กรุงเทพฯ--3 ก.พ.--โฟร์ฮันเดรท
เป็นเวลานานมาแล้ว ที่ชาวสยามมีธรรมเนียมการหาโอกาสที่ดีให้บุตรสาวด้วยการอนุญาตให้เธอไปอยู่ในบ้านของคนที่มีฐานะทางสังคมสูงกว่า ในสมัยนั้นชาวสยามไม่เห็นคุณค่าของการศึกษา เมื่อสุภาพสตรีแห่งคณะมิชชั่นอเมริกาเริ่มเป็นมิตรต่อผู้คน เด็กหญิงเล็กๆ ก็ได้เข้าไปในบ้านของเธอ และรวมตัวกันเป็นที่เริ่มต้นโรงเรียนเด็กหญิงหลายคน อ่าน เขียน พูด ภาษาอังกฤษ เก่งจนเป็นที่กล่าวขวัญ
ในปี 1866 คณะมิชชั่นได้ตั้งสถานีย่อยขึ้นที่บริเวณวังหลัง หลังจากนั้นเป็นเวลาสี่ปีกว่า (รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ) มิสเตอร์จอร์จ จะซื้อที่ดินผื้นเล็กๆ และเริ่มสร้างบ้านตึกสองชั้น มีหกห้อง นับเป็นอาคารใหญ่โตราวกับวังทีเดียว เนื่องจากสุขภาพที่ไม่ดีทำให้มิสเตอร์จอร์จและภรรยา ตั้งลาออกจากงาน กลับไปอเมริกาก่อนที่ตึกจะสร้างเสร็จ
ดังนั้นคณะมิชชั่นจึงแต่งตั้งคุณหมอและมิสชั่นเฮาส์ควบคุมการก่อสร้างให้เสร็จและเธอได้จัดห้องชั้นบนไว้ให้เป็นโรงเรียนเด็กหญิง มิชชิสเฮ้าส์กลับไปอเมริกาเพื่อพักผ่อนและเปลี่ยนบรรยากาศ และไปปาฐกถาตามที่ต่างๆ เพื่อรับบริจาคเงินเพื่อทำตึกพร้อมทั้งอุปกรณ์ให้สำเร็จ เธอได้รับเงินบริจาคคราวสามพันกว่าเหรียญเพื่อสร้างโรงเรียน มิตรของเธอให้สหรัฐเรียกโรงเรียนนี้ว่า Harriet M.House’s School For Girls
ดังนั้น ในปี 1874 โรงเรียนประจำสตรีแห่งแรกในสยามก็ได้รับการจัดตั้งขึ้น มีนักเรียนเล็กประมาณ 10-15 คน เด็กเหล่านั้นทั้งหมด เป็นเด็กที่คณะมิชชันนารีได้เคยสอนมาในบ้านของตนเอง ดังนั้นโรงเรียนเล็กนี้ก็เริ่มต้นขึ้น ชาวสยามเชื่อถือไว้วางใจในตัวมิชชัสเฮาส์มากและเป็นที่นิยมมาก เด็กหญิงหลายคนจากครอบครัวสูงศักดิ์ ถูกส่งมาศึกษาที่นี่ ไม่นานสุขภาพของมิชชิสเฮ้าส์ทรุดโทรมลงมากในปี 1877 เธอจำใจที่จะมอบให้คนอื่นมาดูแลงานเกี่ยวกับการศึกษาของสตรีในสยามที่เธอได้ฟูมฟักมา เมื่อแหม่มเฮ้าส์กลับไป กิจการโรงเรียนที่ย่ำแย่เต็มที
แต่เมื่อสิ้นปี 1885 มิชชันนารีรุ่นเยาว์ มิสเอ็ดน่า เซระห์ โคล หรือที่วัฒนาเรียนท่านว่า แหม่มโคล ท่านเขียนไว้ว่า “เธอได้รับอนุญาตให้รับเอาลูกกำพร้าเล็กและอ่อนแอไปเลี้ยงดูเป็นเวลาสิบปีจนเติบใหญ่แข็งแรง” ท่ายเคยเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรว่า
“ เป้าหมายของโรงเรียนตั้งแต่ต้น คือ การมอบโอกาสให้เด็กหญิงชาวสยามได้รับการศึกษาสูงที่สุดเท่าที่มีอยู่ในประเทศสยามอันเป็นอุดมคติอันแท้จริงในโลกของสถานะแห่งสตรี ในฐานะมารดาและผู้ดูแลบ้าน ในด้านนี้ วิชาศิลปะการครองเรือนจึงถูกเพิ่มเข้าไปในหลักสูตรด้วย...”
