ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเสนอ ทิศทางน้ำมันปีวอก ราคาพุ่ง...ต้องเร่งประหยัด

ข่าวทั่วไป Friday March 19, 2004 17:51 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--19 มี.ค.--ธนาคารกสิกรไทย
รัฐบาลประกาศตรึงราคาจำหน่ายปลีกน้ำมันภายในประเทศต่อไปอีก หลังตรึงราคามาแล้วนาน 2 เดือน ทำให้รัฐต้องแบกรับ
ภาระค่าน้ำมันแทนประชาชนไปแล้วรวม 3,859 ล้านบาท หรือเฉลี่ยวันละ 56 ล้านบาท ทั้งนี้ รัฐบาลยืนยันว่ายังมีวงเงินอยู่อีกกว่า
16,000 ล้านบาทที่ยังสามารถตรึงราคาน้ำมันต่อไปได้อีก จนกว่าสถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกได้คลี่คลายลงแล้วจึงจะประกาศ
ยกเลิกการชดเชยราคา ซึ่งก็นับว่าเป็นความหวังดีของรัฐบาลที่ไม่ต้องการให้ราคาสินค้าและบริการด้านต่างๆปรับราคาขึ้นไปจนสร้าง
ความเดือดร้อนแก่ประชาชนในวงกว้างหากปล่อยให้ราคา น้ำมันในประเทศปรับตัวขึ้นไปตามราคาน้ำมันในตลาดโลก
การตรึงราคาน้ำมันเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนเพียง ชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น แต่ประชาชนก็ต้องให้ความ
ร่วมมือกับทางการ ด้วยการใช้น้ำมันกันอย่างประหยัด ยิ่งในระยะนี้เป็นช่วงหน้าร้อน(มีนาคม-พฤษภาคม) ทำให้ความต้องการใช้น้ำมันและ
ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นกว่าในช่วงปกติ ทั้งในส่วนของน้ำมันที่เติมรถยนต์ เพราะจะมีการออกเดินทางท่องเที่ยวยังต่างจังหวัดในช่วงเทศกาล
สงกรานต์ และมีการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นสำหรับเครื่องปรับอากาศ พัดลมและเครื่อง ทำความเย็นอื่นๆ ซึ่งก็มีผลให้ต้องใช้น้ำมันเพิ่มมากขึ้น
ตามไปด้วย ดังนั้น เมื่อทางการตรึงราคน้ำมันเอาไว้ในขณะที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกยังแพงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประชาชนจึงควรตระหนัก
ถึงความรับผิดชอบร่วมกันอย่างจริงจังในการรณรงค์การใช้น้ำมันอย่างประหยัดและรู้คุณค่า
ราคาน้ำมันโลกพุ่ง…รายจ่ายนำเข้าเพิ่ม
แม้ว่ารัฐบาลจะยังคงตรึงราคาน้ำมันในประเทศอยู่ต่อไป แต่ภาระรายจ่ายค่าน้ำมันนำเข้าก็จะยังคงพุ่งสูงขึ้นต่อไปตามราคาน้ำ
มันในตลาดโลกที่ยังคงปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี ซึ่งก็จะทำให้ในปีวอก2547นี้ คาดว่าประเทศไทยจะมีภาระค่าใช้จ่ายด้านการ
นำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศทะลุระดับ10,000ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้ ภาวะความผันผวนของราคาน้ำมันในตลาดโลกนับจากช่วง
ไตรมาสสองของปีวอกต่อเนื่องไปจนถึงสิ้นสุดของปี จะยังมีปัจจัยที่กดดันตลาดน้ำมันโลกให้ทรงตัวในระดับสูงอยู่ต่อไป ทั้งในประเด็นที่กลุ่ม
สมาชิกโอเปกได้เพิ่มแรงกดดันต่อตลาดน้ำมันโลกด้วยการลดเพดานการผลิตลงอย่างมากถึง 1 ล้านบาร์เรล/วัน โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้ง
แต่วันที่ 1 เมษายน 2547 เป็นต้นไป ทั้งยังได้ส่งสัญญาณอีกว่าช่วงราคาน้ำมันในตะกร้ากลุ่มโอเปกที่กำหนดไว้เดิมที่ระดับ 22-28 ดอล
ลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรลนั้นต่ำเกินไปแล้ว เนื่องจากเงินดอลลาร์สหรัฐฯได้อ่อนค่าลงเรื่อยๆทำให้รายได้จากเงินน้ำมันมีค่าที่แท้จริงลดลงตาม
ไปด้วย ดังนั้นสมาชิกโอเปกจึงจะมีการทบทวนช่วงราคาน้ำมันกันใหม่ในการประชุมคราวหน้าซึ่งก็จะมีขึ้นในวันที่ 31 มีนาคม2547นี้ โดย
ช่วงราคาใหม่คาดว่าจะกำหนดไว้ที่ระดับ25-32ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล
นอกจากนี้ ก็ยังมีปัจจัยความไม่แน่นอนที่จะมีผลกดดันต่อทิศทางตลาด น้ำมันโลกในระยะจากช่วงท้ายไตรมาสที่ 1 ของปี2547
เป็นต้นไป นั่นก็คือ สต็อกน้ำมันดิบในคลังน้ำมันของสหรัฐฯที่อยู่ในระดับต่ำต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายเดือนแล้ว และในบางช่วงอยู่ต่ำกว่า
ระดับวิกฤตที่ 270 ล้านบาร์เรลเสียด้วยซ้ำไป ปัจจัยนี้มีผลอย่างมากต่อการกำหนดทิศทางราคาน้ำมันในตลาดโลกในระยะต่อไป ยิ่งไป
กว่านั้นความไม่สงบในอิรักที่มีการลอบโจมตีทหารอเมริกันและพันธมิตรไม่เว้นแต่ละวันทำให้ทหารอเมริกันและทหารพันธมิตรล้มตายเพิ่มขึ้น
และยังเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นฟูบ่อน้ำมันในอิรักอย่างมากในเวลานี้ ทำให้การส่งออกน้ำมันของอิรักยังไม่เข้าสู่ภาวะปกติในเร็ววันก็มีผล
กระทบต่อราคาน้ำมันในตลาดโลกด้วยเช่นกัน การวางระเบิดสถานีรถไฟที่มาดริด นครหลวงของสเปน เมื่อตอนกลางเดือนมีนาคม 2547
ส่งผลให้ผู้คนล้มตายไปกว่า 200คนและบาดเจ็บอีกกว่า 2,000 คน ส่งผลกระทบทางจิตวิทยาต่อตลาดน้ำมันโลก รวมทั้งในระยะนี้มีข่าว
การวางระเบิดตามสถานที่สำคัญๆในเมืองต่างของประเทศพันธมิตรสหรัฐอย่างไม่ขาดระยะ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อตลาดน้ำมันโลก
ให้เกิดความ ผันผวนกดดันราคาน้ำมันในตลาดโลกพุ่งสูงขึ้นมาเป็นระยะๆ
จากสถานการณ์ความไม่แน่นอนของตลาดน้ำมันโลกที่มีอยู่สูงดังกล่าว ย่อมส่งผลกระทบต่อประเทศไทยในด้านการนำเข้าน้ำมัน
จากต่างประเทศ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะในแต่ละปีนั้นประเทศไทยมีความจำเป็นต้องนำเข้าน้ำมันจากต่าง
ประเทศถึงปีละ4,800-8,900ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ(ใช้ข้อมูลนำเข้าน้ำมัน ปี2542-2546)โดยที่อัตราเพิ่มของมูลค่านำเข้าน้ำมันก็สูงถึง
23.3ต่อปีโดยเฉลี่ย ในช่วงเวลาดังกล่าว สำหรับในปี2546ที่ผ่านมานั้น ปรากฏว่ามูลค่านำเข้าน้ำมันสูงมากถึง8,895.1 ล้านดอล
ลาร์สหรัฐฯหรือเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าถึงร้อยละ20.1เนื่องจากราคาน้ำมันในตลาดโลกแพงขึ้นกว่าปี 2545ถึงร้อยละ13.7 การประเมิน
ภาระค่าน้ำมันนำเข้าสำหรับปี2547ที่คาดหมายว่าจะมีมูลค่าทะลุ10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯใช้ฐานปริมาณนำเข้าน้ำมันเท่ากับปี2546 และใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้านี้เพียงร้อยละ12.5 จากค่าแนวโน้มย้อนหลัง 5 ปี ที่อัตราเพิ่มของมูลค่านำเข้าน้ำมันเฉลี่ยอยู่ที่ระดับร้อยละ23.3และในปี2546ที่ผ่านมา ก็มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ20.1
การนำเข้าน้ำมันของไทยช่วงปี 2542-2547
ปี มูลค่า เม็ดเงินเพิ่ม %เพิ่ม ราคาน้ำมันนำเข้าเฉลี่ย %เพิ่ม
(ล้านดอลลาร์) (ล้านดอลลาร์) (ดอลลาร์/บาร์เรล)
2542 4,774.3 359.6 39.8 17.24 35.7
2543 7,546.2 2,771.9 58.1 26.53 53.9
2544 7,139.0 -407.2 -5.4 22.86 -13.8
2545 7,404.3 265.3 3.7 23.86 4.4
2546 8,895.1 1,490.8 20.1 27.12 13.7
2547 10,007.0 1,111.9 12.5 30.51 12.5
ที่มา : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
หมายเหตุ : แหล่งข้อมูลจากกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ราคาน้ำมันปี2547เป็นตัวเลขไตรมาสแรก
และราคานำเข้าเฉลี่ยเป็นน้ำมันดิบ โอมาน กระจายแหล่งนำเข้าน้ำมัน…กลยุทธลดความเสี่ยง
ในรอบปี2546ที่ผ่านมาประเทศไทยพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศในลักษณะของการกระจายตัวของแหล่งนำเข้า
เป็นกลยุทธที่ลดความเสี่ยง สอดคล้องกับภาวการณ์ปัจจุบัน ทั้งนี้ หากพิจารณาการนำเข้าน้ำมันในปี2546ที่ผ่นมา ปรากฏว่าประเทศไทย
มีการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศคิดเป็นมูลค่ารวม8,895.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้านี้ร้อยละ20.1โดยในจำนวนนี้
เป็นการนำเข้าจากกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง 6,206.1 ล้านดอลลาร์หรือเท่ากับร้อยละ69.8ของ มูลค่านำเข้าน้ำมันทั้งหมดเทียบกับ
ที่ในอดีตเมื่อครั้งก่อนเกิดวิกฤตการณ์น้ำมันโลกครั้งที่ 2 ในช่วงปี2522-2524 ประเทศไทยในยุคนั้นพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันจากแหล่งตะ
วันออกกลางเกือบทั้งหมดหรือร้อยละ90-95ของการนำเข้าน้ำมันรวมของประเทศ ในขณะที่พึ่งพาการนำเข้าน้ำมันจากแหล่งนอกกลุ่ม
ประทศตะวันออกกลางเพียงร้อยละ5-10เท่านั้นเอง แต่ในปัจจุบันนี้ประเทศไทยพึ่งพาแหล่งน้ำมันจากประเทศนอกกลุ่มตะวันออกกลาง
ในสัดส่วนที่เพิ่มมากขึ้นเป็นกว่าร้อยละ30 ของการนำเข้าน้ำมันรวม ของประเทศ
สำหรับการนำเข้าน้ำมันจากประเทศต่างๆในรอบปี 2546ที่ผ่านมา มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
กลุ่มประเทศตะวันออกกลาง ในรอบปี 2546ประเทศไทยนำเข้า น้ำมันจากประเทศตะวันออกกลางรวมทั้งสิ้น 6,206.1
ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ14.0และมีสัดส่วนเท่ากับร้อยละ69.8ของมูลค่านำเข้าน้ำมันรวมของประเทศ สัด
ส่วนนี้ลดลงจากปี2542ที่อยู่ในระดับร้อยละ74.1 สำหรับการกระจายแหล่งนำเข้าน้ำมันในกลุ่มนี้ เป็นดังนี้
-สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ ในปี2546ไทยนำเข้าน้ำมันจากสหรัฐอาหรับ เอมิเรสต์1,904.7ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจาก
ปีก่อนร้อยละ41.8 โดยมีสัดส่วนการนำเข้าน้ำมันมากที่สุดถึงร้อยละ20.3ของมูลค่าการนำเข้าน้ำมันรวมของประเทศ
-ซาอุดีอาระเบีย การนำเข้าน้ำมันจากซาอุดีอาระเบียในปี2546ที่ผ่านมา มีมูลค่ารวม 1,408.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯเพิ่ม
ขึ้นจากปีก่อนร้อยละ43.5 และมีสัดส่วนนำเข้าน้ำมันเป็นอันดับสองรองจากสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์คือร้อยละ15.8ของมูลค่า
นำเข้าน้ำมันรวมของประเทศ
-โอมาน ปี2546ไทยนำเข้าน้ำมันจากโอมานมูลค่า 1,383.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ16.7 และมีสัด
ส่วนร้อยละ15.6ของมูลค่านำเข้าน้ำมันรวมของประเทศ
-เยเมน การนำเข้าน้ำมันจากเยเมนปี 2546 มีจำนวน 960.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ50.8 โดยมี
สัดส่วนร้อยละ10.8ของมูลค่านำเข้าน้ำมันรวมของประเทศ
-กาตาร์ ในปี2546ไทยนำเข้าน้ำมันจากกาตาร์396.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ6.7และมีสัดส่วนร้อยละ
4.5ของมูลค่านำเข้าน้ำมันรวม ของประเทศ
-คูเวต มูลค่านำเข้าน้ำมันจากคูเวตในรอบปี2546มีจำนวน96.5ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ7.0 และมีสัด
ส่วนร้อยละ0.1ของมูลค่านำเข้าน้ำมันรวมของประเทศ
ประเทศนอกกลุ่มตะวันออกกลาง ในรอบปี 2546ที่ผ่านมาประเทศไทยมีการนำเข้าน้ำมันจากประเทศนอกกลุ่มตะวันออกกลาง
เพิ่มมากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงจากปัญหาความไม่แน่นอนทางการเมืองในตะวันออกกลางที่มักจะเกิดขึ้นเป็นประจำ โดยในปี2546ไทยนำ
เข้าน้ำมันจากประเทศนอกตะวันออกกลางมูลค่า 2,689.0ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ37.1และมีสัดส่วนการนำเข้าเท่ากับ
30.2ของมูลค่านำเข้าน้ำมันทั้งประเทศ สัดส่วนนี้เพิ่มขึ้นจากปี2542ที่มีเพียงร้อยละ25.9 โดยประเทศนอกกลุ่มตะวันอกกลางที่ไทยนำ
เข้าน้ำมันปี2546 มีรายละเอียด ดังนี้
-พม่า มีบทบาทเพิ่มมากขึ้นอย่างเด่นชัดต่อการนำเข้าน้ำมันของไทยตั้งแต่ปี2542เรื่อยมา จากที่ไทยนำเข้าน้ำมันจากพม่าเพียง
2.1ล้านดอลลาร์สหรัฐฯในปี2542 ก็ได้พุ่งทะยานขึ้นไปเป็น115.4และ672.2ล้านดอลลาร์สหรัฐฯในปี2543-2544และในปี2546ก็นำเข้า
เพิ่มขึ้นเป็น 732.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯแล้ว ซึ่งก็เห็นได้อย่างชัดเจนว่าสัดส่วนการนำเข้าน้ำมันจากพม่าพุ่งขึ้นจากระดับแค่ร้อยละ2ใน
ช่วงปี2542-2543 แล้วเพิ่มขึ้นไปเป็นร้อยละ8.2ของมูลค่านำเข้าน้ำมันทั้งหมดของไทยในปี2546
-มาเลเซีย ในปี 2546ไทยนำเข้าน้ำมันจากมาเลเซีย 428.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าถึงร้อยละ17.0ของ
มูลค่านำเข้าน้ำมันทั้งหมด มีสัดส่วนการนำเข้าร้อยละ4.8 เป็นลำดับสองรองจากพม่า จากที่ปีที่แล้วอยู่ในลำดับที่สาม
-อินโดนีเซีย การนำเข้าน้ำมันจากอินโดนีเซียไนปี2546มีทั้งสิ้น351.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ30.2เมื่อเทียบกับปี
ก่อนหน้าทำให้สัดส่วนนำเข้าเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ4.0ขยับขึ้นมาเป็นอันดับสามจากปีที่แล้วที่อยู่ในลำดับที่สี่
-บรูไน ในรอบปี2546ไทยนำเข้าน้ำมันจากบรูไนเท่ากับ318.7ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงจากปี2545ร้อยละ29.1 ทำให้บรูไน
หล่นลงมาอยู่ที่สี่จากที่ปีก่อนหน้าอยู่ในลำดับที่สองรองจากพม่า
-สิงคโปร์ ไทยนำเข้าน้ำมันจากสิงคโปร์ทั้งสิ้น160.2ล้านดอลลาร์สหรัฐฯเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้านี้ร้อยละ6.2 มีสัดส่วนนำเข้า
เท่ากับร้อยละ1.8ของมูลค่านำเข้าน้ำมันทั้งหมดของไทยในปี2546
-ประเทศอื่นๆ นอกเหนือจากประเทศที่เป็นแหล่งนำเข้าน้ำมันสำคัญของไทยดังกล่าวแล้ว ไทยยังมีการนำเข้าน้ำมันจากแหล่ง
อื่นๆอีกนับสิบประเทศ เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เวียดนาม ปากีสถาน และอินเดีย เป็นต้น
บทสรุป
ทิศทางราคาน้ำมันโลกตั้งแต่ไตรมาสสองของปี2547 เป็นต้นไป จะยังคงมีความไม่แน่นอนสูงจากการที่สมาชิกโอเปกสามารถ
ผนึกกำลังกันได้ด้วยการลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบมาเป็นระยะๆ ปัญหาความไม่สงบจากภัยก่อการร้ายในหลายประเทศของโลกและปัญหา
ภายในอิรักเองที่ยังมีการก่อความไม่สงบและวางระเบิดทำลายล้างทหารอเมริกัน ทหารพันธมิตรที่กำลังเข้าไปร่วมฟื้นฟูอิรักหลังโค่นล้ม
อำนาจประธานาธิบดีแล้วก็ตาม นอกจากนี้ความขัดแย้งล่าสุดระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ที่มีการรบพุ่งรุนแรงขึ้นก็อาจจะเป็นชนวน
เหตุให้สงครามขยายวงออกไปได้ อันเป็นความเสี่ยงต่อตลาดน้ำมันโลกที่ยังมีความผันผวนสูงมากอยู่ แต่ประเด็นสำคัญยิ่งกว่านั้นก็คือ
ราคาน้ำมันนับจากวันนี้เป็นต้นไปจะยังมีความผันผวนและยังจะปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นไปได้อีก ทำให้ประเทศไทยต้องแบกรับภาระรายจ่ายค่า
น้ำมันนำเข้าเพิ่มขึ้นมาก สถานการณ์เช่นนี้จึงน่าห่วงอย่างยิ่งว่าการนำเข้าน้ำมันในปี2547อาจจะมีมูลค่าทะลุ 10,000 ล้านดอลลาร์
สหรัฐฯได้
ดังนั้นจึงถึงเวลาแล้วที่ประชาชนทุกส่วนในสังคมไทยจะต้องร่วมมือกันประหยัดการใช้น้ำมันและพลังงานทุกรูปแบบอย่าง
จริงจังเสียตั้งแต่บัดนี้ โดยวิธีการที่ง่ายที่สุดก็คือการช่วยกันตัดทอนรายจ่ายค่าน้ำมันและไฟฟ้าที่ใช้กันอยู่ในแต่ละวันเพียงแค่ 10%จาก
ที่เคยใช้ในยามปกติประจำวัน ประเทศไทยก็จะสามารถลดการนำเข้าน้ำมันในปี 2547นี้ได้ถึง 1,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯเป็นอย่าง
ต่ำ หรือเท่ากับลดภาระประเทศไปได้ถึงปีละเกือบ40,000 ล้านบาทเลยทีเดียวและถ้าหากมีการรณรงค์ประหยัดการใช้น้ำมันกันอย่าง
จริงจังโดยพร้อมเพียงกัน ตัวเลขนำเข้าน้ำมันในปี 2547 ก็จะต่ำกว่าระดับ 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯตามที่หวั่นเกรงกันอยู่
ได้อย่างแน่นอน นอกจากนี้แล้ว ประชาชนยังจะต้องให้ความร่วมมือกับทางการในการใช้น้ำมันอย่างประหยัด เช่น ก่อนขับรถออก
จากบ้านก็ควรวางแผนการเดินทางให้ดี หาทางลัดหนีการจราจรติดขัดบนถนนสายหลัก ออกจากบ้านไปทำงานแต่เช้าตรู่เพราะถนนโล่งดี
การจราจรไม่ติดขัด หมั่นตรวจเครื่องรถยนต์อย่างสม่ำเสมอ ใช้ความเร็วรถตามที่กฎหมายกำหนด ในส่วนของทางการนั้นก็ได้มีการ
รณรงค์ประหยัดการใช้น้ำมันไป มากแล้ว แต่ก็ควรใช้ช่วงจังหวะนี้เร่งทำการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนให้ความร่วมมือกันให้หนักแน่น
และจริงจังมากยิ่งขึ้น โครงการรถไฟฟ้าใต้ดินที่ทำมาดีอยู่แล้วก็ต้องเงให้เปิดเดินรถให้เร็วขึ้นกว่ากำหนดการเดิม รวมทั้งการเร่งรัด
พัฒนาแหล่งพลังงานทดแทนที่รัฐบาลก็ได้เดินหน้าตามแผนงานอยู่แล้วก็ควรเร่งให้เร็วขึ้น ทั้งในด้านการพัฒนาแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรม
ชาติทั้งใต้ท้องทะเลและบนบก การเร่งรัดพัฒนาแหล่งถ่นหินลิกไนต์ ไฟฟ้าพลังน้ำจากเขื่อนต่างๆ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานชีวมวล
พลังงานความร้อนใต้พิภพ และพลังงานลม เป็นต้น--จบ--
-นท-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