กรุงเทพฯ--29 มี.ค.--ฮิลล์ แอนด์ นอลตัน สแตรทิจีส์
เมื่อเอ่ยถึง “อินเทอร์เน็ตคาเฟ่” ภาพที่คนส่วนใหญ่นึกถึงคือสถานที่ที่เด็กและเยาวชนใช้เวลาไปกับการเล่นเกมคอมพิวเตอร์ เกมออนไลน์ เข้าเว็บไซต์เพื่อความบันเทิง แชตผ่านอินเทอร์เน็ต และกิจกรรมอื่นๆ ซึ่งเยาวชนใช้เวลามากเกินไปอย่างไม่เป็นประโยชน์ และในยุคปัจจุบันที่สื่อโซเชียลมีเดียต่างๆ อย่าง Facebook, Youtube, Windows Live Messenger ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายและใครๆ ก็สามารถใช้งานและเข้าถึงได้ ประกอบกับจำนวนอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องถึงกว่า 42,800 แห่งทั่วประเทศในปัจจุบัน จึงเป็นการยากต่อการควบคุมดูแล อันอาจนำไปสู่การถูกล่อลวงและอาชญากรรมออนไลน์ที่มักเห็นเป็นข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ ด้วยเหตุนี้ การสร้างสรรค์ให้อินเทอร์เน็ตคาเฟ่เป็นแหล่งเรียนรู้และสื่อสารที่ปลอดภัยจึงถือเป็นสิ่งสำคัญและเป็นการป้องกันปัญหาที่ต้นเหตุอีกด้วย
นอกเหนือจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตในเชิงไม่สร้างสรรค์ของเด็กและเยาวชนแล้ว การขาดแคลนงบประมาณการลงทุนซื้อซอฟต์แวร์และเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมของเจ้าของร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ที่ปลอดภัย และสร้างสรรค์สังคมแห่งการเรียนรู้ผ่านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ โครงการ “iCaf?” ที่ริเริ่มโดยไมโครซอฟท์ ประเทศไทย จึงเป็นคำตอบในการสร้างต้นแบบแห่งการเรียนรู้และใช้งานอินเทอร์เน็ตที่เหมาะสม ทั้งในด้านการใช้งานอินเทอร์เน็ตที่สร้างสรรค์และปลอดภัยของคนไทยทุกวัย และการดำเนินธุรกิจที่ถูกต้องและเหมาะสมของผู้ประกอบการอินเทอร์เน็ตคาเฟ่
นายสิทธิชัย ตันติแสงอรุณ ผู้จัดการกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ในฐานะผู้นำเทคโนโลยีเพื่อผู้บริโภค และมุ่งมั่นสนับสนุนการเข้าถึงเทคโนโลยีอย่างเหมาะสมของคนทุกวัย ไมโครซอฟท์จึงได้ริเริ่มโครงการ iCaf? ขึ้นในปี 2552 โดยนำร่องในไทยเป็นประเทศแรกในโลก เพื่อส่งเสริมให้ผู้บริโภคในไทย โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนได้เข้าใจการใช้งานอินเทอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์และปลอดภัย ผ่านซอฟต์แวร์และโปรแกรมของไมโครซอฟท์ที่สามารถป้องกันภัยคุกคามทางอินเทอร์เน็ต และข้อมูลของผู้ใช้ให้ปลอดภัย อีกทั้งเพื่อสนับสนุนให้อินเทอร์เน็ตคาเฟ่ทั่วประเทศสามารถดำเนินธุรกิจอย่างถูกต้อง ด้วยซอฟต์แวร์ถูกลิขสิทธิ์ในราคาพิเศษที่สามารถเป็นเจ้าของได้ ซึ่งจากการดำเนินการมาเป็นเวลา 3 ปี โครงการ iCafe ได้รับการตอบรับอย่างดีจากอินเทอร์เน็ตคาเฟ่กว่า 8,800 ร้าน ทั่วประเทศ”
ผู้บริโภคที่ใช้บริการอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ภายใต้โครงการ iCafe จะได้ใช้งานคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตอย่างสร้างสรรค์ผ่านโปรแกรมและซอฟต์แวร์ไมโครซอฟท์ อย่างเช่น Office? 2010 และระบบปฏิบัติการ Windows? 7 ซึ่งจะมาพร้อมกับ IE9 เวอร์ชั่นล่าสุดของ Internet Explorer ซึ่งถือเป็นบราวเซอร์ที่มีผู้ใช้มากที่สุด ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถใช้งาน Hotmail บริการฟรีอีเมลที่มีผู้ใช้มากที่สุดในโลกถึง 11.8 ล้านคน และมีระบบป้องกันสแปมเมลไม่ให้หลุดลอดเข้าไปอยู่ในกล่องข้อความขาเข้า (inbox) นอกจากนี้ ยังสามารถใช้งาน SkyDrive ซึ่งเป็นโปรแกรมเพื่อการจัดเก็บข้อมูล รูปภาพ และไฟล์เอกสารต่างๆ ได้มากถึง 25 กิ๊กกะไบท์ ที่ผู้ใช้สามารถแชร์ให้ผู้อื่นได้อย่างสะดวกและปลอดภัย โดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องกังวลกับการพกพาแฟลชไดร์ฟที่อาจเสี่ยงต่อการติดไวรัสเมื่อใช้งานผ่านคอมพิวเตอร์สาธารณะ Windows Live? Messenger โปรแกรมแชตที่สามารถจัดการข้อมูลและรายชื่อเพื่อนให้เชื่อมโยงกับโซเชียลมีเดียชื่อดังอย่าง Facebook, LinkedIn และ My Space ถือเป็นการอำนวยความสะดวกผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียในไทย ซึ่งจากข้อมูลระบุว่ากว่าร้อยละ 70 ใช้งานโซเชียลมีเดียมากถึง 3 แห่ง
