กรุงเทพฯ--30 ม.ค.--มหาวิทยาลัยแม่โจ้
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกับ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ(สนช.) องค์การมหาชน และ สภาอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ ลงนามความ ร่วมมือทางวิชาการ ในการจัดการเรียนการสอน หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต และเศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ วิชาเอก เศรษฐศาสตร์การจัดการนวัตกรรม
เมื่อเร็ว ๆนี้ ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ได้มีพิธีลงนามความร่วมมือทางวิชาการในการจัดการเรียนการสอน หลักสูตรปรัชญาดุษฎ ีบัณฑิต และเศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ วิชาเอก เศรษฐศาสตร์การจัดการนวัตกรรม โดยมี ดร.วันทนีย์ จองคำ ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมนวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ(องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, นายวิเชียร เชิดชูตระกูลทอง กรรมการนวัตกรรมแห่งชาติและรองประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ , ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จำเนียร ยศราช อธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ , รองศาสตราจารย์เพ็ญรัตน์ หงษ์วิทยากร รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และ รองศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ จรรยาสุภาพ คณบดีคณะเศรษศาสตร์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นผู้แทนของแต่ละหน่วยงาน ร่วมลงนามในครั้งนี้
สำหรับระยะเวลาของบันทึกข้อตกลงฉบับนี้มีระยะ 5 ปี โดยทั้ง 3 หน่วยงาน ร่วมกันรับผิดชอบการดำเนินงานการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรการจัดการนวัตกรรมอย่างมีคุณภาพตามข้อกำหนดของหลักสูตรและระบบประกัน คุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย ได้แก่ ทาง สนช.จะพิจารณาสนับสนุนโครงการนวัตกรรมของนักศึกษาทั้งจากการเสนอโครงงานและจากการรังสรรค์นวัตกรรมระหว่างการศึกษา ,มหาวิทยาลัยรับผิดชอบการจัดการบุคลากรผู้สอนที่มีความสามารถในกลุ่มวิชาบังคับและกลุ่มวิชาเอก ,สภาอุตสาหกรรมและสนช. จะพิจารณาให้ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในการจัดหาบุคลากรผู้สอนที่มีความรู้ความสามารถ ผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อบรรยายพิเศษ และผู้ประกอบการที่ได้รับการอนุมัติจาก สนช.มาร่วมบรรยายในหลักสูตรตามระเบียบ และให้โอกาสนักศึกษาเข้าร่วมเป็นเครือข่ายความร่วมมือความมือกับหน่วยงานวิจัย สภาอุตสาหกรรม สภาหอการค้าและองค์กรต่าง ๆเพื่อโอกาสในการพัฒนานวัตกรรม โดยมหาวิทยาลัยจะประสานความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับสภาอุตสาหกรรมและ สนช.เพื่อดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในการกระตุ้นและผลักดันให้เกิดการสร้างสรรค์ธุรกิจนวัตกรรมในกลุ่มนักศึกษาแต่ละรุ่น
ซึ่งการลงนามในครั้งนี้จะเป็นการร่วมกันพัฒนาทักษะด้านการจัดการนวัตกรรมของบุคลากรของประเทศ ให้สามารถนำเอาเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพพร้อมถึงสาม ารถนำหลักการบริหารจัดการในเชิงธุรกิจมาใช้ในการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมได้ อันจะช่วยส่งเสริมองค์กรให้สามารถเติบโตและมีศักยภาพเชิงการแข่งขันในตลาดโลกได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน