กรุงเทพฯ--10 เม.ย.--Communication Arts
กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ขยายเครือข่ายด้วยอุปกรณ์ฟอร์ติเน็ต ให้บริการสื่อสารที่ปลอดภัยแก่องค์กรและประชาชน
เพิ่มฟอร์ติเกทและฟอร์ติเมล์เชื่อมต่อสำนักงานภูมิภาค 21 แห่งทั่วประเทศ
ผู้บุกเบิกและผู้ให้บริการชั้นนำด้านโซลูชั่นการบริหารจัดการป้องกันภัยแบบเบ็ดเสร็จหรือยูทีเอ็ม (Unified Threat Management: UTM) — ประกาศว่ากรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เลือกใช้โซลูชั่นด้านความปลอดภัยเครือข่ายเพิ่มเติม เพื่อยกระดับการปกป้องเครือข่ายสื่อสารระหว่างสำนักงาน 21 แห่งทั่วประเทศ เพื่อดูแลเว็ปไซท์ที่ให้บริการจองที่พักให้แก่ประชาชนให้ปลอดภัยจากภัยคุกคามต่างๆ ในขณะที่ยังเพิ่มประสิทธิภาพของเครือข่ายให้พนักงานในองค์กรทำงานได้คล่องตัวมากขึ้นอีกด้วย
ทั้งนี้ เครือข่ายที่ต้องการการปกป้องนั้นเป็นเครือข่ายการสื่อสารหลักของกรมอุทยานฯ ที่เชื่อมต่อระหว่างสำนักงานใหญ่ กรมอุทยานฯ ในกรุงเทพฯ และสำนักงานของกรมอีก 21 แห่งที่ตั้งอยู่ทั่วประเทศ นับตั้งแต่ทางภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน แพร่ ลำปาง ตาก พิษณุโลก ลงมาถึงภาคกลางที่จังหวัดนครสวรรค์ สระบุรี ปราจีนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ภาคอีสาน เช่น นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี อุบลราชธานีและภาคใต้ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี เป็นต้น เป็นเครือข่ายที่ใช้รองรับภารกิจทั้งหมด อันรวมถึงงานด้านวิจัยเพื่อการอนุรักษ์งานการให้บริการข้อมูล โครงงานส่งเสริมการมีส่วนร่วมรักษาทรัพยากรของประชาชน งานเว็ปไซท์ของกรมอุทยานฯ ที่เปิดให้ประชาชนทั่วไปที่สนใจข้อมูลงานวิจัย สันทนาการและการท่องเที่ยวทางธรรมชาติได้จองบ้านพักในเขตอุทยานแห่งชาติแบบออนไลน์
กรมอุทยานฯ จึงได้ตัดสินใจซื้ออุปกรณ์ฟอร์ติเกท (รุ่น Fortigate 5000) ฟอร์ติเมล์ (FortiMail 2000A) และฟอร์ติอนาไลเซอร์ (FortiAnalyzer 2000B) เพื่อปกป้องเครือข่าย รองรับการใช้งานของพนักงานในสำนักงานใหญ่ 4,000 คน และเลือกฟอร์ติเกทรุ่น FortiGate 200B พร้อมฟอร์ติอนาไลเซอร์ (FortiAnalyzer-100C) ติดตั้งที่สำนักงานต่างจังหวัด 21 แห่ง ซึ่งมีผู้ใช้งานรวมประมาณ 2,000 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 6,000 คน ทั้งนี้ยังไม่รวมประชาชนทั่วไปที่เข้ามาจองบ้านพักแบบออนไลน์ ซึ่งในปัจจุบัน มีจำนวนคนจากทั่วประเทศที่เข้ามาที่เว็ปไซท์ใช้บริการจองที่พักของกรมอุทยานฯ นี้มากกว่า 10,000 รายต่อเดือน นอกจากนี้ ทีมงานออกแบบโซลูชั่นของฟอร์ติเน็ตได้ช่วยติดตั้งและให้คำปรึกษาวิธีจัดการให้ผู้ใช้งานภายในกรมฯ Authenticate กับ Windows Active Directory เพื่อจัดการนโยบายด้านการเชื่อมโยงไปยังอินเตอร์เน็ตให้เหมาะสมตามกลุ่มของผู้ใช้งานและยังเป็นการจัดการให้เป็นไปตามข้อกำหนดของพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ ปี 2550 อีกด้วย
