(ต่อ5): วอร์เนอร์ บราเดอร์ส พิกเจอร์ส ภูมิใจเสนอ TROY

ข่าวทั่วไป Thursday April 29, 2004 11:10 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--29 เม.ย.--วอร์เนอร์ บราเดอร์ส พิกเจอร์ส
เดวิด เบนิออฟ (ผู้เขียนบทภาพยนตร์) ดัดแปลงบทภาพยนตร์เรื่องแรกของเขาจากนิยายชองตนเอง The 25th Hour ซึ่งผู้กำกับฯ สไปค์ ลี ได้ทำให้กลายเป็นหนังที่ได้รับคำชมอย่างมาก นำแสดงโดย เอ็ด นอร์ตัน และ ไบรอัน ค็อกซ์ บทภาพยนตร์ที่ได้รับการสร้างเป็นภาพยนตร์เรื่องที่สามของเขา Stay กำกับการแสดงโดย มาร์ค ฟอร์สเตอร์ และนำแสดงโดย อีวาน แมกเกรเกอร์ และนาโอมิ วัตส์ เพิ่งจบการถ่ายทำเมื่อไม่นานนี้
ชาวนิวยอร์คแต่กำเนิดผู้นี้ เคยผ่านการทำงานที่หลากหลายมาก่อน รวมทั้ง ผู้ดูแลพวกก่อกวนไนท์คลับ เคยเป็นครูสอนภาษาอังกฤษ และ ดีเจรายการวิทยุ ก่อนเริ่มขายนิยายของเขาเมื่อปี 2000 และสำนักพิมพ์ Viking จะตีพิมพ์คอลเล็คชั่นผลงานหลายเรื่องของเขา When The Nines Roll Over ในเดือนตุลาคม ปี 2004
ขณะนี้ เบนิออฟกำลังอยู่ระหว่างการเขียนบทดัดแปลงในชื่อ Right As Rain ให้กับผู้กำกับฯ เคอร์ติส แฮนสัน หลังจากที่เขาได้เริ่มเขียนสคริปท์เรื่อง For Whom The Bell Tolls
โรเจอร์ แพรตต์ BSC (ผู้ถ่ายทำภาพยนตร์) ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลตุ๊กตาทองจากผลงานของเขาในหนังของนีล จอร์แดน เรื่อง End of the Affair ซึ่งได้นำมาซึ่งการถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล BAFTA ครั้งที่หนึ่งในสองครั้งของเขา เขาได้เข้าชิงรางวัล BAFTA ตัวที่สองจากเรื่อง Chocolat ซึ่งทำให้เขาได้เข้าชิงรางวัลตัวที่สามในจำนวนสามครั้งของเขาจาก British Society of Cinematographers ล่าสุดเขายังได้เป็นผู้กำกับภาพให้กับ Harry Potter and the Chamber of Secrets
แพรตต์โตขึ้นมาในแถบบริติช มิดแลนด์ส เขาเป็นบุตรชายของรัฐมนตรี เขาเริ่มมีความสนใจงานภาพยนตร์ตั้งแต่ยังเด็ก และได้รับปริญญาจาก London Film School เขาเริ่มต้นการทำงานด้วยงานโฆษณาและสารคดี จากนั้นก็ได้ทำงานในภาพยนตร์ชิ้นแรก ในตำแหน่งผู้ช่วยตากล้อง ในเรื่อง My Childhood เมื่อปี 1972 เขาได้ทำงานเป็นผู้ออกแบบการจัดแสง และผู้ควบคุมกล้อง ก่อนที่จะเป็นผุ้ถ่ายทำภาพยนตร์ในเรื่อง The Dollar Bottom ในปี 1981 ซึ่งได้รับรางวัลออสการ์ในสาขา Best Short Subject
