"เอเชีย: ภาคธุรกิจตื่นตัวกับเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม ‘GO GREEN’

ข่าวทั่วไป Tuesday April 24, 2012 17:53 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--24 เม.ย.--สปาร์ค คอมมิวนิเคชั่นส์ เอเชีย: ภาคธุรกิจตื่นตัวกับเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม ‘GO GREEN’ — บรรณาธิการฝ่ายภูมิภาค บริษัทอ๊อกฟอร์ด บิสสิเนส กรุ๊ป ได้รับการรับรองมาตรฐานและกฎข้อบังคับโดย Pan-ASEAN เพื่อช่วยผลักดันเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม มร. Paulius Kuncinas บรรณาธิการฝ่ายภูมิภาคบริษัทอ๊อกฟอร์ด บิสสิเนสกรุ๊ป ให้ความเห็นว่าธุรกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่วนใหญ่ได้ตัดสินใจเข้าร่วมกับแนวคิดรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อม ‘going green’ โดยเล็งเห็นว่าแต่ละธุรกิจจะมีโนวโน้มในการใช้เทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อมที่สูงขึ้นถ้าหากมีการรับรองและนำกฎข้อบังคับที่เป็นมาตรฐานเดียวกันมาใช้ มร. Kuncinas กล่าว “ในขณะที่ผู้นำทางธุรกิจจำนวนมากเข้าใจถึงประโยชน์ของเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม ในส่วนของการรับรองระดับภูมิภาคเบื้องต้น และประโยชน์ที่เป็นจุดเด่นของด้านเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อมและข้อมูลที่ชัดเจนจะเป็นตัวผลักดันให้อุตสาหกรรมเติบโตขึ้นไปพร้อมกับความมั่นใจของนักลงทุน “เทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อมได้รวมเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักของการเพิ่มมูลค่า พร้อมทั้งสามารถมองเป็นสินค้าสาธารณะและแหล่งผลิตที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล นอกเหนือจากนั้นยังสามารถประหยัดและลดต้นทุนพลังงานได้ถึง 40-60 เปอร์เซ็นต์" พร้อมกล่าวเสริม "แต่ในกรณีที่ไม่มีการรับรองที่ชัดเจนก็เป็นเรื่องยากสำหรับบริษัทที่จะตัดสินใจเกี่ยวกับแนวคิดเพื่อสิ่งแวดล้อมหรือ ‘going green’ ว่าประโยชน์และการลงทุนที่ได้รับจะคุ้มค่าหรือไม่ เนื่องจากนักลงทุนต่างเกรงว่าแนวคิดเพื่อสิ่งแวดล้อมหรือเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน อาจไม่ได้รับพิจารณาว่าเป็นแนวคิดเพื่อสิ่งแวดล้อมหรือเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อมในอีกสองสามปีข้างหน้าก็เป็นได้" มร. Kuncinas ยังได้ให้แนวคิดที่สำคัญเกี่ยวกับเรื่อง 'อาคารสีเขียวหรือกรีนบิวดิ้ง - แนวโน้มธุรกิจในอนาคตของเอเชีย' ในงาน ‘Greenright อินโดนีเซีย, Green Buildings Conference and Expo 2012' ซึ่งจัดโดยสภาอาคารสีเขียวหรือสภากรีนบิวดิ้งของประเทศอินโดนีเซียที่ศูนย์การประชุมจาการ์ตาเมื่อวันที่ 11-13 เมษายน ที่ผ่านมาอีกด้วย มร.Kuncinas ยอมรับว่า ผู้นำทางธุรกิจมีความกังวลเกี่ยวกับเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อมมากกว่ากระบวนการรับรองมาตรฐานและกฎข้อบังคับที่ไม่แน่นอน พร้อมตั้งข้อสงสัยในประเด็นสำคัญต่างๆ เช่น เมื่อลงทุนกับกรีนบิวดิ้งไปแล้วเมื่อไรถึงจะคุ้มทุน หรือเทคโนโลยีและกระบวนการต่างๆ ที่ใช้จะต้องปรับเปลี่ยนอย่างไรให้เหมาะกับสภาพภูมิอากาศเขตร้อน ทั้งนี้ เขายังถามต่อว่า “เราจะประเมินมูลค่าหรือประโยชน์ของการรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อม (going green) กับการลงทุนของเทคโนโลยีที่มีราคาแพงอย่างไร? โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ไม่มีแรงจูงใจด้านภาษีและกฎระเบียบเข้ามาเกี่ยวข้อง” นอกจากนี้มร. Kuncinas