กรุงเทพฯ--29 มี.ค.--บล.ฟินันซ่า
นายธีรพันธุ์ จิตตาลาน กรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ฟินันซ่า จำกัด เผยสำหรับการลงทุนระยะสั้น ๆ ในตราสารหนี้นั้น จะเห็นว่ากองทุนตราสารหนี้ระยะสั้นที่ลงทุนในประเทศเพียงอย่างเดียวจะให้ผลตอบแทนที่น้อยกว่ากองทุนที่มีการลงทุนในต่างประเทศ สำหรับประมาณการผลตอบแทน 3 เดือนถ้าจะเห็นแตะเลข 3%ต่อปี ก็ต้องมีการลงทุนในตราสารหนี้ต่างประเทศผสมเข้ามา และโดยทั่วไปหลักของการจัดอันดับความน่าเชื่อถือในประเทศที่ใช้มาตรวัดแบบ national scale ที่วัดเพียงตัวแปรภายในประเทศมักจะให้เครดิตที่สูงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ใช้มาตรวัดแบบ international scale โดยที่ทั้งคู่มีความน่าเชื่อถือที่เท่ากัน[1] ดังนั้นตราสารหนี้ต่างประเทศที่ทางฟินันซ่าเลือกมาสำหรับการลงทุนตราสารหนี้ในครั้งนี้ เป็นตราสารที่มี international scale ที่ระดับ P-1 หรือ F-1 ซึ่งมีความน่าเชื่อถือที่อยู่ในระดับ A เลยทีเดียว ในขณะที่ธนาคารพาณิชย์ของไทยส่วนใหญ่จะอยู่ที่ระดับ BBB พูดได้เลยว่าอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารที่เราเลือกมานั้นมีระดับความน่าเชื่อถือดีกว่าธนาคารพาณิชย์ในประเทศ
คาดว่าฟินันซ่าน่าจะให้ประมาณการผลตอบแทนที่น่าสนใจ[2]ด้วยกองทุนเปิดฟินันซ่าตราสารหนี้พลัส โรล โอเวอร์ 3เดือน3 (FAM FIPR3M3) จะเปิดเสนอขายครั้งแรก (ไอพีโอ) ตั้งแต่ 28 มีนาคม ? 2 เมษายน 2555 นี้ ด้วยประมาณการผลตอบแทนที่ 3.05% ต่อปี โดยสามารถลงทุนขั้นต่ำเพียง 2,000 บาท นักลงทุนสามารถใช้ช่องทางการลงทุนใหม่ล่าสุดของบริษัทโดยซื้อกองทุนผ่านระบบอินเตอร์เนต skype ได้ที่ศูนย์บริการเคทีซี ทัช 14 สาขา สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 02 352-4050
FAM FIPR3M3 เป็น specific fund หรือกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ที่มีการกระจายการลงทุนน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน มีนโยบายที่จะลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งหนี้ที่มีความสามารถในการชำระดอกเบี้ยและเงินต้น โดยกองทุนจะพิจารณาลงทุนในตราสารแห่งหนี้ ตราสารทางการเงิน และ/หรือ เงินฝาก ของภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหรือผู้ออกตราสารอยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (Investment Grade) โดยในครั้งนี้เราจะลงทุนในเงินฝากธนาคารต่างประเทศ สกุลเงิน USD หรือ CNY กับธนาคาร BOC, Macao, หรือเงินฝากสกุลเงิน AED ธนาคาร Abu Dhabi Commercial Bank, UAE (F1)* ตั๋วเงินหรือเงินฝากธนาคารพาณิชย์ในประเทศ** เงินฝาก AED ธนาคาร Union National Bank,UAE(P-1) ตั๋วเงิน หรือ ตราสารหนี้เอกชน ที่มีอันดับความน่าเชื่อ BBB+ และตั๋วเงินคลัง หรือ พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