เมื่อแหม่มโคลบริการงานโรงเรียนกุลสตรีวังหลังได้ระยะใหญ่ ท่านก็เป็นที่ยอมรับในทุกวงการทุกระดับสังคม ทุกปีจะมีเด็กที่โรงเรียนต้องปฏิเสธ ไม่สามารถรับเข้าเรียนได้เนื่องจากสถานที่จำกัด สวนใหญ่จะเป็นนักเรียนต่างจังหวัด ท่านจึงคิดขยับขยายหาที่ย้ายโรงเรียนใหม่
พระอาจวิทยาคม (ยอร์ช. บี แมคฟาร์แลนด์) อาจารย์โรงเรียนแพทย์ ได้ซื้อที่แปลงนี้ไว้จากพระศิริไอสวรรย์ เพื่อช่วยให้หลวงวิฆเนตร ลูกศิษย์ของท่านได้รับค่านายหน้า ท่านเสนอขายที่ดินทุ่งบางกะปิแห่งนี้ ในราคาต่ำกว่าทุน มิสโคลรับซื้อที่ดินแปลงนี้ด้วยเงินรายได้จากการออกร้านในงานฤดูหนาวที่จัดขึ้นประจำทุกปี ที่โรงเรียนวังหลัง ท่านที่ทำการระดมเงินทุนด้วยเงินบริจาคเพื่อสร้างตึกเรียน ซึ่งมีผู้รับเหมาตีราคาไว้ 75,000 บาท
เงินบริจาคนี้มาจากคุณทุกหมู่เหล่า ทุกชนชั้น ตั้งแต่พระบรมศานุวงศ์ จนถึงคนธรรมดา มิสโคลซาบซึ้งกับเงินจำนวนนี้ทุกบาททุกสตางค์ ที่มีส่วนทำให้การสร้างสัมฤทธิผล ตึกเรียนสร้างขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1919
แล้วเสร็จสิ้นเมื่อปี พ.ศ. 2464 (ค.ศ. 1921) พร้อมกับการย้ายโรงเรียนมาจากวังหลัง มิสโคล ตั้งชื้อใหม่ว่า “โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย” ซึ่งแปลว่า “โรงเรียนชั้นสูง” และหลังจากนั้น ท่านก็ซื้อบางส่วนบางแปลงด้วยเงินส่วนตัวของท่านเอง และได้รับบริจาคเพิ่มเติมจากพระอาจวิทยาคมอีก เมื่อท่านกลับไปแล้ว แหม่ม เบล้านท์ อาจารย์ใหญ่ท่านถัดมาก็ได้ซื้อที่ดินเพิ่มเติมเพื่อรักษาความเป็นส่วนตัวของโรงเรียน รวมแล้วอาจารย์ใหญ่ทั้งสองท่านได้รวบรวมที่ดินให้โรงเรียนไว้ได้ถึง 12 โฉนด
ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นเคยบุกยึดโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัยใช้ตึกเรียนเป็นโรงพยาบาล มีหลักฐานปรากฏ คือ ห้องมุมทางด้านเหนือของอาคาร ซึ่งเคยเป็นที่ทำงานของอาจารย์วรรณดี คันธวงค์ (อดีตผู้อำนวยการโรงเรียน) ได้ถูกลาดเป็นพื้นซีเมนต์พอสันนิษฐานได้ว่าเพื่อดัดแปลงเป็นห้องศัลยกรรมต่างๆ ที่ต้องใช้น้ำ และเนื่องจากอาคารหลังนี้เคยสะดวกและใหญ่ที่สุดในพระนคร จึงเคยได้รับใช้ทั้งกิจการของคริสตจักรและทางราชการ
จวบจนปัจจุบันนี้ อาคารแห่งนี้มีอายุน้อยกว่า 92 ปี สภาพทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ทางโรงเรียนได้ปิดการใช้งาน ในการนี้มีสมาคมศิษย์วังหลัง-วัฒนา
พร้อมด้วยโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย และสมาคมผู้ปกครองและครูโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัยรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้มีส่วนร่วมการบอกเล่าประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ของชาววัฒนา ผ่านการแสดงละครเพลงประกอบการแสดง แสง เสียง เรื่อง “ ดอกไม้แห่งสยาม” ซึ่งจะนำเสนอเรื่องราวความมุ่งมั่นของมิสเอ็ดน่า เซระห์ โคล และคณาจารย์มาบรรยายเป็นละครเพลงผสานบทเพลงไพเราะจากคณะนักร้องประสานเสียงของศิษย์ปัจจุบันและศิษย์เก่าจากวัฒนาวิทยาลัยสี่คณะ นับเป็นที่สุดแห่งความภาคภูมิใจของชาววัฒนา
