กรุงเทพฯ--20 มี.ค.--มีเดีย แพลนเนอร์ คอนซัลแทนท์
4 ตัวแทนนักศึกษาไทย โครงการปริญญาโท คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี สาขาการตลาด ภาคภาษาอังกฤษ ( MIM ) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คว้าแชมป์ ASIA VENTURE CHALLENGE 2012 พิชิตการวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจเหนือคู่แข่ง ระดับภูมิภาคเอเชีย รับเงินรางวัล มูลค่ากว่า 10,000 เหรียญสหรัฐ เตรียมปรับแผนธุรกิจในเชิงลึก ลัดฟ้ามุ่งสู่เวทีการประกวดแข่งขันแผนธุรกิจระดับโลก Venture Labs Investment Competition (VLIC)เดือนพฤษภาคมนี้ ณ มลรัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา
ปิดฉากลงแล้วสำหรับการจัดแข่งขัน “ ASIA VENTURE CHALLENGE 2012” เวทีที่มุ่งพัฒนาผู้ประกอบการ และเพิ่มนักบริหารธุรกิจเอเชียรุ่นใหม่ ที่มีศักยภาพในอนาคต ซึ่งเป็นเวทีที่เปิดกว้างให้นักศึกษาบริหารธุรกิจจากมหาวิทยาลัยชั้นนำทั่วเอเชีย ได้นำเสนอแผนธุรกิจต่อผู้ลงทุนเพื่อการลงทุนจริงหรือที่เรียกว่า Investment Competition ซึ่งจะช่วยสนับสนุนคนรุ่นใหม่ ให้รู้จักกระบวนการทางความคิด เพื่อพัฒนาการออกแบบและวางแผนธุรกิจ ที่สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการทำงานในอนาคตต่อไป ในขณะเดียวกัน ยังเป็นการแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ ระหว่างทีมผู้เข้าแข่งขันจากระดับนานาชาติ รศ.ดร.กุลภัทรา สิโรดม คณบดี คณะพาณิชยศาสตร์ และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์(มธ.) เปิดเผยว่า เวทีสานฝันคนรุ่นใหม่ เพื่อก้าวเข้าสู่การวางแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจระดับโลก ภายใต้โครงการ ASIA VENTURE CHALLENGE ถือว่าประสบความสำเร็จ และปิดฉากลงอย่างสวยงาม จากตัวแทนนักศึกษาปริญญาโท ที่ผ่านการคัดเลือกจากมหาวิทยาลัยชั้นนำ 7 ประเทศทั่วภูมิภาคเอเชีย จำนวน 11 ทีมผู้เข้าแข่งขัน ได้แก่ ฮ่องกง อินเดีย เกาหลี สิงคโปร์ ไต้หวัน ฟิลิปปินส์ และไทย ที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพ และความสามารถ ของเยาวชนรุ่นใหม่ ที่เริ่มเรียนรู้การวางแผนเชิงธุรกิจ เพื่อก้าวขึ้นสู่การเป็นมืออาชีพทางด้านผู้ประกอบการ ผ่านการนำเสนอแผนทางธุรกิจ โดยการนำเอาวิธีคิด การศึกษาบทวิจัย มาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับการดำเนินธุรกิจบนโลกปัจจุบัน
โดยทั้ง11 ทีม มีการนำเสนอไอเดียที่น่าสนใจและแตกต่างกันออกไป ซึ่งเป็นที่สนใจของคณะกรรมการผู้ทรงเกียรติและทรงคุณวุฒิ อาทิ นักธุรกิจชั้นนำ รวมถึงตัวแทนผู้ลงทุน เป็นจำนวนมาก ซึ่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นอกจากจะเป็นเจ้าภาพในการจัดโครงการนี้ ร่วมกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแล้ว ยังส่งตัวแทนนักศึกษา คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี สาขาการตลาด ภาคภาษาอังกฤษ ( MIM )เข้าร่วมการแข่งขันเช่นเดียวกัน และก็ถือว่าเป็นที่น่ายินดีที่สุด ที่การแข่งขันในครั้งนี้ ตัวแทนธรรมศาสตร์ ภายใต้ทีม ชื่อ INNOPHENE ซึ่งประกอบด้วย นายติระวินท์ เย็นประทีป ,นางสาวแพรว กระตุฤกษ์ , นางสาวสุธิดา ไพศาลเฟื่องฟุ้ง , นางสาวธันยธร ปลื้มมนัส และ นางสาววราพรรณ ทวีสกุลรัตน์ โดยสามารถพิชิตชัยชนะการแข่งขันแผนธุรกิจ ระดับเอเชีย2012 ( ASIA VENTURE CHALLENGE 2011 Winner) ซึ่งเป็นการคว้าชัยชนะเหนือผู้เข้าแข่งขันจากมหาวิทยาลัยอื่นๆ โดยคว้าเงินรางวัล จำนวนมูลค่ากว่า 10,000 เหรียญสหรัฐ และชัยชนะในครั้งนี้ ถือว่าเป็นชัยชนะที่ธรรมศาสตร์ คว้ารางวัลชนะเลิศเป็นระยะเวลาติดต่อกัน 3 ปีซ้อน (นับตั้งแต่ปี 2553 จนถึงปัจจุบัน) ซึ่งเป็นการสร้างชื่อให้กับประเทศไทย เนื่องจากทีมผู้ชนะจะต้องเดินทางไปประกวดแข่งขันแผนธุรกิจระดับโลก Venture Labs Investment Competition (VLIC) ช่วงเดือนพฤษภาคม 2555 ณ มลรัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา
รศ.ดร.กุลภัทรา กล่าวอีกว่า การแข่งขัน ASIA VENTURE CHALLENGE ในทุกๆครั้ง สิ่งที่เป็นหัวใจหลักของการแข่งขัน นอกเหนือจากการเสนอแนวคิดทางธุรกิจใหม่ๆ ให้สามารถนำมาใช้ได้จริงแล้ว เรื่องของภาวะความเป็นผู้นำในตัวเอง ก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน เพราะภาวะความเป็นผู้นำของแต่ละคน จะเป็นแรงผลักดันและขับเคลื่อนให้การแข่งขันแต่ละรอบเป็นไปตามแผนและกลยุทธ์ที่วางไว้ ดังนั้นจากคอนเซ็ปต์ ในปีนี้ที่ว่า ภาวะผู้นำ” แรงผลักดันสู่การเติบโตเหนือคู่แข่ง (Growing Ventures Beyond the Competition — The Leadership Factor )จึงนำมาใช้ในการแข่งขันครั้งนี้ได้เป็นอย่างดี
ด้านตัวแทนนักศึกษา ทีม INNOPHENE กล่าวว่า รู้สึกดีใจที่สามารถคว้ารางวัลชนะเลิศ การแข่งขันประกวดแผนธุรกิจ ASIA VENTURE CHALLENGE 2012 ในครั้งนี้ เพราะนอกจากจะเป็นการสร้างชื่อเสียงให้ประเทศ จากการแข่งขันเชิงวิชาการแล้ว ที่สำคัญยังได้เป็นตัวแทนของประเทศไทย และภูมิภาคเอเชีย ในการเข้าไปแข่งขันประกวดแผนธุรกิจระดับโลก Venture Labs Investment Competition (VLIC) ณ มลรัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา ช่วงเดือนพฤษภาคมนี้ด้วย
สำหรับแผนที่ใช้ในการแข่งขันในครั้งนี้ เราได้นำเสนอภายใต้แผน Innophene Co. Ltd. is an innovator in the field of Graphene conductive ink technology.We can make RFID tags cheaper, allowing businesses to use them like never before (นวัตกรรมหมึกนำไฟฟ้าที่ทำจากกราฟีน สามารถลดต้นทุนการผลิตในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิค เช่น RFID ทำให้เกิดการแผร่หลายในอุตสาหกรรมมากขึ้น)โปรเจกต์ดังกล่าวได้ผ่านการทดลอง และ สามารถนำไปใช้ได้จริงแล้ว ซึ่งหลังจากที่ชนะการแข่งขัน AVC ในครั้งนี้ ทุกคนในทีม จะนำแผนดังกล่าวมาแก้ไขและปรับปรุง ตามที่คณะกรรมการได้แนะนำมา เพื่อที่จะนำมาพัฒนาแผนการนำเสนอให้ดีขึ้น ก่อนที่จะเดินทางไปแข่งขันประกวด VLIC
“ การที่ทีม INNOPHENE ได้รับรางวัลชนะเลิศในครั้งนี้ ยอมรับว่าพวกเรามีการเตรียมตัวฝึกซ้อมมาเป็นอย่างดี และได้คณะอาจารย์ให้คำปรึกษาในทุกๆเรื่อง ซึ่งระยะเวลา9 เดือนที่ผ่านมาของการเตรียมความพร้อม จนถึงวันแข่งขัน ถือว่าคุ้มค่ากับสิ่งที่ได้รับ และภายในช่วงเดือนพฤษภาคมนี้ จะเดินทางไปแข่งขันแผนธุรกิจบนเวทีโลก
ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งความท้าทาย และประสบการณ์ที่หาซื้อไม่ได้ และเราก็จะพยายามคว้าชัยชนะ บนเวที VLIC ที่มลรัฐเท็กซัส เพื่อที่จะไปลั่นระฆัง เปิดตลาดหุ้น NASDAQ ที่นิวยอร์กให้ได้ ” ตัวแทนนักศึกษา กล่าว
ข้อมูลเพิ่มเติม
ทีมที่คว้ารางวัล ASIA VENTURE CHALLENGE 2012 First Runner-up คือทีม Fluetube Technology จากมหาวิทยาลัย Nanyang Technological University ประเทศ Singapore ได้รับเงินรางวัล จำนวน 2500 เหรียญสหรัฐ ภายใต้แผนประกวด An innovative process carrying a provisional patent developed by the team to produce high quality carbon-nanotubes by capturing carbon emissions from factories and industries, to be commercialized by licensing the technology on a revenue sharing model. (นวัตกรรมลิขสิทธิ์ในการผลิต Carbon Nanotubes จากก๊าซคาร์บอนที่ปล่อยออกมาของโรงงานต่างๆ ซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการอย่างมากในอุตสาหกรรมโลหะ ชนิดต่างๆอาทิเช่น แผงวงจรไฟฟ้า แบตเตอร์รี่)
และทีมได้รับรางวัล ASIA VENTURE CHALLENGE 2012 Finalist ได้รับเงินรางวัล จำนวน 1000 เหรียญสหรัฐ มี 2 ทีม ได้แก่ ทีม ENTSIM Asia จากมหาวิทยาลัย Indian School of Business ประเทศIndia ภายใต้แผน Developing a simulation platform for ear, nose and throat surgeries. Can be used for training medical students and surgical planning. (อุปกรณ์จำลองแบบดิจิตอลเพื่อฝึกฝนการตรวจ และรักษาโรคที่เกี่ยวกับ หู จมูก และคอ สำหรับนักเรียนแพทย์)
และทีมTegler&Urlene จากSasin Graduate Institute ภายใต้แผน Alternative energy provider using thermoelectric technology. We will initially apply our product to measuring device s where wired connections are not reliable or available. (แหล่งพลังงานทดแทนโดยใช้ความร้อน สามารถนำไปติดตั้งใช้งานได้ในบริเวณที่ไม่มีสายไฟหรือชำรุด)