ทิศทาง กสท ปี 55

ข่าวเทคโนโลยี Wednesday March 21, 2012 17:46 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--21 มี.ค.--CATdatacom “แม้จะสั่งสมประสบการณ์ในธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมมาอย่างต่อเนื่องโดยตลอด แต่คงต้องยอมรับว่าในยุคของการแข่งขันที่มีการเติบโตของกลุ่มผู้ใช้งาน ซึ่งมีความต้องการในเทคโนโลยีที่หลากหลายนั้น นอกจากเราจะต้องแข่งขันทั้งกับคู่แข่งในตลาดแล้ว เรายังต้องแข่งขันกับเทคโนโลยีต่างๆ ที่มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้นเราจึงต้องมีความตื่นตัวและมองธุรกิจอย่างรอบด้าน เพื่อก้าวอย่างมั่นใจในธุรกิจนี้” กับเส้นทางสายไอทีที่ยาวนานของผู้ชายคนนี้ “สมพล จันทร์ประเสริฐ” รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานธุรกิจบรอดแบนด์ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT ซึ่งได้ยืนหยัดต่อสู้ฝ่าฟันกับอุปสรรคทางธุรกิจ ตั้งแต่ยุคของการเป็นผู้ให้บริการแบบน้อยราย มาสู่การแข่งขันเชิงรุกเพื่อช่วงชิงความเป็นหนึ่งในธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมของไทย วันนี้คุณสมพลฯ จะมาเปิดเผยถึงชีวิตการทำงาน และกลยุทธ์ที่จะนำพา CAT ไปยังเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ เส้นทางสาย CAT ผมร่วมงานกับ CAT มากว่า 30 ปี ซึ่งได้ดูแลงานทั้งด้านโครงข่าย, ด้านไอทีองค์กร, ด้านกลยุทธ์องค์กร,ด้านร่วมการงาน , ด้านการตลาดและการขาย จนมาถึงการเป็น Head ของสายงานธุรกิจบรอดแบนด์ ซึ่งที่ผ่านมาเราก็ได้มีส่วนร่วมในแต่ละยุคของการพัฒนาการให้บริการบนเทคโนโลยีต่างๆ ตั้งแต่ยุคของการให้บริการโทรเลข และบริการเทเล็กซ์ พัฒนามาจนถึงปัจจุบันที่ส่งผ่านการสื่อสารข้อมูลทั้งแบบ Wireline และ Wireless ซึ่งก็นับเป็นความท้าทายในตลอดชีวิตการทำงานที่จะต้องมีการพัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่ง กับงานที่ดูแลอยู่ในตอนนี้ ตอนนี้ผมดูแลในส่วนของธุรกิจบรอดแบนด์ ก็ประกอบไปด้วย บริการวงจรสื่อสารข้อมูล อินเทอร์เน็ต e-Business และ IT Security ซึ่งผมเองเติบโตมาในธุรกิจสื่อสารข้อมูล และได้ใช้ประสบการณ์สร้างสรรค์ธุรกิจนี้ให้กับ CAT จนทุกวันนี้บริการสื่อสารข้อมูลก็นับเป็นธุรกิจหลักของ CATซึ่งทำรายได้อยู่ประมาณ 40 กว่าเปอร์เซนต์ของรายได้ทั้งหมด ซึ่งผมได้วางแนวนโยบายในระยะยาวสำหรับการพัฒนาธุรกิจนี้ให้สามารถอยู่ในตลาดได้อย่างยั่งยืน และเป็นผู้นำในตลาดต่อไป แนวโน้มตลาดบริการสื่อสารข้อมูลในปีนี้ แนวโน้มตลาดสำหรับผู้ให้บริการสื่อสารโทรคมนาคมของไทยคงไม่ใช่แค่เพียงการพัฒนาโครงข่ายเพื่อรองรับปริมาณการรับส่งข้อมูลที่เพิ่มมากขึ้นเท่านั้น แต่เราจะต้องศึกษาตลาด โดยทำความเข้าใจกับทิศทาง วิธีการสื่อสารต่าง ๆ ของกลุ่มเป้าหมาย บน application ที่มีความซับซ้อนรวมถึงความคาดหวังของลูกค้าที่ต้องการ ซึ่งต้องการการออกแบบระบบบนเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพ ไม่สะดุด หยุดชะงัก โดยแนวโน้มของลูกค้ามีความต้องการ High Service Level Guarantee เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ผู้ให้บริการจะต้องมีการทำงานที่หนักขึ้น