสำหรับบัณฑิต อีกด้วย
ชิคาโก จีเอสบี วิทยาเขตเอเชีย ตั้งอยู่ที่ประเทศสิงค์โปร์ เปิดทำการมาแล้ว 4 ปี และเป็น มหาวิทยาลัยที่ได้รับความสนใจจากผู้บริหารในเอเชียและประเทศอื่นๆ มากมาย หลักสูตรการบริหารสำหรั ผู้บริหารระดับสูง (ภาคพิเศษ) ฝึกฝนให้นักศึกษาที่เป็นผู้บริหารหรือจะเป็นผู้บริหารในอนาคต มีความพร้อมที่จะก้าวไปรับตำแหน่งบริหารต่างๆ หลักสูตรนี้จะมีการแลกเปลี่ยนนักศึกษาของจีเอสบี ทั้งที่บาเซโลนา ชิคาโก และสิงคโปร์ ซึ่งหลักสูตรดังกล่าวในวิทยาเขตประเทศสิงคโปร์ จะเป็นหลักสูตร เดียวกันกับเปิดสอนที่วิทยาเขตบาเซโลนาและชิคาโก
จีบีเอส ได้รับการสนับสนุนจากศิษย์เก่ามากกว่า 38,000 คนทั่วโลก ซึ่งศิษย์เก่าเหล่านี้ ประสบ ความสำเร็จและดำรงตำแหน่งซีอีโอในกว่า 5,500 บริษัท ทั่วโลก
ฝ่ายค้นคว้า
เดเวลลอปเมนท์ ไดเมนชั่นส์ อินเตอร์เนชั่นแนล หรือ ดีดีไอ ก่อตั้งในปีพ.ศ. 2513 โดยนักจิตวิทยา องค์กรสองท่าน ได้แก่ ดร. วิลเลี่ยม ซี บายแฮม และ ดร. ดักลาส ดับบลิว เบรย์ มีองค์กรมากกว่า 1,600 องค์กร ใน 26 ประเทศใช้โปรแกรมและบริการของดีดีไอในการสร้างทักษะขั้นสูงและความรับผิดชอบของ บุคลากรเพื่อประสิทธิภาพที่ดีของธุรกิจ
ดีดีไอ มีบุคลากรมากกว่า 1,000 คน ให้บริการใน 75 ประเทศทั่วโลก สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ พิตสเบิร์ก มีความถนัดในการออกแบบและดำเนินการจัดการระบบการคัดสรรบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ และรวดเร็ว รวมถึงการพัฒนาศักยภาพและความสามารถสำคัญในการเป็นผู้นำเพื่อกระตุ้นให้องค์กรก้าวไป สู่ความสำเร็จ
ดีดีไอ ได้รับการก่อตั้งขึ้นในทวีปเอเชีย ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2513 จากนั้นก็ได้ ทำงานอย่างใกล้ชิดร่วมกับ บริษัทข้ามชาติทั่วโลกในการเป็นที่ปรึกษาที่เข้าใจวัฒนธรรมท้องถิ่นและการทำธุรกิจ ดีดีไอ เปิดดำเนินการ ที่สิงคโปร์ กัวลาลัมเปอร์ กรุงเทพฯ ฮ่องกง ไทเป และเซี่ยงไฮ้ มีพันธมิตรในประเทศญี่ปุ่น เกาหลี อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ ซึ่งการร่วมมือกันนี้ทำให้บรรดาที่ปรึกษา ผู้ประเมิน ตลอดจนผู้ฝึกสอนรวมกว่า 300 คนของดีดีไอสามารถ ตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
คุณปัณวรรธน์ คล่องนักรบ / คุณรุ่งนภา ชาญวิเศษ
บริษัท สปาร์ค คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด
โทร. 02 653-2717-9
แฟกซ์ 02 653-2720
อีเมล์ pan@spark.co.th--จบ--
-นท-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