กรุงเทพฯ--4 เม.ย.--บางกอก พับบลิค รีเลชั่นส์
เนสท์เล่เผย ค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคภูมิแพ้ในเด็กอายุ 0-5 ปี สูงถึง 27,000 ล้านบาทต่อปี แต่สามารถป้องกันได้ด้วยโภชนาการที่เหมาะสมกับเด็กตั้งแต่แรกเกิด
การศึกษาล่าสุดในไทยระบุ อาการแพ้นมวัวในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ก่อให้เกิดค่ารักษาต่อคนต่อปีถึงกว่า 60,000 บาท คิดเป็นราว 24% ของรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือน
25% ของประชากรเด็กทั่วโลกป่วยเป็นโรคภูมิแพ้
บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด จัดสัมมนาเชิงวิชาการสำหรับสื่อมวลชนเรื่อง “กันไว้ดีกว่าแก้ ภาระโรคภูมิแพ้ขจัดได้” เพื่อนำเสนอผลการศึกษาเกี่ยวกับภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการรักษาโรคภูมิแพ้ในเด็กแรกเกิด ถึงอายุ 5 ปี ที่ทำขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย พร้อมแนะแนวทางวิธีในการป้องกันโรคภูมิแพ้ ซึ่งสามารถทำให้ลดภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นได้ ด้วยโภชนาการที่เหมาะสม โดยมี รศ.พญ.จรุงจิตร์ งามไพบูลย์ หัวหน้าหน่วยโรคภูมิแพ้และวิทยาภูมิคุ้มกัน ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นวิทยากรรับเชิญ และ คุณเมลิสซ่า ไอซัน ผู้อำนวยการ ฝ่ายการตลาดนมผงทารกและเด็กเล็ก บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด ให้การต้อนรับ
รศ.พญ.จรุงจิตร์ งามไพบูลย์ หัวหน้าหน่วยโรคภูมิแพ้และวิทยาภูมิคุ้มกัน ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “โรคภูมิแพ้ถือว่าเป็นโรคที่พบมากที่สุดในเด็ก จากการศึกษาของรศ.พญ.จรุงจิตร์ งามไพบูลย์ ที่จัดทำล่าสุด โดยอิงข้อมูลของจำนวนเด็กอายุ 0-5 ปี ในปี พ.ศ.2553 พบว่าจะมีโรคภูมิแพ้ได้ประมาณ 1.8 ล้านคนในประเทศไทย เพื่อประเมินถึงต้นทุนการรักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นโดยตรงจากโรคภูมิแพ้ พบว่า มีค่าใช้จ่ายในการรักษาสูงถึง 27,000 ล้านบาท หรือคิดเป็น 5% ของรายจ่ายด้านสุขภาพโดยรวมของประเทศ ตามรายงานของกระทรวงสาธารณสุขในปี พ.ศ. 2553 ค่าใช้จ่ายดังกล่าว ได้แก่ ค่ายาที่ใช้ในการรักษา ค่าใช้จ่ายในการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ค่าใช้จ่ายแบบผู้ป่วยนอก ค่าใช้จ่ายแบบผู้ป่วยใน เป็นต้น โดยภาวะภูมิแพ้ที่เราทำการศึกษาประกอบไปด้วย การแพ้นมวัว หวัดเรื้อรัง โรคหอบหืด และโรคผื่นแพ้ผิวหนัง”
คุณเมลิสซ่า ไอซัน ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดนมผงทารกและเด็กเล็ก บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด กล่าวว่า “อุบัติการณ์ของโรคภูมิแพ้ในเด็กแรกเกิดจนถึงอายุ 5 ปีทั่วโลกมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รายงานทางวิชาการล่าสุดพบว่า 25% ของประชากรเด็กทั่วโลกป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ เนสท์เล่เล็งเห็นถึงความสำคัญในการป้องกันและลดอุบัติการณ์โรคภูมิแพ้ในเด็ก จึงให้การสนับสนุนการศึกษาวิจัยและให้ความรู้กับ พ่อแม่ผู้ปกครองไทยผ่านทางสื่อมวลชนอย่างต่อเนื่อง”
รศ. พญ. จรุงจิตร์ อธิบายว่า “ยารักษาภาวะโรคภูมิแพ้ส่วนใหญ่มีเป้าหมายเพื่อควบคุมอาการและป้องกันการเป็นซ้ำ จึงมีความจำเป็นต้องใช้ยาอย่างต่อเนื่องในระยะยาวถ้ายังไม่สามารถจัดการกับต้นเหตุที่ทำให้เกิดอาการได้ จากการศึกษาของเราชี้ให้เห็นว่า ผลลัพธ์จากการใช้ยาเป็นองค์ประกอบที่ใหญ่ที่สุดของต้นทุนการรักษาโดยตรงคิดเป็นราว 46% ส่งผลให้ต้นทุนค่ารักษาสูงขึ้น ดังนั้นการป้องกันโรคภูมิแพ้ตั้งแต่เริ่มแรก คือตั้งแต่วัยแรกเกิดจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด อีกทั้งยังช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการรักษาโรคภูมิแพ้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการให้เด็กได้รับนมแม่อย่างน้อย 6 เดือนแรกของชีวิต เนื่องจากนมแม่เป็นสารอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก พร้อมทั้งยังประกอบไปด้วยจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี และยังช่วยลดการสัมผัสกับโปรตีนแปลกปลอมจากนมวัว มีประสิทธิภาพในการป้องกัน การเกิดโรคภูมิแพ้ได้ รวมไปถึงสารอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่ครบถ้วนที่ทารกพึงจะได้รับ เพื่อสุขภาพและพัฒนาการที่ดีสมวัย”
