กรุงเทพฯ--31 มี.ค.--สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 อุบลราชธานี
ผอ.สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7 จังหวัดอุบลราชธานีเผยสถิติโรคในฤดูร้อนมีคนป่วยระบบทางเดินอาหารเป็นพิษ ใน 1 ปี มากกว่า3,000 รายต่อจังหวัดแนะผู้บริโภคเลือกซื้อเนื้อสัตว์ปรุงเป็นอาหารอย่างระวังพร้อมกำชับผู้ผลิตควบคุมมาตรฐานการผลิตไม่ให้ปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ส่วนสถานการณ์ในพื้นที่อุบลราชธานีติดโผ3 เดือนแรกปี55 พบผู้ป่วยแล้วมากกว่า10,000 ราย
นายแพทย์มานิตธีระตันติกานนท์อธิบดีกรมควบคุมโรคกล่าวว่าโรคอาหารเป็นพิษเป็นกลุ่มโรคที่เกิดในระบบทางเดินอาหารและน้ำสาเหตุหลักเกิดจากการบริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่มีเชื้อโรคปนเปื้อนกินอาหารค้างมื้อโดยไม่อุ่นอาหารทะเลดองเค็มดิบอาหารสุกๆดิบๆหากได้รับเชื้อรุนแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
ข้อมูลจากสำนักระบาดวิทยากรมควบคุมโรคจะเห็นว่าปี2553 พบผู้ป่วยโรคอาหารเป็นพิษ 2,175 ต่อประชากรทุกๆ100,000 คนปี2554 พบผู้ป่วย2052คนต่อประชากรทุกๆ100,000 คนปี2555 เพียงเดือนแรกของปี2555 มีผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงเกือบ6 หมื่นรายเสียชีวิต2 รายจึงต้องเร่งรณรงค์หากช่วงเทศกาลต่างๆที่มักมีงานเลี้ยงโดยเฉพาะเทศกาลสงกรานต์
ด้านนพ.ศรายุธ อุตตมางคพงศ์ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่7กล่าวถึงสถานการณ์โรคอุจจาระร่วงในพื้นที่ว่าจังหวัดที่พบผู้ป่วยโรคอุจจาระร่วงมากที่สุดคือจังหวัดอุบลราชธานีพบผู้ป่วยแล้ว10,526 คนรองลงมาคือจังหวัดศรีสะเกษ 9,531 คนแต่ยังไม่พบผู้เสียชีวิต
นพ.ศรายุธ กล่าวอีกว่าในช่วงวันที่8 — 14 เมษายน55 นี้กรมควบคุมโรคได้กำหนดให้เป็นสัปดาห์รณรงค์ป้องกันโรคอาหารเป็นพิษจึงอยากให้พี่น้องประชาชนทุกคนป้องกันตัวเองจากโรคอาหารเป็นพิษโดย ระมัด ระวัง การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ในหน้าร้อนเพราะปัจจุบันยังพบการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ซึ่งก่อให้เกิดโรคอุจจาระร่วงโรคอาหารเป็นพิษและโรคทางเดินอาหารอื่น ส่วนน้ำปลาร้าควรผ่านกระบวนการการต้มให้สุกก่อนค่อยนำมาประกอบอาหาร ควรเลือกรับประทานอาหารที่ปรุงสุกร้อนและสะอาดอาหารปรุงสุกคืออาหารที่ปรุงเองหรือเลือกรับประทานอาหารที่ผู้อื่นปรุงสุกอย่างทั่วถึง ร้อนคืออุ่นอาหารให้ร้อนหรือเดือดอย่างทั่วถึง สะอาดคือสะอาดก่อนรับประทานล้างมือให้สะอาดก่อนปรุงหรือรับประทานอาหารและการทำความสะอาดหลังขับถ่ายดูแลตัวเองกับหน้าร้อน กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ
กรมควบคุมโรคโดยสคร.7 ห่วงใย อยากเห็นคนไทยสุขภาพดี