MOVIE: STAR WARS: EPISODE I THE PHANTOM MENACE (2)

ข่าวบันเทิง Wednesday February 1, 2012 11:38 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--1 ก.พ.--MMM Digital นักแสดงและตัวละครต่างๆ ในภาพยนตร์ของลูคัสทุกเรื่อง เขาจะมุ่งความสนใจไปที่การคัดเลือกนักแสดงที่เขามองว่ามีความเป็นหนึ่งเดียวกับตัวละครต่างๆ ได้มากที่สุด “ส่วนสำคัญที่สุดในการกำกับภาพยนตร์คือการคัดเลือกตัวนักแสดง” เขาเล่าว่า “ในช่วงหลายปีนี้ผมโชคดีมากที่ได้พบกับคนที่เหมือนเกิดมาเพื่อแสดงบทบาทของพวกเขา พวกเขาเป็นอย่างที่ผมจินตนาการตัวละครเอาไว้ตอนที่เขียนบทของพวกเขาขึ้นมาเลย” “ผมให้ความเอาใจใส่ในเรื่องนักแสดง” ลูคัสกล่าวเสริม “และวิธีที่ตัวละครต่างๆ จะแสดงตอบโต้กัน” สำหรับเอพพิโซด 1 ลูคัส แม็คคอลลัม และผู้กำกับสำหรับการคัดเลือกนักแสดงอย่างโรบิน เกอร์แลนด์ ได้รวบรวมเหล่านักแสดงผู้น่าประทับใจที่จะมาทำให้การคัดเลือกนักแสดงที่สำคัญต่อลูคัสเป็นที่น่าพอใจ แต่ในช่วงแรกทั้งสามก็ได้พบกับความท้าทายบางอย่างที่น่าตื่นเต้น ไม่ใช่แค่พวกเขาต้องนำเหล่านักแสดงที่มีความเหมาะสมมารวมตัวกันเท่านั้น แต่ตัวละครหลายตัวต้องมีบุคลิกท่าทางที่สัมพันธ์กับการแปลงสภาพของตัวตน หรือในบางกรณีต้องเหมาะกับลูกๆ พวกเขาด้วย “สำหรับบทอนาคินและราชินี พวกเราต้องมองย้อนหลังกลับไป” เกอร์แลนด์อธิบายว่า “เรารู้ว่าลูกๆ ของพวกเขาอย่างลุคและลีอา หน้าตาเป็นอย่างไร ฉะนั้นเราต้องอิงจุดนั้นในการคัดเลือกตัวสำหรับบทพ่อแม่ด้วย และแน่นอนว่านักแสดงที่มารับบทโอบีวันต้องดูคล้ายกับตัวละครในเวอร์ชั่นเดิม” เลียม นีสัน มารับบทแสดงเป็นไควกอน ตัวละครใหม่ที่เพิ่มเข้ามาในครอบครัวของ Star Wars การแสดงของนีสันที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Oscar ในภาพยนตร์เรื่อง Schindler’s List น่าจะเป็นผลงานที่มีความโดดเด่นในอาชีพการแสดงของเขา ซึ่งรวมถึงการแสดงในเรื่อง Michael Collins, Rob Roy และ Les Mis?rables รวมถึงการแสดงบนโรงละครบรอดเวย์ที่ได้รับคำชมในเรื่อง Anna Christie ด้วย ในตอนแรกลูคัสจินตนาการให้ชาวอเมริกันมารับบทบาทนี้ แต่นีสันซึ่งเป็นชาวไอริชสร้างความประทับใจให้ผู้สร้างภาพยนตร์ได้ด้วยความสามารถและบุคลิกท่าทางของเขา “มันเป็นเรื่องวิเศษที่ได้คัดเลือกตัวนักแสดงผู้ได้รับการนับถือให้เป็นสุดยอดนักแสดง ผู้ที่นักแสดงคนอื่นจะดูเป็นแบบอย่าง ผู้ที่มีคุณสมบัติสำคัญต่างๆ ที่ตัวละครต้องการ” นีสันมองว่าไควกอนเป็นตัวละครอมตะ มีสติปัญญาอันชาญฉลาดที่มาพร้อมกับหลักปรัชญาเหมือนชาวตะวันออก เช่นเดียวกับเจไดซึ่งเป็นตัวละครที่มีความสามารถด้านศิลปะการต่อสู้ “ผมว่าเขาใกล้เคียงกับปรมาจารย์นักรบสมัยโบราณผู้มีความเชื่อมั่นในตัวเองมากที่สุด” นีสันเล่าว่า “ไควกอนเหมือนนักรบซามูไรที่มีพลังอันยิ่งใหญ่และมีความนอบน้อมในตัว” และนีสันก็ชื่นชมเนื้อหาที่มีความครอบคลุมและกว้างขวางมากขึ้นของตำนานการผจญภัย “ภาพยนตร์เหล่านี้เข้ามาอยู่ในช่องว่าง” เขาเล่าว่า “เราขาดการถ่ายทอดเรื่องราวออกจากปากที่เกี่ยวกับประเพณีวัฒนธรรม นิยายและตำนานต่างๆ แต่ Star Wars ได้มาเติมเต็มส่วนนั้นที่หายไป” นักแสดงชาวสก็อต ยอน แม็คกรีเกอร์ มารับบทของโอบีวัน เคโนบี ที่เคยรับบทแสดงโดยอเล็ก กวินเนสในต้นฉบับไตรภาค สำหรับเอพพิโซด 1 โอบีวันเป็นเจไดหนุ่มที่ไร้ประสบการณ์ บางครั้งก็ปะทะคารมณ์กับไควกอน จินน์ อาจารย์ผู้กบฏของเขา โอบีวันเลือกที่จะไม่ต่อต้านสภาเจไดและหวังว่าไควกอนจะยอมทำตามกฏ แม็คกรีเกอร์เป็นนักแสดงหนุ่มคนหนึ่งที่มีความสามารถรอบด้านและได้รับการต้อนรับจากเหล่านักวิจารณ์ เขาแสดงบทบาทอันน่าจดจำเอาไว้ในภาพยนตร์เรื่อง Trainspotting, Emma และภาพยนตร์เรื่องล่าสุดอย่าง Velvet Goldmine และ Little Voice ลูคัสเรียกแม็คกรีเกอร์ว่า “หนุ่มน้อยชาวเติร์กแห่งวงการภาพยนตร์ของชาวยุโรป” เขาชื่นชมนักแสดงในหลายด้าน “ยอนมีพลัง มีความนุ่มนวล มีความกระตือรือร้นสำหรับการเป็นโอบีวันหนุ่ม” เกอร์แลนด์เกิดความประทับใจจากท่าทางของแม็คกรีเกอร์ที่คล้ายกับกวินเนส ซึ่งมีลักษณะท่าทางทั่วไปที่คล้ายคลึงมาก “อเล็คเติมความสดใสเข้าไปในบทบาททั้งหลายของเขา” เธออธิบาย “ถึงแม้ตัวละครโอบีวันจะมีความเคร่งเครียดและดุเดือด เขาก็มีความสดใสและโดดเด่นอยู่ในแววตา ซึ่งยอนก็มีสิ่งนั้นเช่นกัน” ในการเตรียมการสำหรับเอพพิโซด 1 แม็คกรีเกอร์ได้ศึกษาการแสดงของกวินเนสหลายอย่างจากผลงานก่อนๆ ของเขาและในภาพยนตร์เรื่อง Star Wars “มันมีความสำคัญที่การแสดงของผมต้องสอดคล้องกับจุดที่สำคัญของกวินเนส” แม็คกรีเกอร์กล่าวชัดว่า “ผมทุ่มเทอย่างหนักโดยเฉพาะเรื่องการใช้น้ำเสียงที่เหมาะสม ต้องนึกภาพว่าโอบีวันจะมีน้ำเสียงแบบไหนตอนเป็นหนุ่ม” การตัดสินใจมารับบทบาทอันเป็นที่ต้องการนี้ถือเป็นเรื่องง่ายสำหรับแม็คกรีเกอร์ “แน่นอนว่าผมปฏิเสธไม่ลงเลยตอนที่ได้รับการทาบทามบทบาท” เขาเล่าว่า “เป็นเกียรติมากที่ได้มีส่วนร่วมในตำนานนี้และเรื่องเล่าที่ทันสมัย” แม็คกรีเกอร์เองก็มีสมาชิกในครอบครัวที่ผูกพันกับจักรวาลของ Star Wars นั่นคือ เดนิส ลอว์สัน ลุงของเขาผู้รับบทเป็นนักบินต่อสู้กบฏ เวดจ์ ในภาพยนตร์ต้นฉบับ ซึ่งสุดท้ายโอกาสในการใช้อาวุธของเจไดย่อมเป็นการตัดสินใจที่ปฏิเสธไม่ได้ “ได้ควงดาบพลังแสงและจุดพลังมันขึ้นมา ... ไม่มีใครจินตนาการความรู้สึกนั้นได้เลย!” โอบีวันเป็นเหมือนผู้ที่ยังไม่มีประสบการณ์หรือศิษย์ผู้เรียนรู้ เพื่อแสดงความเคารพอัศวินเจได ไควกอน จินน์ ถึงแม้พวกเขาจะใกล้ชิดกันแต่โอบีวันและไควกอนมีความคิดเห็นที่ต่างกันในเรื่องสถานการณ์สำคัญต่างๆ ที่จะเป็นตัวกำหนดชะตาของพวกเขา เช่น พวกเขามีความเห็นที่ต่างกันในเรื่องของอนาคิน ไควกอนได้พาเด็กน้อยผู้เป็นทาสที่เขาคิดว่าจะนำสมดุลมาสู่พลังภายใต้การดูแลของเขา ถึงแม้จะมีความสงสัยของโอบีวันและสมาชิกคนอื่นๆ ของสภาเจได โอบีวันและไควกอนมีส่วนช่วยเหลือโลกของราชินีสาวสวยที่ถูกสมาพันธ์การค้าโจมตี บทบาทนี้ต้องเป็นหญิงสาวที่ดูแล้วเชื่อถือได้ว่าเป็นผู้ปกครองดวงดาว แต่เวลาเดียวกันก็มีความอ่อนแอและเป็นคนเปิดเผย นาตาลี พอร์ทแมน เจ้าของผลงานภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงอย่าง The Professional และ Beautiful Girls และปรากฏตัวบนเวทีบรอดเวย์ในเรื่อง The Diary of Anne Frank มารับบทของราชินี “ผมมองหาคนที่มีความสาว แข็งแกร่ง ดูแล้วเหมือนกับลีอา” ลูคัสอธิบายว่า “นาตาลีมีคุณสมบัติทั้งหมดนั้นและมีอะไรอีกมาก” พอร์ทแมนเข้ามารับบทบาท เธอแสดงความชื่นชมทันทีและเข้าใจดีว่าตัวละครนั้นเป็นบทบาทที่เป็นต้นแบบ “มันเป็นเรื่องมหัศจรรย์ที่ได้แสดงเป็นราชินีสาวผู้ทรงอำนาจ” เธอกล่าวอย่างกระตือรือร้น “ฉันคิดว่าเป็นเรื่องดีสำหรับสาวๆ ที่จะได้เห็นผู้หญิงที่มีท่าทางเข้มแข็ง ซึ่งมีความฉลาดและความเป็นผู้นำด้วย” พอร์ทแมนต่างจากเพื่อนนักแสดงของเธอส่วนใหญ่ เธอไม่คุ้นเคยกับปรากฏการณ์ Star Wars ตอนที่มาแสดงในเอพพิโซด 1 แต่ญาติบางคนของเธอได้บอกใบ้ถึงความน่าตื่นเต้นให้ฟัง “ลูกพี่ลูกน้องของฉันหลงใหลภาพยนตร์มาโดยตลอด” เธอจำได้ “แต่ฉันก็ยังไม่เคยดูหนังก่อนที่จะมารับบทบาทเลย พอทุกอย่างเข้ามาหาฉันลูกพี่ลูกน้องของฉันถึงกับตื่นเต้น ‘โอ้ พระเจ้า เธอจะได้เล่นเรื่อง Star Wars!’” ในการค้นหาผู้มารับบทอนาคินทาสทาทูอินวัย 9 ขวบเป็นความท้าทายในการคัดเลือกตัวนักแสดงที่น่ากลัวที่สุด ความสามารถพิเศษของเด็กชายบางอย่างแสดงออกมาให้เห็นท่ามกลางพอดเรดที่น่าตื่นเต้น ผู้เป็นที่สนใจของไควกอนและโอบีวันผู้พบว่าตัวเองติดอยู่บนดาวซึ่งเป็นบ้านเกิดของเด็กชาย เป็นเวลานานกว่า 2 ปีที่เกอร์แลนด์มองหาเด็กนับร้อยคนเพื่อมารับบทของเด็กเจ้าความคิดผู้เปี่ยมไปด้วยความหวัง เขาไม่รู้ถึงชะตากรรมและความท้าทายอันน่าหวาดกลัวที่เฝ้ารอเขาอยู่ ลูคัสอยากให้อนาคินเป็นคนเข้ากับผู้อื่นได้ง่าย มีไหวพริบ และเชื่อมั่นในตัวเอง เขาต้องสร้างความสนใจให้เด็กวัยรุ่นและพ่อแม่ของพวกเขาได้ หลังจากที่ทำการค้นหาจนทั่วแล้ว ผู้สร้างภาพยนตร์จึงลงเอยกับเจค ลอยด์ “ผมมองหานักแสดงที่เก่ง มีความกระตือรือร้นและมีความตื่นตัว แล้วเจคก็มีความเป็นธรรมชาติด้วย” ลูคัสเล่าว่าเขาสะท้อนให้เห็นถึงริค แม็คคอลลัม “เจคมีคุณสมบัติทุกอย่างที่เหมาะสมกับที่จอร์จมองหาเพื่อบทของอนาคิน เขาเป็นคนฉลาด มีความซน และรักทุกอย่างที่เกี่ยวกับเครื่องกลเช่นเดียวกับอนาคิน” เจคบรรยายถึงอนาคินว่า “มักพบปัญหาและเรื่องวุ่นวายตลอด” เขาเล่าเสริมว่า “แต่อนาคินเป็นคนฉลาดและเป็นคนดีมาก เขาเป็นคนนึกถึงคนอื่นมากกว่าตัวเอง” การแปลงสภาพในอนาคตของอนาคินจึงไม่น่าแปลกใจเลยที่จะดึงดูดใจเจคได้มาก “การรับบทอนาคินมีความหมายต่อผมมาก เพราะดาร์ธเวเดอร์เป็นตัวละครโปรดของผมในเรื่อง Star Wars” เจคมีการผสมผสานความตลก ความสนุกสนาน และความสามารถต่างๆ อยู่ในตัวมากกว่าเพื่อนร่วมแสดงของเขา ยอน แม็คกรีเกอร์ เล่าว่า “ผมไม่เคยร่วมงานกับนักแสดงเด็กคนไหนที่เก่งเหมือนเจคเลย ดูเหมือนเขาอยากจะเป็นนักแสดงตลอดเวลา และเขาก็อยากเป็นมืออาชีพซะด้วย แม้ว่าเขาจะรักการสร้างมุกตลกเป็นบางเวลา” ตามที่แฟนๆ จำนวนมากรู้มาจากภาพยนตร์ไตรภาคแรก ชะตากรรมของอนาคินในเวลาต่อมาต้องตกอยู่ในกำมือของ จักรพรรดิ์พัลพาทีนในไตรภาคแรก วุฒิสมาชิกพัลพาทีนเป็นเจ้าหน้าที่ผู้ทรงพลังที่เริ่มรวบรวมอำนาจของเขา เอียน แม็คเดียร์มิดกลับมารับบทบาทพัลพาทีนของเขาโดยที่ไม่ต้องแต่งหน้านักแสดงแบบสมัยก่อนเหมือนในเรื่อง Return of the Jedi ประสบการณ์หนึ่งที่แม็คเดียร์มิดไม่มีวันลืมคือ “การก้าวเข้าไปในฉากของเอพพิโซด 1 เป็นครั้งแรกเหมือนกับได้ยินเวลากลับไปหา ประสบการณ์ในเรื่อง Jedi” เขาจำได้ “พัลพาทีนเป็นตัวละครที่น่าสนใจ ภายนอกเขาดูธรรมดา แต่ในใจแล้วเขาเป็นคนแข็งแกร่ง พยายามก้าวข้ามสิ่งที่เป็นไปได้” ตัวละครอื่นที่มีความล้ำคือซิธ ลอร์ด ดาร์ธ มอล ร่วมทางไปกับที่ปรึกษาในการก่อสงครามที่ดุเดือดกับอัศวินเจได เรย์ พาร์ค นักต่อสู้ศิลปะการป้องกันตัวและเป็นนักฟันดาบรวมถึงเป็นนักยิมนาสติกที่ประสบความสำเร็จมารับบทบาทนี้ โดยเริ่มแรกพาร์คได้ร่วมงานกับผู้ควบคุมสตั๊นท์ นิค กิลลาร์ด แต่เขาสร้างความประทับใจให้ลูคัส แม็คคอลลัมและเกอร์แลนด์เป็นอย่างมาก เพราะเขาได้รับบทอันทรงเกียรติซึ่งเป็นการแสดงภาพยนตร์ของเขาครั้งแรก เขาได้แสดงร่วมกับคู่ต่อสู้ในฉากอย่างเลียม นีสัน และ ยอน แม็คกรีเกอร์ พาร์คได้ร่วมงานอย่างใกล้ชิดกับกิลลาร์ดในฉากการต่อสู้ที่นำสไตล์ของนักกีฬา และการต่อสู้แบบใหม่มาใส่ในตำนานการผจญภัย Star Wars ซึ่งอันที่จริงกิลลาร์ดได้สร้างศิลปะการต่อสู้แบบใหม่ขึ้นมาโยดการผสมผสานเทคนิคการใช้ดาบต่อสู้ที่ยอดเยี่ยมหลายอย่างลงไป อาทิเช่น การเลียนแบบวิธีการฟันต้นไม้ และการเคลื่อนไหวของการตีเทนนิสที่ใส่ไปในปริมาณที่เหมาะสม การดวลดาบพลังแสงที่เร้าใจของเจไดที่ประชันกับลักษณะการต่อสู้ของดาร์ธ มอลที่มีความซับซ้อนถูกออกแบบฉากผาดโผนมาอย่างพิถีพิถัน ซึ่งและภาพยนตร์ต้องใช้เวลาถึงหลายสัปดาห์ ผู้ที่หวนกลับมาสู่จักรวาลของ Star Wars คือดรอยด์ผู้เป็นที่รักอย่าง R2-D2 และ C-3PO แม้จะมีรูปแบบที่แตกต่างไปก็ตาม เคนนี่ เบเกอร์ กลับมาสวมชุดโลหะของอาร์ทูอีกครั้ง ส่วนแอนโธนี่ แดเนียลส์ก็กลับมาร่วมตำนานโดยรับบทเป็นหุ่นยนต์ทางการฑูตในตำนานการผจญภัยทรีพีโอที่กำลังอยู่ในขั้นตอนการสร้างโครงขึ้นมา ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาโดยอนาคินในเอพพิโซด 1 ตั้งแต่ที่ทรีพีโอไม่มี “เนื้อหนัง” แดเนียลก็ไม่ต้องสวมชุดอย่างที่เคยในไตรภาคต้นฉบับเลย เขาแค่ให้เสียงพากย์อยู่หลังกล้องในระหว่างที่คนเชิดหุ่นทำหน้าที่จัดการกับดรอยด์ และผู้ที่ได้รับการต้อนรับในการกลับมาครั้งนี้ แน่นอนว่าเป็น โยดา ปรมาจารย์เจไดในรูปร่างหน้าตาที่ค่อนข้างเป็นหนุ่มขึ้น แฟรงค์ ออซ กลับมารับบทของโยดาอีกครั้ง ซึ่งเป็นหุ่นที่สร้างขึ้นมาจากทีมงานผู้ควบคุมสิ่งมีชีวิตของนิค ดัดแมน ซึ่งมีตัวละครของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดถึง 140 ตัว ในเอพพิโซด 1 โยดาคือหนึ่งในสมาชิกของสภาเจได เช่นเดียวกับตัวละครใหม่ของตำนานการผจญภัย Star Wars อย่าง เมซ วินดู ที่รับบทแสดงโดย ซามูเอล แอล. แจ็คสัน โดยก่อนที่จะมีการแสดงแจ็คสันเป็นแฟนของ Star Wars มาอย่างยาวนาน เขาถูกถามระหว่างากรสัมภาษณ์ว่าเขาอยากร่วมงานกับผู้กำกับคนไหเขาตอบอย่างทันทีว่า จอร์จ ลูคัส และตอบเสริมว่าเขาจะดีใจมากที่ได้ร่วมงานในหนังเรื่อง Star Wars ตอนใหม่ เกอร์แลนด์ได้รู้ถคงความสนใจของแจ็คสันและให้เขามารับบทแสดงเป็น เมซ วินดู ซึ่งนั่นเป็นประสบการณ์หนึ่งที่น่าจดจำสำหรับนักแสดงผู้มากประสบการณ์ “ผมได้แสดงร่วมกับโยดาในเอพพิโซด 1” เขานึกย้อนกลับไปพร้อมรอยยิ้ม“มันเป็นความฝันของผมอย่างหนึ่งที่กลายเป็นจริง” การมอบหมายจาก จอร์จ ลูคัส ที่ให้ค้นหานักแสดงที่เหมาะสมที่สุดสำหรับแต่ละบทบาทก็เป็นข้อชี้ชัดในการคัดเลือกตัวนักแสดงหญิงชาวสวีเดน เพอร์นิลล่า ออกัสต์ ผู้มารับบท ชมี สกายวอล์คเกอร์ แม่ของอนาคิน โดยฉากต่างๆ ของแม่ลูกนั้นทำให้มีช่วงเวลาที่สะเทือนอารมณ์ในเรื่องราวอยู่หลายช่วง นักแสดงอาวุโสจากภาพยนตร์หลายเรื่องโดย อิงมาร์ เบิร์กแมน และ ออกัสต์ ริคแมน แม็คคอลลัม เล่าว่า “เธอมีทั้งความสง่าและพลังทุกอย่างตามที่เราต้องการเพื่อบทแม่ของอนาคิน” และตัวละครใหม่ในครอบครัว Star Wars คือ จาร์ จาร์ บลิงค์ส ซึ่งเป็นสัตว์ประหลาดที่ซุ่มซ่ามเหมือนเด็กและมีการพูดในแบบของตัวเอง จาร์ จาร์ เข้ามาร่วมกับไควกอน โอบีวัน ราชินีและอนาคินในการผจญภัยของพวกเขา จาร์ จาร์บนจอภาพยนตร์ถูกสร้างขึ้นมาด้วยคอมพิวเตอร์ที่มีการแสดงจริงกับตัวละครไลฟ์แอ็คชั่น ได้มีขั้นตอนอย่างละเอียดในการคัดเลือกตัวนักแสดงที่ผสมผสานลักษณะท่าทางตัวละครและน้ำเสียงให้เข้ากับตัวละครที่เทคนิค CGI ค่อยๆ พัฒนาขึ้นมา โดยมีนักแสดงละครเวที อาห์เม็ด เบสต์ สะดุดตาของเกอร์แลนด์ในระหว่างการแสดงเรื่อง Stomp ที่ซาน ฟรานซิสโกมารับบทแสดงเป็นจาร์ จาร์ “อาห์เม็ดนี่แหละคือจาร์ จาร์” โรบิน เกอร์แลนด์ อ้างว่า “การแสดงของเขาทำให้ตัวละครดูสมจริง” เลียม นีสัน กล่าวเสริมว่า “อาห์เม็ดเป็นคนตลกและเป็นนักแสดงที่มีพรสวรรค์มาก ซึ่งเขาทำให้จาร์ จาร์ มีชีวิตขึ้นมาได้” ในบางครั้งการแสดงของนักแสดงที่มีเอกลักษณ์อย่างเบสต์ก็เป็นตัวประคองเพื่อนร่วมแสดงของเขาเอาไว้ “มีหลายเทคที่จะแสดงหน้านิ่งๆ ได้ยาก” นีสันจำได้ว่า “เพราะเขาชอบทำท่าตลกและทำเสียงประหลาดใหม่ๆ” การแสดงจาร์จาร์ให้มีความตลกและสนุกสนานเท่าที่จะทำได้ เบสต์แสดงให้เป็นตัวละครที่มีท่าทางการเคลื่อนไหวแบบแปลกๆ ที่ทำให้ตัวละครต้องไปพบกับปัญหา “จาร์ จาร์ อยากเอาใจทุกคนและทำทุกอย่างให้เข้าที่เข้าทาง” เบสต์กล่าว “แต่ไม่ว่าเขาจะพยายามแค่ไหน เขาก็คอยทำลายและขัดใจใครตลอด” และผู้แสดงที่สำคัญอีกคนในเอพพิโซด 1 คือนักแสดงชาวอังกฤษผู้มีชื่อเสียง เทอเรนซ์ สแตมป์ ผู้รับบทเป็นเสนาบดีวาลอรัม ที่มองว่าพลังของเขาเป็นหัวหน้าของสภาที่ถูกคุกคามจากวุฒิสมาชิกพัลพาทีน ราล์ฟ บราวน์ รับบทเป็นนักบินชาวนาบูที่ชื่อ ริค โอลี่ และฮิวจ์ ฟวาร์ชี รับบทเป็น และกัปตันพานาก้า องครักษ์ผู้เก่งกล้าของราชินี การถ่ายทำระบบดิจิตอล เป็นเวลานานกว่า 20 ปีที่จอร์จ ลูคัสเป็นที่รู้จักในนามของนักบุกเบิกด้านวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์ ภาพยนตร์ไตรภาคต้นฉบับเรื่อง Star Wars มีอิทธิพลอย่างยิ่งใหญ่ในด้านวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์ที่สร้างขึ้นมา รวมถึงขั้นตอนช่วงโพสต์-โพรดักชั่นและในการนำเสนอภาพยนตร์ด้วย สำหรับการทำความเข้าใจในไอเดียเรื่องวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์สำหรับ Star Wars ลูคัสได้สร้างบริษัทผลิตเอ็ฟเฟ็กต์ขึ้นมาชื่อ Industrial Light & Magic ซึ่งมีนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาให้วงการภาพยนตร์ได้รู้จักและเป็นการปฏิวัติสเปเชียลเอ็ฟเฟ็กต์ ILM มีการเริ่มดำเนินงานเมื่อลูคัสใช้ “หน่วยคอมมานโด” จำนวน 45 คนและพนักงานมากกว่า 1,000 คนตามมาด้วยทีมงานอันทรงเกียรติอีก 14 คนผู้เป็นเจ้าของรางวัล Academy Awards สาขาวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์ยอดเยี่ยม และเจ้าของรางวัล Scientific and Technical Achievement Award อีก 14 คนที่มาสร้างผลงานวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์ที่มีควมโดดเด่นในภาพยนตร์มาแล้วมากกว่า 120 เรื่อง ประเพณีสืบทอดที่ต่อกันมาด้านเอ็ฟเฟ็กต์ที่โดดเด่นสืบต่อมาถึงในเอพพิโซด 1 ที่สร้างขึ้นต่อจากภาพยนตร์ดิจิตอลที่มีชื่อเสียงของ ILM อาทิเช่น Terminator 2: Judgment Day, Jurassic Park, Forrest Gump และ Twister ซึ่งในเอพพิโซด 1 เทคโนโลยีดิจิตอลทำหน้าที่ได้อย่างโดดเด่นกว่าภาพยนตร์ทุกเรื่องในประวัติศาสตร์. สำหรับ “การถ่ายทำระบบดิจิตอล” ในครั้งนี้ ILM พบความท้าทายด้านการเข้าถึงโลกของแฟนตาซีที่ไม่ธรรมดา ขณะเดียวกันก็ต้องคงภาพที่สมจริงเอาไว้ และช่วยเหลือในเรื่องฟุตเทจแบบไลฟ์แอ็คชั่นของเหล่านักแสดง มันไม่ใช่แค่ฉากหลังแนวแฟนตาซีเท่านั้น แต่ทั้งฉาก ยานพาหนะ และแม้แต่ตัวละครก็ถูกสร้างขึ้นจากคอมพิวเตอร์ จริงๆ แล้ว 95% ของเฟรมต่างๆ ในภาพยนตร์มีจำนวนรวมแล้วเกือบ 2,000 ฉากใช้การถ่ายทำระบบดิจิตอล มากกว่า 3 เท่าตัวของปริมาณที่มากที่สุดของฉากคอมพิวเตอร์กราฟฟิคที่เคยสร้างขึ้นในภาพยนตร์ แต่ถึงอย่างไรสำหรับภารกิจอันน่ากลัวที่ลูคัสเคยรับมือมาก่อน ILM เขาไม่เคยตั้งข้อสงสัยเลยว่าผู้ร่วมงานจะยอมแพ้ความท้าทาย “หลังจากที่ได้ร่วมงานกับพวกเขามานานกว่า 2 ทศวรรษ” เขากล่าวว่า “ผมรู้ว่าพวกเขาทำได้” ผลงานของทีมงาน ILM ในเอพพิโซด 1 ที่รวบรวมผู้ชำนาญด้านคอมพิวเตอร์ 250 คนมาสร้างผลงานในจักรวาลโลกดิจิตอลนี้นานถึง 2 ปี ผลงานด้านวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์ของภาพยนตร์มีความอลังการมาก ซึ่งไม่ได้ใช้ผู้ควบคุมเก่งๆ ของ ILM เพียงคนเดียวเท่านั้น แต่มากถึง 3 คนที่ถูกเรียกตัวมาร่วมแบ่งเบาหน้าที่ โดยแต่ละคนต้องรับหน้าที่ที่สำคัญสุด 1 อย่างหรือมากกว่านั้นในฉากแอ็คชั่นหลักๆ รวมถึงประเภทของสเปเชียลเอ็ฟเฟ็กต์ที่เกิดขึ้นตลอดในภาพยนตร์ เช่น ดาบพลังแสงที่ส่องแสงตลอดเวลา เด็นนิส มูเร็น เจ้าของรางวัล Oscar เป็นผู้ชำนาญด้านการบุกเบิกเอ็ฟเฟ็กต์ของ Star Wars ภาคต้นฉบับได้มาควบคุมเอ็ฟเฟ็กต์การต่อสู้ภาคพื้นดินที่ยิ่งใหญ่รวมถึงฉากใต้น้ำของภาพยนตร์ จอห์น นอล ผู้ให้กำเนิดโปรแกรม Photoshop ดั้งเดิม ควบคุมเรื่องยานอวกาศและฉากต่างๆ ของพอดเรซ ส่วนสก็อตต์ สเควียร์ส Squiers ทำหน้าที่ควบคุมการสร้างฉาก Theed City อันน่าตื่นเต้นรวมถึงเอ็ฟเฟ็กต์ของดาบพลังแสง ผู้เชี่ยวชาญด้านเอ็ฟเฟ็กต์เหล่านี้ได้สร้างโลกทั้งหมดขึ้นมาด้วยคอมพิวเตอร์ของ ILM ซึ่งความสำเร็จนั้นได้มอบความน่าอัศจรรย์มาสู่จอภาพยนตร์ แต่ทำให้เหล่านักแสดงต้องยืนอยู่ในฉาก “บลูสกรีน” ที่ว่างเปล่าอยู่บ่อยๆ ซึ่งภายหลังมีการใช้ฉากหลังแบบดิจิตอลมาแทนที่ การแสดงท่ามกลางโลกที่ประกอบไปด้วยบลูสกรีนและคอมพิวเตอร์กราฟฟิค เป็นหนึ่งในความท้าทายที่สำคัญของเหล่านักแสดงที่ต้องพบว่าตัวเองอยู่ท่ามกลางจินตนาการของตัวเองทั้งหมด มีเพียงเครื่องแต่งกายหรือแสตนอินในบางครั้งเท่านั้นที่จะช่วยให้พวกเขาจินตนาการถึงจักรวาลที่สุดท้ายจะอยู่รายล้อมพวกเขาในภาพยนตร์ได้ น่าแปลกที่ไม่มีนักแสดงคนใดเคยมีประสบการณ์ในการทำงานกับบลูสกรีนมาก่อน แต่ไม่ใช่แค่รับมือกับขั้นตอนได้เท่านั้น พวกเขายังทำงานร่วมกับมันได้อีกด้วย เลียม นีสัน ผู้เปรียบเทียบประสบการณ์กับการอยู่ในฉากว่า “เราต้องใช้จินตนาการ เราแสดงไปตามสัญชาตญาณล้วนๆ สำหรับบทของผมแล้ว ผมอยากแน่ใจว่าผมแสดงออกมาเหมือนเชื่อว่าทุกอย่างมีอยู่จริง” ขอบเขตของดิจิตอลได้แผนขยายไปถึงการสร้างตัวละครของเอพพิโซด 1 บางตัว รวมถึงตัวละครที่คุ้นเคยอย่าง จับบ้า เดอะ ฮัตต์ ตัวละครคุ้นตาจาก Return of the Jedi และ Star Wars Special Edition ท่ามกลางผลงานจากคอมพิวเตอร์กราฟฟิคชุดใหม่ที่มากกว่า 60 ตัวได้รับการควบคุมจากผู้ควบคุมแอนิเมชั่น ร็อบ โคลแมน, จาร์ จาร์ บิงค์ส; ซีบัลบ้า แชมป์การแข่งขันพอดเรซที่ท้าทายจากอนาคิน และวาทูตัวละครที่พูดเสียงกระด้างผู้ที่อนาคินเป็นทาสรับใช้อย่างตรากตรำ ตัวละครคอมพิวเตอร์กราฟฟิคแต่ละตัวมีการแสดงที่โดดเด่นในแบบของตัวเองผ่านการแสดงออกทางสีหน้าและท่าทางอันมีเอกลักษณ์ที่สร้างขึ้นมาจากผู้ชำนาญด้านเอ็ฟเฟ็กต์ของภาพยนตร์ แม้แต่การพริ้วและการเคลื่อนไหวของเสื้อผ้าตัวละครก็เหมือนกับตัวละครที่ร่วมฉากซึ่งมีทั้งเนื้อและหนังของพวกเขา นั่นอาจจเป็นโลกดิจิตอลแต่ก็มีความสำคัญที่ต้องมีหลักการทำงานที่เข้ากันได้แบบสมัยก่อนเอ็ฟเฟ็กต์สร้างชื่อ สำหรับการสร้างโมเดลได้รับการควบคุมโดยสตีฟ กอว์ลีย์ จากหน่วยสร้างโมเดลของ ILM ที่มารับหน้าที่สำคัญต่อในจักรวาลของ Star Wars ซึ่งเขาต้องทำงานร่วมกับองค์ประกอบของคอมพิวเตอร์กราฟฟิค ผลงานดิจิตอลทำหน้าสำคัญของการสร้างโลกต่างๆ ที่ไม่ธรรมดาและมีความแตกต่างกันในเอพพิโซด 1 ซึ่งทั้ง 3 โลกทำหน้าที่เป็นสถานที่หลักของเรื่องราวดวงดาวแห่งทะเลทรายแทตทูอินที่คุ้นตาแฟนๆ ภาพยนตร์ไตรภาคต้นฉบับอยู่แล้วเป็นที่อยู่ของเอเลี่ยนหลากสายพันธุ์ที่มีการเดินทางผ่านสถานีอวกาศอันไกลโพ้น อาณาบริเวณของโลกนี้อยู่เหนืออารยธรรมที่มีส่วนสำคัญต่อสาธารณรัฐแห่งดวงดาว ทำให้แทตทูอินเป็นดาวที่มีความรุนแรงซึ่งปกครองโดยพวกเหล่าร้าย มีการค้าตลาดมืดและการพนันเป็นสิ่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และเป็นข้าทาสบริวารทั้งหลายมีเศรษฐีเป็นเจ้าของ นาบูเป็นดินแดนที่มีความงดงามและสงบสุขที่มีทิวทัศน์สีเขียวขจีและมีเมืองเพียง 2-3 แห่ง ซึ่งตั้งอยู่ทั้งเบื้องบนและใต้แม่น้ำ โลกขนาดกระทัดรัดใบนี้เป็นฉากการต่อสู้ที่จุดชนวนเหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในตำนานการผจญภัย Star Wars ในภาพยนตร์ โคโรซังต์เป็นเมืองหลวงแห่งโลกที่ปกคลุมดาวทั้งหมดในตึกสูงขนาดยักษ์ ตั้งอยู่ใจกลางจักรวาล Star Wars โดยที่นี่มีเจไดตั้งกองบัญชาการที่วิหารเจไดอันทรงพลัง และจากจุดนี้มีสภาแห่งจักรวาลปกครองโดยสาธารณรัฐ สถานที่ต่างๆ นอกเหนือจากผลงานดิจิตอลที่สร้างขึ้นที่ ILM แล้ว บทสรุปของสถานที่อันกว้างขวางในเอพพิโซด 1 ที่ต้องใช้ฉากพิเศษและฐานที่ตั้งหลักสำหรับการผลิต คือผู้สร้างภาพยนตร์ใช้สถานที่ของ Leavesden Studios ที่ประเทศอังกฤษเพื่อสร้างโรงผลิตภาพยนตร์ของจริงภายใต้หลังคาที่ขยายแผ่กว้าง ความสะดวกของพื้นที่ 850,000 ตารางฟีตถูกปรับเปลี่ยนเป็น 10 เวที และ 60 ฉาก บวกกับพื้นที่ขนาดกว้างเพื่อเป็นเอ็ฟเฟ็กต์ภาคพื้นดิน สเปเชีลเอ็ฟเฟ็กต์และการผลิตเครื่องแต่งกาย และมีแผนกจัดทำรอกและหน่วยดับเพลิงเป็นของตัวเองด้วย ครั้งหนึ่ง Leavesden เคยเป็นโรงงานเครื่องยนต์สำหรับเครื่องบิน Rolls Royce และมีโรงถ่ายขนาดยักษ์ให้สตูดิโอทุกแห่งในโลก จึงเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุดในด้านขนาดและความยิ่งใหญ่ของการถ่ายทำเอพพิโซด 1 อย่างแท้จริง “มันน่าจะเป็นสถานที่ดีที่สุดเท่าที่ผมเคยสร้างภาพยนตร์มา” ริค แม็คคอลลัม กล่าว “เราสามารถถ่ายทำและสร้างขึ้นมาได้ในเวลาเดียวกัน ทั้งประหยัดแรงและมีความพิถีพิถัน” การถ่ายทำเอพพิโซด 1 เริ่มขึ้นที่ Leavesden ในช่วงซัมเมอร์ปี 1997 ซึ่งหลังจากนั้น 3 ปีลูคัสได้เริ่มเขียนบทและทีมงานผู้ออกแบบของเขาได้นำคอนเซ็ปต์ในช่วงแรกที่ร่างไว้มารวมเข้ากัน และหลังจากนั้น 1 ปีก็เริ่มมีการก่อสร้างขึ้นในฉาก จากนั้นการผลิตภาพยนตร์ได้ย้ายไปที่ Caserta Royal Palace ที่ใกล้กับ Naples ประเทศอิตาลีเพื่อฉากในตำหนักของราชินีนาบูมีการสำรวจสถานที่อีกหลายแห่งแต่ผู้สร้างภาพยนตร์เห็นว่า Caserta Royal Palace ซึ่งเป็นหนึ่งในสถานที่ที่สวยที่สุดของยุโรปและมีสถาปัตยกรรมที่ดูงดงามจะสร้างความสมจริงและความน่าเชื่อถือที่สำคัญให้ฉากต่างๆ ได้ ในช่วงซัมเมอร์ที่ร้อนระอุ ทีมงานผู้สร้างเอพพิโซด 1 ได้สร้างสิ่งที่แม็คคอลลัมเรียกว่า “การเคลื่อนที่ของเปลือกโลก” ขึ้นมาจึงต้องย้ายไปที่เขต North African Sahara — ทูนิเซียซึ่งเป็นที่ตั้งของฉากแทตทูอิน โดยสถาปัตยกรรมดั้งเดิมที่มีความโดดเด่นของทูนิเซียได้เพิ่มความสมบูรณ์แบบที่ไม่ธรรมดาให้กับการตกแต่งศิลปะของาภพยนตร์อีกครั้ง เหมือนอย่างที่เคยมีใน Star Wars เมื่อ 20 ที่แล้ว ทีมงานได้ปรับเปลี่ยนสถานที่บางแห่งเล็กน้อยด้วยการตกแต่งฉากเล็กๆ น้อยๆ ที่มีความสำคัญต่อการสร้างภาพของแทตทูอินให้มีความสมบูรณ์แบบในส่วนประกอบของเบอร์เบอร์ในโลกอื่น สำหรับเหตุผลในแง่การคำนวณแล้ว การเคลื่อนย้ายและการถ่ายทำภาพยนตร์ในเวลาต่อมาต้องเสร็จสิ้นในเดือนมิถุนายนและสิงหาคม ซึ่งเป็นเดือนที่ร้อนที่สุดแห่งปีในทะเลทรายอันร้อนระอุภายใต้อุณหภูมิเฉลี่ย 130 องศาฟาห์เรนไฮต์ ทีมงานไม่ได้สร้างฉากที่เป็นเมืองขนาดใหญ่เท่านั้น แต่ยังต้องสร้างหมู่บ้านที่รองรับสมาชิกนักแสดงและทีมงานเกือบ 200 คนด้วย ทีมงานในการผลิตคนหนึ่งต้องทนมากกว่าสภาพความร้อน ซึ่งเขารับมือกับมันได้จริงๆ “ผมชอบมันมากเลย” ยอน แม็คกรีเกอร์ เล่าว่า “เราต้องสวมเสื้อผ้าประมาณ 8 ชั้นและเดินเตะไปรอบทะเลทราย มันโหดมากแต่ผมสนุกกับมันนะ” ความร้อนรุนแรงกลายเป็นความท้าทายด้านสภาพอากาศขั้นแรกที่ทีมงานของเอพพิโซด 1 พบที่ทูนิเซีย เมื่อช่วงเย็นของปลายเดือนมิถุนายนเหล่านักแสดงและทีมงานได้พบกับเสน่ห์ที่กลายเป็นความน่ากลัว เมื่อมีสายฟ้าปรากฏขึ้นบนท้องฟ้าเหนือทะเลทราย ตามมาด้วยกำแพงแห่งทรายที่ไล่กวดพวกเขา เมื่อพวกเขาไปถึงโรงแรมสายฝนก็เริ่มกระหน่ำใส่ฉากต่างๆ ลงมาอย่างหนัก หลังจากที่พายุในคืนนั้นทำให้ฉากของแทตทูอินมีอารมณ์ของที่จอดรถเทรลเลอร์ หลังพายุทอร์นาโดพัดเครื่องแต่งกายนับร้อยชิ้นอยู่กระจัดกระจายทั่วทะเลทราย และสิ่งก่อสร้างต่างๆ ได้ปลิวและแยกชิ้นเป็นส่วนๆ แม้แต่ดรอยด์บางตัวก็ฉีกขาดกระจัดกระจายเหมือนทหารที่พ่ายแพ้จากสมรภูมิรบ ช่วงเช้าตรู่หลังพายุฝน ผู้อำนวยการสร้างริค แม็คคอลลัมเดินทางมาที่ใจกลางซากความเสียหาย และเริ่มหาทางทำให้การผลิตกลับมาได้ทันเวลาโดยทันที แทนที่จะเศร้าสลดกับความเสียหายครั้งยิ่งใหญ่ เหล่านักแสดงและทีมงานกลับทำงานอย่างกระฉับกระเฉงภายใต้การควบคุมของแม็คคอลลัม และการฟื้นฟูสภาพก็เริ่มดูท่าจะเป็นไปได้ขึ้นมาทันที จอร์จ ลูคัส ก็ได้ควบคุมกองถ่ายหลัก เพื่อเปรียบเทียบดูพื้นที่ที่ไม่ได้รับความเสียหายที่สามารถใช้ถ่ายทำได้ เครื่องแต่งกายต่างๆ ถูกขุดขึ้นมาจากทะเลทรายและถูกทำความสะอาดระหว่างการสร้างและซ่อมแซมยานพาหนะต่างๆ ทุกคนให้ความช่วยเหลือกันทุกๆ ด้าน และน่าอัศจรรย์ที่การถ่ายทำภาพยนตร์กลับมาทันเวลาที่กำหนดได้ ลูคัสเองได้เสนอการประเมิณที่มีความหวังมากที่สุดจากความคิด ในสถานการณ์ที่ร้ายแรงมาก เมื่อเขาบอกให้รู้ว่าเหตุการณ์เดียวกันเกิดขึ้นเมื่อ 20 ปีมาแล้วในฉากของ Star Wars ภาคต้นฉบับ เขาให้เหตุผลว่าบางทีสิ่งที่เกิดขึ้นอีกครั้งอาจเป็นลางบอกเหตุที่ดีก็ได้ การผลิตได้ย้ายกลับมาที่ Leavesden ที่การถ่ายทำเสร็จสิ้นไปแล้วในช่วงต้นฤดูใบไม้ร่วง หลายเดือนหลังจากนั้นเป็นช่วงขั้นตอนการลำดับภาพ สตูดิโอขนาดยักษ์ทำหน้าที่เป็นถิ่นฐานหลักอีกครั้งเมื่อผู้สร้างภาพยนตร์มารวมตัวกันเพื่อพากย์เสียงและเลือกฉากต่างๆ ซึ่งความต้องการถูกกำหนดโดยภาพที่ลูคัสตัดต่อคร่าวๆ อันที่จริงแล้วการลำดับภาพเป็นช่วงที่ลูคัสชอบมากในการสร้างภาพยนตร์ เพราะมันสร้างมิติอันน่าตื่นเต้น ซึ่งเป็นความช่วยเหลือจากเทคโนโลยีดิจิตอลของ ILM ลูคัสและผู้ลำดับภาพของเขามาร์ติน สมิธ และ เบ็น เบิร์ต สนุกกับการปรับตัวครั้งยิ่งใหญ่ในครั้งนี้ พวกเขาสามารถสร้างฉากต่างๆ ในห้องลำดับภาพได้โดยตัดต่อภาพคนแบบดิจิตอล และแม้แต่ตัดต่อสถานที่ต่างๆ จากฉากหนึ่งย้ายไปที่ฉากหนึ่งได้ด้วย “ผมสามารถสร้างและเขียนเรื่องราวขึ้นมาใหม่ได้ในช่วงลำดับภาพเลย” ลูคัสกล่าว ดนตรีและเสียงประกอบ สำหรับภาพยนตร์เรื่อง Star Wars จอร์จ ลูคัสตั้งใจใช้เสียงประกอบที่มีการพัฒนาขั้นสูง “ผมหลงใหลในเสียงและเพลงประกอบภาพยนตร์มาก” เขาแสดงความเห็นและกล่าวว่าทั้งสองสิ่งนั้นต้องไปด้วยกันในการถ่ายทอดเรื่องราวของเขา Star Wars ภาคแรกเป็นดนตรีบรรเลงในระบบดอลบี้สเตอริโอที่มีการลดนอยซ์แบบที่ได้รับความนิยม เช่นเดียวกับ 2 เอพพิโซดในไตรภาคต้นฉบับ ตั้งแต่ที่เทคโนโลยีด้านเสียงของภาพยนตร์มีการปรับปรุงครั้งสำคัญด้วยการนำเสนอเสียงระบบดิจิตอล และโปรแกรม THX ของ Lucasfilm เพราะฉะนั้นสำหรับ The Star Wars Trilogy Special Edition ลูคัสจึงสร้างเพลงประกอบภาพยนตร์ที่รีมิกซ์แบบดิจิตอลขึ้นมา ซึ่งล้ำหน้ากว่าโดยการนำเสนอในรูปแบบฟิล์ม 70mm ของต้นฉบับที่ใช้บนแถบแม่เหล็ก ทัศนคติของลูคัสในเรื่องของเสียงจึงไม่น่าแปลกใจเลยที่หลังจากนั้นเอพพิโซด 1 ได้สร้างปรากฏการณ์ของดนตรีประกอบภาพยนตร์ขึ้นมาใหม่เหมือนกับที่ใช้เอ็ฟเฟ็กต์และการลำดับภาพแบบดิจิตอล ซึ่งเป็นครั้งแรกของภาพยนตร์ที่มีความโดดเด่นขึ้นมาด้วยเสียงระบบ Dolby Digital-Surround EX ที่ใช้ระบบเสียง 6.1 แชนแนล โดยเพิ่มขึ้นจากแชลแนลที่มีการใช้รูปแบบดิจิตอลในโรงภาพยนตร์ตอนนี้ Lucasfilm THX และ Dolby Laboratories ร่วมกันพัฒนาระบบเสียงรอบโรงภาพยนตร์ที่มีการควบคุมโดยผู้ออกแบบเสียงเจ้าของรางวัล Oscar แกรี่ ริดสตรอม ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติงานสร้างสรรค์ที่ Skywalker Sound ระบบเสียงแบบใหม่แสดงจุดเด่นด้านความสามารถของศิลปินทั้ง 2 เจ้าของผลงานที่ได้รับคำชมมาแล้วจากทั่วโลกออกมาให้เห็นอย่างเด่นชัด และผู้ที่ให้ความช่วยเหลือในจักรวาล Star Wars เป็นพิเศษอีกครั้งคือผู้ประพันธ์ดนตรีเจ้าของรางวัล Academy Award ถึง 5 ครั้งอย่างจอห์น วิลเลียมส์และผู้ออกแบบเสียงเบ็น เบิร์ต ความสำคัญของการให้ความช่วยเหลือในตำนานการผจญภัย Star Wars ของจอห์น วิลเลียมส์ไม่ได้เป็นการกล่าวอ้างเกินจริง เพราะดนตรีของเขาเป็นการให้ความเน้นย้ำถึงตัวละคร อารมณ์ความรู้สึกและฉากแอ็คชั่นของภาพยนตร์ “ผมพูดมาตลอดว่าหนังพวกนี้เหมือนหนังเงียบ” ลูคัสกล่าว “และผมโชคดีมากที่จอห์นเข้าใจถึงเรื่องนี้” สำหรับเอพพิโซด 1 วิลเลียมส์ประพันธ์ดนตรีที่ยาวเกือบ 2 ชั่วโมง เขาสร้างองค์ประกอบที่มีความแปลกใหม่แต่ยังมีเนื้อความและจุดสำคัญที่เกี่ยวเนื่องกับดนตรีของต้นฉบับไตรภาคอยู่ เพราะฉะนั้นในขณะที่ดนตรีทั้งหมดในเอพพิโซด 1 เป็นดนตรีใหม่ ก็มีธีมหลักบางส่วนที่คุ้นหูและมีดนตรีที่อิงมาจากภาพยนตร์ 3 ภาคแรก ตัวอย่างเช่นธีมของอนาคินที่ผู้ชมจะได้ยินเป็นการบอกใบ้ถึงสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้นกับเขาในการแปลงกายต่อมา “ถึงอย่างไรโอกาสและความท้าทายที่สำคัญสุดของผม” วิลเลียมส์กล่าวว่า “คือการสร้างองค์ประกอบใหม่ที่มอบความไพเราะอันเป็นเอกลักษณ์ของตัวละครใหม่ เหมือนกับที่เราเคยำทไว้ในภาพยนตร์เรื่องก่อน” เพราะฉะนั้นจึงมีองค์ประกอบใหม่ทั้งหมดสำหรับจาร์ จาร์, ดาร์ธ มอล และราชินีรวมถึงคนอื่นๆ “หนังสือรวมธีมดนตรีของ Star Wars นี้เหมือนมีการพัฒนาขึ้นมาเมื่อจอร์จได้นำสิ่งมีชีวิตใหม่ๆ มาสู่สวนสัตว์ป่า” วิลเลียมส์กล่าวเสริม เบิร์ต เจ้าของผลงานการออกแบบดนตรีอย่างสร้างสรรค์มารับบทบาทหลักในภาพยนตร์ Star Wars และ Special Editions พวกเขาได้สร้างดนตรีใหม่ๆ ไว้มากกว่า 1,000 ชุดสำหรับเอพพิโซด 1 เขารวบรวมเสียงเหล่านี้มาจากดินแดนอันไกลโพ้นและแม้แต่เสียงหลังบ้านของเขาเอง การปฏิวัติระบบดิจิตอลได้มีส่วนสำคัญต่อผลงานของเบิร์ตเช่นกันในการปรับการมิกซ์เสียงให้ง่ายขึ้นกว่าเมื่อ 20 ปีที่แล้ว ในระหว่างที่สร้างการปรับเปลี่ยนอารมณ์แห่งโสตประสาทแบบใหม่ขึ้นมา เบิร์ตก็ยังใส่ใจที่จะคงอารมณ์แห่งโสตประสาทของต้นฉบับ Star Wars เอาไว้ “เรามีเอ็ฟเฟ็กต์ที่เป็นสัญลักษณ์หลายอย่างที่กลับมาอีกครั้งในเอพพิโซด 1 ซึ่งผมคิดว่ามันเหมาะสมที่จะอ้างอิงถึงมัน เพราะแฟนๆ คุ้นเคยกับมัน” เบิร์ตอธิบาย สำหรับเสียงของดาบพลังแสงบางเสียงก็ใช้เสียงเก่ามาผสมกับเสียงใหม่ โดยได้เบิร์ตมาสร้างเสียงใหม่อีกครั้งเพื่อให้เหมาะกับฉากการต่อสู้ที่รวดเร็วขึ้นในภาพยนตร์ภาคใหม่ ความเข้มข้นของภาพยนตร์ เพลงประกอบภาพยนตร์ที่มีความแตกต่างและเอ็ฟเฟ็กต์อันเลื่องชื่อได้มอบบบทสรุปอันน่าประทับใจของสิ่งที่เริ่มจากการเป็นเพียงความฝันของจอร์จ ลูคัส ตอนนี้ต้องขอบคุณการปรับโฉมและการทำงานอย่างหนักของทีมงานนับพันคนที่มาร่วมงานกันทำให้ความฝันมีความสมจริง โลกใบใหม่อันน่าอัศจรรย์ที่ยังคงตำนานเดิมอันเป็นที่รักเอาไว้พร้อมสำหรับแฟนๆ นับล้านที่เฝ้ารอการมาถึงของภาพยนตร์เป็นเวลาหลายปีแล้ว นี่คือจุดเริ่มต้น สตาร์ วอร์ส: เอพพิโซด 1 ภัยซ่อนเร้น การออกแบบเครื่องแต่งกาย เรื่องราวในเอพพิโซด 1 ของจอร์จ ลูคัส ได้พาเราไปยังใจกลางของจักรวาลและดวงดาวต่างๆ ที่มีความซับซ้อน ซึ่งผู้อาศัยเป็นผู้มีอำนาจสูงส่ง มั่งคั่ง มีอำนาจ มีอิทธิพลด้านการเมืองและมีรสนิยม จึงเลี่ยงเรื่องของแฟชั่นหรูหราที่มีความซับซ้อนและการออกแบบเครื่องแต่งกายไปไม่ได้ ผู้ออกแบบเครื่องแต่งกายอย่างทรีช่า บิกการ์ และศิลปินผู้วางคอนเซ็ปต์เอียน แม็คเคก ได้ทำให้จินตนาการแห่งโลกของแฟชั่นและเครื่องแต่งกายในเอพพิโซด 1 ของลูคัสมีชีวิตชีวาขึ้นมา ความท้าทายที่สำคัญคือระดับความสมจริงของเครื่องแต่งกายที่จำเป็นต้องใช้ในเรื่องและฉากช่วงสั้นๆ ที่ไอเดียทั้งหมดของลูคัสต้องมีความสมจริงขึ้นมา ซึ่งเป็นเวลาไม่ถึงปีที่บิกการ์และทีมงานหลักของเธอ 40 คนได้พยายามออกแบบและนำเครื่องแต่งกายกว่าพันชุดมารวมกัน โดยต้องปรับเปลี่ยนจากเครื่องแต่งกายที่มีความละเอียดซับซ้นอ หรูหราและมีลายนูนประดับให้เป็นชุดเรียบง่ายที่ยังคงรายละเอียดเครื่องแต่งกายของทาสเอาไว้อย่างระมัดระวัง “แผนกเครื่องแต่งกาย/ฉากของเราต้องผลิตเครื่องประดับทั้งหมด รวมถึงหมวกหุ้มเกราะ ผ้าโพกศีรษะและหัวเข็มขัด” บิกการ์ ผู้ทำหน้าที่ควบคุมขั้นตอนกล่าวว่า “พวกเขาสร้างผลงานที่น่าทึ่งมาก” ไอเดียเรื่องเครื่องแต่งกายหลายอย่างของลูคัสอิงมาจากแฟชั่นและลักษณะของประเทศต่างๆ หรือช่วงเวลาในประวัติศาสตร์และโทนสีที่เขาใส่ใจเป็นพิเศษ ชาวญี่ปุ่น ชาวมองโกเลีย ชาวจีน ชาวอเมริกันทางตอนเหนือ และชาวยุโรปผู้มีอิทธิพลทั้งหมดจะเห็นได้จากแฟชั่นในเอพพิโซด 1 ที่มากมายมหาศาล เครื่องแต่งกายทุกชิ้นมีหน้าตาและลักษณะที่มีเอกลักาณ์ บิกการ์อธิบายว่า “เครื่องแต่งกายทุกชิ้นที่ออกแบบไว้ในเอพพิโซด 1 อิงมาจากประวัติศาสตร์ แต่เราได้ปรับเปลี่ยนและเล่นกับเครื่องแต่งกายต่างๆ เพื่อคงลักษณะของเครื่องแต่งกายให้ดูเข้ากับกาลเทศะเอาไว้” แม็คเคกเริ่มสร้างคอนเซ็ปต์ของเครื่องแต่งกายตั้งแต่ช่วงเนิ่นๆ ของการพรี-โพรดักชั่น “ตอนนั้นยังไม่มีบทภาพยนตร์ด้วยซ้ำ” เขานึกย้อนหลัง “จอร์จจะเข้ามาเยี่ยมเพื่ออธิบายฉากและตัวละครต่างๆ ทำให้เราได้เริ่มงานออกแบบบางอย่างได้” ขณะที่ให้อิสระแก่แม็คเคกและบิกการ์อย่างมากในการทำหน้าที่ออกแบบและจัดการเรื่องเครื่องแต่งกายของพวกเขา ลูคัสก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับการออกแบบแฟชั่นของโลกเหล่านี้ด้วย “จริงๆ แล้วในท้ายที่สุดจอร์จคือผู้ออกแบบเครื่องแต่งกาย” แม็คเคกกล่าว “เขาเลือกสิ่งที่เขาต้องการและชี้นำเราว่าเขาอยากได้แบบไหน” บิกการ์กล่าวว่า “จอร์จมีส่วนร่วมตลอดทุกขั้นตอน เขาจะเข้ามาในการประชุมกันเพื่อพูดคุยถึงเรื่องมุมมองเครื่องแต่งกาย สีสัน และรูปร่างต่างๆ” หลังจากที่แม็คเคกออกแบบและวาดโครงร่างคร่าวๆ เสร็จแล้ว บิกการ์ได้นำผลงานของเขามาเนรมิตให้เป็นจริงขึ้นมา ในขณะเดียวกันก็ใส่ไอเดียและการออกแบบของเธอลงไปเสริมด้วย ความอลังการ ความหลากหลาย และความซับซ้อนของเครื่องแต่งกายในเพพิโซด 1 เห็นได้จากตัวละครหลายตัวในเรื่องราว แต่ไม่มีตัวละครไหนเหนือไปกว่าราชินีอมิดาลาที่รับบทโดยนาตาลี พอร์ทแมน แม้จะมีความลังเลในการยอมรับเรื่องเครื่องแต่งกายหรือตัวละครโปรด บิกการ์ก็ยอมรับถึงการหาโอกาสหลายครั้งในการออกแบบและสร้างเครื่องแต่งกายของราชินีและเครื่องแต่งกายของสาวรับใช้ “เครื่องแต่งกายสำหรับดวงดาวของราชินีมีความน่าสนใจในการสร้างขึ้นมาก เพราะเราพิมพ์การออกแบบที่มีความพิเศษลงบนผ้าไหม” เธออธิบาย “และเรายังใช้เทคนิคการย้อมสีแบบต่างๆ ที่ทำให้เราได้ผสมผสานผ้าไหมที่มีความล้ำสมัยกับผ้าสมัยโบราณ” ราชินีต้องสวมเครื่องแต่งกาย 8 ชุด มีเพียงไม่กี่ชุดที่ออกแบบมาตั้งแต่แรกเริ่ม แต่ลูคัสอยากขยายแฟชั่นในจักรวาลของตำนานการผจญภัยที่นำไปสู่การเพิ่มปริมาณถึง 3 เท่าตัว “จอร์จอยากให้ราชินีมีเครื่องแต่งกายที่แปลกตาไปทุกครั้งที่เราพบเธอ” บิกการ์กล่าว เครื่องแต่งกายแต่ละชุดของราชินีมีหน้าตาและการออกแบบเฉพาะตัวเป็นพิเศษ ชุดที่มีความซับซ้อนที่สุดน่าจะเป็นชุดท้องพระโรงของราชินีที่มีการตกแต่งด้วยดวงไฟหลายชุดตรงขอบ การสร้างชุดต้องใช้เวลาเกือบ 8 สัปดาห์ในการสร้าง โดยเริ่มจากการสร้างชุดที่อยู่ด้านใน ต้องออกแบบจากบนลงล่างเหมือนโคนของไอศครีม ชุดนี้อำนวยความสะดวกได้อย่างเหมาะสมกับนาตาลี พอร์ทแมน ชุดด้านในถูกสร้างขึ้นมาจากผ้าใบแผ่นเล็กๆ จำนวนมากที่เพิ่มความทนทานรอบขอบล่างเพื่อคงรูปทรงกระดิ่งเอาไว้ เครื่องแต่งกายมีความซับซ้อนหลายอย่างเพื่อให้น้ำหนักของดวงไฟ และสายไฟไปยังแบตเตอรี่เพื่อจุดไฟขึ้นมา ในขณะที่มีการพิจารณาถึงตัวผ้าไหมเป็นพิเศษว่าแสงไฟจากกล้องจะทำให้ผ้าไหมเปลี่ยนไป เพื่อการคงส่วนประกอบทางศิลปะ/ประวัติศาสตร์ของเครื่องแต่งกายหลายชุดเอาไว้จึงต้องมีสิ่งที่บิกการ์เรียกว่า “อารมณ์แห่งชาวจีนผู้สูงส่ง” ผ่านทางรายละเอียดและเค้าโครง เครื่องแต่งกายของราชินีเป็นแรงผลักดันให้บิกการ์และทีมงานของเธอค้นหาผ้าจากทั่วทั้งโลก พวกเขาถึงขนาดสร้างผ้าของตัวเองขึ้นมาได้ด้วย “พวกเรามีผ้าทอ ผ้าเพนท์ ผ้าย้อมสี เราทำทุกอย่างที่เราจะทำกับเศษผ้าได้” บิกการ์นึกย้อนไป การสร้างชุดแรกของราชินีถูกสร้างขึ้นมาด้วยมืออย่างเรียบร้อยและใช้ผ้าลักษณะเหมือนใยแมงมุมที่ผู้สร้าง 1 คนต้องใช้เวลา 5 วันต่อสัปดาห์เป็นเวลา 10 ชั่วโมงต่อวันนานนับเดือนเพื่อสร้างขึ้นมา ชุดเริ่มมีการปักขึ้นมาเป็นพิเศษ มีผ้าบางๆ อยู่ข้างหลัง ผ้าชนิดนี้ถูกจุ่มลงไปในน้ำทำให้ด้านหลังถูกหลอมไปหมดเหลือแต่รอยปักที่อยู่ด้านบน แต่ละด้านของชุดถูกเย็บไว้กับอีกด้านหนึ่งโดยไม่มีตะเข็บเลย ผลที่ได้คือความซับซ้อนและความประณีตที่เสริมเข้ามาในแฟชั่นของจักรวาลในเอพพิโซด 1 บิกการ์และทีมงานของเธอยังชิ้นส่วนเก่าๆ หลายชิ้นอีกด้วย สำหรับเสื้อคลุมเพื่อใช้ในที่พักอาศัยแห่งที่ 2 ของราชินี บิกการ์พบส่วนประกอบจากประมาณปี 1910 แต่เธอไม่แน่ใจว่ามาจากที่ไหน “เราคิดว่ามันเป็นชุดหนึ่ง” เธอกล่าว “แต่มันมีหลายชิ้นที่เราไม่แน่ใจว่าเราคืออะไร” บิกการ์แปลงลักษณะเด่นของชิ้นผ้าให้มีการตกแต่งที่มีความซับซ้อน ชุดในการต่อสู้ของราชินีก็ต้องใช้เวลาและสร้างขึ้นมาด้วยความประณีต ต้องใช้เวลาสร้างต่อคนนานกว่า 1 เดือน เครื่องแต่งกายถูกสร้างจากรังไหมของอินเดียที่มีการทอเป็นผ้าไหม รังไหมถูกแยกไว้อยู่บนสุดของเครื่องแต่งกาย จากนั้นแต่ละชุดจะถูกเย็บไว้ด้านหลังเพื่อสร้างทรงของไหลที่มีความเหมาะสม เครื่องแต่งกายของราชินีที่ปรากฏกายต่อหน้าสภาที่มี 3 ชั้นยิ่งมีความซับซ้อนยิ่งขึ้น ชุดด้านในเป็นผ้าไหมขนาดสั้นสีส้มพร้อมมีการถักทอด้วยสีเขียว โดยเนื้อผ้าที่มีอายุถึง 70 ปีถูกจับเป็นจีบ ซึ่งจีบเหล่านี้จะสะท้อนไฟเป็นสีของชุดเวลาที่ตัวละครมีการเคลื่อนไหว ลูกปัดที่ถูกถักทอเป็นลูกไม้แบบสมัยโบราณที่ตกแต่งด้านล่างชุด สายรัดที่อยู่กลางชุดถูกสร้างขึ้นจากผ้าฝ้ายขนาดสั้นสีแดงและเขียว มีการตกแต่งด้วยสีบรอนซ์ เทคนิคพิเศษได้เพิ่มองค์ประกอบและความลึกซึ้งเข้าไปในเนื้อผ้า ปกของเสื้อคลุมและข้อมือถูกตกแต่งด้วยสายถักสีทองเมทัลลิค โดยใช้หลักการเย็บที่เรียกว่า trapunto ที่มีกระบอกเล็กๆ ถูกเย็บติดกับการออกแบบ โดยเส้นได้จะถูกเย็บเพื่อให้เกิดปม ซึ่งนี่ก็เป็นขั้นตอนที่ต้องใช้เวลามากเหมือนกัน ต้องใช้เวลา 1 สัปดาห์ต่อคนสำหรับการเย็บปักถักร้อยและ trapunto และสิ่งที่ครอบเสื้อคลุมจะมีหมวกคลุม โดยมีไหล่ซึ่งเป็นยอดแหลมทรงพีระมิดหนักๆ บุเอาไว้ โดยผ้าคลุมไหล่มีการเดินเส้นด้วยผ้าไหมสีแดง ชุดนี้เหมือนกับชุดอื่นๆ ที่มีเครื่องสวมศีรษะที่มีความซับซ้อน ลักษณะเครื่องประดับศีรษะของราชินีในสภาให้ความรู้สึกเหมือนชาวมองโกเลียหนักมาก ชิ้นส่วนถูกชุบด้วยทองเพื่อให้มีสีสันที่เหมาะสม จากนั้นตกแต่งด้วยพลอยเม็ดเล็กๆ “เรารู้สึกว่าเครื่องประดับศีรษะชิ้นนี้คุ้มกับความพยายามมาก มีน้ำหนักและมีการใช้ทองจริงๆ” บิกการ์กล่าว เครื่องประดับศีรษะชิ้นอื่นถูกสร้างขึ้นจากลูกปัดที่เป็นของโบราณจากกระโปรงของนักเต้นต่างประเทศราวๆ ปี 1920 เครื่องประดับศีรษะยาวลงมาถึงหน้าผากของพอร์ทแมนเป็นลูกปัดที่ประดับอยู่บนเครื่องประดับศีรษะทั้งหมด ทำให้ดูเหมือนเป็นผมม้าของเธอ ชุดที่เสริมเข้ามาอิงมาจากลักษณะชุดกิโมโนของชาวญี่ปุ่น บิกการ์ได้เสริมการการออกแบบที่มีเอกลักษณ์ของเธอเข้าไป เธอค่อนข้างให้ความสำคัญตรงแขนเสื้อที่เรียกว่า “แขนเพนกวิน” เพราะมันมีลักษณะกลมจนค่อนข้างเหมือนเพนกวิน การเย็บปักถักร้อยด้วยเครื่องจักรและมือถูกใช้เพื่อการผลิตที่มีความซับซ้อนนี้ เครื่องแต่งกายมีความท้าทายเป็นพิเศษหลายอย่าง ไม่ใช่สำหรับบิกการ์และทีมงานของเธอเท่านั้น แต่สำหรับนาตาลี พอร์ทแมนด้วยเช่นกัน สำหรับเครื่องประดับศีรษะแต่ละชิ้นที่มีการหล่อศีรษะจำลองของพอร์ทแมนขึ้นมา จากที่เครื่องประดับชิ้นนี้และทั้งหมดของราชินีถูกสร้างขึ้นมา นอกจากนั้นการสวมเครื่องแต่งกายที่มีความละเอียดและมีความสำคัญของราชินีต้องมีทั้งความคิดสร้างสรรค์และความสมจริง ผู้สร้างภาพยนตร์จึงเกิดความคิดที่ชาญฉลาดให้นักแสดงหญิงมีความพร้อมโดยใช้เวลาและความพยายามเพียงเล็กน้อย