ตอนกลางทศวรรษที่ 1970 แพรตต์เริ่มต้นการทำงานที่ยาวนานของเขากับผู้กำกับฯ แทอรี่ กิลเลียม ซึ่งนำไปสู่การทำงานถ่ายทำภาพยนตร์ของเขาในเรื่อง The Crimson Permanent Assurance และในส่วนของมอนตี้ ไพธอน เรื่อง The Meaning of Life ในปี1983 ละเป็นผู้กำกับภาพให้กับหนังของกิลเลียมเรื่อง Brazil ในปี 1985 ผลงานเรื่องอื่นๆ ของแพรตต์ ในฐานะผู้ถ่ายทำภาพยนตร์ ได้แก่ The Fisher King, 12 Monkeys, Shadowlands, Mary Shelley's Frankenstein, Mona Lisa, Batman และ 102 Dalmatians แพรตต์เป็นสมาชิกแห่ง British Society of Cinematographers (BSC)
ไนเจล เฟลฟส์ (ผู้ออกแบบฝ่ายศิลป์) เริ่มการทำงานกับผู้ออกแบบฝ่ายศิลป์เจ้าของรางวัลตุ๊กตาทอง แอนตัน เฟิร์สท เขาเริ่มด้วยการเป็นผู้วาดแบบในหนังของ นีล จอร์แดน เรื่อง Company of Wolves และต่อมาในตำแหน่งผู้ช่วยผู้กำกับศิลป์ในหนังของ สแตนลีย์ คูบริค เรื่อง Full Metal Jacket ต่อมาเฟลฟส์ได้เลื่อนตำแหน่งไปเป็นผู้กำกับศิลป์ให้กับ มร. เฟิร์สท ในหนังของทิม เบอร์ตัน เรื่อง Batman
ไม่นานหลังจากนั้น เฟลฟส์ก็ย้ายไปลอสแอนเจลิส และเริ่มออกแบบงานมิวสิควิดีโอและงานโฆษณาชั้นนำ ให้กับผู้กำกับฯ ไฟแรงหลายคน รวมทั้ง มาร์ค โรแมเนค, อเล็กซ์ โพรยาส์ และ ไมเคิล เบย์ งานนี้ทำให้เฟลฟส์ได้เข้าชิงหลายรางวัลจาก MTV Video Awards ผลงานออกแบบฉากในหนังเรื่องแรกของเขามาถึงพร้อมกับหนังไซไฟอนาคต เรื่อง Judge Dredd ผลงานหนังเรื่องต่อๆ มา ได้แก่ Alien Resurrection กับผู้สร้างชาวฝรั่งเศสชื่อดัง ฌอง ปิแอร์ จูเน็ท และ The Bone Collector กับฟิลลิป นอยซ์ เขากลับมาร่วมงานอีกครั้งกับนีล จอร์แดน ในเรื่อง In Dreams และต่อมาได้ออกแบบให้กับ ไมเคิล เบย์ ในหนังเรื่องราวตำนานทหาร เรื่อง Pearl Harbor ใหกับผู้อำนวยการสร้าง เจอรี่ บรัคไฮเมอร์
ปีเตอร์ โฮเนส A.C.E. (ผู้ลำดับภาพ) ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลตุ๊กตาทองจากผลงานของเขาในเรื่อง L.A. Confidential ซึ่งเขาได้รับรางวัล BAFTA Award สาขา Best Editing ล่าสุดเขาได้ตัดต่อเรื่อง Harry Potter and the Chamber of Secrets ซึ่งเป็นตอนที่สองของภาพยนตร์แฟนตาซีเรื่องฮิตของวอร์เนอร์ บราเดอร์ส
โฮเนสเริ่มการทำงานในวงการภาพยนตร์ ด้วยการตัดต่อภาพยนตร์และสารคดี และเคยได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล ACE nomination จากการตัดต่อสารคดีเรื่อง Following the Tundra Wolf ในปี 1974 และในฐานะผู้ช่วยผู้ลำดับภาพให้กับภาพยนตร์หลายเรื่อง ได้แก่ The Dirty Dozen, Half A Sixpence และ Dogs Of War
