กรุงเทพฯ--17 เม.ย.--เวิรฟ
โปรตีน เป็นสารอาหารที่สำคัญต่อการสร้างเซลล์ในร่างกายของเรา ในทุกๆ วัน เซลล์ทั่วร่างกายมนุษย์ซึ่งมีจำนวน 10 ล้านล้านเซลล์ จะย่อยสลายและสร้างใหม่ 24,000 ล้านเซลล์ทุกวัน โดยทุก 9 เดือน เซลล์กว่ากึ่งหนึ่งจะถูกทดแทนด้วยเซลล์ใหม่ที่ได้จากสารอาหารที่รับประทานในแต่ละวัน ดังนั้น อาหารที่รับประทานจึงมีบทบาทสำคัญ ทำหน้าที่เป็นโครงสร้างทดแทนเซลล์ใหม่ในร่างกายให้เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพและช่วยรักษาสุขภาพให้สมบูรณ์สูงสุด ช่วยยืดอายุของเราให้ยืนยาวยิ่งขึ้น
สถาบันสุขภาพนิวทริไลท์ (Nutrilite Health Institute) สหรัฐอเมริกา ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโปรตีนว่า...เป็นส่วนประกอบหลักของเนื้อเยื่อ เอนไซม์ เซลล์ และฮอร์โมน รวมทั้งยังเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเลือดและระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ถึงแม้โปรตีนจะมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างมหาศาล แต่ร่างกายกลับไม่สามารถเก็บสะสมโปรตีนไว้ใช้ในอนาคตได้ เพราะมีกระบวนการสลายและขับโปรตีนทิ้งทุกวันในรูปแบบการหลุดร่วงของเส้นผม การหลุดลอกของเซลล์บุทางเดินอาหารที่ขับออกทางอุจจาระ เซลล์ผิวหนังที่ตายลงและขับออกในรูปขี้ไคล การสลายเม็ดเลือดแดงและเซลล์ตามอวัยวะต่างๆ ที่หมดอายุ โปรตีนภายในร่างกายส่วนใหญ่ถูกขับถ่ายในรูปของยูเรียในปัสสาวะ ด้วยเหตุนี้ ร่างกายจึงจำเป็นต้องได้รับโปรตีนให้เพียงพอทุกวัน เพื่อให้ร่างกายนำโปรตีนไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ ช่วยเรื่องการเจริญเติบโตและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอในร่างกาย
โปรตีนประกอบด้วยกรดอะมิโน 2 ชนิด คือ ชนิดไม่จำเป็น ซึ่งร่างกายสามารถผลิตขึ้นเองได้ และชนิดจำเป็น ซึ่งร่างกายไม่สามารถผลิตเองได้ แต่จำเป็นต้องได้รับกรดอะมิโนจำเป็นทั้งหมด 9 ชนิดจากอาหาร ได้แก่ ฮิสติดีน (Histidine) ไอโซลิวซีน (Isoleucine) ลิวซีน (Leucine) ไลซีน (Lysine) เมไธโอนีน (Methionine ) เฟนิลอลานีน (Phenylalanine) ทรีโอนีน (Threonine) ทริปโตเฟน (Tryptophan) วาลีน (Valine) ดังนั้น เราจึงต้องรับประทานอาหารที่ให้สารอาหารโปรตีนและมีกรดอะมิโนจำเป็นครบถ้วน โดยโปรตีนจากอาหารแต่ละชนิดมีคุณภาพแตกต่างกัน พบมากในอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ต่างๆ เพราะสัตว์มีโปรตีนคล้ายมนุษย์ ดังนั้น ผลิตภัณฑ์จากสัตว์จึงมีกรดอะมิโนครบถ้วน มีคุณภาพโปรตีนสูง แต่น่าเสียดายที่ย่อยและดูดซึมได้ยาก ไม่มีไขมันอิ่มตัวและโคเลสเตอรอลสูง เช่นเดียวกับนมถึงแม้จะย่อยและดูดซึมได้ง่าย แต่สำหรับผู้ที่มีปัญหาเรื่องการย่อยน้ำตาลแลคโตสในนมไม่ได้มักจะ พบปัญหาดื่มนมแล้วท้องเสีย โดยจากสถิติที่พบส่วนใหญ่ของผู้ที่มีปัญหานี้คือ คนเอเชียเกือบ 100%
