กรุงเทพฯ--3 เม.ย.--124 คอมมิวนิเคชั่นส
ตัวแทนเกษตรกรผู้ปลูกยาสูบชาวเอเชียนับล้านจากประเทศจีน อินเดีย ปากีสถาน เวียดนาม เกาหลี ไทย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ได้รวมตัวกันที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซียในวันที่ 28 ถึง 30 มีนาคมนี้ เพื่อระดมพลต่อต้านการคุกคามของเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขนานาชาติที่เข้ามาริดรอนชีวิตความเป็นอยู่เหล่าเกษตรกรผู้ปลูกยาสูบ
จุดสำคัญที่ก่อให้เกิดความไม่พอใจของกลุ่มเกษตรกร เริ่มมาจากคำแนะนำที่ออกโดยคณะทำงานขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization) หรือ WHO โดยเมื่อ 10 ปีก่อน รัฐบาลหลายประเทศได้ลงนามในสนธิสัญญาภายใต้กรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบ (Framework Convention on Tobacco Control - FCTC) ขององค์การอนามัยโลก โดยสนธิสัญญาฉบับนี้มุ่งเน้นด้านการหาทางเลือกในการเลี้ยงชีพอื่นที่เป็นไปได้สำหรับเกษตรกรผู้เพาะปลูกใบยาสูบ ซึ่งมีสมมติฐานว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะช่วยให้อุปสงค์ของการบริโภคใบยาสูบลดลง ถึงแม้จะตระหนักดีว่า การหาทางเลือกใหม่ๆ นั้นจะต้องใช้เวลาหลายปี แต่คณะทำงานขององค์การอนามัยโลกก็ยังเดินหน้าจัดทำมาตรการดังกล่าวเนื่องด้วยแรงกดดันอย่างหนักอย่างต่อเนื่องหลายปีจากกลุ่มเอ็นจีโอต่อต้านการสูบบุหรี่ที่ได้รับเม็ดเงินสนับสนุนมากมาย ซึ่งส่งผลให้คำแนะนำที่คณะทำงานขององค์การอนามัยโลกจัดทำออกมามีทิศทางที่สุดโต่ง โดยออกมาตรการให้เลิกการเพาะปลูกใบยาสูบ แต่ไม่มีการให้ข้อเสนอแนะทางการแก้ปัญหาใดๆ ให้แก่กลุ่มชุมชนภาคเกษตรกรรมใบยาสูบในแถบภูมิภาคเอเชีย
นายแอนโตนิโอ อับรันโฮสา ประธานฝ่ายบริหารสูงสุดของ สมาคมผู้เพาะปลูกใบยาสูบนานาชาติ หรือ International Tobacco Growers Association (ITGA) กล่าวในฐานะตัวแทนของเกษตรกรผู้ปลูกยาสูบกว่า 30 ล้านคนทั่วโลกว่า “เป็นเวลาหลายปีมาแล้ว ที่เจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขเหล่านี้ซึ่งไร้ประสบการณ์ด้านการเกษตรกรรม ได้ทำงานอยู่เบื้องหลัง WHO ในการพยายามอธิบายให้เหล่าเกษตรกรปลูกพืชชนิดอื่นทดแทน เพื่อสามารถหาเลี้ยงครอบครัวของพวกเขาได้ แต่ด้วยเนื่องด้วยเจ้าหน้าที่เหล่านี้ไม่มีประสบการณ์และความรู้เพียงพอในด้านเกษตรกรรมเพื่อเปลี่ยนแปลงการเพาะปลูกของเกษตรกร จึงได้ตัดสินหาทางออกอย่างง่ายๆ คือผลักดันให้รัฐบาลต่างๆ ทำให้ชาวไร่ยาสูบไม่สามารถยึดอาชีพการเพาะปลูกยาสูบได้อีกต่อไป โดยมิได้คำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับผู้เกี่ยวข้องในอาชีพเกษตรการและงานต่างๆ นับล้านราย” “การกระทำเช่นนี้เหมือนกับเป็นการขอให้กระทรวงวัฒนธรรมเข้ามาแก้ไขวิกฤตทางเศรษฐกิจ ซึ่งผู้คนเหล่านี้ไม่มีความสามารถเพียงพอ เราต่างก็รู้ดีว่าหากห้ามประเทศใดประเทศหนึ่งปลูกใบยาสูบ ประเทศอื่นก็จะเข้ามามีบทบาทในการปลูกแทน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องมีผู้เชี่ยวชาญมาบอก”
ในภูมิภาคเอเชียมีเกษตรกรผู้ปลูกใบยาสูบนับล้านคน ซึ่งมีปริมาณการปลูกใบยาสูบมากกว่าครึ่งหนึ่งปริมาณใบยาสูบที่ปลูกทั่วโลก สำหรับเกษตรกรหลายคน ใบยาสูบเรียกได้ว่าเป็นพืชชนิดเดียวที่สามารถสร้างรายได้ที่ยั่งยืนและมั่นคงให้แก่ครอบครัวของพวกเขา
ในส่วนของประเทศไทยนั้น สมาคมผู้บ่ม ผู้เพาะปลูกและผู้ค้าใบยาสูบไทย (ส.ย.ท.) หรือ Thai Tobacco Growers, Curers and Dealers Association (TTA) ได้เป็นตัวแทนในการประชุมที่ประเทศมาเลเซียเพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองกับเหล่าเกษตรกรจากประเทศอื่นๆ ในเอเชีย รวมทั้งหารือเกี่ยวกับจุดยืนเพื่อต่อต้านนโยบายการลดการเพาะปลูกใบยาสูบ “เราขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยหันมารับฟังภาคเกษตรกรผู้เพาะปลูกใบยาสูบมากขึ้น และไม่ตัดสินใจนำมาตรการที่ไร้ความหมายจากกลุ่มผู้กดดันด้านสาธารณสุขต่างๆ ซึ่งมิได้คำนึงถึงผลกระทบต่างๆ มากมายที่เกิดขึ้นจากการใช้มาตรการดังกล่าวในประเทศไทย” นายกฤษณ์ ผาทอง รองนายกสมาคมผู้บ่มฯ เชียงใหม่ กล่าว
เกี่ยวกับการประชุม Asia Tobacco Forum
สมาคมผู้เพาะปลูกใบยาสูบนานาชาติ หรือ International Tobacco Growers Association (ITGA) และ สมาคมผู้ปลูกและผู้บ่มใยยาสูบประเทศมาเลเซีย หรือ PITAS ได้จัดการประชุมเอเชียโทแบคโคฟอรั่ม (Asia Tobacco Forum) ในวันที่ 28-30 มีนาคม 2555
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมโปรดติดต่อ
124 คอมมิวนิเคชั่นส คอนซัลติ้ง โทร. 0 2718 1886
กฤติยา นนทะนาคร krittiya@124comm.com ต่อ 226
นิรชา รื่นเริง nirachcha@124comm.com ต่อ 150