กรุงเทพฯ--18 เม.ย.--กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
กรีนพีซสากลนำเสนอรายงานฉบับล่าสุด ซึ่งระบุว่าการขยายตัวอย่างรวดเร็วของระบบการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ (cloud computing) ที่ริเริ่มโดยบริษัทไอทียักษ์ใหญ่ทำให้มีการใช้พลังงานสกปรกจากถ่านหินและนิวเคลียร์เพิ่มขึ้น รายงานฉบับล่าสุดชื่อว่า "คลาวด์ที่คุณใช้สะอาดเพียงใด (How clean is Your Cloud" (1) แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างภายในอุตสาหกรรมไฮเทคระหว่างบริษัทที่ใช้แหล่งพลังงานสะอาดป้อนระบบการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆของตน อย่างเช่น กูเกิล ยาฮูและเฟซบุค และบริษัท อย่างเช่น แอปเปิล อะเมซอนและไมโครซอฟต์ ซึ่งตามหลังโดยการเลือกไฟฟ้าจากถ่านหินและนิวเคลียร์ป้อนศูนย์ข้อมูล (data centers) ที่ขยายตัวเพิ่มมากขึ้น (2) (3)
รายงานฉบับล่าสุดของกรีนพีซได้ทำการประเมินบริษัทไอที 14 แห่ง และแหล่งผลิตไฟฟ้าที่นำมาใช้ในศูนย์ขัอมูลมากกว่า 80 แห่ง โดยใช้เกณฑ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการสร้างระบบการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ (cloud) ที่สะอาด
แกรี่ คุก นักวิเคราะห์นโยบายอาวุโสของกรีนพีซสากลกล่าวว่า "เมื่อคนทั่วโลกแบ่งปันเพลงหรือภาพถ่ายบนคลาวด์ พวกเขาอยากรู้ว่าระบบคลาวด์นั้นถูกป้อนด้วยพลังงานที่สะอาดและปลอดภัย แต่บริษัทที่มีนวัตกรรมและผลกำไรสูงอย่างแอปเปิล อะเมซอนและไมโครซอฟต์กำลังสร้างศูนย์ข้อมูลที่ใช้พลังงานจากถ่านหินและทำเหมือนกับว่าลูกค้าและผู้ใช้บริการไม่รู้และไม่สนใจ บริษัทเหล่านี้กำลังคิดผิด"
เมื่อคนทั่วโลกจำนวนมากขึ้นใช้คลาวด์เพื่อเก็บและแบ่งปันภาพถ่าย วิดีโอและเอกสารต่างๆ บริษัทไอทีจำต้องสร้างศูนย์ขัอมูลมากขึ้น อาคารศูนย์ข้อมูลเหล่านี้ซึ่งมีขนาดใหญ่และสามารถมองเห็นได้จากอวกาศ ใช้จัดเก็บคอมพิวเตอร์นับพันและใช้ไฟฟ้าอย่างมหาศาล ศูนย์ข้อมูลบางแห่งใช้ไฟฟ้ามากเท่า ๆ กับบ้านเรือนของคนในยุโรปประมาณ 250,000 หลัง รายงานวิจัยของกรีนพีซระบุด้วยว่า ถ้าสมมุติให้ระบบประมวลผลแบบกลุ่มเมฆเป็นประเทศประเทศหนึ่ง ความต้องการใช้ไฟฟ้าก็จะจัดเป็นอันดับที่ห้าของโลก และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็นอีกสามเท่าภายในปี พ.ศ. 2563
แกรี่ คุก นักวิเคราะห์นโยบายอาวุโสของกรีนพีซสากล กล่าวอีกว่า บริษัทไอทีหลายแห่งมีความก้าวหน้าอย่างมากในเรื่องประสิทธิภาพพลังงาน แต่นั่นเป็นภาพเพียงครึ่งเดียว พวกเขาต้องสร้างความมั่นใจว่าพลังงานที่ใช้มาจากพลังงานหมุนเวียนที่สะอาด
บริษัทกูเกิล ยาฮูและเฟซบุค กำลังเริ่มนำอุตสาหกรรมไอทีไปสู่เส้นทางพลังงานหมุนเวียนที่สะอาดโดยใช้นวัตกรรมด้านประสทธิภาพพลังงานและให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกกับการเข้าถึงแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่สะอาดเมื่อหาทำเลที่ตั้งศูนย์ข้อมูลของตน และเรียกร้องบริษัทพลังงานและรัฐบาลให้จัดหาทางเลือกพลังงานที่ดีขึ้น ทั้งกูเกิลและยาฮูกำลังใช้พลังงานหมุนเวียนเพิ่มมากขึ้นเมื่อพวกเขาขยายศูนย์ข้อมูลของตน เฟซบุคเองยังเป็นผู้นำในการทำให้ระบบประมวลผลแบบกลุ่มเมฆนั้นสะอาดขึ้นโดยความพยายามอย่างต่อเนื่องโดยแบ่งปันเทคโนโลยีประสิทธิภาพพลังงานผ่านโครงการ OpenCompute initiative ของตน และมีการประกาศนโยบายใหม่ที่ให้ความสำคัญกับแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่นำมาใช้ในการเลือกที่ตั้งของโครงสร้างพื้นฐานศูนย์ข้อมูลของในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา แต่น่าเสียดายที่อุตสาหรรมไอทีส่วนใหญ่ปฏิเสธที่จะเดินตามแนวทางที่บุกเบิกไว้ กรีนพีซสากลเรียกร้องให้บริษัทอุตสาหกรรมไอทีทั้งหมดที่มีบริการระบบประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ ดังต่อไปนี้
- มีความโปร่งใสมากขึ้นเกี่ยวกับการใช้พลังงานและรอยเท้าคาร์บอนของตน และแบ่งปันทางเลือกเชิงนวัตกรรมเพื่อปรับปรุงอุตสาหกรรมไอที?