6 ตัวละคร ดอกไม้แห่งสยาม
ลอร่า ศศิธร วัฒนกุล เป็น มิสเอ็ดน่า เซร่ะห์ โคล
ท่านเป็นมิชชันนารีที่มาอยู่ในประเทศไทยนานถึงสี่สิบกว่าปี อุทิศตนให้กับการศึกษาของเด็กหญิงชาวสยามอย่างต่อเนื่อง เป็นนักการศึกษาที่เห็นการณ์ไกล และได้สร้างให้โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัยเป็นปึกแผ่นมั่นคง
วงศกร รัศมิทัต เป็น พระอาจวิทยาคม หรือ ยอร์ช แมคฟาร์แลนด์
พระอาจวิทยาคม (ยอร์ช บี. แมคฟาร์แลนด์) 1 ธันวาคม พ.ศ. 2409 - 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2485 แพทย์ใหญ่โรงพยาบาลศิริราช บิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันและอิฐก้อนแรกของโรงเรียนแพทย์ ผู้เผยแพร่และค้นคว้าเครื่องพิมพ์ดีดให้เป็นภาษาไทยคนแรก ผู้เรียบเรียงตำราแพทย์และเริ่มบัญญัติศัพท์แพทย์ขึ้นใช้เป็นคนแรก
พระอาจวิทยาคมเป็นชาวกรุงเทพ เกิดที่บ้านหมอบรัดเลย์ ปากคลองบางกอกใหญ่ เป็นบุตรของศาสตราจารย์ เอส. จี. และนางเจนนี แมคฟาร์แลนด์ เริ่มเรียนหนังสือที่โรงเรียนสวนอนันต์ที่บิดาเป็นครูใหญ่ เมื่ออายุ 17 ปี ก็จบการศึกษามาเป็นครูช่วยบิดาสอนหนังสืออยู่ 2 ปีจึงได้เดินทางไปศึกษาต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อ พ.ศ. 2427 สำเร็จปริญญาอักษรศาสตร์บัณฑิต พ.ศ. 2429 ได้ปริญญาแพทยศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตใน พ.ศ. 2433 จากนั้นได้เข้าศึกษาต่อด้านศัลยกรรมและทันตกรรมจนได้รับปริญญาทันตแพทยศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตอีกปริญญาหนึ่ง
พระอาจวิทยาคมเดินทางกลับประเทศไทยใน พ.ศ. 2434 และได้รับการแต่งตั้งเป็นนายแพทย์ใหญ่ศิริราชพยาบาลในปีต่อมานั้นเอง ซึ่งในขณะนั้น แพทย์พยาบาลอีกทั้งเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ทางการแพทย์ยังไม่พร้อม และยิ่งไปกว่านั้นคนไทยก็ยังไม่ยอมเข้ารักษาด้วยการแพทย์แผนปัจจุบันอีกด้วย พระอาจวิทยาคมจึงลงไปได้ ท่านได้ริเริ่มเรียบเรียงตำราแพทย์และบัญญัติศัพท์แพทย์ขึ้นใช้ในการสอนและการปฏิบัติงาน นอกจากนี้ยังเป็นผู้นำอุปกรณ์การสอนที่เป็นเครื่องฉายกระจกสไลด์มาใช้เป็นคนแรก พระอาจวิทยาคมได้ปฏิบัติหน้าที่ทั้งการเป็นแพทย์และการเป็นครูจนคนทั่วไปเรียกว่า "หมอยอร์ช" และได้รับการยกย่องในขณะนั้นว่าเป็นบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบันมีสมญาว่าเป็นอิจก้อนแรกของโรงเรียนแพทย์อีกด้วย
พระอาจวิทยาคมลาออกจากราชการเมื่อ พ.ศ. 2469 และได้มีส่วนในการย้ายโรงเรียนกุลสตรีวังหลังไปตั้งที่โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัยในปัจจุบัน ได้ให้การช่วยเหลือสนับสนุนด้านการเงินสำหรับจัดตั้งโรงเรียนเยนเฮส์เมโมเรียลเพื่ออุทิศให้แก่มารดา ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ประมาณ พ.ศ. 2480 ก็ได้แต่งประทานุกรมภาษาไทย-อังกฤษออกเผยแพร่ด้วย