พวกเขาแต่งตัวเธอ “ทีละส่วน” มีการสวมชุดด้านในที่ห้องแต่งตัว จากนั้นพอร์ทแมนเดินทางไปที่โรงถ่ายเพื่อสวมเครื่องแต่งกายที่เหลือ นอกจากนั้นยังง่ายสำหรับพอร์ทแมนในการถ่ายทำระหว่างฉากต่าๆง ด้วย การทำแบบนี้เป็นการป้องกันชุดชำรุดและฉีกขาด กลุ่มผู้รับใช้ที่คอยติดตามราชินีในการเดินทางของเธอก็มีเครื่องแต่งกายที่ต่างกันที่สอดคล้องกับผู้นำของพวกเขา เครื่องแต่งกายของพวกเขาถูกออกแบบบมาพร้อมความคิดเรื่องเครื่องแต่งกายของราชินี มีความเอาใจใส่ในรายละเอียดและรูปแบบชุดในแบบเดียวกัน “เราพยายาม” บิกการ์กล่าวว่า “ต้องพยายามออกแบบเครื่องแต่งกายของผู้ติดตามให้เป็นทรงตรงราชินีสวมชุดที่เป็นลายขวางขนาดใหญ่และเป็นผ้าทอ ทำให้เธอดูมีความยิ่งใหญ่และผู้ติดตามของเธอก็มีขนาดเล็กและบอบบาง” เครื่องแต่งกายตอนเดินทางของผู้ติดตามถูกสร้างขึ้นโดยเทคนิคการย้อมสีแบบพิเศษ โทนสีของเครื่องแต่งกายเปลี่ยนจากสีเหลืองซีดในช่วงล่างเป็นสีส้มเข้มด้านบน เพื่อความมั่นใจว่าชุดมีการย้อมสีเท่ากันทั้งชุดจึงต้องมีการย้อมสีเป็นชิ้นเล็กๆ เครื่องแต่งกายในสภาของผู้ติดตามมีการประดับหลายอย่าง หากชุดใส่อยู่ด้านใน ปริมาณแถบจะต้องมีความแตกต่างกัน ชุดด้านในของเครื่องแต่งกายถูกสร้างขึ้นจากวัสดุที่เหมือนผ้าหนาและเหล็ก ทำให้มีความทนทานและลำบากต่อการเดิน มีการขึ้นรูปร่างไว้แล้วจึงไม่มีการเคลื่อนย้ายผ้าด้านนอก และเสื้อผ้ายังมีการตกแต่งด้วยหมวกที่ถูกตัดออกมาให้มีความเหมาะสมต่อนักแสดงหญิงแต่ละคนที่เป็นผู้สวมใส่ อีกหนึ่งโอกาสพิเศษด้านแฟชั่นเป็นของเครื่องแต่งกายที่สร้างขึ้นเพื่อตัวละครที่ไม่ใช่มนุษย์ ซึ่งบิกการ์และทีมงานของเธอก็ใช้เวลาในการออกแบบและผลิตเครื่องแต่งกายมากเช่นกัน สำหรับเครื่องแต่งกายพิเศษบิกการ์และทีมงานใช้หินของจริงมาประดับอย่างพิถีพิถัน โดยรวบรวมมาจากชายหาดติดเข้าไปในชุดที่มียางเป็นส่วนประกอบ แต่ความร้อนระอุในทะเลทราทูนิเซีย ทำให้ยางมีการขยายตัวและหินก็เริ่มหลุดออกมา ต้องใช้เวลาเพื่อติดกลับเข้าไปเพิ่มในส่วนสำคัญใหม่ การออกแบบเครื่องแต่งกายของอัศวินเจไดได้มอบความท้าทายที่ต่างออกไปให้แม็คเคกและบิกการ์ “ลักษณะ” ของเจไดคุ้นตาแฟนๆ จำนวนมากของ Star Wars อยู่แล้ว นอกจากนั้นสถานที่สำคัญในภาพยนตร์ภาคใหม่นี้คือดาวแทตทูอินที่เป็นทะเลทรายอย่างที่เห็นล่าสุดใน Star Wars ตัวละครและสถานที่คุ้นตาเหล่านี้ทำให้แม็คเคกและบิกการ์มีโอกาสคงแฟชั่นที่ต่อเนื่องจากภาพยนตร์ 3 ภาคแรกเอาไว้ระหว่างที่มีการเสริมรายละเอียดพิเศษเล็กๆ น้อยๆ ของพวกเขาเข้าไป เพื่อเป็นการเชื่อมโยงภาพลักษณ์จากหนังภาคก่อนมาสู่เอพพิโซด 1 บิกการ์ได้ไปเยี่ยมที่ห้องเก็บเอกสาร Lucasfilm เธอได้ศึกษารายละเอียดเครื่องแต่งกายที่ผ่านมา แต่ถึงอย่างไรเรื่องราวของเอพพิโซด 1 ก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนเนื้อผ้าและการออกแบบใหม่ ในความแตกต่างจากหนังภาคแรกๆ เครื่องแต่งกายของเจไดทั้งหมดผลิตจากผ้าไหม ผ้าลินิน หรือผ้าขนแกะอย่างดี การเปลี่ยนแปลงบางอย่างเกิดขึ้นกับชุดด้านในของเครื่องแต่งกายต้นฉบับ ตอนนี้มีความเหมาะสมและสามารถแต่งได้อย่างสบายสำหรับการต่อสู้ที่ผาดโผนในภาพยนตร์ภาคใหม่ รวมถึงฉากผาดโผนและฉากการต่อสู้ด้วยดาบพลังแสง ขณะที่เครื่องแต่งกายของอนาคิน สกายวอล์คเกอร์เป็นตัวละครที่มีความซับซ้อน เครื่องแต่งกายของเขาเป็นชุดที่เรียบง่ายที่สุด แม็คเคกและบิกการ์ผลิตชุดของทาสที่เหมือนกับชุดที่สวมโดย ลุค สกายวอล์คเกอร์ ลูกชายในอนาคตของอนาคิน ในฉากแทตทูอินของภาคแรก สำหรับฉากแข่งขันพอดเรซที่มีความเร็วดั่งสายฟ้า อนาคินต้องสวมหมวกหุ้มเกราะแบบพิเศษและแว่นตาที่มีลักษณะของสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ่งที่ประดับพอดเรซอิงมาจากสิ่งของในชีวิตประจำวันบนโลกอย่างหมวกขี่จักรยานของเด็ก ซึ่งแน่นอนว่ามีการตกแต่งใหม่แทนที่ด้านบนหมวกเพื่อให้มีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ สตาร์ วอร์ส: เอพพิโซด 1 ภัยซ่อนเร้น การออกแบบยานพาหนะและยานอวกาศ ผู้ชำนาญที่ทำหน้าที่ควบคุมในเอพพิโซด 1 ดั๊ก เชียงได้นำภาพลักษณ์ใหม่มาสู่มหากาพย์ตำนานการผจญภัยของจอร์จ ลูคัส สำหรับการตีความจินตนาการในเชิงศิลปะของลูคัส เชียงและทีมงานที่มีความชำนาญของเขาได้สร้างผลงานศิลปะนับพันชิ้นให้กับเอพพิโซด 1 อาทิเช่น ภาพร่าง การแกะสลัก การออกแบบเครื่องแต่งกาย โมเดลสิ่งมีชีวิตและการลงสีการผลิตอย่างเต็มสี เชียงเป็นแฟนคนหนึ่งของภาพยนตร์ไตรภาคต้นฉบับ เขาศึกษารูปแบบของ Star Wars มาอย่างพิถีพิถันก่อนเริ่มสร้างผลงานในเอพพิโซด 1 แต่ลูคัสมีบางอย่างที่แตกต่างไปอย่างสิ้นเชิงอยู่ในใจ นั่นคือเขาอยากสร้างการออกแบบ โลกและเมืองต่างๆ เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย สิ่งมีชีวิตและยานพาหนะขึ้นมาใหม่ “เราอิ่มตัวกับการออกแบบที่มาจากภาพลักษณ์ต้นฉบับของ Star Wars ที่นานกว่า 20 ปี” เชียงชี้ชัดว่า “ผมรู้สึกดีใจมากพอจอร์จถามถึงสิ่งใหม่ๆเช่น การชุบโครเมียม รูปร่างที่มีความทันสมัยในรูปลักษณ์ศิลปะ Nouveau และศิลปะ Moderne นั่นคือตอนที่ผมรู้ว่าเอพพิโซด 1 ต้องเป็นรูปลักษณ์ใหม่ไม่ใช่การทำงานซ้ำโดยใช้วัสดุแบบเดิม” ลูคัส เชียง และฝ่ายศิลป์ของเอพพิโซด 1 ได้เริ่มประชุมกันตั้งแต่ช่วงเนิ่นๆ ของการพรี-โพรดักชั่น ในระหว่างช่วงหารือกันขั้นต้นคือช่วงที่ลูคัสกำลังเขียนบทภาพยนตร์อยู่ เขาบรรยายถึงหลักการภาพลักษณ์ของภาพยนตร์แบบใหม่ เช่น เรื่องโทนสี รูปร่าง และการออกแบบต่างๆ ที่แตกต่างไปจากไตรภาคต้นฉบับ ในภาพยนตร์ภาคก่อนๆ การตัดสินใจเป็นเรื่องที่ง่ายมาก สังเกตจากสีสันและรูปร่างว่ายานพาหนะและตัวละครตัวไหนมีส่วนก่อกบฏอย่างกล้าหาญและตัวไหนเป็นตัวแทนของอาณาจักร ซึ่งต่อมามีการกำหนดด้วยสีดำ ขาว แดง ยานอวกาศก็มีลักษณเกลี้ยงเป็นมุมและมีความแหลมคม ซึ่งเปรียบเทียบแล้วผู้ที่ก่อกบฎจะมียานพาหนะที่ดูเก่าแก่มากกว่า สำหรับการออกแบบในเอพพิโซด 1 ลูคัสมาควบคุมให้มีความแตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง “จอร์จตั้งใจสร้างความไม่ชัดเจน” เชียงอธิบาย “ฉะนั้นเวลาผู้ชมเห็นยานอวกาศ พวกเขาจะจำได้ไม่ง่ายนักหรอกว่าเป็นสัญลักษณ์ส่วนไหนของยาน” ความแตกต่างทั้งหลายระหว่างยานพาหนะของเอพพิโซด 1 และยานแบบสมัยก่อนเป็นผลจากความแตกต่างของยุคที่ถูกผลิตขึ้นมา ตามที่เชียงเล่าการออกแบบของภาพยนตร์ไตรภาคให้ความรู้สึกเหมือนกับอุตสาหกรรมการผลิตที่มีสุนทรียศาสตร์ที่สร้างขึ้นมามากมาย มีมุมแข็งๆ และมีลักษณะเหมือน “เครื่องยนต์” แต่ในภาพยนตร์ภาคใหม่ สร้างยุคที่มีมาก่อนเหตุการณ์ต่างๆ ในเรื่อง Star Wars มียานพาหนะและยานอวกาศที่ทำหน้าที่ต่างกันไป สะท้อนให้เห็นถึงการมีมาก่อนและคุณค่าในช่วงเวลาที่ต่างกัน “ในยุคที่เอพพิโซด 1 ถูกขัดเกลาให้มีความแตกต่างและมีความเรียบร้อย ซึ่งบางทีอาจออกแบบมามากเกินไปด้วยซ้ำ” เชียงงกล่าวว่า “มันอาจเรียกว่า ‘ยุคแห่งความประณีต’ ก็ได้ มีความใส่ใจอย่างมากในรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ” ขณะที่ยุคนี้มีความสำคัญในการทำหน้าที่โดยการถอยเพื่อพิจารณา “ยานพาหนะหลายลำมีการผสมผสานความเรียบง่ายกับความสวยงามและอารมณ์แห่งความโรแมนติก” เชียงอธิบายว่า “บางลำก็มีการพิจารณาถึงผลงานด้านศิลปะ มีคุณค่าทางศิลปะที่ถ่ายทอดออกมาในยานพาหนะเหล่านี้ที่ประดิษฐ์มาอย่างสมบูรณ์และมีความงดงาม องค์ประกอบหลายอย่างได้แสดงให้เห็นถึงภาพที่มีความสะอาดตา” แต่เชียงมีความระวังที่จะไม่ให้มีอารมณ์แห่งศิลปะมากเกินไป “มันมีความพอดีระหว่างการสร้างผลงานขึ้นมาด้วยมือกับการออกแบบที่ออกแนว ‘ไซ-ไฟ’ หรือ ‘ประณีต’จนเกินไป” เขากล่าว เพื่อคงรูปแบบที่มีเอกลักษณ์เอาไว้ เขาเลี่ยงความงามแบบร่วมสมัยที่โดดเด่นในจักรวาลของ Star Wars โดยให้มีภาพที่ยึดติดกับการออกแบบที่เป็นรากฐานแห่งความแข็งแกร่งในโลกประวัติศาสตร์ จนในที่สุดเขาจึงอิงทุกอย่างมาจากการออกแบบรถของชาวอเมริกันในยุค 1950 ไปจนถึงศิลปะของชาวแอฟริกันแบบสมัยก่อนตั้งแต่แรกเริ่ม และเขายังสร้างยานพาหนะบางลำมาจากรายละเอียดรูปทรงของสัตว์ด้วย “มันช่วยผมที่พยายามออกแบบลักษณะเฉพาะขึ้นมา” เชียงกล่าว “ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำได้ยากที่สุด” การออกแบบสิ่งใหม่ๆ เหล่านี้มักมีการผสมผสานลักษณะเหล่านั้นอยู่บ่อยๆ ในช่วงแรกมันก็ดูไม่เข้ากันสักเท่าไหร่ “แต่นั่นคือการออกแบบอันชาญลาดของจอร์จ” เชียงกล่าว “ในการวางเปรียบเทียบภาพต่างๆ ที่ดูไม่เข้ากัน เราเลยลงเอยด้วยการออกแบบที่ดีที่สุดของเราโดยต้องต่อสู้กับการจัดการที่ดูเหมือนจะเป็นไปไม่ได้” ในขั้นตอนทั่วไปของการออกแบบยานอวกาศต้องใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์ ยานรบของนาบูมีการขับโดยตัวละครเอกหลายตัวของเอพพิโซด 1 ทำให้ต้องใช้เวลาสร้างนานเพราะการออกแบบถูกปรับเปลี่ยนโดยมูลฐาน เชียงและทีมงานของเขามาพร้อมภาพวาดยานอวกาศมากกว่า 36 รูป จนสุดท้ายยานรบที่มีการออกแบบมา 2 ลำก็ถูกพัฒนาขึ้นมาจากการประชุมเรื่องการสร้างระหว่างลูคัส เชียง และฝ่ายศิลป์ ท้ายที่สุดยานอวกาศมีรูปร่างที่ทันสมัยและดูนุ่มนวล (ที่มาพร้อมซ็อคเก็ตสำหรับดรอยด์) ที่ช่วยเพิ่มความเร็วในการต่อสู้ และสะท้อนถึงผลงานทางศิลปะและการพัฒนาที่ค่อยๆ เกิดขึ้นมาอย่างพิถีพิถัน การออกแบบยานอวกาศอย่างมีศิลปะมีการผสมผสานทั้งความตั้งใจและรูปทรงเข้าไป “มันเหมือนกับชิ้นส่วนอัญมณีที่นำมาใช้งานได้อย่างเต็มที่” เชียงกล่าว ยานของราชินีก็ต้องมีความทันสมัยมากเช่นกัน ท้ายที่สุดเชียงจึงออกแบบตามแบบแผนและเอาครีบออก ให้ดูนุ่มนวลในบริเวณของที่นั่งคนขับ และสร้างภายนอกยานให้เป็นโครเมียม ยานมีรูปแบบที่ดูแข็งแกร่งแตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากที่เคยเห็นมาในจักรวาลของ Star Wars แต่มีความเหมาะสมทั้งด้านความงามและรูปแบบของดาวนาบูที่เป็นบ้านของราชินี ฉากแอ็คชั่นที่มีความยิ่งใหญ่ฉากหนึ่งของภาพยนตร์คือตอนที่พอดเรซไปสู่แทตทูอิน ดวงดาวแห่งทะเลทราย คอนเซ็ปต์ของพอดเรเซอร์ในตอนต้นของลูคัส คือเครื่องยนต์เจ็ทขนาดใหญ่ 2 ลำผูกติดกับห้องขับเครื่องบินด้านหลัง ซึ่งไม่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนตอนที่การออกแบบแล้วเสร็จเลย “เราพยายามกำหนดทิศทางให้มีความแตกต่างออกไป” เชียงจดจำได้ “แต่มักลงเอยที่คอนเซ็ปต์ต้นฉบับเสมอ เอาเครื่องยนต์ออกจากโดยรอบของเครื่องบินเจ็ท แล้วเอาไปไว้ที่ทะเลทรายแห่งแทตทูอินทำให้ได้ภาพที่ไม่ธรรมดาเลย” เครื่องยนต์ของพอดแต่ละลำก็ถูกออกแบบตามนักบินและพฤติกรรมของแต่ละคน ซีบัลบ้า ซึ่งเป็นแชมป์ที่มีทุนเยอะที่สุด เพราะฉะนั้นยานพาหนะของเขาจึงดูทันสมัยกว่า ดูประณีตกว่าและค่อนข้างแรงกว่า นักบินคนอื่นๆ จะมีพอดที่ดูเชื่องช้าหรือเรียบร้อยกว่า เครื่องยนต์พอดเรเซอร์ของอนาคิน สกายวอล์คเกอร์มีการออกแบบอย่างเรียบง่าย คล้ายกับเครื่องยนต์ขนาดเล็ก 2 ลำของเครื่องบินที่มีปีก 3 อันอยู่ด้านหน้า ในการรับผิดชอบด้านการออกแบบยานพาหนะพอดเรซที่มีรูปแบบต่างกัน เชียงและทีมงานของเขาใส่ใจเสมอว่าพอดเรเซอร์บินด้วยความเร็วสูงมาก และต้องจดจำได้อย่างรวดเร็วและง่าย “นั่นคือจุดที่เสริมรูปทรงที่ดูบึกบึน ครีบที่ดูน่าทึ่งและรายละเอียดต่างๆ ที่ช่วยเหลือได้มากลงไป” เชียงกล่าว “มันทำให้ยานแต่ละลำมีความแตกต่างกันมาก” ฉากมหากาพย์แอ็คชั่นอีกฉากคือการต่อสู้ในตอนจบที่ต้องใช้กองทัพยานอัตโนมัติที่ขับโดยเหล่าหุ่นยนต์ดรอยด์มีรูปลักษณ์แห่งการเคลื่อนไหว ซึ่งถูกสะท้อนในยานพาหนะของพวกเขา ลูคัสบรรยายถึง MTT ซึ่งเป็นการขนย้ายแบบเป็นกลุ่มว่ามีความคล้ายกับหัวรถจักรขนาดใหญ่ที่วิ่งผ่านต้นไม้ ซึ่งนำไปสู่คอนเซ็ปต์ที่มีความสร้างสรรค์เพิ่มขึ้น “ภาพที่ผมเห็นขึ้นมาทันทีคือช้างที่โจมตีกัน” เชียงกล่าว จากนั้นเขาปรับเปลี่ยนหน้าตาเหล่านั้นให้เป็นการออกแบบของเครื่องจักรกลและต้องตีความ ให้เป็นอสูรกายแห่งยานแข่งขัน “ผมใช้สัดส่วนของช้างในการออกแบบยานพาหนะ ที่นั่งคนขับเหมือนกับเป็นหัวของช้าง ส่วนของ MTT เป็นเหมือนงวงและปีกด้านข้างของพาหนะท้ายที่สุดท้ายเป็นปืนขนาดเล็กเปรียบเหมือนงาช้าง” รถถังโจมตีค่อยๆ พัฒนาขึ้นมาในแบบเดียวกัน “ผมชอบลักษณะของพลั่วหรือเสียม ผมรู้สึกว่ามันทำให้นึกถึงความอันตรายและอันตรายที่ถึงตาย” เชียงกล่าว “จากนั้นผมเสริมป้อมปืนขนาดใหญ่เข้าไป ทำให้มันคล้ายกับเหล็กบินได้บวกด้วยคุณสมบัติที่คล้ายคลึงกับส่วนของโครงร่าง พื้นผิวและลักษณะโดยรวมทั้งหมด” สำหรับ STAPS ที่เป็นยานพาหนะขนาดเล็กลงมาซึ่งใช้โดยดรอยด์จู่โจม ลูคัสอยากปรับเปลี่ยนให้มีความเร็วมากขึ้นกว่าที่เห็นใน Return of the Jedi โดยเชียงเล่นกับหลายคอนเซ็ปต์ก่อนตัดสินใจออกแบบให้ตำแหน่งคนขับตั้งตรง เขาหวนกลับสู่ธรรมชาติอีกครั้ง โดยครั้งนี้เขาใช้นกที่เล็กที่สุดของโลกเป็นแรงบันดาลใจที่สำคัญ “คันเร่งของยานพาหนะคล้ายกับปีกขนาดจิ๋วของนกที่เล็กที่สุดในโลก” เชียงอธิบาย “‘ส่วนหัว’ ที่ดูล้ำสมัยของยานพาหนะก็คล้ายกับนกขนาดจิ๋วนั่นด้วย” เชียงทำการสำรวจการออกแบบโบราณและจากต่างประเทศของเรือดำน้ำที่มีความโดดเด่นในฉากที่มีขนาดใหญ่ โดยเรือดำน้ำจะมีฟองน้ำอยู่ตรงที่นั่งคนขับ ตรงใบพัดจะมีลักษณะเหมือนปลาหมึกหรือปลากระเบน มีรูปทรงของหางที่มีความงดงาม เมื่อลูคัสอนุมัติไอเดียในช่วงแรกก็มีการออกแบบขึ้นมาอย่างประณีตอยู่หลายครั้ง การออกแบบต้นฉบับของเรือดำน้ำมีลักษณะเป็นทรงกลม แต่ลูคัสอยากให้แบนลงจะได้ดูเป็นพาหนะที่สวยขึ้นเพิ่มเข้าไปในลักษณะที่เหมือนปลากระเบน ระหว่างที่ยานพาหนะและยานอวกาศส่วนใหญ่เหล่านี้เป็นสัญลักษณ์ของทิศทางการสร้างสรรค์ใหม่ของตำนานการผจญภัย Star Wars เรื่องราวและสถานที่บางแห่งในเอพพิโซด 1 ก็ต้องใช้ยานพาหนะที่แฟนๆ คุ้นเคยอยู่แล้ว เรือรบสภาการค้าผสมผสานกับพื้นผิวที่มีองค์ประกอบจากยานจู่โจมดวงดาวที่เห็นในไตรภาคต้นฉบับ ลูคัสพิจารณาให้มีการบินในลักษณะที่เหมือนชามรองถ้วย