กรุงเทพฯ--2 เม.ย.--เซอร์ (ไทยแลนด์)
ซีเกท (NASDAQ: STX) เป็นผู้ผลิตฮาร์ดไดรฟ์รายแรกที่สร้างประวัติศาสตร์โดยการเพิ่มความหนาแน่นในการจัดเก็บข้อมูลเป็น 1 เทราบิต (หนึ่งล้านล้านบิต) ต่อตารางนิ้ว และสาธิตเทคโนโลยีที่ให้คำมั่นว่าจะเพิ่มความจุในการจัดเก็บข้อมูลของฮาร์ดไดรฟ์รุ่นปัจจุบันเป็นสองเท่าซึ่งจะเปิดตัวในช่วงปลายทศวรรษนี้ ทำให้ฮาร์ดไดรฟ์ขนาด 3.5 นิ้วมีความจุสูงขึ้นเป็นพิเศษถึง 60 เทราไบต์ตลอดระยะเวลา 10 ปีข้างหน้า ในประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญนี้ จำนวนบิตที่อยู่ในพื้นที่ดิสก์ขนาดหนึ่งตารางนิ้ว มีจำนวนมากกว่าดวงดาวในทางช้างเผือก ซึ่งนักดาราศาสตร์บอกว่ามีจำนวนประมาณ 200,000 ล้านถึง 400,000 ล้านดวง
ซีเกทบรรลุเป้าหมายในด้านความหนาแน่นในการจัดเก็บข้อมูลด้วยเทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูลแบบเอชเอเอ็มอาร์ (heat-assisted magnetic recording (HAMR)) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูลรุ่นถัดไป ส่วนเทคโนโลยีของฮาร์ดไดรฟ์ในปัจจุบัน คือ การจัดเก็บข้อมูลแม่เหล็กในแนวตั้งฉาก (Perpendicular Magnetic Recording (PMR))ถูกนำมาใช้เพื่อบันทึก ข้อมูลดิจิตอลที่หลากหลาย ตั้งแต่ เพลง ภาพนิ่งและวิดีโอที่ถูกจัดเก็บไว้ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและเครื่องคอมพิวเตอร์แล็ปท็อปภายในบ้านจนถึงข้อมูลทางธุรกิจที่ถูกจัดเก็บไว้ในศูนย์ข้อมูลต่าง ๆ บนแผ่นดิสก์แบบหมุนที่อยู่ภายในฮาร์ดไดรฟ์ทุกตัว เทคโนโลยีพีเอ็มอาร์ถูกเปิดตัวในปี พ.ศ. 2549 เพื่อใช้แทนที่การจัดเก็บข้อมูลในแนวนอน (longitudinal recording) ซึ่งเป็นวิธีการที่ถูกนำมาใช้ตั้งแต่มีการเริ่มมีการใช้ฮาร์ดไดรฟ์สำหรับจัดเก็บข้อมูลในคอมพิวเตอร์เมื่อปี พ.ศ. 2499 และคาดว่าจะมีความจุสูงถึงขีดจำกัดด้านความจุในระดับใกล้เคียงกับ 1 เทราบิตต่อตารางนิ้วในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า
“การเติบโตของสื่อสังคมออนไลน์ (social media) เซิร์ชเอ็นจิน (search engines) คลาวด์ คอมพิวติ้ง (cloud computing) ริช มีเดีย (rich media) และระบบปฏิบัติการอื่น ๆ ที่ต้องการพื้นที่สำหรับจัดเก็บข้อมูลสูง ยังคงเพิ่มปริมาณความต้องการความจุในการจัดเก็บข้อมูลที่สูงขึ้น” นายมาร์ค เร รองประธานอาวุโส ฝ่ายวิจัยและพัฒนาหัวอ่านและมีเดียบันทึกข้อมูลของซีเกท กล่าว “นวัตกรรมใหม่สำหรับฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์อย่างเช่นอชเอเอ็มอาร์จะนำมาซึ่งการพัฒนาระบบปฏิบัติการที่ต้องจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากในอนาคต และเพิ่มวิธีการที่ธุรกิจและผู้บริโภคทั่วโลก ใช้ จัดการและจัดเก็บข้อมูลดิจิตอล”
ผู้ผลิตฮาร์ดไดรฟ์เพิ่มความหนาแน่นและความจุในการจัดเก็บข้อมูลโดยการทำให้บิตของข้อมูลที่อยู่ในแพล็ทเตอร์มีขนาดเล็กลงเพื่อจัดเก็บข้อมูลมากขึ้นภายในพื้นที่ดิสก์แต่ละตารางนิ้ว นอกจากนี้ พวกเขายังบีบอัดตำแหน่งของข้อมูล ที่เป็นวงกลมซึ่งมีจุดศูนย์กลางอยู่บนพื้นผิวของดิสก์ ยึดติดอยู่กับบิตต่าง ๆ หัวใจของการเพิ่มความหนาแน่นในการจัดเก็บข้อมูลคือการทำทั้งสองอย่างโดยไม่ทำให้วงจรแม่เหล็กของบิตเกิดการสะดุด อันเป็นปรากฎการณ์ที่ทำให้ข้อมูลบิดเบือน จากการใช้เทคโนโลยีเอชเอเอ็มอาร์ ซีเกทสามารถเพิ่มความหนาแน่นในการจัดเก็บข้อมูลได้ประมาณ 2 ล้านบิตต่อตารางนิ้ว ซึ่งครั้งหนึ่งเคยคิดว่ามันเป็นไปไม่ได้ ส่งผลให้มีความหนาแน่นในการจัดเก็บข้อมูลสูงกว่า 1 ล้านล้านบิต หรือ 1 เทราบิตต่อตารางนิ้ว สูงกว่าความหนาแน่นในการจัดเก็บข้อมูลสูงสุดในปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ 620 กิกะบิตต่อตารางนิ้ว ถึงร้อยละ 55