เราจะเปิดให้มีการซื้อและขายคืนหน่วยลงทุน ทุก ๆ 3 เดือนโดยประมาณ นับตั้งแต่วันจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม กองทุนนี้เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการลงทุนระยะสั้นในตราสารหนี้ภาครัฐและภาคเอกชนและ/หรือ เงินฝาก ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และมีโอกาสรับผลตอบแทนที่สูงกว่าเงินฝากธนาคาร ในระยะเวลานานประมาณ 3 เดือนสำหรับการลงทุนแต่ละรอบ กองทุนมีการลงทุนในต่างประเทศซึ่งเราจะทำการการป้องความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน
สำหรับรอบการลงทุนของการสั่งซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO)
อัตราผลตอบแทนโดยประมาณเท่ากับ 3.05 % ต่อปี ซึ่งคำนวณจากการลงทุน สำหรับรอบระยะเวลาประมาณ 3 เดือน
ตราสารที่ลงทุน*** ผลตอบแทนของตราสารในรูปสกุลเงินบาทโดยประมาณ (ต่อปี) สัดส่วนการลงทุนโดยประมาณ ผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุนในรูปสกุลเงินบาทโดยประมาณ (ต่อปี) ระยะเวลาการลงทุนโดยประมาณ
เงินฝากธนาคารต่างประเทศ สกุลเงินUSD หรือ CNY กับธนาคาร BOC, Macao, หรือเงินฝากสกุลเงิน AED ธนาคาร Abu Dhabi Commercial Bank, UAE (F1)* ตั๋วเงินหรือเงินฝากธนาคารพาณิชย์ในประเทศ** 3.35 %* 20.00% 0.67% 3 เดือน
เงินฝากAED ธนาคาร Union National Bank,UAE(P-1) 4.15% 24.00% 0.99% 3 เดือน
ตั๋วเงิน หรือ ตราสารหนี้เอกชน ที่มีอันดับความน่าเชื่อBBB+ 3.35% 50.00% 1.67% 3 เดือน
ตั๋วเงินคลัง หรือ พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย 2.99% 6.00% 0.17% 3 เดือน
ประมาณการค่าใช้จ่ายกองทุน (ต่อปี) (0.45%)
อัตรารับซื้อคืนโดยประมาณ (ต่อปี) 3.05%
หมายเหตุ:
* โดยอัตราผลตอบแทนที่เสนอโดยผู้ออกตราสารและมีการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงิน USDหรือ CNY หรือ AED เป็นเงินบาทแล้ว(ข้อมูล ณ วันที่ 26 มีนาคม 2555)
** เงินฝากธนาคารออมสิน หรือ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ หรือ ตั๋วเงิน หรือ หุ้นกู้ ธนาคารเกียรตินาคิน,ธนาคารไอซีบีซี(ไทย), ธนาคารทิสโก้,ธนาคารทหารไทย,ธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย,ธนาคารกรุงไทย,บริษัททุนธนชาต,ธนาคารแลนด์แอนด์เฮาส์ เป็นต้น (ข้อมูล ณ วันที่ 26 มีนาคม 2555 )
***ตราสารหนี้ หรือ หุ้นกู้ เช่น หุ้นกู้ ธนาคาร กรุงศรีอยุธยา , ธนาคารกรุงไทย , บมจ.บัตรเครดิต กรุงไทย (BBB+), บมจ.เอเซียเสริมกิจ (BBB+), บมจ.แสนสิริ (BBB+) ,บมจ. เอสซี เอสเซท (BBB+) , บมจ. แลนด์ แอนด์เฮ้าส์ (A),บมจ.เอเชียน พร็อพเพอร์ตี ดีเวลล็อปเมนต์ (A),บมจ. ศุภาลัย (A-) บมจ.ภัทรลีสซิ่ง (A-)บมจ.ควอลิตี้เฮ้าส์ (A-),บมจ.อยุธยา แคปปิตอล ออโต้ลิส (A+) ,บมจ.พฤกษา (A) ,บมจ.ไทคอน อินดัสเทรียล คอนเน็คชั่น(A) ,บมจ. สวนอุตสาหกรรมโรจนะ (A-) ,GS Caltex, Korea(A-2)* Banco Bradesco ,Brazil (P-2)*, ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของผู้ออกตราสารอยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (Investment Grade)
Note
[1] จากบทความ ?ความน่าเชื่อถือกับหุ้นกู้ โดยอถินันท์ จินศิริวานิชย์? ฝ่ายวิจัยและพัฒนา สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย
2 จากตารางสรุปรายละเอียดกองทุนตราสารหนี้ ประจำเดือนมีนาคม 55 จัดทำโดย บล.ฟินันซ่า
- หากไม่สามารถลงทุนให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้เนื่องจากสภาวะตลาดมีการเปลี่ยนแปลงไป หรือผลการประมูลของตราสารไม่เป็นไปตามที่กำหนด ผู้ถือหน่วยลงทุนอาจไม่ได้รับผลตอบแทนตามอัตราที่ประมาณการไว้
- ทั้งนี้ ตราสารที่ลงทุน สัดส่วนการลงทุน และประมาณการค่าใช้จ่าย อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ หากสภาวะตลาดมีการเปลี่ยนแปลงไป หรือตามที่บริษัทจัดการเห็นสมควร
- กองทุนจะถือทรัพย์สินที่ลงทุนตลอดรอบการลงทุนแต่ละรอบ 3 เดือนโดยประมาณ
- หากผู้ถือหน่วยไม่ส่งคำสั่งขายคืนหน่วยลงทุนมาภายในวันและเวลาที่กำหนดในการเปิดรับซื้อคืนหน่วยลงทุน บริษัทจัดการจะถือว่าผู้ถือหน่วยลงทุนประสงค์ที่จะลงทุนต่อไปในรอบการลงทุนถัดไป
- บริษัทจัดการสงวนสิทธิที่จะเปลี่ยนแปลงตราสารที่ลงทุน สัดส่วนการลงทุนและประมาณการค่าใช้จ่าย สำหรับการลงทุนในแต่ละรอบทุก 3 เดือนโดยประมาณ โดยไม่ถือเป็นการแก้ไขโครงการ โดยจะแจ้งรายละเอียดการลงทุนดังกล่าว ในหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปและหรือเว็บไซด์ของบริษัทจัดการ ให้ผู้ลงทุนทราบล่วงหน้า
- การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน
- การลงทุนในหน่วยลงทุนมิใช่การฝากเงิน และมีความเสี่ยงของการลงทุน ผู้ลงทุนควรลงทุนในกองทุนเปิดฟินันซ่าตราสารหนี้พลัสโรล โอเวอร์ 3เดือน3 เมื่อเห็นว่าการลงทุนในกองทุนนี้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การลงทุนของตนและผู้ลงทุนยอมรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนได้
- ในกรณีที่มีเหตุการณ์ไม่ปกติ ผู้ลงทุนอาจได้รับชำระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนล่าช้ากว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ในหนังสือชี้ชวน
- ในกรณีที่กองทุนนี้ไม่สามารถดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องได้ ผู้ลงทุนอาจไม่สามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้ตามที่มีคำสั่งไว้
- เนื่องจากกองทุนนี้ลงทุนในต่างประเทศบางส่วน จึงมีความเสี่ยงที่ทางการของต่างประเทศอาจออกมาตรการในภาวะที่เกิดวิกฤตการณ์ไม่ปกติ ทำให้กองทุนไม่สามารถนำเงินกลับเข้ามาในประเทศ ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้ลงทุนไม่ได้รับคืนเงินตามระยะเวลาที่กำหนด
- กองทุนนี้มีความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมของประเทศที่กองทุนไปลงทุน ผู้ลงทุนควรศึกษาถึงปัจจัยต่างๆ ที่อาจมีผลกระทบอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจลงทุน
- กองทุนจะทำการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน (Fully Hedged)
- ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลในหนังสือชี้ชวนให้เข้าใจและควรเก็บหนังสือชี้ชวนไว้เป็นข้อมูลเพื่อใช้อ้างอิงในอนาคต และเมื่อมีข้อสงสัย ให้สอบถามผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนให้เข้าใจก่อนซื้อหน่วยลงทุน