กรุงเทพฯ--20 ก.พ.--กระทรวงวัฒนธรรม
นางสุกุมล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า กระทรวงวัฒนธรรมได้ดำเนินการโครงการแลกเปลี่ยนระดับประชาชนเพื่อส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมระหว่างอาเซียนและจีนในระดับรากหญ้า (People-to-People Exchange Programme to Promote ASEAN-China Cultural Interactions at the Grassroots) ในโอกาสครบรอบ ๑๕ ปี แห่งความสัมพันธ์อาเซียนกับประเทศจีน ตามมติในที่ประชุมคณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยวัฒนธรรมและสนเทศ (ASEAN-COCI) ครั้งที่ ๔๓ ซึ่งกระทรวงวัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ร่วมกับกรมวัฒนธรรมแห่งมณฑลยูนนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน จัดโครงการขึ้น ระหว่างวันที่ ๑๕ — ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ในประเทศไทย และระหว่างวันที่ ๒๒ — ๒๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ที่ มณฑลยูนนาน ประเทศจีน โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการจากประเทศอาเซียน ๑๐ ประเทศ และจีน รวม ๑๑ ประเทศ ประเทศละ ๕ คน ประกอบด้วย หัวหน้าคณะผู้แทนแต่ละประเทศ ๑ คน ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปหัตถกรรม ๑ คน และช่างศิลปหัตถกรรม ๓ คน จะเข้าร่วมกิจกรรมศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์และการพัฒนาหัตถกรรมพื้นบ้าน
นางสุกุมล กล่าวอีกว่า คณะผู้เข้าร่วมโครงการจะได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กิจกรรมต่างๆ ทั้งแบบดั้งเดิมและร่วมสมัย ประกอบด้วย การปาฐกถาการส่งเสริมและพัฒนางานหัตถกรรมและมีการนำเสนอผลงานของช่างหัตถกรรมจากประเทศสมาชิกอาเซียนและจีน รวมถึงชมกิจกรรมการเรียนการสอนด้านหัตถกรรมของไทย ได้แก่ หุ่นกระบอก จากบ้านตุ๊กกะตุ่นหุ่นกระบอกไทย ชมสวนศิลป์บ้านดิน และชมสาธิตการทำเครื่องถ้วยเบญจรงค์ และพิพิธภัณฑ์เครื่องถ้วยเบญจรงค์ เป็นต้น ทั้งนี้ การจัดโครงการฯดังกล่าว จะได้สร้างการเข้าใจอย่างลึกซึ้งในเอกลักษณ์ของภูมิภาคและการเรียนรู้ทางวิชาการที่ช่วยสร้างความเชื่อมโยงทางวัฒนธรรม ก่อให้เกิดความเข้มแข็งทา งมรดกวัฒนธรรมร่วมกัน ถือเป็นการเสริมสร้างมิตรภาพและความเข้าใจ อันดีระหว่างประชาชน ในระดับรากหญ้าของกลุ่มประเทศอาเซียนและจีน อีกด้วย ซึ่งหลังจากนี้คณะผู้เข้าร่วมโครงการจะเดินทางไปร่วมกิจกรรมศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์และการพัฒนาหัตถกรรมพื้นบ้าน ณ มณฑลยูนนาน ประเทศจีนต่อไป
ในครั้งนี้จะได้นำคณะไปดูงานแหล่งหัตถกรรมที่แสดงความเป็นเอกลักษณ์ของไทยอย่างชัดเจน นับเป็นการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและกระชับความสัมพันธ์ โดยประเทศสมาชิกอาเซียนได้นำศิลปหัตถกรรมมาจัดแสดง เช่น งานผ้า งานช่างฝีมือ เพื่อแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมที่มีความคล้ายคลึงกัน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือและเรียนรู้ซึ่งกันและกัน สำหรับในส่วนของไทยเองก็มีงานหัตถกรรมที่แสดงถึงเอกลักษณ์ความเป ็นไทยแบบดั้งเดิม อย่างเช่นงานลงรัก ต้องมีการฟื้นกลับคืนมา เนื่องจากศิลปินก็มีน้อยลง สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องให้การสนับสนุน ในส่วนของการเดินทางไปประเทศจีนซึ่งมีแหล่งวัฒนธรรมมากมาย ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดี ที่ประเทศอาเซียนจะได้เรียนรู้อารยธรรมที่มีอยู่อย่างยาวนาน ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม กล่าว