คุณ Melissa กล่าวเสริมว่า “เมื่อเด็กมีภาวะภูมิแพ้ย่อมส่งผลต่อสภาวะสุขภาพและพัฒนาการของเด็ก ในบางรายที่มีอาการภูมิแพ้รุนแรงอาจมีอันตรายถึงชีวิตได้ นอกจากนี้ ยังก่อให้เกิดภาระค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลที่สูงและไม่จบสิ้น ทั้งในระดับครัวเรือนและระดับประเทศ อีกทั้งยังทำให้พ่อแม่เป็นทุกข์และกังวลใจเมื่อเห็นลูกเจ็บป่วย ซึ่งประเมินค่ามิได้ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ พ่อแม่ผู้ปกครองควรหันมาให้ความสนใจในการป้องกันไม่ให้เด็กโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยแรกเกิดถึง 5 ขวบเกิดภาวะภูมิแพ้ โดยหากเด็กเป็นภูมิแพ้แล้วควรได้รับการรักษาและเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด เพื่อหาสาเหตุและคอยควบคุมร่วมกับการป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ”
ข้อมูลจากผลการวิจัยยังระบุว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมสูตรย่อยสลายโปรตีนบางส่วน (Partially Hydrolyzed) ในช่วง 4 เดือนแรก มีผลลัพธ์ในเชิงป้องกันการเกิดโรคภูมิแพ้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะโรคผื่นแพ้ผิวหนัง ซึ่งมีการติดตามผลการศึกษาถึง 6 ปี ก็ยังได้ผลอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อเทียบกับทารกที่เลี้ยงด้วยนมวัวสูตรปรกติ
ผลการศึกษาโดยรศ. พญ. จรุงจิตร์ โดยการสนับสนุนของ สถาบันโภชนาการเนสท์เล่ ชี้ให้เห็นถึงค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นต่อแต่ละครัวเรือนเพื่อรักษาโรคภูมิแพ้ในบุตรหลานวัยแรกเกิด- 5 ปี มีดังนี้ (1) ค่ายาที่ใช้ในการรักษา 46% (2) ค่าใช้จ่ายแบบผู้ป่วยใน 37% (3) ค่าใช้จ่ายแบบผู้ป่วยนอก 12% และ (4) ค่าใช้จ่ายในการตรวจทางห้องปฏิบัติการ 5%
ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายในการรักษาเฉลี่ยอยู่ที่ 5,432 บาท — 64,383 บาทต่อคนต่อปี โดยค่าใช้จ่ายในการรักษาที่สูงสุดมาจากการรักษาโรคแพ้นมวัวในเด็ก คือ 64,838 บาท หรือคิดเป็น 24% ต่อปีจากรายได้เฉลี่ยรวม ต่อครัวเรือน ตามด้วยโรคหวัดเรื้อรัง 12,669 บาท โรคหอบหืด 9,633 บาท และโรคผื่นแพ้ผิวหนัง 5,432 บาท
“ปัจจุบัน มีนมสูตรพิเศษ H.A. ที่มีโปรตีนซึ่งผ่านการย่อยบางส่วน จากผู้ผลิตหลายรายและหลากหลายแหล่งที่มาของโปรตีน อย่างไรก็ตาม ผลการวิจัย GINI ระบุว่า ทารกที่ได้รับนมสูตรพิเศษที่มีโปรตีนเวย์ 100% ที่ผ่านกระบวนการย่อยโปรตีนบางส่วนอย่างต่อเนื่องในช่วง 4 เดือนแรกมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคผื่น-แพ้ผิวหนังน้อยกว่า เมื่อเทียบกับทารกที่ได้รับนมวัวทั่วไปจนถึงอายุ 6 ปี” และในปัจจุบันยังมีนมสูตร H.A. ที่เสริมจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ เช่น บิฟิโดแบคทีเรีย ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่ช่วยในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันและช่วยลดการเกิดภูมิแพ้อีกด้วย รศ. พญ. จรุงจิตร์ กล่าวสรุป
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ:
บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด บริษัท บางกอก พับบลิค รีเลชั่นส์ จำกัด
โทรศัพท์ 02 657 8827 โทรศัพท์ 02 664 9500
บงกช แพบรรยง กัญฑิชา บุญโพธิ์แก้ว (ต่อ 112)
ผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์ ปานตา พูนทรัพย์มณี (ต่อ 116)