ก่อนจะตัดสินใจให้เป็นลักษณะโดนัทที่มีความธรรมดาน้อยลง จากนั้นลูกกลมๆ ก็ถูกมาแทนที่ตรงกลาง ยานอวกาศของตัวร้ายที่สำคัญของภาพยนตร์ก็ถูกจินตนาการขึ้นจากยานอวกาศลำเก่าของภาพยนตร์ก่อนหน้านี้ “ผมใช้ส่วนประกอบเล็กๆ น้อยๆ จากการออกแบบภาคต้นฉบับและมาผสมเข้าด้วยกัน” เชียงอธิบาย “ผลลัพธ์ที่ได้มีหน้าตาเหมือนเครื่องบินรบ TIE แต่มันมีรูปร่างและมุมที่ทำให้นึกถึงยาน Imperial” ในเอพพิโซด 1 มียานเคลื่อนที่เร็วภาคพื้นดินหลายเวอร์ชั่น ซึ่งหนึ่งในนั้นมีความทันสมัยกว่ายานพาหนะภาคพื้นดินของลุค สกายวอล์คเกอร์ในภาพยนตร์ภาคแรก ที่เหลืออิงมาจากการออกแบบของรถจริงๆ ที่เชียงใช้เครื่องยนต์ของเครื่องบินเจ็ทที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ ผลงานทั้งหมดนี้สร้างขึ้นโดยเชียงและฝ่ายศิลป์ของเอพพิโซด 1 ไม่ว่าจะเป็นความโดดเด่นในรูปลักษณ์ของการออกแบบทิศทางใหม่หรือการหวนไปหาสิ่งก่อสร้างอันก่อน ทำให้มหากาพย์ตำนานถูกถ่ายทอดในตำนานการผจญภัย Star Wars บทใหม่ “น่าประหลาดใจกับผลงานการออกแบบทั้งหมด” ริค แม็คคอลลัม ผู้อำนวยการสร้างกล่าว “มันเป็นสิ่งหนึ่งที่เห็นภาพวาดที่งดงามหรือภาพที่โดดเด่นออกมาบนกระดาษ และสร้างภาพอื่นขึ้นมาให้มีความสมจริง ซึ่งนั่นเราต้องการผู้ออกแบบฉากที่สามารถมองทุกอย่างได้ชัดเจนและพูดว่า ‘ได้เลย เราสร้างได้’ แกวิน บูเค่ เป็นคนของเรา” บูเค่เป็นผู้ชำนาญจากการสร้างภาพยนตร์ที่โด่งดังทั่วโลก Young Indiana Jones Chronicles เขามาร่วมเตรียมการสร้างเอพพิโซด 1 เพื่อมอบการร่างแผนงานอย่างละเอียดสำหรับฉากการต่อสู้ในจินตนาการส่วนใหญ่ที่ไม่ธรรมดา ในแต่ละภาพจำลองบูเค่และทีมงานของเขาได้สร้างจักรวาลในจินตนาการขึ้นมา โดยมีความพยายามลดช่องว่างระหว่างภาพทางศิลปะและภาพจริงที่ลูคัสใช้กล้องถ่ายทำ ขนาดและความซับซ้อนของเอพพิโซด 1 มีสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวกับโลกอื่นมากมาย ทำให้บูเค่และทีมงานของเขามีความท้าทายเป็นพิเศษเช่นกัน ได้แก่ ความจริงสภาพแวดล้อมหลายๆ อย่างจะถูกสร้างขึ้นเป็นบางส่วนหรือทั้งหมดจะสร้างขึ้นด้วยคอมพิวเตอร์ที่ Industrial Light & Magic หลังการถ่ายทำเสร็จสิ้นแล้ว องค์ประกอบด้านดิจิตอลไม่ได้เปลี่ยนแปลงบทบาทขั้นพื้นฐานของบูเค่ในฐานะผู้ออกแบบฉากเลย “โดยทั่วไปแล้วเป็นการออกแบบฉากหลังที่เราเห็นอยู่ด้านหลังของนักแสดง ไม่ว่าจะเป็นฉากในสตูดิโอหรือฉากบนสถานที่ต่างๆ รวมถึงของตกแต่งและการตกต่งฉาก เราต้องจัดการกับทุกสิ่งที่ไม่มีชีวิต” บูเค่กล่าว ซึ่งทั้งหมดนี้เขาและผู้ออกแบบและช่างผู้มีฝีมือที่ร่วมงานกับเขาต้องสร้างฉากประมาณ 60 ฉาก “ประมาณ 40 ฉากถูกสร้างขึ้นที่โรงถ่ายใน Leavesden และส่วนที่เหลือถูกสร้างขึ้นบนสถานที่ต่างๆ” เขากล่าวเสริม ผู้ออกแบบอธิบายให้เห็นว่าแม้แต่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ธรรมดา ลูคัสก็อยากให้พวกเขาถ่ายทอดสภาพแวดล้อมออกมาให้คุ้นตาผู้ชม “เราจึงต้องรับมือกับเรื่องภูมิศาสตร์หรือสภาพแวดล้อมอย่างพวกป่า ทะเลทราย หรือรูปแบบสถาปัตยกรรมที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไปว่าเป็นแบบคลาสสิคหรือศิลปะนูโวที่มอบประเด็นสำคัญบางอย่างให้ผู้ชม หากเราลองออกแบบบางอย่างที่เป็นนามธรรมเพียงอย่างเดียว เป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่ในโลกนี้ มันมีโอกาสน้อยมากที่ผู้ชมจะเชื่อนิ่งนั้น ผู้ชมต้องการสิ่งที่เข้าใจได้หรือเป็นสิ่งที่อยู่ในจิตใต้สำนึก” สตาร์ส วอร์ส: เอพพิโซด 1 ภัยซ่อนเร้น ฉากผาดโผนและฉากแอ็คชั่น เอพพิโซด 1 ได้มอบรูปแบบของนักกีฬาและการต่อสู้แบบใหม่มาสู่ตำนานการผจญภัย Star Wars โดยมีนิค กิลลาร์ด ผู้ควบคุมสตั๊นท์ผู้มีชื่อเสียงของภาพยนตร์มาสร้างและควบคุมฉากแอ็คชั่นของภาพยนตร์ ตั้งแต่ที่จอร์จ ลูคัส กำหนดเอพพิโซด 1 ให้เป็นช่วงเวลาที่อัศวินเจไดอยู่ในจุดสูงสุดแห่งพลังอำนาจของพวกเขา กิลลาร์ดก็ได้เพิ่มผลงานด้านฉากแอ็คชั่น ฉากผาดโผน และแน่นอนว่าเป็นการดวลดาบพลังแสงสำหรับภาพยนตร์ภาคใหม่ ประการแรกเพื่อเป็นการเคารพถึงความคิดของเราว่า ทำไมเจไดถึงใช้หลักการต่อสู้แบบสมัยโบราณกับเหล่าศัตรูที่บางครั้งใช้อาวุธขั้นสูงกว่า กิลลาร์ดจึงได้สร้างศิลปะการต่อสู้ที่มีการจินตนาการขึ้นมา “ผมคิดว่าตั้งแต่ที่เจไดเลือกดาบพลังแสง พวกเขาต้องใช้มันได้เป็นอย่างดี” กิลลาร์ดเล่าว่า “ผมเลยใช้ส่วนสำคัญที่เป็นข้อดีของเทคนิคการต่อสู้ด้วยดาบ ตั้งแต่เค็นโด้ไปจนถึงดาบโค้ง ดาบประลอง และดาบปลายทู่แล้วเอามารวมกันทั้งหมด” ผลงานของกิลลาร์ดรวมถึงการศึกษาอย่างจริงจังของรูปแบบการต่อสู้ที่โดดเด่นของโลกทั้งหมด ซึ่งมีความหมายต่อการมอบความตื่นเต้นให้ภาพยนตร์ ในการสร้างการต่อสู้รูปแบบใหม่สำหรับเอพพิโซด 1 นี้จริงๆ แล้วกิลลาร์ดพัฒนาการฟันดาบขึ้นมา ในขณะที่การฟันดาบที่ได้รับความนิยมใช้ดาบประลอง (การฟันดาบในรูปแบบของชาวฝรั่งเศสหรือการประชันดาบ) มีการผสมผสานของการเคลื่อนไหว 6 แบบ กิลลาร์ดเกือบเพิ่มศิลปะการต่อสู้แบบใหม่ของเอพพิโซด 1 ขึ้นเป็นสองเท่า “เราต้องมีภาษาภาพแบบใหม่ในการต่อสู้ด้วยดาบและทำสิ่งต่างๆ ในรูปแบบใหม่” เขาอธิบายว่า “ตอนนี้เราไปไกลกว่าดาบประลองแล้ว” สำหรับการออกแบบท่าทางการต่อสู้ที่ต้องแสดงออกมา ไม่ใช่แค่ท่วงท่าแห่งการฟันดาบของเจไดเท่านั้น แต่ยังรวมถึงตัวละครที่เป็นผู้ต่อสู้แต่ละตัวด้วย กิลลาร์ดศึกษาบทภาพยนตร์และสตรอรี่บอร์ดของเอพพิโซด 1 อย่างพิถีพิถัน จะไม่มีปรมาจารยดาบที่มีสไตล์เดียวกันเลย และกิลลาร์ดได้ถักทอเอกลักษณ์ที่ซ่อนอยู่ในการออกแบบท่วงท่าแห่งการต่อสู้โดยใช้ดาบพลังแสง “มันเป็นสิ่งสำคัญที่ตัวละครแต่ละตัวในเอพพิโซด 1 ต้องมีสไตล์การต่อสู้ที่ไม่เหมือนกัน” เขากล่าว ถึงแม้รูปแบบการต่อสู้เหล่านี้จะมีความแปลกใหม่สำหรับเอพพิโซด 1 แต่ถึงอย่างไรพวกเขาก็ยังคงรูปแบบที่แท้จริงของดาบพลังแสงจากไตรภาคต้นฉบับเอาไว้ สำหรับตัวละครโอบีวัน กิลลาร์ดได้มีการถ่ายทอดรูปแบบการต่อสู้โดยใช้ดาบพลังแสงอย่างที่ใช้ใน Star Wars เพราะโอบีวันฝึกฝนทั้งอนาคินและลุค สกายวอล์คเกอร์ หลักการของพวกเขาบางอย่างสะท้อนในรูปแบบที่เราเห็นโอบีวันใช้ตอนที่ยังเป็นหนุ่ม เขากล่าว กิลลาร์ดโชคดีที่ได้ร่วมงานกับนักแสดงชายอย่างเลียม นีสัน และ ยอน แม็คกรีเกอร์ ซึ่งทั้งคู่มีความประทับใจในผู้ควบคุมสตั๊นท์ที่มีคุณสมบัติในการเอาชนะเทคนิคการต่อสู้ ในเทคนิคการต่อสู้ที่มีเวลาเตรียมการเพียงน้อยนิด “ผมไม่ต้องการอะไรจากพวกเขาอีกแล้ว” กิลลาร์ดกล่าว “บางครั้งพวกเขาก็เรียนรู้เพียง 10 นาทีก่อนเข้าฉากถ่ายทำ พวกเขาแสดงได้ดีเลย” การฝึกฝนอย่างรวดเร็วของนักแสดงได้รับความสะดวกจากช่วงการฝึกซ้อมของกิลลาร์ดกับตัวแทนนักแสดงสตั๊นท์ อังเดร เพ็ทไรด์ส และผู้ชำนาญด้านศิลปะการต่อสู้ เรย์ พาร์ค ในบทของดาร์ธ มอล เป็นบทที่ทำให้พาร์คได้แสดงภาพยนตร์เป็นครั้งแรกในเอพพิโซด 1 กิลลาร์ด เพ็ทไรด์สและพาร์คได้ฝึกซ้อมฉากต่อสู้และฉากผาดโผนนานหลายชั่วโมง จนท้ายที่สุดการเคลื่อนไหวทั้งหมดจะต้องลงเอยก่อนที่จะเริ่มร่วมกับแม็คกรีเกอร์และนีสัน “ตอนนั้นเรามีเลียมและยอน ซึ่งเราต้องออกแบบท่าทางของพวกเราอย่างน้อย 500 ชุด” เขากล่าว ในตอนแรกเรย์ พาร์ค ถูกว่าจ้างให้มาร่วมงานกับกิลลาร์ดในการแสดงผาดโผน เขาได้รับบทของดาร์ธ มอล เมื่อกิลลาร์ดเอาเทปที่พาร์คซ้อมฉากต่อสู้กับกิลลาร์ดให้ลูคัสและผู้อำนวยการสร้างริค แม็คคอลลัมดู สีหน้าที่ชั่วร้ายของมอลที่มีสีหน้าอันน่ากลัวถูกออกแบบโดยเอียน แม็คเคก และประกอบกับผู้ชำนาญด้านการแต่งหน้าคนสำคัญ พอล เอ็นเกเล็น พร้อมด้วยเสริมความร้ายแรงของตัวละครด้วยดาบพลังแสงคู่อันใหม่ที่พาร์คใช้เอ็ฟเฟ็กต์อาวุธขั้นสูงสุด ทำให้มีการเคลื่อนไหวที่แม้แต่กิลลาร์ดก็ต้องประหลาดใจ ฉากต่อสู้หนึ่งที่มีความยากซึ่งทั้งพาร์ค นีสัน และแม็คกรีเกอร์ต้องใช้เวลานานเกือบเดือนเพื่อถ่ายทำกับนักต่อสู้ที่ประชันกันอย่างดุเดือด มีการตีลังกาและกระโดดข้าม 3 ชุด นีสันและแม็คกรีเกอร์แสดงฉากผาดโผนหลายฉากด้วยตัวเอง (พาร์คเป็นนักยิมนาสติกที่คว้าแชมป์และประสบความสำเร็จ เขาแสดงฉากผาดโผนด้วยตัวเองทั้งหมด) แม้ว่าแม็คกรีเกอร์เคยมีประสบการณ์ด้านการฟันดาบมาก่อน แต่เขาก็พบว่าฉากต่อสู้ในเอพพิโซด 1 เป็นการผจญภัยที่ไม่ธรรมดา “เราใช้สไตล์ที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง” เขาอธิบายว่า “มันเป็นการโจมตีอย่างรวดเร็ว มีความดุเดือดและรวดเร็ว มันเป็นงานที่หินแต่ก็สนุกมากเลย” จากที่เคยแสดงในภาพยนตร์อย่าง Excalibur และ Rob Roy แต่นีสันก็ยังไม่คุ้นกับการฟันดาบในภาพยนตร์ แต่เขาก็ไล่ตามฉากแอ็คชั่นในเอพพิโซด 1 ที่มีความดุเดือดและน่าตื่นเต้นได้อย่างรวดเร็ว “ตอนที่ยอนและผมเริ่มฝึกซ้อมการประชันกันแบบเหมือนเราเป็นศัตรูที่ยากจะเอาชนะ เราก็เริ่มทำเสียงเอ็ฟเฟ็กต์ของดาบพลังแสงขึ้นมาด้วย” นีสันเล่าพร้อมหัวเราะ นอกจากการเคลื่อนไหวที่เหมาะสมต่อศิลปะการต่อสู้แบบใหม่แล้ว นีสัน แม็คกรีเกอร์ พาร์ค และกิลลาร์ดต้องพบกับความท้าทายที่เพิ่มเข้ามาที่กิลลาร์ดเป็นคนเพิ่มเข้าไป “พวกการต่อสู้ไม่ได้เกิดขึ้นที่นั่น มันจะปรากฏขึ้นหลังจากที่ผู้ชำนาญด้านสเปเชียลเอ็ฟเฟ็กต์ของ Industrial Light & Magic สร้างขึ้นมา” “เราต้องดูและตัดต่อภาพ จากนั้นก็ดูแล้วตัดต่อไปเรื่อยๆ โดยที่ไม่มีอะไรให้ดูเลย” แม็คกรีเกอร์กล่าวเสริม “มันเป็นอะไรที่ใหม่ทั้งหมด” สำหรับนีสันแล้วมันเป็นประสบการณ์ที่มีอิสระ “มันทำให้นึกถึงเกม ‘คาวบอยกับชาวอินเดีย’ สมัยเด็กๆ” เขาเล่า “ผมใส่จินตนาการอันบริสุทธิ์ลงไป เราจึงสร้างภาพขึ้นมาได้จริงๆ” จินตนาการแบบนี้สร้างความพิเศษให้กับฉากแอ็คชั่นของเอพพิโซด 1 “ทั้งหมดแล้วมันคือ Star Wars แล้วฉากแอ็คชั่นก็ไม่ควรดูเหมือนหนังเรื่องอื่น” กิลลาร์ดกล่าวสรุปว่า “มันควรเปิดฉากใหม่ … เหมือนกับที่เคยเกิดขึ้นในครั้งแรก” สตาร์ วอร์ส : เอพพิโซด 1 ภัยซ่อนเร้น นักแสดงและผู้สร้างภาพยนตร์ เกี่ยวกับนักแสดง เลียม นีสัน (ไควกอน จินน์) ผู้เข้าชิงรางวัล Academy Award ได้กลายเป็นนักแสดงนำคนหนึ่งในตัวละครนำของภาพยนตร์ระดับโลกในเวลานี้ของเรา เมื่อไม่นานนี้นีสันได้แสดงในภาพยนตร์ระทึกขวัญ เรื่อง The Haunting กำกับโดย ชอง เดอ บองต์ และแสดงร่วมกับแคทเธอรีน เซต้า-โจนส์ และ ลิลลี่ เทย์เลอร์ และภาพยนตร์เรื่อง Gun Shy ที่ร่วมแสดงกับแซนดร้า บุลล็อค และ โอลิเวอร์ แพล็ตต์ ภาพยนตร์ทั้งสองเรื่องจะมีการฉายในซัมเมอร์นี้ เขาเป็นนักแสดงชาวไอริชที่ตอนแรกสนใจอาชีพครู เขาศึกษาที่ Queens College, Belfast และศึกษาวิชาเอกด้านฟิสิกส์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ คณิตศาสตร์และการละคร นีสันได้หยุดพักการสอนหนังสือและในปี 1976 ได้ร่วมงานที่ Lyric Players Theatre in Belfast อันทรงเกียรติ ทำให้เขาได้แสดงอย่างมืออาชีพเป็นครั้งแรกในนนการแสดงของโจเซฟ พลันเค็ตต์ เรื่อง The Risen People หลังจากนั้น 2 ปีที่ Lyric Players เขาได้ร่วมงานกับคณะละครเพลงที่มีชื่อเสียงของ Abbey Theatre ที่ดับลิน นีสันปรากฏตัวที่งาน Abbey Theatre Festival ในการแสดงของไบรอัน ฟรีล เรื่อง Translations และการแสดงของฌอน โอ’เคซีย์ เรื่อง The Plough and the Stars ให้กับ Royal Exchange Theater ที่เขาได้รับรางวัลนักแสดงนำชายยอดเยี่ยม ในปี 1980 จอห์น บัวร์แมน สะดุดตาเขาจากการแสดงบทเล็ฯนี่ในการแสดงของจอห์น สตีนเบ็ค เรื่อง Of Mice and Men และคัดตัวเขาให้มาแสดงในภาพยนตร์มหากาพย์ตำนานการผจญภัยของกษัตริย์อาร์เธอร์แห่งตำนาน เรื่อง Excalibur ต่อจากภาพยนตร์เรื่อง Excalibur ที่เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกของเขา นีสันได้ปรากฏตัวในภาพยนตร์อีกมากกว่า 30 เรื่องที่แสดงเป็นตัวละครที่หลากหลาย รวมถึงมหากาพย์ภาพยนตร์รีเมคของโรเจอร์ โดนัลด์สัน เรื่อง The Bounty, ภาพยนตร์ที่ได้รับคำชมจากเหล่านักวิจารณ์ เรื่อง Lamb ที่เขาได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Evening Standard Drama Award, Duet For One, A Prayer for the Dying, The Mission, Suspect, The Good Mother, Peyton Westlake, Darkman, Crossing the Line, Shining Through, Under Suspicion และ Husbands and Wives ภาพยนตร์เรื่องอื่นที่มีชื่อเสียงของเขา ได้แก่ Leap of Faith, Nell, Before and After, Ethan Frome และการรับบทแสดงนำในเรื่อง Rob Roy ในปี 1993 นีสันได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Oscar, Golden Globe และ BAFTA Award ในสาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยมจากการแสดงของเขาในบทของ ออสการ์ ชินด์เลอร์ ในภาพยนตร์ของสตีเฟ่น สปีลเบิร์ก ที่ได้รับคำชมอย่างมากเรื่อง Schindler’s List นีสันยังกลับมารับบทแสดงนำในภาพยนตร์ของนีล จอร์แดน เรื่อง Michael Collins ที่เขาได้รับรางวัลนักแสดงนำชายยอดเยี่ยมอันทรงเกียรติที่งาน Venice Film Festival ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Golden Globe สาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม และ Evening Standard Award อันทรงเกียรติที่ลอนดอนในสาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม ภาพยนตร์ยังได้รับเกียรติอย่างสูงที่เวนิซด้วย รางวัล Golden Lion Award เมื่อปีที่แล้วนีสันแสดงในภาพยนตร์ที่มีการดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ ผลงานของวิคเตอร์ ฮิวโก้ เรื่อง Les Mis?rables ในบทของฌอง วัลจีน และแสดงละครบรอดเวย์ในบทของออสการ์ ไวล์ด ในการแสดงของเดวิด แฮร์ ที่ได้รับคำชมจากเหล่านักวิจารณ์เรื่อง The Judas Kiss นีสันแสดงละครบรอดเวย์เป็นครั้งแรกในปี 1993 ที่ Roundabout Theater ในละครปี 1921 ที่ยูจีน โอ’นีลนำกลับมาสร้างใหม่ เรื่อง Anna Christie เขาร่วมแสดงกับนาตาชา ริชาร์ดสัน บัตรของการแสดงขายหมดทุกคืน มีการยืดการแสดงออกไปและทำให้เขาได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Tony Award ยอน