- พัฒนานโยบายการเลือกทำเลที่ตั้งที่แสดงถึงการให้ความสำคัญกับการสร้างศูนย์ข้อมูลในพื้นที่ที่มีแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่สะอาดเพื่อนำไฟฟ้ามาใช้ในโครงการ?
- ลงทุนหรือจัดซื้อไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่สะอาด?
- เรียกร้องให้รัฐบาลและบริษัทผลิตไฟฟ้าเพิ่มสัดส่วนไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนในระบบสายส่งไฟฟ้า
รายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อ :
(ซานฟรานซิสโก)
เดวิด โปเมอแรนทซ์ ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านสื่อ กรีนพีซ สากล อีเมล์ : dpomeran@greenpeace.org, มือถือ +1-914-584-9054
แกรี่ คุก นักวิเคราะห์นโยบายอาวุโส กรีนพีซสากล อีเมล์ : gacook@greenpeace.org, มือถือ : +1-202-297-2370
(ประเทศไทย)
ธารา บัวคำศรี ผู้อำนวยการรณรงค์ กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ tbuakams@greenpeace.org มือถือ 089 476 9977
พลาย ภิรมย์ ผู้จัดการฝ่ายรณรงค์ประจำประเทศไทย อีเมล์ ply.pirom@greenpeace.org โทร. ??081 658 9432
สมฤดี ปานะศุทธะ ผู้ช่วยผู้ประสานงานสื่อมวลชน อีเมล์ spanasud@greenpeace.org โทร. ??081 994 1561
หมายเหตุบรรณาธิการ
(1) ก่อนหน้านี้ กรีนพีซประเมินระบบประมวลผลแบบกลุ่มเมฆของอุตสาหกรรมไอทีในรายงาน“How Dirty is Your Data?” เมื่อปี พ.ศ. 2554 สามารถดาวน์โหลดได้ที่ http://www.greenpeace.org/international/Global/international/publications/climate/2011/Cool IT/dirty-data-report-greenpeace.pdf
(2) กรีนพีซคำนวณความต้องการใช้พลังงานของบริษัทต่างๆ และสัดส่วนพลังงานในระบบสายส่งจาก 1) ข้อมูลของบริษัทที่ส่งโดยตรงถึงกรีนพีซสากล 2) จากข้อมูลการลงทุนที่ระบุโดยบริษัท 3) จากการรายงานของสื่อมวลชนทั้งในเรื่องของการลงทุนและการก่อสร้าง กรีนพีซสากลได้วิเคราะห์ความต้องการใช้ไฟฟ้าจากขนาดของการลงทุนที่มีการประกาศไว้และจำนวนเมกะวัตต์โดยรวมโดยใช้ต้นทุนเฉลี่ยต่อไอทีโหลด(IT load) ซึ่งคิดเป็น 15 ล้านเหรียญสหรัฐต่อ IT เมกะวัตต์ และนำไปคูณกับค่าประสิทธิภาพการใช้พลังงาน( power usage effectiveness ; PUE) ของโครงการ หรือหากไม่มีข้อมูล ก็จะใช้ค่า 1.5 ในกรณีที่ไม่มีการประกาศโดยบริษัท สัดส่วนพลังงานหมุนเวียนก็จะหามาจากแหล่งข้อมูลเท่าที่มีอยู่ตามลำดับความสำคัญดังต่อไปนี้ : จากรายงานที่มีการตีพิมพ์เกี่ยวกับสัดส่วนพลังงานไฟฟ้าของบริษัทไฟฟ้าในพื้นที่ ; ในสหรัฐอเมริกา จากรายงานขององค์กรพิทักษ์สิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา (2007 eGrid State level generation mix) ; นอกสหรัฐอเมริกา รายงานสถิติปี 2008/9 ของคณะกรรมาธิการยุโรปและองค์กรพลังงานระหว่างประเทศ (IEA)
(3) ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการณรงค์ของกรีนพีซ รวมถึงวิดีโออธิบายทางเลือกพลังงานที่ป้อนให้กับระบบคลาวด์ เข้าไปดูได้ที่ www.cleanourcloud.com
(4) ระบบประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ (Cloud computing) คือวิธีการจัดเก็บและแบ่งปันข้อมูลบนอินเตอร์เนต ผู้ใช้คลาวด์สามารถแบ่งปันข้อมูลเช่น ภาพถ่าย เพลง และเอกสารบนอินเตอร์เนตแทนการใช้โปรแกรมหรืออุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล ในคอมพิวเตอร์