ย้อนไปในปี 2546 ที่กรมอุทยานฯ ได้เริ่มมีแผนงานพัฒนาเครือข่ายออนไลน์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยมีเป้าหมายให้เป็นเครือข่ายที่สามารถให้บริการแก่พนักงานภายในของกรมอุทยานฯที่ปลอดจากภัยคุกคามต่างๆ มีประสิทธิภาพ และจะต้องเป็นเครือข่ายที่ให้บริการจองบ้านพักเขตอุทยานต่างๆ ทั่วประเทศ ในขณะที่เริ่มต้นโครงการนั้น กรมอุทยานฯ ได้ใช้อุปกรณ์ไฟร์วอลล์จากผู้ขายรายหนึ่ง ซึ่งกรมอุทยานฯ เห็นว่าการใช้ซอฟท์แวร์บน Server ยังมีความไม่เสถียร ดูแลยาก จึงเริ่มต้นมองหาผลิตภัณฑ์ด้านความปลอดภัยที่เป็นฮาร์ดแวร์
หลังจากนั้น ทีมงานเจ้าหน้าที่เทคนิคของฟอร์ติเน็ตเข้ามาศึกษาปัญหาอย่างใกล้ชิดและละเอียด และได้แนะนำผลิตภัณฑ์ต่างๆ กรมอุทยานจึงได้ตัดสินใจเริ่มใช้ไฟร์วอลล์ฟอร์ติเกทสำหรับเป็นอินเตอร์เน็ตเกทเวย์ พร้อมฟอร์ติเมลสำหรับความปลอดภัยด้านข้อมูลเมล และฟอร์ติอนาไลเซอร์ทำหน้ารายงานครบวงจร และพบว่ามีประสิทธิภาพเป็นที่น่าพอใจมาก
ในปัจจุบัน กรมอุทยานฯ ใช้ฟังก์ชั่นงานจากอุปกรณ์อย่างครบถ้วนเพื่อการป้องกันภัยคุกคามในทุกรูปแบบ ได้แก่ ไฟร์วอลล์ Firewall วีพีเอ็น(VPN) ไอพีเอส (IPS) แอนตี้ไวรัส (AntiVirus) แอนตี้สแปม(AntiSpam) การกรองเว็ปไซท์ที่ไม่เหมาะสม(Web Filtering) และการควบคุมการใช้โปรแกรมประยุกต์(Application Control)
นายอนิรุทธิ์ ถนอมวัฒนา ผู้อำนวยการศูนย์สารสนเทศ กล่าวว่า “กรมอุทยานฯ ได้เลือกใช้อุปกรณ์ฟอร์ติเกทแทนอุปกรณ์ไฟร์วอลล์ชุดเดิม ซึ่งฟอร์ติเกทมีประสิทธิภาพดีกว่ากันอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะการที่สามารถบริหารจัดการได้ดีกว่า ใช้ง่าย ดูแลง่าย ใช้ในการเปิดปิดบริการต่างๆ ป้องกันการบุกรุก และเป็นแอนตี้สแปมได้ดี”
“เนื่องจากเป็นโซลูชั่นเบ็ดเสร็จ ทั้งฟอร์ติเกท ฟอร์ติเมล์และฟอร์ติอนาไลเซอร์มีดีเรื่องบริหารการจัดการ ทำงานที่ราบรื่น ไม่หยุดชะงัก จึงให้กรมอุทยานฯ สามารถให้บริการที่ต่อเนื่อง สร้างความสะดวกแก่ประชาชนทั่วไปได้ดี นอกจากนี้ การถูกรุกรานเครือข่ายและเมลขยะน้อยลงเป็นอย่างมาก พูดได้ว่าการลงทุนในโซลูชั่นของฟอร์ติเน็ตที่เป็นประเภทยูทีเอ็มนั้นคุ้มค่าเพราะใช้จำนวนอุปกรณ์น้อยลงในขณะที่เพิ่มประสิทธิภาพได้มากขึ้นอย่างชัดเจน เจ้าหน้าที่ด้านไอทีมีเวลาทำงานตามแผนงานได้อย่างเต็มที่ กรมฯ ยังมีแผนงานที่จะขยายการเชื่อมต่อไปยังศูนย์ฝึกอบรมอีก 5 แห่ง ในอนาคตอันใกล้นี้” นายอนิรุทธ์กล่าวเสริม
พีระพงศ์ จงวิบูลย์ ผู้จัดการประจำประเทศไทยของฟอร์ติเน็ต กล่าวว่า “ฟอร์ติเน็ตมีส่วนร่วมในการออกแบบโซลูชั่นให้กับกรมอุทยานฯ ตั้งแต่วันแรก ฟอร์ติเน็ตขอขอบคุณที่กรมอุทยานฯ ให้ความเชื่อมั่นในประสิทธิภาพของโซลูชั่นจากฟอร์ติเน็ตที่มีมาอย่างต่อเนื่องหลายปี จนกระทั่งในวันนี้ที่กรมอุทยานฯ เลือกฟอร์ติเน็ตอีกครั้ง ทั้งนี้บริษัทฯ มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้มีส่วนช่วยพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของกรมฯ ให้สามารถให้บริการแก่เจ้าหน้าที่ภายในกรมฯ และประชาชนทั่วไปได้อย่างสะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น”