แม็คกรีเกอร์ (โอบีวัน เคโนบี) ได้สัมผัสประสบการณ์แห่งโรงละครเป็นครั้งแรกที่ Perth Repertory Theatre เขาฝึกฝนที่ Guildhall School of Music and Drama เขาสำเร็จการศึกษาจาก Guildhall เมื่อเดือนมีนาคม 1992 และมารับบทแสดงนำในการแสดงของเด็นนิส พอตเตอร์ เรื่อง Lipstick on Your Collar ซีรี่ส์แนวดราม่าจำนวน 6 ตอนของ Channel 4 ก่อนจะเดินทางไปที่มอร็อคโคเดือนตุลาคม 1992 เพื่อแสดงภาพยนตร์ของบิล ฟอร์ซิธ เรื่อง Being Human ต่อมาเขาได้แสดงในการแสดงของเพ็นนี่ ซินีวิคซ์ ภาพยนตร์ของโจ ออร์ตัน เรื่อง What the Butler Saw ที่ Salisbury Playhouse เมื่อต้นปี 1993 เขารับบทแสดงนำในภาพยนตร์ความยาว 3 ตอนของเบ็น โบลต์ ทาง BBC TV ที่ดัดแปลงมาจากนิยายคลาสสิคช่วงศตวรรษที่ 19 ของสเต็นดาห์ลเรื่อง Scarlet and Black และแสดงในภาพยนตร์สั้นเรื่อง Family Style จากบทภาพยนตร์ที่คว้ารางวัล Lloyds Bank Challenge กำกับโดยจัสติน แชดวิค ฉายทาง Channel 4 ผลงานทางทีวีเรื่องอื่นที่มีชื่อเสียงรวมถึงเรื่อง Kavanagh QC, Doggin’ Around, “Cold War,” ตอนหนึ่งของ Tales from the Crypt และเป็นนักแสดงรับเชิญให้กับ ER ตอนหนึ่ง แม็คกรีเกอร์แสดงในภาพยนตร์เรื่อง Shallow Grave อำนวยการสร้างโดยแอนดรูว์ แม็คโดนัลด์ กำกับโดยแดนนี่ บอยล์ให้กับ Figment Films ภาพยนตร์เรื่อง Shallow Grave ได้รับการขนานนามว่าเป็นภาพยนตร์ยอดเยี่ยมที่งาน Dinard Film Festival ในปี 1994 แม็คกรีเกอร์ร่วมรับรางวัลนักแสดงนำชายยอดเยี่ยมกับเพื่อนร่วมแสดงอย่างคริสโตเฟอร์ เอ็คเคิลสตัน และ เคอร์รี่ ฟ็อกซ์ และภาพยนตร์ยังคว้ารางวัล BAFTA Alexander Korda Award สาขาภาพยนตร์ชาวอังกฤษที่โดดเด่นแห่งปี และรางวัล BAFTA Scotland Award สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงเรื่องอื่นของแม็คกรีเกอร์ ได้แก่ Blue Juice, The Pillow Book, Trainspotting และ A Life Less Ordinary อีกครั้งสำหรับแดนนี่ บอยล์ และ แอนดรูว์ แม็คโดนัลด์; Emma, Brassed Off, Nightwatch, The Serpent’s Kiss, Velvet Goldmine และ Little Voice เมื่อไม่นานนี้แม็คกรีเกอร์แสดงในละครเวทีเรื่อง Little Malcolm and His Struggle Against the Eunuchs ที่ Comedy Theatr และกำกับหนังสั้นของเขาเป็นครั้งแรก เรื่อง Bone นาตาลี พอร์ทแมน (ราชินีอามิดาลา)ได้รับการยอมรับว่าเธอเป็นนักแสดงที่มีความสามารถและเป็นนักแสดงสาวที่เป็นที่ต้องการมากที่สุดแห่งฮอลลีวูด เมื่อไม่นานนี้พอร์ทแมนแสดงภาพยนตร์ร่วมกับซูซาน ซารานดอน ในภาพยนตร์ที่กำลังจะเข้าฉายของเวย์น แวง เรื่อง Anywhere But Here ของ Fox 2000 Pictures ภาพยนตร์ดัดแปลงมาจากนิยายของโมน่า ซิมป์สัน โดยอัลวิน ซาร์เจนต์ เจ้าของรางวัล Academy Award (Ordinary People) ภาพยนตร์เรื่อง Anywhere But Here ถ่ายทอดเรื่องราวของแม่และลูกสาวที่มีมิตรภาพแบบขึ้นๆ ลงๆ ในระหว่างการย้ายจากตะวันตกตอนกลางไปที่ Beverly Hills เมื่อปีที่แล้วพอร์ทแมนได้แสดงละครบรอดเวย์เป็นครั้งแรก โดยรับบทแสดงนำในเรื่อง The Diary of Anne Frank. กำกับโดยเจมส์ ลาไพน์ และดัดแปลงโดยเว็นดี้ เคสเซลแมน การแสดงมีภาพลักษณ์ที่สดใหม่ในการแสดง โดยมีการผสมผสานองค์ประกอบใหม่จาก The 1995 Definitive Edition ไดอารี่ของแอน แฟรงค์ พอร์ทแมนได้รับคำชมทั่วโลกจากการแสดงภาพยนตร์ครั้งแรกของเธอ ในผลงานของลุค เบสสัน เรื่อง The Professional เธอแสดงร่วมกับ ชอง รีโน และ แกรี่ โอลด์แมน พอร์ทแมนรับบทเป็นเมธิลด้า สาวน้อยผู้หาที่หลบภัยจากนักฆ่าหลังจากที่พ่อแม่ของเธอถูกฆ่าโดยเจ้าหน้าที่ DEA ผู้ทุจริต การแสดงของเธอได้รับคำชมจากเหล่านักวิจารณ์ และเธอได้รับรางวัล YoungStar Award ซึ่งสนับสนุนโดย The Hollywood Reporter สาขา “นักแสดงหญิงยอดเยี่ยมในภาพยนตร์แนวดราม่า” พอร์ทแมนได้รับคำชมจากเหล่านักวิจารณ์ในฉากที่เธอขโมยซีนในภาพยนตร์ของ Miramax เรื่อง Beautiful Girls กำกับโดยเท็ด เด็มเม่ ภาพยนตร์คอมเมดี้ที่หวานอมขมกลืนและนำแสดงโดยทิโมตี้ ฮัตตัน, อูม่า เธอร์แมน, โรซี่ โอ’ดอนเนล และ แม็ตต์ ดิลเลียน ภาพยนตร์เรื่องอื่นที่มีชื่อเสียงของเธอ ได้แก่ ภาพยนตร์ดนตรีของวูดดี้ อัลเล็น เรื่อง Everyone Says I Love You ร่วมแสดงกับจูเลีย โรเบิร์ตส, โกลดี้ ฮอว์น, อลัน อัลด้า และ ดรูว์ แบร์รี่มอร์; ภาพยนตร์ตลกร้ายของทิม เบอร์ตัน เรื่อง Mars Attacks! ที่ร่วมแสดงกับแจ็ค นิโคลสัน และ เกล็นน์ โคลส และภาพยนตร์ของไมเคิล แมนน์ เรื่อง Heat ที่ร่วมงานกับอัล ปาชิโน่, โรเบิร์ต เดอ นีโร และ วัล คิลเมอร์ เจค ลอยด์ (อนาคิน สกายวอล์คเกอร์) แสดงในภาพยนตร์เรื่อง Jingle All the Way เรื่องราวสนุกสนานในช่วงวันหยุดที่เกี่ยวกับพ่อคนหนึ่ง (อาร์โนลด์ ชวาสเน็กเกอร์) ผู้คอยผลัดการซื้อของขวัญคริสต์มาสให้ เจมี่ (ลอยด์) ลูกชายของเขาจนถึงวันคริสต์มาสอีฟ เขาเกิดความหมดหวังเมื่อพบว่าของเขาที่เจมี่ต้องการถูกขายไปแล้ว ผลที่ตามมาคือทั้งชวาสเน็กเกอร์และลอยด์พบว่าตัวเองอยู่ท่ามกลางการผจญภัยอันน่าประหลาด ภาพยนตร์เรื่องแรกของลอยด์เป็นภาพยนตร์ของนิค คาสสาเวเทส เรื่อง Unhook the Stars นำแสดงโดย จีน่า โรว์แลนด์ส และ มาริสา โทเม ในภาพยนตร์เรื่องนี้ลอยด์รับบทแสดงเป็น เจ.เจ. ลูกชายของโทเม เมื่อ เจ.เจ. ลอยด์ได้สร้างสีสันใหม่ในฐานะเพื่อนบ้านของเขา รับบทแสดงโดย โรว์แลนด์ ที่ทุกข์ทรมาณจากเรื่องส่วนตัว ก่อนหน้านี้ลอยด์แสดงในภาพยนตร์ประจำอาทิตย์ เรื่อง Virtual Obsession กำกับโดย มิค แกร์ริส (The Stand, The Shining) โดยเขาร่วมแสดงกับปีเตอร์ กัลลาเกอร์, มิมี่ โรเจอร์ส และ บริดเก็ตต์ วิลสัน ความสามารถด้านการแสดงของลอยด์ยังทำให้เขาได้กลับมารับบทแสดงในภาพยนตร์ทีวี เรื่อง ER ซึ่งตัวละครของเขาคือ จิมมี่ ที่มาโรงพยาบาลเป็นบางครั้งเพื่อการรักษาโรคมะเร็งของแม่ ยิ่งไปกว่านั้นลอยด์ยังเป็นนักแสดงรับเชิญในภาพยนตร์ เรื่อง The Pretender รวมถึงภาพยนตร์ทาง The Family Channel เรื่อง Apollo 11 นอกจากนั้นลอยด์ยังแสดงในโฆษณาทางทีวีของประเทศอีกหลายตัวด้วย แต่ถึงอย่างไรนักแสดงวัย 10 ขวบก็ยังหาเวลาให้กับวัยเด็กของเขาในยามที่ไม่ต้องทำงาน เขาสนุกกับการเล่นวีดีโอเกมส์ การออกไปข้างนอกกับเพื่อนและการขี่จักรยาน ตอนนี้ลอยด์สำเร็จการศึกษาระดับเกรด 4 แล้ว เอียน แม็คเดอร์มิด (วุฒิสมาชิกพัลพาทีน) ประสบความสำเร็จในอาชีพทั้งการเป็นนักแสดงและผู้กำกับเป็นอย่างมาก และเขายังร่วมเป็นผู้กำกับศิลป์ให้ Almeida Theatre ที่ได้รับคำชมอย่างสูงใน Islington ทางตอนเหนือของลอนดอน แม็คเดอร์มิดได้ร่วมงานกับ Lucasfilm เป็นครั้งแรกโดยการรับบทเป็นจักรพรรดิ์ในเรื่อง Return of the Jedi ผลงานที่มีชื่อเสียงของเขานอกจากนั้น ได้แก่ Dragonslayer, Gorky Park, Dirty Rotten Scoundrels กำกับโดย แฟรงค์ ออซ, Restoration, Annie: A Royal Adventure และภาพยนตร์ของทิม เบอร์ตัน ที่กำลังจะเข้าฉายเรื่อง Sleepy Hollow ละครเวทีที่มีชื่อเสียงของเขา ได้แก่ Ivanov, Tartuffe, School For Wives, Creditors และ Kurt Weill Concerts ที่ Almeida Theatre, Henry V, The Merchant of Venice, The Party, The War Plays, Crimes In Hot Countries และ The Castle for the RSC, Danton ของ RSC และ Almeida, Hated Nightfall และ Love of a Good Man ที่ Royal Court, Raft of the Medusa ที่ Barbican/Radio 3, Edward II และ The Country Wife ที่ Royal Exchange; The Black Prince ที่ Aldwych และ Peer Gynt และ Mephisto ที่ Oxford Playhouse ผลงานทางทีวีของแม็คเดอร์มิดที่มีชื่อเสียง ได้แก่ Hillsborough, Rebecca, Karaoke, Gwyn Thomas - A Few Selected Exits, Heart of Darkness, Final Warning, Creditors, The Nation’s Health, Richard’s Things และ The Professionals ในบรรดาผลงานอื่นๆ อีกมาก ผลงานการกำกับที่มีชื่อเสียงของเขา ได้แก่ Venice Preserved, Siren Song, A Hard Heart, Hippolytus, Lulu และ The Possibilities ที่ Almeida Theatre, The Rehearsal ที่ Almeida และ West End และ Don Juan ที่ Royal Exchange เพอร์นิลล่า ออกัสต์ (ชมี สกายวอล์คเกอร์) เป็นนักแสดงหญิงชาวสวีเดนที่ได้รับรางวัลนักแสดงหญิงยอดเยี่ยมที่งาน Cannes Film Festival เมื่อปี 1992 สำหรับการแสดงของเธอในเรื่อง The Best Intentions กำกับโดย บิล ออกัสต์ และเขียนโดยอิงมาร์ เบิร์กแมน ผลงานที่มีชื่อเสียงของเธอนอกจากนั้น ได้แก่ Fanny and Alexander กำกับโดยเบิร์กแม , Tuppen กำกับโดยแลสซี่ ฮัลสตรอม, Jerusalem กำกับโดย บิล ออกัสต์ และ The Private Confession กำกับโดย ลิฟ อัลแมน เขียนบทโดยเบิร์กแมน ผลงานทางเวทีที่มีชื่อเสียงของออกัสต์ ได้แก่ The Dream Play, Hamlet ที่เธอได้รับรางวัลนักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยมจาก British Drama Magazine ในการแสดงเป็นโอฟีเลีย, The Doll’s House และ The Winter’s Tale ทั้งหมดกำกับโดยเบิร์กแมนและแสดงที่ National Theater of Sweden ผลงานทางเวทีที่มีชื่อเสียงอื่นๆ ของเธอได้แก่ Master of Strindberg, The Last Yankee และ Three Sisters การแสดงทางทีวีของเธอได้แก่เรื่อง Play เขียนและกำกับโดยเบิร์กแมน, The Young Indiana Jones Chronicles, The Wild Bird และ Hamlet อาห์เม็ด เบสต์ (จาร์ จาร์ บิงค์ส) เป็นศิลปินที่มีความสามารถหลายด้าน เขาแสดงในการแสดงหลายเรื่องในหลายสถานที่ เขาเป็นนักแสดงเอกที่การแสดงในซาน ฟรานซิสโก เรื่อง Stomp ซึ่งเขาถูกผู้สร้างเอพพิโซด 1 พบตัวที่นั่น เขายังแสดงในเรื่อง Stomp ที่งาน Annual Academy Awards Show ครั้งที่ 68, The Today Show, Good Morning, America และ Reading Rainbow เขายังแสดงบนเวทีที่งาน Channel to Channel สำหรับการแสดงของ Negro Ensemble Company ที่นิวยอร์ค เขาแสดงในโฆษณาทางทีวีหลายตัว เขาเป็นนักร้อง นักดนตรี และนักแต่งเพลงที่มีความชำนาญ ในจักรวาลของ Star Wars ยังมี แฟรงค์ ออซ (โยดา) ผู้เป็นที่รู้จักจากการแสดงที่มีความชำนาญและการให้เสียงพากย์เป็น Jedi Master Yoda ในเรื่อง The Empire Strikes Back และ Return of the Jedi ออซเป็นที่รู้จักตอนแรกในฐานะของนักแสดงหุ่นเชิดผู้ชำนาญ เจ้าของตัวละครอย่าง Bert, Cookie Monster, Grover, Animal, Fozzie Bear, Miss Piggy และ Sam the Eagle ออซยังเป็นผู้กำกับที่ประสบความสำเร็จในผลงานอย่าง The Dark Crystal (ที่ร่วมงานกับจิม เฮ็นสัน), The Muppets Take Manhattan, Little Shop of Horrors, Dirty Rotten Scoundrels, What About Bob?, Housesitter, The Indian in the Cupboard และ In & Out เขาได้รับรางวัล Emmy 4 รางวัลสำหรับผลงานทางทีวีของเขาด้วย ซามูเอล แอล. แจ็คสัน (เมซ วินดู) ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Academy Award และ Golden Globe สาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม และไดรับรางวัลนักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยมจาก British Academy of Film and Television Arts สำหรับการแสดงบทนักฆ่าผู้ยึกหลักปรัชญาในภาพยนตร์ของควินติน ตารานติโร่ เรื่อง Pulp Fiction อีกไม่นานแจ็คสันจะแสดงในภาพยนตร์ระทึกขวัญ เรื่อง Deep Blue Sea กำกับโดย เร็นนี่ ฮาร์ลิน และร่วมแสดงกับโธมัส เจน, แซฟฟรอน เบอร์โรว์ส, แอล.แอล. คูล เจ และ ไมเคิล แรพพาพอร์ท เขาแสดงภาพยนตร์ร่วมกับลี โจนส์ ในภาพยนตร์ที่กำลังถ่ายทำ เรื่อง Rules of Engagement และจากนั้นได้เริ่มร่วมงานกับผู้กำกับจอห์น ซิงเลตัน ในภาพยนตร์รีเมคสุดคลาสสิคปี 1970 เรื่อง Shaft แจ็คสันจะแสดงในภาพยนตร์ของฟรังซัวส์ กิแรด เรื่อง The Red Balloon ที่มีการเปิดตัวในงาน Toronto Film Festival เมื่อไม่นานนี้แจ็คสันแสดงในเรื่อง The Negotiator, Eve’s Bayou ที่เขาอำนวยการสร้าง และเรื่อง Jackie Brown ซึ่งเป็นภาพยนตร์เรื่องที่ 2 ของเขาที่แสดงให้ตารานติโน่ ต่อมาเขาได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Golden Globe และ Silver Bear สาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยมในงาน Comedy at the Berlin Film Festival ผลงานของแจ็คสันที่ดัดแปลงจากนิยายของจอห์น กรีแชม เรื่อง A Time to Kill ทำให้เขาได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Golden Globe และได้รับรางวัล NAACP Image Award ผลงานเรื่องอื่นของเขาที่มีชื่อเสียง ได้แก่ Die Hard With a Vengeance, 187, Sphere, The Long Kiss Goodnight, Hard Eight, Kiss of Death, Losing Isaiah และ Amos & Andrew สำหรับผลงานของเขาในภาพยนตร์ของสไปค์ ลี เรื่อง Jungle Fever เขาได้รับรางวัล Best Supporting Performance Award เป็นครั้งแรกและครั้งเดียวที่งาน Cannes Film Festival เขายังได้รับรางวัล New York Film Critics Award สาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยมอีกด้วย สำหรับผลงานทางทีวี แจ็คสันแสดงในภาพยนตร์ของจอห์น แฟรงเค็นไฮเมอร์ ที่ได้รับรางวัล Emmy Award เรื่อง Against the Wall ที่ฉายทาง HBO การแสดงของเขาทำให้เขาได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล CableAce สาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยมในภาพยนตร์หรือมินิซีรี่ส์ รวมถึงการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Golden Globe และเขายังได้แสดงละครเวทีอย่างกว้างขวางอีกด้วย เรย์ พาร์ค (ดาร์ธ มอล) แสดงภาพยนตร์เป็นครั้งแรกในเอพพิโซด 1 เขาเกี่ยวข้องกับศิลปะการต่อสู้ของชาวจีนตั้งแต่อายุ 7 ขวบ และได้รับรางวัลชนะเลิศมากมายในสาขานั้น เขายังมีความชำนาญด้านอาวุธของชาวตะวันออก การใช้มวยที่สามารถใช้เท้าได้ การเล่นยิมนาสติกและศิลปกายกรรม ในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา เขาได้เป็นหนึ่งในสมาชิกของ British Martial Arts Team เขาได้แข่งขันและแสดงทั่วโลกอยู่เป็นประจำ ต่อไปพาร์คจะแสดงในภาพยนตร์เรื่อง Sleepy Hollow กำกับโดยทิม เบอร์ตัน เขาเป็นสตั๊นท์ให้กับเรื่อง Mortal Kombat 2: Annihilation รวมถึงแสดงในโฆษณาและเกมส์คอมพิวเตอร์หลายตัว เกี่ยวกับผู้สร้างภาพยนตร์ จอร์จ ลูคัส (นักเขียน ผู้กำกับ ผู้อำนวยการสร้างบริหาร) เป็นผู้สร้างตำนานการผจญภัยที่ประสบความสำเร็จเป็นปรากฏการณ์ เรื่อง Star Wars และภาพยนตร์ชุด Indiana Jones และเป็นประธานบอร์ดแห่ง Lucasfilm Ltd., LucasArts Entertainment Company LLC, Lucas Digital Ltd. LLC., Lucas Licensing Ltd. และ Lucas Learning Ltd. ลูคัสกำกับภาพยนตร์เป็นครั้งแรกในเรื่อง THX 1138 เมื่อปี 1970 ภาพยนตร์อำนวยการสร้างโดย American Zoetrope และอำนวยการสร้างบริหารโดยแฟรนซิส คอปโพล่า ในปี 1971 ลูคัสได้ก่อตั้งบริษัทของตัวเองชื่อ Lucasfilm Ltd., ที่ซาน ราฟาเอล รัฐแคลิฟอร์เนีย ในปี 1973 ลูคัสได้ร่วมเขียนและกำกับภาพยนตร์เรื่อง American Graffiti ภาพยนตร์ได้รับรางวัล Golden Globe, New York Film Critics’ และ National Society of Film Critics และกวาดการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Academy Award ไปอีก 5 รางวัล หลังจากนั้น 4 ปี ลูคัสได้เขียนและกำกับเรื่อง Star Wars ซึ่งเป็นภาพยนตร์ที่ทำลายสถิติบ็อกซ์ ออฟฟิศทั้งหมด และกวาดรางวัล Academy Award ไป 7 รางวัล ต่อมาลูคัสได้ร่วมเขียนบทภาพยนตร์เรื่อง The Empire Strikes Back และ Return of the Jedi ที่เขาร่วมอำนวยการสร้างบริหารด้วย ในปี 1980 เขาร่วมเขียนเรื่องและเป็นผู้อำนวยการสร้างบริหารของ Raiders of the Lost Ark กำกับโดยสตีเฟ่น สปีลเบิร์ก โดยคว้ารางวัล Academy Award ไป 5 รางวัล เขายังร่วมอำนวยการสร้างบริหารและเป็นผู้สร้างเรื่องของ Indiana Jones and the Temple of Doom ภาพยนตร์มีการฉายเมื่อปี 1984 และได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง Academy Award 2 รางวัลและคว้ารางวัล Oscar สำหรับวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์ของภาพยนตร์ ในปี 1986 ลูคัสทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการสร้างบริหารให้ภาพยนตร์ดนตรีการผจญภัยทางอวกาศของ Disneyland ในระบบ 3 มิติเรื่อง Captain Eo ที่กำกับโดยแฟรนซิส คอปโพล่า และนำแสดงโดยไมเคิล แจ็คสัน ลูคัสยังมีส่วนร่วมในการสร้างเรื่อง Star Tours ที่ได้รับความสนใจของผู้คนที่ Disney Theme Parks แต่ละแห่ง โปรเจ็กต์ต่อมาของลูคัสคือภาพยนตร์ผจญภัยแนวแฟนตาซี เรื่อง Willow ที่อิงมาจากเรื่องราวต้นฉบับของลูคัส ภาพยนตร์กำกับโดยรอน ฮาเวิร์ด และอำนวยการสร้างบริหารโดยลูคัส ภาพยนตร์เรื่อง Willow มีการฉายในปี 1988 และได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Academy Award 3 รางวัล และในปี 1988 ลูคัสได้อำนวยการสร้างบริหารเรื่อง Tucker: The Man and His Dream กำกับโดยแฟรนซิส คอปโพล่าซึ่งได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Academy Award 3 รางวัล หลังจากปีนั้นลูคัสได้เขียนเรื่องราวและอำนวยการสร้างบริหารในเรื่อง Indiana Jones and the Last Crusade ภาพยนตร์ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Academy Award 2 รางวัล ได้รับรางวัล Oscar สาขาการออกแบบเสียงยอดเยี่ยม และกลายเป็นภาพยนตร์อันดับ 1 ของบ็อกซ์ออฟฟิศทั่วโลกในปี 1989 ลูคัสทำหน้าที่เป็นผู้แต่งเรื่องและอำนวยการสร้างบริหารในซีรี่ส์ทางทีวี เรื่อง The Young Indiana Jones Chronicles ที่มีการฉายครั้งแรกในปี 1992 ภาพยนตร์เรื่อง The Young Indiana Jones Chronicles คว้ารางวัล Banff Award สาขา Best Continuing Series, ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Golden Globe สาขาซีรี่ส์แนวดราม่ายอดเยี่ยม, Angel Award สำหรับรายการทีวีที่มีคุณภาพ, ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Emmy Award 12 รางวัล และ Emmy 26 รางวัล ในปี 1992 จอร์จ ลูคัส ได้รับเกียรติด้วยรางวัล Irving G. Thalberg Award ซึ่งได้รับจาก Board of Governors of the Academy of Motion Picture Arts and Sciences สำหรับการประสบความสำเร็จในการผลิตภาพยนตร์ ลูคัสเป็นผู้แต่งเรื่องราวและผู้อำนวยการสร้างบริหารของเรื่อง Radioland Murders เมื่อปี 1994 เพื่อเฉลิมฉลองโอกาสสครบรอบ 20 ปีของภาพยนตร์ Star Wars ในปี 1997 ลูคัสปรับภาพยนตร์แต่ละตอนของไตรภาคให้มีความสมัยเพื่อให้ใกล้เคียงกับจินตนาการดั้งเดิมของเขา ภาพยนตร์ The Star Wars Trilogy Special Edition มีการฉายในโรงภาพยนตร์ทั่วโลกด้วยระบบ digitally remastered soundtracks, restored prints มีการปรับปรุงวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์และเสริมฟุตเทจใหม่ๆ เข้าไป Lucasfilm ก่อตั้งโดยจอร์จ ลูคัสเมื่อปี 1971 จนตอนนี้ค่อยๆ พัฒนาเป็นบริษัทของลูคัส 5 แห่งแล้ว กลุ่มบริษัทของลูคัสได้แก่ Lucasfilm Ltd., Lucas Online, LucasArts Entertainment Company LLC, Lucas Digital Ltd. LLC, Lucas Licensing Ltd. และ Lucas Learning Ltd. โดย Lucasfilm มีภาพยนตร์และผลงานทางทีวีของลูคัสทั้งหมด รวมถึงกิจกรรมทางธุรกิจของ THX Group ซึ่งกำหนดขึ้นมาเพื่อสร้างความมั่นใจในคุณภาพการนำเสนอภาพยนตร์ที่ยอดเยี่ยมในโรงภาพยนตร์และที่บ้านผ่านการบริการในรูปแบบพิเศษ LucasArts เป็นผู้นำด้านการพัฒนาทั่วโลกและผู้ตีพิมพ์อินเตอร์แอ็คทีฟซอฟต์แวร์ด้านความบันเทิง ซึ่งคว้ารางวัลจากเหล่านักวิจารณ์มากกว่า 100 industry awards สำหรับความเป็นเลิศ Lucas Digital ประกอบด้วย Industrial Light & Magic (ILM) และ Skywalker Sound ที่จัดเตรียมการให้บริการด้านวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์และด้านเสียงของช่วงโพสต์-โพรดักชั่นให้อุตสาหกรรมความบันเทิงและการผลิตโฆษณา พนักงานของ ILM คว้ารางวัล Oscars 40 รางวัลสำหรับภาพยนตร์ที่ได้รับรางวัล Academy Award 14 รางวัล สาขาวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์ยอดเยี่ยม และได้รับรางวัล Scientific and Technical Achievement Award อีก 14 รางวัล พนักงาน Skywalker Sound ได้รับเกียรติด้วยรางวัล Oscars 28 รางวัลจากการสร้างผลงานในภาพยนตร์ที่คว้ารางวัล Academy Award 15 รางวัล สาขาดนตรีประกอบยอดเยี่ยมและการลำดับเสียงเอ็ฟเฟ็กต์ยอดเยี่ยม Lucas Licensing มีความรับผิดชอบด้านการขายสินค้าที่เกี่ยวกับภาพยนตร์และสิทธิครอบครองทางทีวีของ Lucasfilm โดย Lucas Learning ได้มุ่งมั่นในการสร้างประสบการณ์ “การเรียนรู้พิเศษ” โดยการมอบสินค้าอินเตอร์แอ็คทีฟซอฟต์แวร์อันมีเสน่ห์ที่มอบโอกาสในการเรียนรู้ผ่านการค้นหาและการค้นพบ จอร์จ ลูคัส เป็นประธานบอร์ดแห่ง George Lucas Educational Foundation ตอนนี้เขาทำหน้าที่เป็นคณะกรรมการของ Artists Rights Foundation, Joseph Campbell Foundation และ Film Foundation นอกจากนั้นเขายังเป็นสมาชิกของ USC School of Cinema-Television Board of Councilors อีกด้วย ริค แม็คคอลลัม (ผู้อำนวยการสร้าง) ได้เริ่มอาชีพด้วยการเป็นผู้อำนวยการสร้างที่ได้ร่วมงานกับผู้เขียนบทภาพยนตร์ที่ได้รับการยกย่องมากที่สุดของอังกฤษอย่าง เด็นนิส พอตเตอร์ ผู้ล่วงลับไปแล้วในบทภาพยนตร์ที่ดัดแปลงมาจากเรื่อง Pennies From Heaven นำแสดงโดย สตีฟ มาร์ติน และ เบอร์นาเด็ตต์ ปีเตอร์ส จากนั้นแม็คคอลลัมและพอตเตอร์ได้มาร่วมงานกันในซีรี่ส์ความยาว 6 ตอนของ BBC ที่ได้รับคำชม เรื่อง The Singing Detective แม็คคอลลัมยังได้รับการยอมรับว่ามีการทำงานอย่างใกล้ชิดกับผู้กำกับนิโคลาส โรก และได้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ของโรก 2 เรื่อง ได้แก่ Track 29 และ Castaway ภาพยนตร์เรื่องอื่นที่มีชื่อเสียง ได้แก่ ภาพยนตร์ของเด็นนิส พอตเตอร์ เรื่อง Blackeyes ภาพยนตร์ของนีล ไซมอน เรื่อง I Ought To Be In Pictures, Heading Home นำแสดงโดย แกรี่ โอลด์แมน พร้อมบทภาพยนตร์ของผู้เขียนเดวิด แฮร์ ผู้ทำหน้าที่กำกับภาพยนตร์ด้วย และเรื่อง Strapless ที่เขียนและกำกับโดยแฮร์ พร้อมกับแบร์ บราวน์ และ บริดเจ็ต ฟอนด้า ภาพยนตร์เรื่องอื่นของแม็คคอลลัม ได้แก่ Dreamchild ที่เขียนโดยเด็นนิส พอตเตอร์ ซึ่งคว้ารางวัล BAFTA 3 รางวัล และ Evening Standard อีก 1 รางวัลในสาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (โครัล บราวน์) สำหรับผลงานทางทีวี แม็คคอลลัมได้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ให้ HBO เรื่อง On Tidy Endings ซึ่งเขียนโดยฮาร์วีย์ เฟียร์สตีน นำแสสสดงโดยเฟียร์สตีน และ สต็อคการ์ด แชนนิ่ง ภาพยนตร์ได้รับรางวัล .CableAce Award 4 รางวัล ได้แก่สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ผู้กำกับยอดเยี่ยม และบทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม เขายังอำนวยการสร้างมิวสิควีดีโอของ Rolling Stones ในเพลง “Undercover” ที่คว้ารางวัล MTV Award สาขามิวสิควีดีโอยอดเยี่ยมแห่งทศวรรษ ตั้งแต่ปี 1990 แม็คคอลลัมได้ร่วมงานเป็นพิเศษกับผู้เขียน/ผู้กำกับ จอร์จ ลูคัส โดยทั้งคู่ได้ร่วมงานกันในภาพยนตร์เรื่อง Radioland Murders และซีรี่ส์ทางทีวีที่ได้รับคำชมจากเหล่านักวิจารณ์ เรื่อง The Young Indiana Jones Chronicles โดยซีรี่ส์นี้ได้ใช้เวลาถ่ายทำนานกว่า 4 ปีใน 27 ประเทศ ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Emmy 26 รางวัลและคว้ารางวัล Emmy ไป 11 รางวัล ภาพยนตร์ยังคว้ารางวัล Banff Award เมื่อปี 1993 สาขา Best Continuing Series และได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Golden Globe ในปี 1993 สาขาซีรี่ส์แนวดราม่ายอดเยี่ยม โดยมีผู้กำกับอย่าง บิล ออกัสต์, ไมค์ เนเวล, นิค โรก, คาร์ล ชัลซ์, ไซมอน วินเซอร์, เดวิด แฮร์, ดีป้า เมห์ต้า, รีน แมนเซอร์, แกวิน มิลลาร์ และ เทอร์รี่ โจนส์ แม็คคอลลัมได้อำนวยการสร้างผลงานด้านการปรับปรุงและรื้อฟื้นผลงานในเรื่อง Star Wars Trilogy Special Edition และในตอนท้ายของการสร้างเอพพิโซด 1 ที่ตอนนี้กำลังเตรียมเอพพิโซด 2 ซึ่งเป็นตอนต่อไปของตำนานการผจญภัย Star Wars แกวิน บูเค่ (ผู้ออกแบบเครื่องแต่งกาย) สำเร็จการศึกษาจาก Newcastle Polytechnic โดยเขาศึกษาด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ และศึกษาที่ Royal College of Art โดยได้รับปริญญาโทด้านการออกแบบเมื่อปี 1979 เขาเริ่มอาชีพในวงการภาพยนตร์โดยการเป็นผู้สเก็ตภาพของฝ่ายศิลป์ในภาพยนตร์ เรื่อง The Elephant Man และ Return of the Jedi ในเวลา 4 ปีต่อมาเขาได้เลื่อนขั้นเป็นผู้ช่วยผู้กำกับศิลป์ในภาพยนตร์เรื่อง Return to Oz และ Young Sherlock Holmes ในตอนนั้นบูเค่ได้เริ่มสร้างผลงานในเรื่อง Empire of the Sun เขาเป็นผู้กำกับศิลป์ที่มีความมุ่งมั่น ผลงานที่มีชื่อเสียงอื่นๆ ของผู้กำกับศิลป์ ได้แก่ Dangerous Liaisons, Eric the Viking และ Cry Freedom ที่เขามีความสุขในการร่วมงานกับสจ๊วจ เครก พร้อมกับนอร์แมน เรย์โนลด์ส ซึ่งเป็นผู้ที่เขาพิจารณาว่าจะเป็นที่ปรึกษาของเขา ผลงานที่มีชื่อเสียงของบูเค่ในฐานะของผู้ออกแบบฉากมีจำนวนมากในซีรี่ส์ทางทีวีของประเทศอังกฤษ เรื่อง Yellowthread Street และซีรี่ส์ของอเมริกาเรื่อง The Young Indiana Jones Chronicles ที่เขาได้รับรางวัล Emmy Award และได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลอีก 2 รางวัลในภาพยนตร์เรื่อง Kafka และ Radioland Murders เดวิด แทตเทอร์แซล (ผู้กำกับภาพ) เกิดและโตขึ้นที่ Great Britain เขาศึกษาที่ Goldsmith’s College ในลอนดอน ซึ่งเขาสำเร็จการศึกษาด้วยปริญญาตรีเกียรตินิยมอันดับ 1 (Hons) ด้านศิลปศาสตร์ จากนั้นเขาศึกษาที่ Britain’s National Film and Television School ที่เขาศึกษาด้านการทำงานของกล้องเป็นพิเศษ ภาพยนตร์นักศึกษาของแทตเทอร์แซล เรื่อง King’s Christmas, Caprice และ Metropolis Apocalypse ได้รับการจับตามองเป็นอย่างมาก ภาพยนตร์เรื่อง King’s Christmas ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Best BAFTA Short ในปี 1987 โดย Caprice ได้รับเลือกในงานเทศกาลภาพยนตร์เมืองเอดินเบิร์กและมิลาน และเรื่อง Metropolis Apocalypse มีการฉายที่งาน Cannes ในปี 1988 แทตเทอร์แซลได้ทำงานอย่างมุ่งมั่นในภาพยนตร์และผลงานทางทีวีหลายเรื่อง ผลงานที่มีชื่อเสียงของเขา ได้แก่ The Bridge, Radioland Murders, Moll Flanders, The Wind in the Willows และ Con Air สำหรับผลงานทางทีวี แทตเทอร์แซลได้ร่วมงานในซีรี่ส์ Yorkshire เรื่อง Yellowthread Street และภาพยนตร์ทางทีวีของชาวอเมริกัน เรื่อง The Young Indiana Jones Chronicles ที่เขาคว้ารางวัล Emmy Award และได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล A.S.C. สาขาตากล้องยอดเยี่ยม หลังจากการอบรมที่ Wimbledon School of Art ทรีช่า บิกการ์ (ผู้ออกแบบเครื่องแต่งกาย) เธอได้ร่วมงานกับคณะนักแสดงละครเวทีอันทรงเกียรติที่อังกฤษหลายแห่ง รวมถึง Glasgow Citizens’ Theatre และ Opera North in Leeds ด้วย จากนั้นบิกการ์ได้ย้ายไปออกแบบเครื่องแต่งกายให้ภาพยนตร์ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ เรื่อง Silent Scream (ชนะรางวัล British Academy Michael Powell Award สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยมแห่งปี และ Special Jury Prize ที่งาน Berlin Festival รวมถึงรางวัลอื่นๆ) และเรื่อง Wild West (ชนะรางวัล Edinburgh Film Festival Critics’ Award) ภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงของเธอ ได้แก่ มินิซีรี่ส์เรื่อง Moll Flanders (ที่เธอได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล BAFTA สาขาการออกแบบเครื่องแต่งกายยอดเยี่ยม), The Missing Postman and The Mug’s Game เธอออกแบบเครื่องแต่งกายให้กับภาพยนตร์ของ BBC เรื่อง Saigon Baby และ Truth or Dare ส่วนซีรี่ส์อื่นๆ ที่ออกแบบโดยบิกการ์ ได้แก่ The Young Indiana Jones Chronicles, Love Hurts, Van der Valk และ A Class Act พอล มาร์ติน สมิธ (ผู้ลำดับภาพ) เขาโตขึ้นที่ประเทศอังกฤษ แคนาดา และยุโรป เขาได้สร้างผลงานในการแสดงโรงละครช่วงฤดูกาลซัมเมอร์ที่ Nantucket แมสซาชูเซ็ท ก่อนศึกษาด้านการถ่ายภาพที่ Corcoran School of Art ในวอชิงตัน ดี.