ผลงานในฐานะผู้ลำดับภาพในช่วงแรกๆ ของโฮเนส ได้แก่ It's Alive, Plenty, Highlander, Madame Sousatzka, The Russia House, Ricochet, Mr. Baseball, Six Degrees of Separation, The Shadow, Rob Roy and Eye for an Eye ผลงานลดับภาพของเขาเมื่อเร็วๆ นี้ ได้แก่ Domestic Disturbance, The Fast and the Furious, The Kid และ The Next Best Thing
ในปี 2003 เจมส์ ฮอร์เนอร์ (ผู้ประพันธ์เพลงประกอบภาพยนตร์) สร้างผลงานอันโดดเด่นไว้ในภาพยนตร์ถึงสี่เรื่องด้วยกัน นอกเหนือไปจากผลงานในหนังและโทรทัศน์กว่า 130 เรื่อง เขาได้ร่วมงานเป็นครั้งที่เจ็ดกับผู้กำกับฯ รอน โฮเวิร์ด ในหนังดราม่าตะวันตกเรื่อง The Missing ในขณะเดียวกับที่เริ่มต้นเป็นคู่หูในการทำงานครีเอทีฟ กับวาดิม พาเรลแมน ผู้ลำดับภาพเป็นเรื่องแรก ในหนังดราม่าระทึกขวัญเรื่อง House of Sand and Fog (ซึ่งทำให้ฮอร์เนอร์ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลตุ๊กตาทองเป็นครั้งที่เก้า) เขายังได้แต่งเพลง Radio ที่เต็มไปด้วยแรงบันดาลใจ และการผจญภัยโรแมนติด Beyond Borders
ในแวดของผู้แต่งเพลงประกอบภาพยนตร์นั้น น้อยคนที่จะมีเรื่องราวแห่งความสำเร็จที่รุ่งโรจน์ได้เท่ากับเจมส์ ฮอร์เนอร์ เขาได้แต่งเพลงให้กับภาพยนตร์ที่ประทับใจและประสบความสำเร็จสูงสุดหลายสิบเรื่องในช่วงยี่สิบปีที่ผ่านมา ฮอร์เนอร์เป็นผู้ประพันธ์เพลงประกอบภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงที่สุดของโลกคนหนึ่ง เขาเคยได้รับรางวัลตุ๊กตาทองสองรางวัล และรางวัลลูกโลกทองคำสองรางวัล จากผลงานในภาพยนตร์ของเจมส์ คาเมรอน เรื่อง Titanic (สาขา Best Original Score หนึ่งรางวัลและ Best Original Song หนึ่งรางวัล จาก "My Heart Will Go On") นอกจากนั้นยังได้เข้าชิงรางวัลตุ๊กตาทองเจ็ดรางวัล และ รางวัลลูกโลกทองคำห้ารางวัล และได้รับรางวัลแกรมมี่หกรางวัล รวมทั้งรางวัล Song of the Year ทั้งในปี 1987 (จากเพลง "Somewhere Out There") และปี 1998 (จากเพลง "My Heart Will Go On") ในเดือนเมษายนปี1998 อัลบั้มซาวน์ดแทร็ค Titanic โดย Sony Classical ของเขาได้สร้างความสำเร็จอย่างไม่เคยมีมาก่อนกับการติดอันดับ 1 ของ Billboard Top 200 Album Chart เป็นเวลา 16 สัปดาห์ติดต่อกัน ซึ่งกลายเป็นสถิติใหม่ในการครองอันดับ 1 ติดต่อกันนานหลายสัปดาห์ของอัลบั้มเพลงประกอบภาพยนตร์ และยังคงเป็นอัลบั้มเพลงประกอบที่ขายดีที่สุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งมียอดขายเกือบ 10 ล้านแผ่นในสหรัฐฯ และมากกว่า 27 ล้านแผ่นทั่วโลก ผลงานติดอันดับแพลตินัมของ Sony Classical ที่ออกตามมา Back to Titanic ได้รวมผลงานเพลงเพิ่มเติมจากภาพยนตร์ รวมทั้งงานประพันธ์ใหม่ของฮอร์เนอร์อีกหลายเพลง ซึ่งอิงจากทำนองของเพลงเดิมๆ ของเขา