ความจุสูงสุดของฮาร์ดไดรฟ์ขนาด 3.5 นิ้ว รุ่นปัจจุบันคือ 3 เทราไบต์ (ทีบี) ซึ่งมีความหนาแน่นประมาณ 620 กิกะบิตต่อตารางนิ้ว ในขณะที่ไดรฟ์ขนาด 2.5 นิ้ว มีความจุสูงสุด 750 กิกะไบต์ (จีบี) หรือมีความหนาแน่นประมาณ 500 กิกะบิตต่อตารางนิ้ว ไดรฟ์เอชเอเอ็มอาร์รุ่นแรก ซึ่งมีความหนาแน่นสูงกว่า 1 เทราบิตต่อตารางนิ้ว น่าจะเพิ่มความจุเหล่านี้ให้สูงถึงกว่าสองเท่า นั่นคือ 6 เทราไบต์สำหรับไดรฟ์ขนาด 3.5 นิ้วและ 2 เทราไบต์สำหรับรุ่นที่มีขนาด 2.5 นิ้ว เทคโนโลยีนี้ทำเสนอการเพิ่มขึ้นของความจุที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ด้วยทฤษฏีขีดจำกัดของความหนาแน่นในการจัดเก็บข้อมูลตั้งแต่ 5 ถึง 10 เทราบิตต่อตารางนิ้ว นั่นคือ ความจุ 30 เทราไบต์ถึง 60 เทราไบต์สำหรับไดรฟ์ขนาด 3.5 นิ้วและความจุ 10 เทราไบต์ถึง 20 เทราไบต์สำหรับไดรฟ์ที่มีขนาด 2.5 นิ้ว
การสาธิตความหนาแน่นในการจัดเก็บข้อมูล 1 เทราบิตต่อตารางนิ้วแสดงให้เห็นประวัติความเป็นมาอันยาวนานของการพัฒนาเทคโนโลยีที่ซีเกทพัฒนาขึ้นเป็นรายแรก ประกอบด้วย
ปี พ.ศ. 2523 ฮาร์ดไดรฟ์รุ่นเอสที-506 (ST-506) ซึ่งเป็นฮาร์ดไดรฟ์รุ่นแรก ขนาด 5.25 นิ้ว มีขนาดเล็กพอที่จะถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในไมโครคอมพิวเตอร์รุ่นแรก ๆ ก่อนที่จะมีเครื่องพีซีอันทันสมัย ไดรฟ์ขนาด 5 เมกกะไบต์มีราคา 1,500 เหรียญสหรัฐ
ปี พ.ศ. 2535 ฮาร์ดไดรฟ์รุ่นแรกที่หมุนด้วยความเร็ว 7200 รอบต่อนาทีคือไดรฟ์บาราคูดา (Barracuda?)
ปี พ.ศ. 2539 ฮาร์ดไดรฟ์รุ่นแรกที่หมุนด้วยความเร็ว 10,000 รอบต่อนาทีคือไดรฟ์ชีต้า (Cheetah?)
ปี พ.ศ. 2543 ฮาร์ดไดรฟ์รุ่นแรกที่หมุนด้วยความเร็ว 15,000 รอบต่อนาทีคือไดรฟ์ชีต้า (Cheetah?) เช่นเดียวกัน
ปี พ.ศ. 2549 ไดรฟ์รุ่นโมเมนตัส 5400.3 (Momentus? 5400.3) เป็นไดรฟ์ขนาด 2.5 นิ้ว สำหรับเครื่องแล็ปท็อปและเป็นไดรฟ์รุ่นแรกของโลกที่มีเทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูลแม่เหล็กในแนวตั้งฉาก (perpendicular magnetic recording technology)
ปี พ.ศ. 2550 ไดรฟ์โมเมนตัส เอฟดีอี (เข้ารหัสอย่างสมบูรณ์) หรือ Momentus FDE (Full Disk Encryption) เป็นฮาร์ดไดรฟ์ที่เข้ารหัสด้วยตนเองรุ่นแรกของอุตสาหกรรม
ปี พ.ศ. 2553 ไดรฟ์โมเมนตัสเอ็กซ์ที (Momentus XT) เป็นโซลิดสเตทไฮบริดฮาร์ดไดรฟ์รุ่นแรก ที่ผสมผสานระหว่างสปินนิ่งมีเดีย (spinning media)รุ่นดั้งเดิมกับแนนแฟลช (NAND flash) เพื่อนำมาซึ่งความเร็วที่เทียบเท่ากับโซลิดสเตทไดรฟ์ (เอสเอสดี)
ซีเกทประสบความสำเร็จในการเพิ่มความหนาแน่นในการจัดเก็บข้อมูลเป็น 1 เทราบิตต่อตารางนิ้วในฝ่าย วัสดุศาสตร์และฝ่ายเนียร์-ฟีลด์ ออพติกส์ (near-field optics) ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาหัวอ่านและมีเดียบันทึกข้อมูล ซึ่งตั้งอยู่ในเมืองบลูมิงตัน รัฐมินเนโซตาและเมืองฟรีมอนต์ รัฐแคลิฟอร์เนีย
http://seagate.com/twitter
http://seagate.com/facebook
http://media.seagate.com
ข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ
นางสาววัชรี พิชัยศรีสวัสดิ์
ที่ปรึกษาทางด้านประชาสัมพันธ์
บริษัท เซอร์ (ไทยแลนด์) จำกัด
โทร. 0-2720-3397