กรุงเทพฯ--21 มี.ค.--โทเทิล ควอลิตี้ พีอาร์
อาร์ซานีจัดงานฉายภาพยนตร์สารคดีเรื่องใหม่ Enslaved: An MTV EXIT Special ของแคมเปญ MTV EXIT ร่วมกับเหล่าพันธมิตรอย่าง รัฐบาลสหภาพพม่า องค์กรเพิ่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ สำนักงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งออสเตรเลียและสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โครงการ MTV EXIT (End Exploitation and Trafficking) ประกาศเปิดตัวภาพยนตร์สารคดีเรื่อง Enslaved: An MTV EXIT Special วันนี้ภายใต้การจัดงานของร็อคสตาร์ชื่อดังอาร์ซานี ภาพยนต์สารคดีเรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นจากความร่วมมือของ MTV EXITและเหล่าพันธมิตรอย่าง ศูนย์ปราบปรามการค้ามนุษย์ (CBTIP) ของกระทรวงมหาดไทยแห่งสหภาพพม่า องค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ (USAID) สำนักงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งออสเตรเลีย (AusAID) และสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) เพื่อสร้างความตระหนักรู้รวมทั้ง ป้องกันเกี่ยวกับปัญหาการค้ามนุษย์ในสหภาพพม่า
การค้ามนุษย์เป็นปัญหาอาชญากรรมที่มีผู้คนถึง 2.5 ล้านคนจากทั่วโลกตกเป็นเหยื่อ ซึ่งเหยื่อส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก โดยถูกหลอกจากข้อเสนอเพื่อชีวิตที่ดีกว่า ข้อมูลปรากฏว่าผู้กระทำความผิดฐานค้ามนุษย์มีรายได้มากกว่า หมื่นล้านเหรียญดอลล่าร์ต่อปีจากการข่มขู่ ใช้กำลัง ฉ้อโกงหรือบีบบีงคับเหยื่อค้าแรงงานหรือค้าประเวณี
ภาพยนตร์เรื่อง Enslaved นำเสนอเรื่องราวชีวิตจริงของผู้ที่เกี่ยวพันกับเครือข่ายการค้ามนุษย์ เสนอผ่านประสบการณ์สุดสลดจากผู้รอดชีวิต 3 คน เริ่มจาก จี จี หญิงสาวที่ถูกล่อลวงไปประเทศจีนเพื่อแต่งงาน โก มิน ชายผู้ถูกหลอกไปเป็นแรงงานบนเรือหาปลาของไทยและวาสนา หญิงสาวที่ถูกขายมายังประเทศไทยเป็นทาสแรงงานภายในบ้าน โดยไม่ได้รับค่าจ้างเป็นเวลากว่า 10 ปี ในฐานะผู้จัดงาน อาร์ซานีจะทำหน้าที่สื่อเรื่องราวจากชีวิตจริงนี้ให้เป็นที่ประจักษ์แก่ผู้ชมและสังคม รวมทั้งแสดงให้วัยรุ่นเห็นถึงวิธีป้องกันตนเองและครอบครัวจากการตกเป็นเหยื่อธุรกิจค้ามนุษย์ พร้อมรับฟังการสัมภาษณ์ พันตำรวจเอก ออมมา รางมี และวีรสตรีผู้ต่อต้านการค้ามนุษย์ คาธี ชีน จะมาบรรยายการปฏิบัติการปราบปรามธุรกิจค้ามนุษย์ในพม่าและภัยอันตรายที่มากับปัญหาสังคมขั้นวิกฤตนี้
สารคดีเรื่อง Enslaved: An MTV EXIT Special เกิดขึ้นหลังจากการออกอากาศภาพยนต์สารคดีเรื่อง Traffic ณ ช่อง MRTV-4 ในปี พ.ศ.2552 ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม โดยมี พิว พิว จอ เป็นแอมบาสเซเดอร์อย่างเป็นทางการของแคมเปญ MTV EXITสหภาพพม่า
แมท เลิฟ ผู้อำนวยการโครงการ MTV EXIT กล่าวว่า "แคมเปญ MTV EXIT พยายามหาหนทางให้ผู้ชมตระหนักถึงความจริงและเสี้ยวมุมที่ยากจะพบเจอจากปัญหาแรงงานทาสในปัจจุบัน เรายินดีที่ได้รับการสนับสนุนของอาร์ซานีเพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงอันตรายของปัญหาอาชญากรรมนี้ โดยกลุ่มวัยรุ่นมีความเสี่ยงในเรื่องดังกล่าวมากที่สุด การตระหนักรู้ จึงเป็นก้าวแรกที่นำไปสู่การปกป้องตัวพวกเขาเอง พันธมิตรของเราอย่างศูนย์ปราบปรามการค้ามนุษย์ (CBTIP) องค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ (USAID) สำนักงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งออสเตรเลีย (AusAID) และสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการปกป้องกลุ่มวัยรุ่นพม่าผ่านโปรแกรมนวัตกรรมทางการศึกษาและตระหนักรู้ในสหภาพพม่า"