เป็นที่รู้กันดีถึงความหลากหลายสไตล์ของเขา และผลงานในภาพยนตร์เรื่องอื่นๆ ของเขา ได้แก่ Stroke of Genius, House of Sand and Fog, The Missing, Windtalkers, A Beautiful Mind, Iris, Enemy at the Gates, Dr. Seuss' How The Grinch Stole Christmas, The Perfect Storm, Freedom Song, Bicentennial Man, Mighty Joe Young, The Mask Of Zorro, Deep Impact, The Devil's Own, Ransom, Courage Under Fire, To Gillian On Her 37th Birthday, The Spitfire Grill, Braveheart, Apollo 13, Casper, Legends of the Fall, Clear and Present Danger, The Pagemaster, Bopha, The Pelican Brief, The Man Without a Face, Patriot Games, Thunderheart, Sneakers, The Rocketeer, Glory, In Country, Field of Dreams, Honey I Shrunk the Kids, The Land Before Time, Willow, An American Tail, The Name Of The Rose, Gorky Park, Cocoon and Cocoon: The Return, 48 Hours and Another 48 Hours, และ Star Treks II and IIIเกิดในลอสแอนเจลิสเมื่อปี 1953 ฮอร์เนอร์ใช้ชีวิตช่วงแรกอาศัยอยู่ในลอนดอน ซึ่งเขาได้เข้าศึกษาที่สถาบัน Royal Academy of Music อันทรงเกียรติ ความสนใจในเบื้องต้นของเขาคือเป็นนักแต่งเพลงคลาสสิคชั้นแนวหน้าอย่างจริงจัง เมื่อได้กลับมายังบ้านเกิดของเขาในแคลิฟอร์เนีย ฮอร์เนอร์ได้ศึกษาต่อด้านการดนตรีที่ University of Southern California ที่ซึ่งเขาได้รับปริญญา Bachelor of Music in Composition จากนั้นได้โอนไปศึกษาต่อโปรแกรมปริญญาโทที่ UCLA และต่อมาได้รับปริญญา Doctorate in Music Composition and Theory ในปี 1980 ฮอร์เนอร์ได้รับการทาบทามโดย American Film Institute และถูกขอให้แต่งเพลงให้กับหนังสั้นเรื่อง The Drought ในตอนนั้นเองที่เขาได้ค้นพบกับความปรารถนาของตนเองในหารแต่งเพลงให้กับภาพยนตร์
หลังจากที่ได้แต่งเพลงให้กับภาพยนตร์จำนวนหลายเรื่องของ AFI ฮอร์เนอร์ก็อำลาจากโลกแห่งการศึกษา และเริ่มต้นทำงานกับ โรเจอร์ คอร์แมนที่ New World Pictures จากบรรดาภาพยนตร์สยองขวัญต้นทุนต่ำเหล่านั้นเองที่เขาได้พัฒนาผีมือของตนเอง (Brainstorm, Battle Beyond the Stars) และมันยังเป็นที่ๆ ทำให้เขาได้รู้จักกับบรรดาผู้กำกับฯ รุ่นใหม่หลายคน รวมทั้ง รอน โฮเวิร์ด ซึ่งภายหลังเขาได้แต่งเพลงให้ในภาพยนตร์เรื่อง Willow, Cocoon, และเรื่องฮิต Apollo 13 และระหว่างการทำงานของเขาที่ New World ฮอร์เนอร์ยังได้พบกับตากล้องหนุ่มที่ชื่อ เจมส์ คาเมรอน ผู้ซึ่งต่อมาเขาได้ร่วมงานในหนังฮิตหลายภาคเรื่อง Aliens และแน่นอนที่สุด Titanic และในปีต่อๆ มา ฮอร์เนอร์ก็ได้ร่วมงานกับผู้สร้างที่มีชื่อเสียงและประสบความสำเร็จของฮอลลีวู้ดอีกมากมายหลายคน รวมไปถึง เอ็ด ซวิค, โจ จอห์นสตัน, ฟิล อัลเดน โรบินสัน, สตีเวน สปีลเบิร์ก, วิลเลียม ฟรีดกิน, เมล กิ๊บสัน, โอลิเวอร์ สโตน, ฟิลลิป นอยซ์, ไมเคิล แอ็พเท็ด, แลสซี ฮอลสตอร์ม, นอร์แมน จิววิสัน และฟรานซิส ฟอร์ด คอพโพล่า
ฮอร์เนอร์ชำนาญทั้งการแต่งเพลงด้วยการใช้วงออเคสตร้า และเทคนิคเครื่องดนตรีไฟฟ้าสมัยใหม่ ฮอร์เนอร์ได้ผสมผสานมุมมองการแต่งเพลงของเขาเหมือนกับเป็นจิตรกร โดยมีภาพยนตร์เป็นผืนผ้าใบ โดยใช้สีสันของดนตรีเพื่อบรรยายและสนับสนุนพลังแห่งอารมณ์ของภาพยนตร์ เขายังเป็นที่รู้จักในการบูรณาการเครื่องดนตรีประจำชาติเข้ากับสีสันของดนตรีออเคสตร้า เพื่อให้ได้มาซึ่งความโดดเด่นของสีและเนื้อหา เขาเป็นผู้กำกับวงที่มีชื่อเสียง ซึ่งชอบที่จะกำกับเพลงประกอบของเขาด้วยตนเองโดยตรงลงในภาพยนตร์ โดยไม่ใช้แทร็คประกอบหรืออุปกรณ์การจับเวลาอื่นๆ เขายังได้ประพันธ์เพลงคอนเสิร์ตอีกมากมาย รวมทั้งงานในชื่อ "Spectral Shimmers" ซึ่งได้รับการบรรเลงโดย Indianapolis Symphony Orchestra งานคอนเสิร์ตล่าสุดของฮอร์เนอร์ ได้แก่ "A Forest Passage" ซึ่งบรรเลงโดย Cleveland Orchestra ในการฉลองครบรอบ 25 ปีของ Cuyahoga Valley National Recreational Area ในโอไฮโอ
บ็อบ ริงวู้ด (ผู้ออกแบบเครื่องแต่งกาย) ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลตุ๊กตาทองจากผลงานในภาพยนตร์ของ สตีเวน สปีลเบิร์ก เรื่อง Empire of the Sun ซึ่งเขายังได้เข้าชิงรางวัล BAFTA อีกเช่นกัน และเขายังได้เข้าชิงรางวัล BAFTA จากงานออกแบบของเขาในภาพยนตร์เรื่อง Excalibur และ Batman
ริงวู้ดได้รับรางวัลจาก Academy of Science Fiction Saturn Award สำหรับเครื่องแต่งกายในเรื่อง Excalibur และ Dune และล่าสุดได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล Saturn Award เป็นครั้งที่สามในเรื่อง Star Trek: Nemesis
ผลงานของริงวู้ดในภาพยนตร์เรื่องใหญ่ๆ ได้แก่ Solarbabies, Prick Up Your Ears, Chicago Joe and the Showgirl, Alien 3, Batman Returns, Demolition Man, The Shadow, Batman Forever, A.I. และงานรีเมคปี 2002 เรื่อง The Time Machine--จบ--
-นท-

แท็ก ภาพยนตร์  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