ศปถ. รณรงค์สงกรานต์ปลอดภัย 6 จังหวัด 671 อำเภอ ตายเป็น “ศูนย์”

ข่าวทั่วไป Wednesday April 18, 2012 14:05 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--18 เม.ย.--ปภ. ศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2555 โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สรุปสถิติอุบัติเหตุทางถนนประจำวันที่ 17 เม.ย. 55 เกิดอุบัติเหตุ 257 ครั้ง ผู้เสียชีวิต 38 ราย ผู้บาดเจ็บ 261 คน รวม 7 วัน (วันที่ 11 — 17 เม.ย. 55) เกิดอุบัติเหตุ 3,129 ครั้ง ผู้เสียชีวิต 320 ราย ผู้บาดเจ็บ 3,320 คน ศปถ.เตรียมนำประเด็นข้อสังเกตสำคัญไปปรับแผนงานให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและปัจจัยเสี่ยง เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบและประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้บังเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้อุบัติเหตุทางถนนมีสถิติการตายเป็น “ศูนย์” นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะประธานกรรรมการและผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน เปิดเผยว่า ศูนย์อำนวยการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2555โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้รวบรวมสถิติอุบัติเหตุทางถนนประจำวันที่ 17 เมษายน 2555 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการรณรงค์ “สงกรานต์ปลอดภัย ตายเป็นศูนย์” เกิดอุบัติเหตุ 257 ครั้ง ผู้เสียชีวิต 38 ราย ผู้บาดเจ็บ 261 คน จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ นครสวรรค์ 12 ครั้ง จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ นครราชสีมา หนองบัวลำภู จังหวัดละ 4 ราย จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสูงสุด ได้แก่ นครสวรรค์ 15 คน สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ เมาสุรา ร้อยละ 30.74 ขับรถเร็วเกินกำหนด ร้อยละ 21.79พฤติกรรมเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บและเสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ ไม่สวมหมวกนิรภัย ร้อยละ 22.41 ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ร้อยละ 2.68 ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 78.52 รถปิคอัพ ร้อยละ 11.11 ส่วนใหญ่เกิดในเส้นทางตรง ร้อยละ 61.09 บนถนนทางหลวงแผ่นดิน ร้อยละ 42.80 ถนน อบต./หมู่บ้าน ร้อยละ 31.91 ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ช่วงเวลา 16.01 — 20.00 น. ร้อยละ 31.13 ผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มวัยแรงงาน ร้อยละ 48.16 ทั้งนี้ ได้จัดตั้งจุดตรวจหลัก 2,411 จุด มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน 69,876 คน สรุปอุบัติเหตุทางถนนรวม 7 วัน (วันที่ 11 — 17 เม.ย. 55) เกิดอุบัติเหตุรวม 3,129 ครั้ง ผู้เสียชีวิตรวม 320 ราย ผู้บาดเจ็บรวม 3,320 คน จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิตทั้ง 7 วัน มี 6 จังหวัด ได้แก่ ตรัง ตราด นครพนม ปัตตานี ระนอง และสตูล จังหวัดที่ไม่มีผู้บาดเจ็บทั้ง 7 วัน มี 3 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชัยภูมิ และยโสธร จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสูด ได้แก่ เชียงราย 125 ครั้ง จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด ได้แก่ สุราษฎร์ธานี 13 ราย จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด ได้แก่ เชียงราย 124 คน จากการวิเคราะห์ข้อมูลสถิติอุบัติเหตุทางถนนทั้ง 7 วัน พบว่า สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ เมาสุรา ร้อยละ 39.21 ขับรถเร็วเกินกำหนด ร้อยละ 21.57 พฤติกรรมเสี่ยงที่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บและเสียชีวิตสูงสุด ได้แก่ การไม่สวมหมวกนิรภัย ร้อยละ 28.90 ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ร้อยละ 2.25 ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ ร้อยละ 82.14 รถปิคอัพ ร้อยละ 9.72 ส่วนใหญ่เกิดในเส้นทางตรง ร้อยละ 61.84 บนถนน อบต./หมู่บ้าน ร้อยละ 36.05 ถนนทางหลวงแผ่นดิน ร้อยละ 34.93 ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ช่วงเวลา 16.01 — 20.00 น. ร้อยละ 32.15 ผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มวัยแรงงาน ร้อยละ 54.15 รวม 7 วัน เรียกตรวจยานพาหนะ 4,764,145 คัน มีผู้ถูกดำเนินคดีรวม 695,678 ราย โดยมีความผิดฐานไม่สวมหมวกนิรภัยมากที่สุด 206,990 ราย รองลงมา ไม่มีใบขับขี่ 202,511 ราย นายยงยุทธ กล่าวต่อไปว่า จากข้อมูลสถิติอุบัติเหตุในช่วง 7 วัน พบว่า มีจังหวัดไม่มีผู้เสียชีวิต 6 จังหวัด ได้แก่ นครพนม ตราด ตรัง ปัตตานี ระนอง และสตูล อำเภอที่ไม่มีผู้เสียชีวิต 671 อำเภอ อำเภอที่ไม่เกิดอุบัติเหตุ 256 อำเภอ ซึ่งกระทรวงมหาดไทย จะได้มอบเกียรติบัตรยกย่องจังหวัดและอำเภอที่มีผลการปฏิบัติงานยอดเยี่ยม ส่งผลให้ไม่มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนในพื้นที่ และยังพบอีกว่า จำนวนครั้งที่เกิดอุบัติเหตุทางถนนและผู้บาดเจ็บมีสถิติลดลง แต่ผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 18.08โดยมีสาเหตุหลักจากการขับรถด้วยความเร็วสูง กรณีรถจักรยานยนต์ ผู้เสียชีวิตส่วนมากไม่สวมหมวกนิรภัย ส่วนรถปิคอัพ ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นผู้โดยสารที่นั่งท้ายกระบะ โดยปัจจัยเสริมที่ทำให้อุบัติเหตุรุนแรงมากขึ้นเกิดจากผู้ขับขี่มีพฤติกรรมเสี่ยงจากการเมาแล้วขับ การหลับใน และการไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ประกอบกับการไม่มีอุปกรณ์ยึดหรือเหนี่ยวรั้ง ทำให้ผู้โดยสารท้ายกระบะกระเด็นออกนอกรถ ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามนโยบายของนายกรัฐมนตรี ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนจะได้สรุปผลการดำเนินงานและนำประเด็นข้อสังเกต ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการลดอุบัติเหตุทางถนนไปประกอบการกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหา และปรับแผนการดำเนินงานให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและปัจจัยเสี่ยง พร้อมนำเสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำแผนไปสู่การปฏิบัติทั้งในช่วงปกติและช่วงเทศกาลให้บังเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้อุบัติเหตุทางถนนมีสถิติการตายเป็น “ศูนย์”

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