อาร์ซานี กล่าว "นี่เป็นปัญหาร้ายแรงที่มีผลกระทบต่อประเทศของผม ผมจึงรู้สึกตื่นเต้นมากที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของแคมเปญ MTV EXIT ในฐานะเป็นแอมบาสเซเดอร์ของพม่า ผมหวังว่าการสนับสนุนของผม จะช่วยให้เกิดความตระหนักรู้เกี่ยวกับปัญหาสังคมที่ร้ายแรงนี้ขึ้นทั่วประเทศ ผมภูมิใจกับการร่วมมือนี้และต้องการเชิญชวนให้ทุกคนร่วมต่อสู้กับผมเพื่อยุติธุรกิจการค้ามนุษย์และการแสวงหาผลประโยชน์ต่อผู้อื่นอย่างไม่เป็นธรรมในพม่า"
พลตำรวจจัตวา ขิ่นหม่องศรี เลขานุการร่วมของศูนย์ปราบปรามการค้ามนุษย์ (CBTIP) ของกระทรวงมหาดไทยแห่งสหภาพพม่า กล่าวว่า "พม่ามองว่าการค้ามนุษย์เป็นปัญหาร้ายแรงต่อมนุษยชาติ พม่าดำเนินการแก้ปัญหาในเรื่องนี้อย่างจริงจังผ่านกรอบการทำงานที่ครอบคลุมทุกด้าน รวมไปถึงการตรากฎหมายของต่อต้านการค้ามนุษย์ แผนปฏิบัติการระยพเวลาห้าปีของประเทศ การสร้างสถาบันแห่งชาติ เช่น ศูนย์ปราบปรามการค้ามนุษย์ ซึ่งเป็นการรว่มกันทำงานของ 3 กลุ่มและหน่วยงานต่อต้านการค้ามนุษย์ในทุกระดับขององค์กร รวมไปถึงการก่อตั้งกองกำลังต่อต้านการค้ามนุษย์และการเพิ่มประสิทธิภาพความร่วมมือในระดับทวิภาคี ภูมิภาคและพหุภาคี"
ไมเคิล เทอร์สตันอุปทูตสหรัฐอเมริกาประจำย่างกุ้ง กล่าวว่า "รัฐบาลสหรัฐมียินดีสนับสนุนความพยายามของ MTV EXIT เพื่อสร้างความตระหนักและต่อสู้กับการค้ามนุษย์ในภูมิภาคเอเชีย ด้วยการร่วมมือกับสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) และรัฐบาลของประเทศต่างๆทั่วทั้งภูมิภาค นอกจากนั้น ภาพยนตร์สารคดีนี้จะเป็นสื่อกลางถึงหนุ่มสาวจำนวนหลายล้านคนในประเทศ เพื่อช่วยปกป้องพวกเขาจากอันตรายของการค้ามนุษย์"
ฯพณฯ นางสาว บรอนที่ มูรส์ เอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำสหภาพพม่า กล่าวว่า "ความเสี่ยงในการเป็นเหยื่อของธุรกิจค้ามนุษย์ เป็นปัญหามากสำหรับประชาชนอาศัยอยู่ในพม่า เนื่องจากพม่ายังคงแหล่งและประเทศทางผ่านของอาชญากรรมนี้ ด้วยการหลอกคนมาเป็นแรงงานราคาถูก ทาสแรงงานภายในบ้านและค้าประเวณี รวมทั้งการบังคับแต่งงาน ดังนั้นประเทศออสเตรเลียจึงเต็มใจสนับสนุน แคมเปญ MTV EXIT เป็นอย่างยิ่งและยินดีทำงานร่วมกับพม่า สหรัฐอเมริกาและสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) อย่างใกล้ชิดเกี่ยวกับปัญหาใหญ่ระดับนานาชาตินี้"
ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน กล่าวทิ้งท้ายว่า "สำนักงานเลขาธิการอาเซียนยินดีกับการเปิดตัวของแคมเปญ MTV EXIT ในประเทศพม่าและเชื่อมั่นว่าแคมเปญนี้จะเข้าถึงเยาวชนพม่าและสร้างความตระหนักรู้ให้แก่พวกเขาเกี่ยวกับอันตรายและกลวิธีที่พวกค้ามนุษย์ใช้ ผ่านความร่วมมือของสมาชิกของอาเซียนและการเน้นย้ำโดยแคมเปญระดับภูมิภาค อาทิ MTV EXIT ล้วนทำให้เกิดความเป็นไปได้ในการกำจัดธุรกิจค้ามนุษย์"
แคมเปญ MTV EXIT จะดำเนินการอย่างต่อเนื่องในประเทศพม่า ผ่านการเผยแพร่ทางสื่อ งานและกิจกรรมท้องถิ่น Enslaved: An MTV EXIT Special จะเริ่มออกอากาศครั้งแรกทางช่อง MRTV และ MRTV-4 เดือนมีนาคม พ.ศ.2555 นี้
รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการค้ามนุษย์และการแสวงหาผลประโยชน์ต่อผู้อื่นอย่างไม่เป็นธรรมในภูมิภาคเอเชีย กรุณาเยี่ยมชม www.mtvexit.org/myanmar หรือติดตามที่ www.facebook.com/mtvexit.