เตือนภัยอาหารควรระวังในช่วงฤดูร้อน

ข่าวทั่วไป Wednesday April 18, 2012 13:50 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--18 เม.ย.--ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ กระทรวงวิทยาศาสตร์ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) โดย นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ กล่าวถึงอาหารที่ควรระวังในช่วงฤดูร้อนว่า อาหารพวกนมเนยและครีม เป็นของที่มีสิทธิ์บูดเสียได้เพราะในอุณหภูมิสูงจะทำให้มีเชื้อบางชนิดโตเร็ว เช่นเชื้อแบคทีเรียที่หมักนมจนเน่าเสียเหม็นเปรี้ยวได้ หรือในครีมสดก็งดเก็บไว้นานควรใช้ให้หมดในคราวเดียว ขนมที่เข้านมเนยและขนมที่มีไส้โดยเฉพาะไส้ครีมอย่าง เอแคลร์นมสด,ซาละเปาไส้ครีม ต้องดูว่าไส้ข้างในจะสอดไส้อะไรไว้ และขอให้ดูวันหมดอายุด้วย อาหารสอดไส้ จำพวกไข่แดง,ถั่ว,ข้าวโพดธัญพืชต่างๆ ยกตัวอย่าง ขนมเปี๊ยะ ที่เก็บได้นานจริงแต่ก็ต้องระวังเชื้อราที่มากับถั่วได้ เพราะเสี่ยงมะเร็งตับจาก “อะฟลาท็อกซิน(Aflatoxin)” หรือท้องเสียจากเชื้อ “ซัลโมเนลล่า(Salmonella)” ในไข่เน่า อาหารเข้ากะทิ เป็นที่นิยมมากได้แก่ ข้าวเหนียวมะม่วงอกร่องทอง, ขนมจีนซาวน้ำ หรือจะเป็น แกงเขียวหวานและขนมน้ำกะทิซึ่งแม้ว่ากะทิน่ะมีประโยชน์ได้วิตามินอีและกรดไขมันดี แต่อยู่ในอากาศร้อนนานกะทิก็จะบูดง่าย ถ้ากินกะทิสดหรือกะทิกล่องก็ขอให้ทานสดๆ ที่เหลือเก็บใส่ตู้เย็นให้ดี น.พ.กฤษดา กล่าวว่า อาหารที่ควรต้องระวังอีกอย่างคือ ของทอดของมัน การกินของมันช่วงหน้าร้อนเป็นการเพิ่มการอักเสบจริงๆ เพราะในของมันส่วนใหญ่ทอดด้วยน้ำมันพืช เช่นกล้วยแขก,ข้าวเม่า,มันฝรั่ง,ข้าวโพดคั่ว ฯลฯ ในน้ำมันพืชมี “เคมีอักเสบ” อยู่คือกรดไขมันโอเมก้า 6 มันจะทำให้ร่างกายไปกระตุ้นให้ยิ่งร้อนรุ่มหนักขึ้น อัลกอฮอล์ เหล้า เบียร์ ข้าวหมาก ฯลฯ อาจทำให้เมาค้างแล้วหลับยาวแบบไม่ตื่นได้จากการที่หัวใจหยุดเต้น การดื่มอัลกอฮอล์แรงๆมีผลต่อหัวใจมากอยู่แล้ว ยิ่งในหน้าร้อนจะทำให้ขาดน้ำแล้วเกิดอาการ “ช็อค” ได้ดังที่เคยมีข่าวอยู่เป็นระยะ ของมึนเมาให้ความร้อนและพลังงานสูง กินแล้วดับร้อนไม่ได้เลย ของกระป๋องและของหมักดอง (Fermentation organisms) หากทิ้งไว้ในอุณหภูมิสูงอาจมีเชื้อปนเปื้อนได้ง่าย ของสดทั้งเปลือก ไม่ได้ห้ามรับประทานแต่ให้ระวังไว้เพราะเชื้อท้องร่วงอย่าง “ซัลโมเนลล่า”, “อี.โคไล” และอื่นๆอีกมาก อาจเข้าสู่ร่างกายได้เวลาเราทานผักดิบแกล้มส้มตำ,ผักเหนาะหรือเหมือดแกล้มขนมจีนและกินผลไม้สดจากรถเข็นที่ใช้เขียงร่วมกัน ทุเรียน และผักผลไม้ที่มี “กำมะถัน”มาก กำมะถันหรือซัลเฟอร์เป็นสารประกอบที่มีมากในผักผลไม้บางประเภท นึกง่ายๆคือชนิดที่มีกลิ่นฉุนรุนแรง เช่น กระเทียม,กุยช่าย,หัวหอม,สะตอ,กระถิน ฯลฯ อาหารที่มีกำมะถันมากอย่างนี้จะเพิ่มความร้อนในร่างกาย อาจทำให้เกิดอาการอักเสบหรือที่เรียกจนชินปากว่า “ร้อนใน” ได้ เทคนิคคือกินแล้วให้ดื่มน้ำตามมากๆแล้วอย่าเพิ่งไปออกกำลังกายหนัก ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์ นานาชาติ กล่าวด้วยว่า ของเค็ม ก็เช่นเดียวกัน อย่าง “ข้าวแช่” ก็มีของเค็มอย่างลูกกะปิทอดหรือปลาป่นหวาน,กระเทียมดองผัดไข่,ไชโป๊วผัดอะไรทำนองนี้ล้วนแต่มี “ธาตุเค็ม(โซเดียม)” อยู่พอใช้ ด้วยความเค็มทำให้ปัสสาวะบ่อยกระหายน้ำ คนแต่ก่อนท่านจึงให้ดื่มน้ำตามด้วย “ข้าวแช่” ที่เย็นชื่นใจ สำหรับท่านที่นิยมอาหารชาววังเก่าก็คอยระวังเรื่องกับข้าวแช่ให้ดี ท่านที่ทานของเค็มอื่นช่วงหน้าร้อนก็ใช้น้ำดื่มดับเค็มเข้าไปมากๆจะทำให้สบายไม่ร้อนจัด ไอศกรีม รวมไปถึงน้ำแข็งเย็น ไอศกรีมทุกประเภทจะเป็นโคนหรือรถเข็นจัดเป็นของโปรดทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ในไอศกรีมที่มีครีมหรือกะทิต้องระวังการปนเปื้อนด้วย อีกทั้งน้ำแข็งในน้ำดื่มด้วยช่วยดูสักนิดว่ามีการแยกช่องระหว่างไอศกรีม,น้ำแข็งบริโภคและอาหารสดด้วยหรือไม่ รวมถึงให้ระวังการเปิดตู้เย็นๆบ่อยๆหรือร้านที่ชอบถอดปลั๊กตู้ไอศกรีมไว้เป็นระยะด้วย ทั้งนี้ น.พ.กฤษดา ย้ำว่า อาหารที่ยกตัวอย่างมาทั้งหมดไม่ได้ห้ามรับประทาน แต่ให้ระวังเพื่อ ติดต่อ: ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (ศลช.) หรือ TCELS www.tcels.or.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