รวมถึงความต้องการลดต้นทุนด้านไอทีขององค์กรซึ่งตามมาด้วยเทรนด์การใช้ Cloud Computing เพื่อการแชร์ใช้ทรัพยากรร่วมกัน ซึ่งการใช้งาน Private Cloud สำหรับองค์กรจะเริ่มมีมากขึ้นทั้งในองค์กรขนาดใหญ่และขนาดกลาง โดยแนวโน้มจะเป็นการ Outsourcing ผู้ให้บริการเครือข่าย Cloud เป็นผู้ดำเนินการ และนั่นก็จะเป็นความท้าทายในธุรกิจนี้ซึ่งถ้าหากผู้ให้บริการสามารถสร้าง Economy of Scale ไปจนถึงการให้บริการ Public Cloud ที่จะเกิดขึ้น เพื่อให้บริการกับองค์กรในทุกระดับ สำหรับการลงทุนของธุรกิจนี้ ผู้ให้บริการที่มีวิสัยทัศน์จะต้องมองไปที่การลงทุนในเทคโนโลยีอนาคตที่เหมาะสมที่สุด ซึ่งต้องสามารถรองรับความต้องการของลูกค้าได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวเพราะช่วงชีวิตของเทคโนโลยีด้าน ICT มีระยะเวลาสั้นลงกว่าแต่ก่อน เพราะการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีนั่นเอง สุดท้ายก็คือเรื่องของการสื่อสารที่ไม่มีพรมแดน และเงื่อนไขใดๆในการติดต่อสื่อสารกันได้ทั่วโลกแบบ real time ซึ่งทำให้เกิดการรวมตัวกันของผู้ให้บริการนลักษะของ Partnrship เพื่อสร้างความยั่งยืนในธุรกิจนี้ ทิศทางธุรกิจสื่อสารข้อมูลของ CAT ในปีนี้ กับการเติบโตของยุคข้อมูลข่าวสารของทั่วโลก รวมถึงแผนการเปิดเสรีประชาคมอาเซียน ภายในปี 2015 ทำให้เรามีโอกาสในธุรกิจสื่อสารข้อมูลทั้งในประเทศไทยและระหว่างประเทศมากขึ้น ซึ่งก็สอดคล้องกับแผนธุรกิจของเราในปีนี้ที่มุ่งเน้นการรุกตลาดสื่อสารข้อมูลระหว่างประเทศให้มากยิ่งขึ้น เตรียมความพร้อมการเป็นศูนย์กลางสื่อสารโทรคมนาคมในภูมิภาคอินโดไชน่า (Hub to Indo-China) ไม่ว่าจะเป็นการวางระบบโครงข่ายภาคพื้นดินตามแนวเขตชายแดนประเทศเพื่อนบ้านทั้ง ลาว พม่า กัมพูชา และมาเลเซีย ซึ่งทำให้การสื่อสารในภูมิภาคอินโดไชน่าสามารถเชื่อมโยงกันได้ง่ายอย่างทั่วถึง ดังนั้นสำหรับผู้ประกอบการที่มีการเพิ่มฐานการผลิตในภูมิภาคอินโดไชน่า หากเชื่อมต่อผ่านโครงข่ายของ CAT ก็สามารถจะเข้าถึงเครือข่ายในภูมิภาคนี้ได้ทุกประเทศ รวมถึงการเชื่อมโยงผ่านระบบเคเบิ้ลใต้น้ำระหว่างประเทศซึ่ง CAT เป็นผู้ลงทุนผ่านไปยังสำนักงานหลัก และสาขาได้ทั่วโลก ซึ่งเราก็ได้เพิ่มการจัดสร้าง POP (Point of Presence) เพื่อการให้บริการสื่อสารข้อมูลและอินเทอร์เน็ตทั่วโลก สำหรับองค์กรที่ต้องการเชื่อมโยงเพื่อการสื่อสารข้อมูลภายในประเทศไทยนั้น นอกเหนือจากการเชื่อมโยงผ่านเคเบิ้ลใยแก้วนำแสงภาคพื้นดินบนโครงข่าย SDH และโครงข่าย IP แล้ว ในปีนี้เรายังได้เริ่มโครงการจัดสร้างระบบเคเบิ้ลใต้น้ำอ่าวไทย เพื่อให้บริการกับกลุ่มธุรกิจพลังงานที่มีแท่นขุดเจาะน้ำมันอยู่กลางอ่าวไทยจำนวนมาก และต้องอาศัยระบบ ICT ในการควบคุมกระบวนการผลิต ซึ่งการจัดสร้างระบบโครงข่ายดังกล่าวทำให้เราสามารถเพิ่มศักยภาพในการให้บริการในประเทศสำหรับการเชื่อมโยงการรับ-ส่งข้อมูลจากภาคใต้ของประเทศขึ้นมายังจุดขึ้นบกที่ศรีราชาด้วยระบบเคเบิ้ลใต้น้ำอ่าวไทยซึงสามารถเชื่อมต่อมายังกรุงเทพฯและปริมณฑลได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูง เสมือนเป็นซูปเปอร์ไฮเวย์ หรือ ทางด่วนในการรับ-ส่งข้อมูล ในปี้นี้ ผมคาดว่าเราจะมีรายได้จากกลุ่มธุรกิจบรอดแบนด์กว่า 7,560 ล้านบาท ซึ่งรายได้หลักก็จะมาจากการกลุ่มบริการวงจรสื่อสารข้อมูลประมาณ 5,177 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นการให้บริการกับกลุ่ม Domestic และ International Carriers / Telcos Wholesales, ISP รวมถึงลูกค้าที่เป็นผู้ประกอบการซึ่งใช้บริการสำหรับธุรกิจ กลุ่มนี้เป็นกลุ่มบริการที่เป็น Core Business ซึ่งเรายังคงมีจุดแข็งที่แตกต่างจากผู้ให้บริการรายอื่นอย่างชัดเจน ด้วยระบบโครงข่ายและประสบการณ์การให้บริการซึ่งเป็นรายแรกของประเทศและให้บริการยาวนานมาจนถึงปัจจุบัน รวมถึงความสัมพันธ์ในธุรกิจกับผู้ประกอบการสื่อสารโทรคมนาคมชั้นนำในประเทศต่างๆทั่วโลก ทำให้เราสามารถให้บริการแบบ One Stop Service สำหรับการเชื่อมโยงไปยังทุกภูมิภาคของโลก และด้วยการเป็นองค์กรซึ่งมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนระบบสื่อสารโทรคมนาคมของไทย ทำให้เราวางแผนพัฒนาระบบโครงข่ายในอีกหลายโครงการ ซึ่งจะเป็นเทคโนโลยีอนาคต รองรับความต้องการของกลุ่ม Early Adopter อย่างโครงการ FTTX ซึ่งในอนาคตกลุ่มผู้ใช้งานทั้งในภาคธุรกิจหรือแม้แต่กลุ่มประชาชนทั่วไปก็จะต้องการรับ-ส่งข้อมูลความเร็วสูงในชีวิตประจำวันเพื่อสร้างความสำเร็จในธุรกิจ และการใช้ชีวิตประจำวัน โดยการรับ-ส่งข้อมูลบนเคเบิ้ลใยแก้วนำแสงจะมีเสถียรภาพสูงสุด เราจึงเร่งขยายโครงข่ายดังกล่าวให้เป็นไปอย่างทั่วถึง ซึ่งด้วยธรรมชาติของตลาดไอทีจะเกิดการแพร่ขยายการใช้งานในวงกว้างในเวลาอันรวดเร็ว เนื่องจากผู้บริโภคมีการปรับตัวและเรียนรู้การใช้งานได้มากขึ้นกว่าในอดีต เราจึงต้องเร่งดำเนินการเพื่อให้เป็นผู้ให้บริการที่พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง และจากการใช้งานบน Smart Phone และ Smart Device ต่างๆของผู้บริโภคในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นในอัตราก้าวกระโดด ทำให้ Mobile Operator ต่างเร่งขยายและพัฒนาโครงข่ายเพื่อการให้บริการ 3G บนย่านความถี่เดิม หรือ HSDPA ซึ่งเราจะเป็นผู้ให้บริการ 3 G ภายใต้แบรนด์ “My” ที่ให้บริการดาต้าด้วยเกตเวย์ที่ใหญ่ที่สุด รวมทั้งเราจะเป็นผู้ให้บริการ ระบบ Mobile Backhaul แก่ Mobile Operator เพื่อเสริมความแข็งแกร่งของระบบสำหรับ Operator รายอื่น ๆ ด้วย ส่งท้าย สำหรับ CAT ความสำเร็จของเราไม่ใช่แค่กำไรที่เป็นตัวเงินเท่านั้น แต่เรายังมีความมุ่งหวังที่จะเป็นผู้ขับเคลื่อนในการพัฒนาระบบโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศโดยรวม เราจึงไม่เพียงวางกลยุทธ์เพื่อการแข่งขัน แต่เรายังได้วางรูปแบบ / โครงสร้างธุรกิจให้ทุกหน่วยในธุรกิจสื่อสารโทรคมนาคมไทย สามารถเดินไปพร้อมกันได้อย่างยั่งยืน ทั้งเรา พันธมิตรในธุรกิจ และลูกค้าผู้ใช้บริการ ซึ่งทุกฝ่ายควรได้รับประโยชน์สูงสุดในมุมมองของแต่ละฝ่าย เพื่อนำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มโดยรวมให้กับประเทศ และส่งผลกลับมายังทุกภาคส่วนในประเทศของเรา

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