นอกจากนี้ ยังมีโปรแกรมและหลักสูตรการใช้งานคอมพิวเตอร์เบื้องต้นของไมโครซอฟท์ หรือ Digital Literacy ที่ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดได้ฟรี พร้อมการทดสอบความเข้าใจเมื่อจบหลักสูตร ผู้ที่ผ่านหลักสูตรจะได้รับประกาศนีบัตรรับรอง สำหรับร้านที่เข้าร่วมโครงการ iCafe ยังสามารถดาวน์โหลดโปรแกรมภายใต้ โครงการฟรีเพื่อเป็นการให้ความรู้ในการเข้าถึงเว็บไซต์อย่างเหมาะสมของเยาวชนและการป้องกันอาชญากรรมออนไลน์ได้ที่ www.microsoft.com/thailand/get-it-right/download
คุณ สุรางคนา สินทร เจ้าของอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ บล็อค อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า “ทางร้านได้เล็งเห็นความสำคัญของการใช้ซอฟต์แวร์ถูกลิขสิทธิ์ เพื่อป้องกันปัญหาคอมพิวเตอร์ถูกไวรัส อันส่งผลให้จำนวนลูกค้าลดลง และเมื่อไมโครซอฟท์เปิดโครงการ iCaf? อีกครั้ง ทางร้านจึงไม่ลังเลที่จะเข้าร่วมโครงการ ซึ่งนอกจากจะช่วยเหลือผู้ประกอบการอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ในการดำเนินธุรกิจอย่างถูกต้องแล้ว ยังถือเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สร้างสรรค์และปลอดภัยอีกด้วย”
นางสาวสุพัตรา กัญจนานภานิช เจ้าของอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ Quest อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า “ระบบรักษาความปลอดภัยที่ดีและการอัพเดทโปรแกรมต่างๆ ฟรีที่มากับซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์ของไมโครซอฟท์เป็นปัจจัยหลักที่ทางร้านเข้าร่วมโครงการ iCaf? เพราะถือเป็นการสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าและการดำเนินธุรกิจของร้านในระยะยาว โดยซื้อเพียงครั้งเดียว แต่สามารถใช้งานได้นาน มีการรับประกัน อีกทั้งคำแนะนำและดูแลอย่างต่อเนื่องจากไมโครซอฟท์ นอกจากนี้ โปรแกรมที่ช่วยกลั่นกรองเนื้อหาเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมก็ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้ปกครองในการที่ให้บุตรหลานมาใช้บริการที่ร้านด้วย”
ผลการศึกษาของไอดีซีระบุว่า หากประเทศไทยสามารถลดอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์บนคอมพิวเตอร์ลงได้ร้อยละ 10 จะทำให้การจ้างงานเพิ่มขึ้น 2,100 ตำแหน่ง มีการเติบโตทางเศรษฐกิจคิด เป็นมูลค่า 3.5 หมื่นล้านบาท และภาครัฐจะมีรายได้จากภาษีเพิ่มขึ้น 2,275 ล้านบาท ถือเป็นการส่งเสริมการพัฒนาประเทศและเศรษฐกิจในภาพรวมอย่างแท้จริงด้วย
จากการตอบรับที่ดีจากผู้ประกอบการอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ ไมโครซอฟท์ ประเทศไทย กำลังขยายโครงการ iCafe อย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 ให้ครอบคลุมทั่วประเทศมากยิ่งขึ้น โดยใช้สื่อประชาสัมพันธ์ออนไลน์ที่เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย อินเทอร์เน็ตคาเฟ่ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ หรือรับฟังข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อที่ Microsoft Customer Support Center โทร 02-263-6888 หรือเข้าไปดูข้อมูลได้ที่ www.microsoft.com/thailand/get-it-right