ซี. เขาได้แยกตัวมาอยู่ในวงการภาพยนตร์ในฐานะของผู้ช่วยตากล้องในภาพยนตร์สารคดีของ USIA. ในปี 1971 เขาได้ผลิตภาพยนตร์สารคดี เรื่อง The Animals are Crying ที่คว้ารางวัลไปมากมาย ตั้งแต่ปี 1973 สมิธได้ทำงานที่ลอนดอน อเมริกาและยุโรป เขาใช้เวลาลำดับภาพยนตร์แนวดราม่า คอมเมดี้ สารคดีโฆษณาโปรแกรมขององค์กร และมิวสิควีดีโอยาวนานกว่า 70 ชั่วโมง บรรดาผลงานที่มีชื่อเสียงของเขา ได้แก่ ภาพยนตร์เรื่อง Born American และ The Matchmaker ภาพยนตร์ทางทีวีเรื่อง The Canterville Ghost และ Unforgivable ซีรี่ส์เรื่อง The Young Indiana Jones Chronicles, Earth 2 และภาพยนตร์สารคดีเรื่อง Gunfight U.S.A., Cold Spring New Dawn ผลงานของ เบ็น เบิร์ต (ผู้ออกแบบเสียง) ในการออกแบบเสียง เขาได้สร้างเสียงให้กับ R2-D2 เสียงกระหึ่มและการปะทะของดาบพลังแสงในการต่อสู้ เสียงการเคลื่อนตัวอย่างรวดเร็วในฉากการไล่ล่าของมอเตอร์ไซค์อวกาศ ซึ่งนั่นทำให้ภาพยนตร์เรื่อง Star Wars ไตรภาคต้นฉบับมีอารมณ์ของเสียงที่สมจริง 20 ปีต่อจากนั้น เบิร์ตได้ร่วมงานในภาพยนตร์เรื่อง Star Wars Trilogy Special Edition นานกว่า 6 เดือนเพื่อผสมผสาน ลำดับเสียงเอ็ฟเฟ็กต์ เสียงดนตรี และเสียงพูดจากแทร็คต้นฉบับอีกครั้ง เขาเกิดที่ Syracuse เมืองนิวยอร์ค เบิร์ตได้รับปริญญาด้านฟิสิกส์ เมื่อปี 1970 เขาได้รับรางวัลที่งาน National Student Film Festival ในภาพยนตร์สงครามเรื่อง Yankee Squadron สำหรับผลงานของเขาด้านสเปเชียลเอ็ฟเฟ็กต์ในภาพยนตร์เรื่อง Genesis ทำให้เขาได้รับทุนการศึกษาที่ USC ซึ่งเขาสำเร็จปริญญาโทด้านการสร้างภาพยนตร์ เบิร์ตได้อยู่ในวงการภาพยนตร์มานานกว่า 23 ปีในฐานะผู้ออกแบบเสียง มิกซ์เสียง ลำดับเสียง ผู้เขียนและผู้กำกับ กิจกรรมที่เบิร์ตให้ความสนใจ ได้แก่ “ลูกๆ ของเขา, ประวัติศาสตร์ด้านภาพยนตร์, ขี่จักรยานภูเขา, เล่นสกี และอ่านหนังสือแนวประวัติศาสตร์ ดาราศาสตร์ และวิทยาศาสตร์” ในช่วงเวลา 15 ปีที่เบิร์ตทำหน้าที่เป็นผู้ออกแบบเสียงให้ Lucasfilm เขาได้รับรางวัล Academy Awards สาขาลำดับเสียงและเสียงเอ็ฟเฟ็กต์ในภาพยนตร์ 4 เรื่อง ได้แก่ Star Wars, E.T. The Extra-Terrestrial, Raiders of the Lost Ark และ Indiana Jones and the Last Crusade เบิร์ตยังออกแบบเสียงให้ภาพยนตร์เรื่อง Indiana Jones and the Temple of Doom, The Empire Strikes Back, Return of the Jedi, Always, Willow, Alien, More American Graffiti, Howard the Duck, The Dark Crystal, Nutcracker, The Motion Picture, The Dream is Alive, Alamo และ Niagara ในปี 1990 เบิร์ตได้ทำงานอิสระและเริ่มทำหน้าที่เป็นผู้กำกับ เขาได้กำกับกอง 2 ของภาพยนตร์ เรื่อง The Young Indiana Jones Chronicles จำนวน 20 ตอน และทำหน้าที่เป็นผู้ลำดับภาพให้ภาพยนตร์เรื่อง of Young Indy 4 ตอนและบางทีก็เป็นผู้ออกแบบเสียง เบิร์ตกำกับภาพยนตร์และร่วมเขียนบทเรื่อง Young Indy movie “Attack of the Hawkmen.” เขากำกับภาพยนตร์ระบบ IMAX เรื่อง Blue Planet เขากำกับและร่วมเขียนบทภาพยนตร์ระบบ IMAX เรื่อง Special Effects เบิร์ตยังได้เขียนบทให้ซีรี่ส์แอนิเมชั่นทางทีวีของ Lucasfilm เรื่อง Droids และรวมถึงภาพยนตร์ชุดพิเศษของ ABC เรื่อง Droids ที่มีความยาว 1 ชั่วโมงซึ่งตั้งชื่อว่า “The Great Heep” แกรี่ ริดสตรอม (ผู้กำกับฝ่ายปฏิบัติการด้านสร้างสรรค์/ผู้ออกแบบและมิกซ์เสียง, เสียงสกายวอล์คเกอร์) ได้ร่วมสร้างผลงานกับ Skywalker Sound เมื่อปี 1983 ในฐานะผู้ควบคุมห้องเครื่องยนต์ จากนั้นมาเขาได้ใช้ความสามารถของเขาช่วยเหลืออีกหลายโปรเจ็กต์ในฐานะของผู้ออกแบบเสียง, รีรีคอร์ดิงมิกเซอร์, ผู้มิกซ์เสียงเอ็ฟเฟ็กต์และโฟลีย์ มิกเซอร์ ในปี 1998 ริดสตรอมได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติงานสร้างสรรค์แห่ง Skywalker Sound เขาควบคุมการสร้างสรรค์และการควบคุมเทคโนโลยีเพื่อความสะดวก นอกจากผลงานภาพยนตร์และโฆษณาของเขาแล้ว ริดสตรอมยังได้สร้างโปรเจ็กต์ทางทีวีและเครื่องเล่น และภาพยนตร์ที่น่าสนใจอีกหลายเรื่อง ริดสตรอมสำเร็จการศึกษาจาก USC School of Cinema and Television เขาได้รับรางวัล Academy Award 7 รางวัลในสาขาเสียงและการลำดับเสียงเอ็ฟเฟ็กต์ยอดเยี่ยม สำหรับผลงานของเขาในเรื่อง Saving Private Ryan, Titanic, Jurassic Park และ Terminator 2: Judgment Day จอห์น วิลเลียมส์ (ผู้ประพันธ์ดนตรี) เขาคว้ารางวัล Academy Award ไปถึง 5 ครั้ง เขาได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Oscar เป็นพิเศษทั้งหมดถึง 37 ครั้ง ซึ่งส่วนใหญ่จนมาถึงตอนนี้เป็นผลงานการประพันธ์ของเขาจากภาพยนตร์แนวดราม่าเกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่ 2 ของสตีเฟ่น สปีลเบิร์ก เรื่อง Saving Private Ryan วิลเลียมส์ได้ร่วมงานกับจอร์จ ลูคัส เป็นครั้งแรกในภาพยนตร์ต้นฉบับเรื่อง Star Wars ที่ผู้ประพันธ์ดนตรีได้รับรางวัล Academy Award เขาได้กลับมาร่วมงานในจักรวาลของ Star Wars อีกครั้งในเรื่อง Empire Strikes Back และ Return of the Jedi เขาได้ร่วมงานกับสปีลเบิร์กในภาพยนตร์เกือบทั้งหมดของผู้กำกับ เขาได้รับรางวัล Oscar 3 รางวัลจากผลงานของเขาในเรื่อง Jaws, E.T. The Extra-Terrestrial และ Schindler’s List รางวัล Academy Award อื่นๆ ได้มาจากการประพันธ์ดนตรีของเขาในเรื่อง Fiddler On the Roof ฉบับภาพยนตร์ วิลเลียมส์ได้พิสูจน์ตัวเองว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญในทุกด้าน เขาได้สร้างธีมที่คุ้นหูส่วนใหญ่ในประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ไว้มากมาย เขาได้ประพันธ์ดนตรีให้ภาพยนตร์หลายเรื่อง เช่น Jurassic Park และภาคต่อ, The Lost World: Jurassic Park; Amistad, Seven Years in Tibet, Sabrina, JFK, Home Alone, Born on the Fourth of July, The Accidental Tourist, Close Encounters of the Third Kind, Empire of the Sun, Superman และ Indiana Jones ทั้ง 3 ตอน ผลงานของเขานอกจากนั้น วิลเลียมส์ยังเป็นวาทยากรของ Boston Pops Orchestra เป็นเวลา 13 ฤดูกาลที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก และตอนนี้เป็นวาทยากรผู้ทรงเกียรติของวงที่มีชื่อเสียงนั้น ในฐานะของวาทยากรรับเชิญ เขาได้ปรากฏตัวในวงออเคสตราที่มีชื่อเสียงที่สุดของโลกหลายวงอยู่เป็นประจำ ผลงานการประพันธ์ดนตรีของเขาได้มีอิทธิพลนอกเหนือจากโลกภาพยนตร์ เมื่อเขาได้สร้างผลงานในคอนเสิร์ตไว้มากมาย รวมถึงการเขียนเพลงในคอนเสิร์ตจำนวนมาก รวมถึงวงซิมโฟนี 2 วงและเพลงประสานเสียงของฟลุต แตรใหญ่ ไวโอลิน แคริเน็ท บาซูน เชลโล่ และทรัมเป็ท โรบิน เกอร์แลนด์ (การคัดเลือกนักแสดง) ได้เริ่มการทำงานด้วยการเป็นผู้ควบคุมการคัดเลือกนักแสดงที่ Bay Area เขาทำการค้นหาและคัดเลือกนักแสดงให้ภาพยนตร์มากกว่า 17 เรื่อง ได้แก่ Life With Mikey, Forrest Gump, Little Panda และ When a Man Loves a Woman ผลงานที่มีชื่อเสียงของเธอในฐานะผู้ควบคุมการคัดเลือกนักแสดงในท้องถิ่น ได้แก่ The Joy Luck Club, Dangerous Minds, The Quick and the Dead, Redwood Curtain และ Golden Gate ในฐานะของผู้ควบคุมการคัดเลือกนักแสดง เธอได้คัดเลือกนักแสดงในภาพยนตร์เรื่อง James and the Giant Peach และได้ทำหน้าที่เป็นผู้ให้คำปรึกษาในเรื่อง The Education of Little Tree นิค ดัดแมน (เอ็ฟเฟ็กต์ของสิ่งมีชีวิต) เป็นช่ำชองในภาพยนตร์ของ Lucasfilm มาแล้วหลายเรื่อง ได้แก่ Return of the Jedi, Willow และ Indiana Jones and the Last Crusade จริงๆ แล้วเขาเริ่มทำงานในวงการภาพยนตร์ด้วยการรับหน้าที่ของตัวละครโยดา ในฐานะของผู้ฝึกงานของสจ๊วต ฟรีบอร์น ผู้ชำนาญด้านการแต่งหน้าชาวอังกฤษ ในเรื่อง The Empire Strikes Back หลังที่ได้ฝึกงานกับฟรีบอร์นเป็นเวลา 4 ปีในภาพยนตร์เรื่อง Superman II และ Top Secret! ดัดแมนได้รับการร้องขอให้ไปทำหน้าที่ควบคุมห้องทดลองการแต่งหน้าชาวอังกฤษในภาพยนตร์ของริดลีย์ สก็อตต์ เรื่อง Legend ตั้งแต่นั้นมาเขาได้สร้างผลงานในเรื่อง Mona Lisa, High Spirits, Interview With the Vampire, Batman และ Judge Dredd ในปี 1995 เขาได้รับการร้องขอให้ไปควบคุมฝ่ายแผนกสร้างสัตว์ประหลาดที่มีทีมงาน 55 คนในภาพยนตร์ของลุค เบสสัน เรื่อง The Fifth Element การปรับโฉมของดัดแมนที่มีการสร้างวัสดุของเทียมเรียกว่า Dermplast ที่มีการใช้เพื่อสร้างเอ็ฟเฟ็กต์ของการทำให้ดูแก่ในการแต่งหน้า โดยวัสดุมีการจำหน่ายผ่านบริษัทของดัดแมนเพียงที่เดียว ซึ่งมีชื่อเรียกแปลกๆ ว่า “Pigs Might Fly” เด็นนิส มูเร็น (ผู้ควบคุมวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์) เป็นผู้ควบคุมวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์อาวุโสที่ Industrial Light & Magic เขาได้รับรางวัล Academy Award 8 รางวัลสำหรับสาขาความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ในด้านวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์ มูเร็นมีส่วนร่วมในการพัฒนาบริษัทอย่างตื่นตัว รวมถึงการออกแบบและพัฒนาเทคนิคและเครื่องมือใหม่ๆ ผลงานของเขาที่มีชื่อเสียงในฐานะของผู้ควบคุมวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์ ได้แก่ The Lost World: Jurassic Park, Casper, Jurassic Park, Terminator 2: Judgment Day, The Abyss, Innerspace, Young Sherlock Holmes, Indiana Jones and the Temple of Doom, Return of the Jedi และ E.T. The Extra-Terrestrial ในฐานะของผู้บุกเบิกการใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิตอลในภาพยนตร์ สก็อตต์ สเควียร์ส (ผู้ควบคุมวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์) ได้ผสมผสานความชำนาญด้านเทคนิคกับพรสวรรค์ด้านงานสร้างสรรค์อย่างสูง สเควียร์สได้พัฒนาเทคนิคที่มีความโดดเด่นหลายอย่าง รวมถึง “Cloud Tank Effect” ที่ใช้ในภาพยนตร์เรื่อง Close Encounters of the Third Kind ในปี 1979 Squires ได้ร่วมก่อตั้ง Dream Quest Images และเป็นผู้ควบคุมวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์ รวมถึงเป็นประธานบริษัทเป็นเวลาถึง 6 ปี โปรเจ็กต์ Dream Quest ของเขา ได้แก่ Blue Thunder, The Adventures of Buckaroo Banzai Across the Eighth Dimension, Deal of the Century, One From the Heart และ Blade Runner Squires ได้ร่วมงานที่ Industrial Light & Magic เมื่อปี 1985 ในปี 1994 สเควียร์สได้รับรางวัล Scientific and Engineering Award จาก Academy of Motion Picture Arts and Sciences สำหรับผลงานการบุกเบิกด้านสแกนภาพเพื่อนำไปใช้ในภาพยนตร์ เขาได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Oscar สำหรับความสำเร็จอย่างยอดเยี่ยมด้านวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์ในเรื่อง The Mask และได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลเป็นครั้งที่ 2 จากเรื่อง Dragonheart จอห์น นอล (ผู้ควบคุมวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์) ได้มอบความชำนาญพิเศษและได้ปรับโฉมคอมพิวเตอร์กราฟฟิคเพื่อสร้างวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์ นอลและพี่ชายของเขาเป็นผู้สร้าง Photoshop โปรแกรมการประมวลผลด้านภาพขั้นสูงสำหรับคอมพิวเตอร์ Macintosh ซึ่งคล้ายกับ Quantel Paintbox โดย Photoshop ให้ผู้ใช้ได้ควบคุมการสร้างสรรค์ได้อย่างครอบคลุมเพื่อปรับปรุงและแก้ไขภาพ นอลยังเป็นผู้ออกแบบโปรเจ็กต์คอมพิวเตอร์กราฟฟิคเรื่อง The Abyss ที่ ILM ได้รับเกียรติด้วยรางวัลวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์ยอดเยี่ยมที่งาน Academy Award ครั้งที่ 10 ผลงานที่มีชื่อเสียงของเขานอกจากนั้นในฐานะผู้ควบคุมวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์ ได้แก่ Star Trek: First Contact, Star Wars Special Edition, Mission: Impossible และ Star Trek Generations ร็อบ โคลแมน (ผู้ควบคุมแอนิเมชั่น) ได้มาร่วมงานกับทีมผู้สร้างแอนิเมชั่นที่ ILM เมื่อปี 1993 เพื่อสร้างผลงานในเรื่อง The Mask ภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงเรื่องอื่นของโคลแมน ได้แก่ Men in Black, Dragonheart, The Indian in the Cupboard, In the Mouth of Madness และ Star Trek Generations ก่อนที่จะมาร่วมงานที่ ILM เขาได้เริ่มอาชีพด้วยการสร้างผลงานในเรื่อง Captain Power ซีรี่ส์ทางทีวีเรื่องแรกของเขาที่มีการผสมผสานของตัวละครแอนิเมชั่นที่สร้างจากคอมพิวเตอร์กับไลฟ์แอ็คชั่น โปรเจ็กต์ได้รับรางวัล Gemini Award (รางวัลที่เทียบเท่า Emmy สำหรับชาวแคนาดา) สำหรับความสำเร็จด้านเทคนิคยอดเยี่ยม ตั้งแต่ที่โคลแมนได้สร้างผลงานคอมพิวเตอร์แอนิเมชั่นและกราฟฟิคให้ผลงานที่มีการออกอากาศและโฆษณาต่างๆ เขาได้สร้างผลงานในภาพยนตร์แอนิเมชั่นชุดพิเศษสำหรับ World Health Organization เขาได้ก่อตั้งสตูดิโอของตัวเองเล็กๆ ขึ้นมาเพื่อโปรเจ็กต์โฆษณาและผลงานทีวี และได้สร้างภาพกราฟฟิคชุดพิเศษที่มีการออกอากาศ, การเปิดตัวและสัญลักษณ์ของสถานี ติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่ http://www.facebook.com/Fox.Thailand http://www.youtube.com/starwars
แท็ก ภาพยนตร์   Movie:  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