ยังได้เน้นถึงความกังวลของผู้นำทางธุรกิจที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับบุคคลากรในแต่ละภูมิภาคที่ขาดความรู้ความเชี่ยวชาญเรื่องเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อมและบริษัทต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนที่ไม่คุ้นเคยกับพื้นที่ หรืออาจจะเป็นข้อกังวลเกี่ยวกับราคาที่สูงเกินไป "ความท้าทายอีกประการหนึ่งคืออุปสรรคของการจัดสรรทรัพยากรภายนอก" พร้อมเสริมว่า "แม้ว่าเทคโนโลยีที่จะนำมาใช้นั้นไม่ค่อยมีความซับซ้อน แต่บริษัทยังขาดบุคคลากรภายในที่มีความเชี่ยวชาญในการจัดการสร้างและออกแบบอาคารสีเขียวหรือกรีนบิวดิ้ง ในขณะที่หลายบริษัทยังเกรงว่าการนำบุคคลากรภายนอกเข้ามาจะเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นหรือเกรงว่าผลลัพธ์ที่ได้ออกมาที่ไม่เหมาะกับความต้องการ" ถึงอย่างไรก็ตามมร. Kuncinas เองรู้สึกปลาบปลื้มที่ผู้นำทางธุรกิจในแต่ละภูมิภาคมีความตื่นตัวเกี่ยวกับเทคโนโลยีเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนเพื่อนำมาใช้ในระยะยาว ทั้งยังเอื้อประโยชน์ต่อการรับผิดชอบทางสังคม (CSR) “ไม่ว่าจะอยู่ในห้องเรียน ที่ทำงาน ห้างสรรพสินค้าหรือสถานที่อยู่อาศัย การรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมก็ยังเป็นสิ่งที่น่าสนใจอยู่ เพราะเป็นแนวคิดที่ฉลาด ใหม่ และยังสามารถช่วยลดหรือประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีกด้วย” พร้อมเสริมว่า “จากประสบการณ์ของพวกเราในแถบเอเชีย ได้แสดงให้เรารู้ว่าผู้นำด้านการพัฒนาต่างๆต้องการเทคโนโลยีที่ทันสมัยและมีคุณภาพสูง โปรเจคแลนด์มาร์คอย่างเช่น โครงการ ปาร์ค เวนเจอร์ (Park Ventures) ในกรุงเทพมหานคร หรือ โรงแรมจี ทาวเวอร์ (G-Tower) ในกรุงกัลลาลัมเปอร์ ได้แสดงให้เห็นว่าการรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมนั่นดีต่อธุรกิจและเศรษฐกิจอย่างไร” มร. Kuncinas คาดหวังว่าสิ่งที่กล่าวมาจะสามารถแสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของระบบการรับรองในภูมิภาคด้วยขั้นตอนต่างๆที่จะนำไปพัฒนาในแต่ละสาขา “การตรวจสอบและให้คะแนนเกี่ยวกับความมีประสิทธิภาพของพลังงานและความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ระบบการรับรองได้ตั้งข้อกำหนดหรือข้ออ้างอิงสำหรับนักลงทุน นักพัฒนาและผู้ใช้ เพื่อให้เห็นถึงความสำคัญของอาคารสีเขียวหรือกรีนบิวดิ้ง” พร้อมกล่าว “เราหวังว่าการเปิดเผยบทสนทนาอย่างเช่น การรับรองมาตรฐานโดย Pan-ASEAN ในที่ประชุมครั้งนี้ จะสามารถช่วยสนับสนุนความนิยมที่มีต่ออาคารสีเขียวหรือกรีนบิวดิ้ง เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมให้มากยิ่งขึ้น” รายงานของบริษัทอ๊อกฟอร์ด บิสสิเนส กรุ๊ป นำเสนอรายละเอียดเป็นหมวดหมู่ให้กับนักลงทุนชาวต่างชาติ ประกอบกับบทสัมภาษณ์ของผู้นำที่โดดเด่น ไม่ว่าจะเป็นผู้นำทางการเมือง เศรษฐกิจ และธุรกิจ รายงานที่จัดทำขึ้นถือเป็นผู้นำทางการตลาดสำหรับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในแต่ละภูมิภาคที่เตรียมพร้อมและทำการวิจัยมากกว่า 6 เดือนโดยทีมงานนักวิเคราะห์จากโอบีจี รายงานฉบับนี้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโอกาสสำหรับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศและเป็นแนวทางที่สำคัญในหลายแง่มุมของประเทศนั้นๆ รวมทั้งเศรษฐกิจระดับมหภาค โครงสร้างพื้นฐาน การธนาคารและการพัฒนาภาคการผลิต นอกจากนี้ยังนำเสนอรายละเอียดเป็นหมวดหมู่ให้กับนักลงทุนชาวต่างชาติ ประกอบกับบทสัมภาษณ์ของผู้นำที่โดดเด่น ไม่ว่าจะเป็นผู้นำทางการเมือง เศรษฐกิจ และธุรกิจ โดยรายงานฉบับนี้มีทั้งรูปแบบตีพิมพ์และออนไลน์
แท็ก เอเชีย   ฟอร์ด  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