ดังนั้น นักโภชนาการจากสถาบันสุขภาพนิวทริไลท์ แนะนำว่าการรับประทานโปรตีนจากพืชจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง แต่โปรตีนจากพืชต้องมาจากพืชหลากหลายประเภท เพราะพืชประเภทเดียวอาจจะให้กรดอะมิโนจำเป็นเพียงบางชนิด ดังนั้น โปรตีนจากพืชแนวใหม่ที่ให้กรดอะมิโนจำเป็นครบถ้วน หรือเรียกว่า แพลนท์ โปรตีน (Plant Protein) ที่สกัดจากถั่วเหลือง ข้าวสาลี และถั่วพี จึงเป็นโปรตีนที่แนะนำให้รับประทาน ทั้งยังให้โปรตีนที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกายได้ตามปกติ พร้อมให้กรดอะมิโนจำเป็นครบถ้วน ไม่มีส่วนผสมของแลคโตส ปราศจากไขมันและโคเลสเตอรอล จึงเหมาะกับผู้ที่แพ้นมหรือย่อยน้ำตาลแลคโตสในนมไม่ได้ รวมถึงผู้ที่รับประทานมังสวิรัติ ฮาลาล และเจอีกด้วย
คุณประโยชน์ต่อสุขภาพของ…
“โปรตีนจากพืช สกัดจากถั่วเหลือง ข้าวสาลี และถั่วพี”
ถั่วเหลือง เป็นพืชที่มีปริมาณของโปรตีนมากสูงสุดถึง 36 — 56% ของน้ำหนักถั่วเหลือง อีกทั้งมีไฟโตนิว เทรียนท์ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
ถั่วพี มีกรดอะมิโนที่สำคัญและจำเป็นสำหรับร่างกายมนุษย์ในการซ่อมแซมเนื้อเยื่อและการเจริญเติบโตของโมเลกุลของโปรตีนในร่างกายมนุษย์ มีบทบาททางสุขภาพที่หลากหลาย เช่น เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน รักษาบาดแผล และเสริมสร้างกล้ามเนื้อ และช่วยป้องกันการเกิดอาการแพ้ ทำให้ร่างกายมีความสามารถในการย่อยสูง
ข้าวสาลี เป็นกรดอะมิโนจำเป็นที่เป็นโครงสร้างหลักของโปรตีนของเซลล์กล้ามเนื้อ ช่วยลดการเสื่อมสลายของกล้ามเนื้อ ช่วยให้สมองทำงานที่ดีมากขึ้น
สาเหตุที่ร่างกายคุณเสื่อมสภาพ เซลล์อ่อนแรง อ่อนล้า ทำงานได้ไม่ปกติ เพราะโปรตีนสัมพันธ์กับเซลล์ทุกส่วนของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นเซลล์สมอง ผิว ผม ตา หัวใจ เล็บ กระเพาะ และเซลล์สืบพันธุ์ เพราะทุกส่วนในร่างกายล้วนประกอบไปด้วยเซลล์ โปรตีนจึงสัมพันธ์กับสุขภาพของคุณโดยตรงและจำเป็นต่อการทำงานของเมแทบอลิซึมให้เป็นปกติ รวมทั้งมีส่วนสำคัญต่อกระบวนการสร้างภูมิคุ้มกันให้เซลล์ต่างๆ ทั่วร่างกาย ดังนั้น นอกจากจะต้องให้ความสำคัญกับการรับประทานโปรตีนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายแล้ว การเลือกโปรตีนที่ให้กรดอะมิโนจำเป็นครบถ้วนก็เป็นสิ่งที่ผู้บริโภคควรคำนึงถึงเป็นอันดับแรกๆ ด้วย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อบริษัทที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์แอมเวย์: เวิรฟ
อรรณพ ธีรวัฒนเศรษฐ์ (จุ้ย) โทร.0-2204-8213
พรชนันท์ ยามะรัต (กิฟท์) โทร.0-2204-8223
ศรุตยา มหากายี (โอ๋) โทร.0-2204-8224