กรุงเทพฯ--5 เม.ย.--WWF
ขณะที่โลกของเรากำลังเผชิญกับความท้าทายครั้งสำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ และการเดินทางสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนยังเป็นไปอย่างล่าช้า Earth Hour 2012 เปิดพื้นที่สำหรับสาธารณชนในประเทศไทย ในการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงอย่างจริงจังเพื่อผลักดันยุทธศาสตร์ที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรมที่ยั่งยืน
ประชากรโลกใช้ทรัพยากรอย่างรวดเร็วเกินกว่าที่ระบบนิเวศจะสร้างขึ้นมาทดแทนได้ และขณะนี้เรากำลังใช้ทรัพยากรธรรมชาติไปในกิจกรรมต่างๆถึง 1.5 เท่าของที่มีอยู่ในโลก*ผลสะสมของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกนำไปสู่สถานการณ์การละลายของทะเลน้ำแข็งในอาร์คติค ไปจนถึงการตัดไม้ทำลายป่าที่จะกำลังจะกลายเป็นหายนะในแถบอเมซอน ปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวที่เกิดขึ้นในแนวปะการังใหญ่ (Great Barrier Reef)และความแห้งแล้งที่ก่อให้เกิดภาวะทุพภิขภัยในประเทศแถบตะวันออกเฉียงเหนือของอาฟริกาหรือHorn of Africa ตอนนี้ถึงเวลาที่เราต้องลงมือแล้ว
สิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาใหญ่ที่ต้องการให้ประชากรโลกช่วยหาทางออก กิจกรรมจิตอาสาเพื่อสิ่งแวดล้อมระดับโลกในปี 2012 คือ Earth Hour นำเสนอแนวคิดในการรณรงค์คือ “เธอกล้าท้า ฉันกล้าให้” เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนทั่วโลก ต้องปรับเปลี่ยนตัวเองเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยเร่งด่วน
“Earth Hour ยังเป็นโอกาสสำหรับประเทศไทย ที่ต้องเรียนรู้ที่จะเปลี่ยนแปลง และปรับตัวเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และบูรณาการเข้าไปในแผนยุทธศาสตร์ระดับประเทศ เพื่อการเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรมในระดับนโยบาย” รัฐพลพิทักษ์เทพสมบัติผู้จัดการโครงการฟื้นฟูลุ่มน้ำชีWWF ประเทศไทยกล่าว “ชุมชนท้องถิ่นมีกิจกรรมต้นแบบที่เป็นรูปธรรมของการปรับตัว ที่เป็นผลจากการอนุรักษ์ และฟื้นฟูระบบนิเวศน์พื้นที่ลุ่มน้ำ พื้นที่ชุ่มน้ำ ที่สอดคล้องกับการเกื้อหนุนการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืนของชุมชนท้องถิ่น ที่จะช่วยลดความเสี่ยงและความเปราะบางและป้องกันผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแต่เรายังต้องร่วมมือกัน เพื่อพลิกวิกฤตการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ”
พันธ์สิริวินิจจะกูลผู้อำนวยการWWF ประเทศไทยกล่าวว่า “WWF ทำงานอย่างใกล้ชิดกับองค์กรจากหลายภาคส่วนในประเทศไทยเพื่ออนุรักษ์สัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์อย่างเสือและช้างด้วยการปกปักรักษาป่าที่อุดมสมบูรณ์ซึ่งเป็นบ้านของพวกมันพิทักษ์ระบบนิเวศที่เกื้อกูลมนุษย์และเป็นภูมิคุ้มกันที่ช่วยลดความเสี่ยงจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศเรามีชุมชนห่างไกลที่ทำงานอย่างหนักในฐานะ“องครักษ์พิทักษ์ธรรมชาติ”เพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆถึงเวลาแล้วที่ชุมชนเมืองในกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่างๆทั่วประเทศจะลุกขึ้นมาประกาศเจตนารมณ์ร่วมกันในชั่วโมงที่มีความหมายนี้”
“เราไม่อาจผลักภาระให้คนรุ่นลูกหลานในการรักษาธรรมชาติที่มีค่าให้กับโลกใบนี้ไม่มีหนทางอื่นนอกจากประสานมือกัน
ช่วยเหลือเยียวยารักษาโลกของเราให้ทันการณ์” พันธ์สิริ กล่าว
WWF ยังได้ร่วมกับมูลนิธิสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนริเริ่มโครงการต่อเนื่องเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเยาวชนเกี่ยวกับการใช้พลังงานอย่างยั่งยืนภายใต้โครงการ“โรงเรียนใหญ่รอยเท้าเล็ก”ใน 6 เขต 24 โรงเรียนของกรุงเทพมหานครรอยเท้าเล็กๆของเด็กเหล่านี้จะสร้างหลักประกันให้พวกเราได้อุ่นใจว่าพวกเขาจะเติบโตอย่างมั่นคงและปลอดภัยด้วยการใช้ชีวิตที่สมดุลกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
Earth Hour ร่วมมือกับYou Tube เพื่อเปิดพื้นที่สาธารณะแนวหน้าของโลกแก่ผู้คน เพื่อมอบพลังแก่เพื่อนฝูง ครอบครัว เพื่อนร่วมงาน และองค์การต่างๆ ในการเร่งลงมือทำในระยะสั้นๆ เพื่อเติมเต็มเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมในระยะยาว สำหรับประเทศไทย กรุงเทพมหานครได้ให้ความร่วมมืออย่างดียิ่งโดยกับจับมือกับองค์กรมากกว่า 130 แห่ง ศิลปินดารานักร้องนักแสดง ที่อาสาเป็นฑูต และร่วมรณรงค์อาทิ โฟร์ สกลรัตน์ วรอุไร พอช ศรันย์ พีชยา ซีควินน์ กุญแจซอลนุกนิก' ปจิตราภรณ์เจริญมิเชลเบอร์แมนน์ชานนท์ทิพย์กนกแพรวและเฟรม AF8ใบเตยอาร์สยามซี-มัฑณาวีคีแนนวงรู้กกี้บีบีและพีเจดนูสิงหเสนี
ตัวแทนฑูตกิจกรรม กล่าวว่า “การปิดไฟหนึ่งชั่วโมงนั้นเป็นวิธีที่เยี่ยมยอดและทำได้จริงมันเป็นเพียงการกระทำเล็กๆแต่ส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อความเป็นอยู่ของโลกที่มีเพียงหนึ่งเดียวใบนี้ของเราคุณจะเห็นได้ว่าEarth Hour กลายเป็นตัวเร่งสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแล้วคุณนำแนวคิดนี้ไปไกลกว่าชั่วระยะ 60 นาทีให้กลายเป็นการกระทำหลายๆอย่างและมันก็จะกลายเป็นคำมั่นสัญญา”
บรรดาคนดังทั่วโลกต่างก็แสดงออกเพื่อส่งเสริมการเข้าร่วมและสนับสนุนEarth Hour เช่นกันตั้งแต่นักรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมไปจนถึงอัลกอร์อดีตประธานาธิบดีสหรัฐที่กระตุ้นผ่านวิดีโอที่บันทึกจากขั้วโลกใต้ให้ผู้คนในทุกที่ทั่วโลกร่วมปิดไฟในวันที่ 31 มีนาคม
การรณรงณ์ครั้งนี้ใช้ช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อเชื่อมต่อกับชุมชนโลกให้คนทั่วโลกเข้าถึงได้โดยง่ายและเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้ช่วยกันเปลี่ยนแปลงโลกที่เราอาศัยอยู่ คุณสามารถติดตามเรื่องราวของเราได้ผ่านช่องทางเหล่านี้