พระอาจวิทยาคม สมรสกับนางสาวแมรี่ ไอนา รู้ด และนางสาวเบอรธา เบลานท์ ไม่มีบุตรธิดา ท่านได้ดำรงชีวิตมาอย่างสงบและถึงแก่กรรมเมื่อสิริอายุ 75 ปีเศษ
ทัชชา จำเนียรไวย เป็นคุณครูอุมา เปศลชีวี
เป็นนักเรียนวัฒนารุ่นแรกที่จบการศึกษาที่วัฒนาวิทยาลัย ได้สอนในหลายระดับชั้น แต่ที่สอนอยู่นานที่สุด คือชั้นเด็กเล็ก ท่านได้เคยไปเยี่ยมพี่สาวที่เยอรมันในปี 2478 และได้ดูวิธีการสอนที่นั่น และซื้ออุปกรณ์การสอนกลับมาด้วยจำนวนมาก ทำให้ชั้นอนุบาลของโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัยมีวิธีการสอนที่ทันสมัยยิ่งขึ้น
ท่านเป็นคนที่รักโรงเรียนและในช่วงสงครามได้เสียสละนำเครื่องประดับส่วนตัวไปขาย เพื่อนำมาใช้เป็นค่าใช้จ่ายในโรงเรียน
นาตาลี เจียรวนนท์ เป็นคุณครูสุวรรณ สวัสดิลักษณ์ (นางวิภาชน์วิทยาสิทธ์)
คุณครูเป็นนักเรียนวังหลัง เมื่อเรียนจบชั้นสูงสุดแล้วก็เข้าเป็นครูในโรงเรียนอยู่นานถึง 21 ปีจึงลาออกไปสมรสกับพระวิภาชน์วิทยาสิทธิ์ ในระหว่างที่เป็นครูอยู่คุณครูเป็นคนที่แหม่มโคลไว้วางใจมาก และท่านได้แนะนำพวกมิชชันนารีให้เข้าใจขนบธรรมเนียมของชาวสยาม ซึ่งทำให้ไม่เกิดปัญหาในการปฏิบัติงาน และโรงเรียนเจริญรุ่งเรืองมาได้
ประดิชญา จุรีเกษ เป็นมิสคิลแพทริก
ท่านจบการศึกษาปริญญาตรี (B.A.)จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด และปริญญาโท (M.A.)จากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย แล้วจึงเป็นมิชชันนารีมาอยู่ในประเทศไทย ร่วมงานกับมิสโคลที่โรงเรียนวังหลัง และช่วยขนย้ายมาที่วัฒนาวิทยาลัย มิสคิลแพทริกเป็นผู้ดูแลให้ครูเตรียมการสอนรวีวารศึกษา (Sunday School — ชั้นเรียนศาสนาวันอาทิตย์) ในเทศกาลคริสต์มาสก็เป็นผู้เตรียมงานฉลองให้เด็ก และตัดเย็บเสื้อผ้าแจกเด็กที่ขัดสน
ในโรงเรียนท่านสอนภาษาอังกฤษ ประวัติศาสตร์ และสังคม สอนบาสเก็ตบอลให้นักเรียนวัฒนาจนพาทีมไปเล่นแข่งขันผูกไมตรีกับโรงเรียนสตรีอื่นๆได้
วสุธิดา ปุณวัฒนา เป็นอาจารย์อายะดา กีรินกุล
ท่านเริ่มต้นเรียนหนังสือที่โรงเรียนวังหลัง และมาสำเร็จการศึกษาที่โรงเรียนวัฒนา เป็นนักเรียนที่จบชั้นมัธยมบริบูรณ์ชายรุ่นแรก (ในสมัยก่อน นักเรียนหญิงจบชั้นมัธยม 6 ถือว่าจบมัธยมบริบูรณ์ ในขณะที่นักเรียนชายต้องจบชั้นมัธยม 8) เมื่อกระทรวงธรรมการเปิดโอกาสให้นักเรียนสอบชั้นมัธยมบริบูรณ์ชายได้ โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัยได้ส่งนักเรียนเข้าสอบทันที และนักเรียนที่เข้าสอบ 13 คนนั้น สอบได้ 12 คน
อาจารย์ได้เป็นครูในโรงเรียนอยู่ห้าปีก่อนที่จะไปเรียนต่อในคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในสมัยสงคราม อาจารย์ได้รับแต่งตั้งเป็นอาจารย์ใหญ่ (Principal) ซึ่งเป็นตำแหน่งของมิชชันนารี ท่านได้ย้ายโรงเรียนไปอยู่ที่โรงเรียนจีน ยกหมิ่นกงสวย และแก้ไขปัญหาจนโรงเรียนสามารถเปิดดำเนินการได้อีกครั้ง ผลงานชิ้นนี้ทำให้คณะครูโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัยได้รับรางวัลจากรัฐบาลในฐานะที่ดำเนินชีวิตตามปกติในช่วงสงคราม เป็นเงินคนละสองหมื่นบาท