เนคเทค ขอเชิญสื่อมวลชนร่วมฟังบรรยาย ให้หัวข้อ "การฝึกอบรมนักวิทยาศาสตร์สำหรับอนาคต"

ข่าวทั่วไป Tuesday January 4, 2005 10:44 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--4 ม.ค.--เนคเทค
(ร่าง) กำหนดการ
K-Mart Special: Nobel Prize Lecture Series
โดย
Prof.Robert C.Richardson
Nobel Laureate For Physics 1996: Discovery Of Superfluidity In Helium-3
หัวข้อบรรยาย
“Training Scientists For The Future: How To Inspire And Train The People
Who Will Solve The World’s Problem In 21ST Century”
ในวันพุธที่ 5 มกราคม 2548
เวลา 13.30-17.00 น.
ณ ห้องประชุม 113 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย คลองหลวง ปทุมธานี
13.00-13.30 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประชุม
13.30-14.30 น. Pre-Session: ดร.อดิสร เตือนตรานนท์
14.30-15.00 น. Welcome Speech: ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล
ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
15.00-16.00 น. Keynote Speaker: Prof.Robert C.Richardson
“Training Scientists For The Future: How To
Inspire And Train The People Who Will Solve The
World’s Problem In 21ST Century”
16.00-17.00 น. Reception
สามารถติดต่อสอบถาม และลงทะเบียนการสัมมนาได้ที่
www.rdd.nectec.or.th/nobelforum
Prof. Robert C. Richardson
หัวข้อบรรยาย การฝึกอบรมนักวิทยาศาสตร์สำหรับอนาคต: ทำอย่างไรจึงจะดลใจและฝึกคนเพื่อเพื่อแก้ปัญหาของโลกในศตวรรษที่ 21
(Training Scientists for the future: How to inspire and train the people
who will solve the world’s problem in 21st century)
วัน-เวลา วันที่ 5 มกราคม 2548
13.30-16.30 น.
สถานที่ ห้อง Auditorium อาคารสำนักงานกลาง อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
โรเบิร์ต ซี. ริชาร์ดสัน เป็นศาสตราจารย์สาขาฟิสิกส์แห่งมหาวิทยาลัยคอร์แนลที่อิทาคา และได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ในปี 2539 ท่านเกิดเมื่อปี 2480ที่กรุงวอชิงตัน ดีซี และได้เข้าศึกษาที่สถาบันโพลิเทคนิคเวอร์จิเนียจนได้รับปริญญาตรีและโทสาขาฟิสิกส์ หลังจากนั้นท่านได้ศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยดุกย์ จนได้รับปริญญาเอก
โดยได้ทำวิทยานิพนธ์ในด้านกระบวนการ เอ็นเอ็มอาร์ ในหัวข้อที่เกี่ยวกับฮีเลี่ยม-3 ที่มีสถานะเป็นของแข็ง ในช่วงปลายปี 2509 ท่านได้ย้ายมาที่อิทาคาเพื่อร่วมงานกับศาสตราจารย์เดวิด ลี ที่ห้องปฏิบัติการ Laboratory of Atomic and Solid Physics แห่งมหาวิทยาลัยคอร์แนล โดยได้ร่วมกับดักลาส โอเชอรอฟในการศึกษาวิธีลดอุณหภูมิและเครื่องมือสำหรับกระบวนการ เอ็นเอ็มอาร์ เพื่อการศึกษาเกี่ยวกับฮีเลี่ยมที่มีสถานะเป็นของเหลวในที่ที่มีอุณหภูมิต่ำ การศึกษาของทั้งสองทำให้ค้นพบสภาพความเหลวยิ่งยวดของฮีเลี่ยม-3 ที่อุณหภูมิต่ำมาก
ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่อาจอธิบายได้โดยฟิสิกส์ตามธรรมดาการศึกษาปรากฏการณ์ดังกล่าวมีส่วนสำคัญในการสร้างองค์ความรู้เพื่ออธิบายในระดับจุลภาคได้ผลการศึกษาดังกล่าว ทำให้ท่านได้รับการยกย่องและได้รับรางวัลโนเบล
การเปลี่ยนแปลงสถานะเป็นของเหลวของฮีเลี่ยม-3สามารถใช้ทดสอบทฤษฎีเชือกคอสมิกว่าเกิดขึ้นได้อย่างไรในจักรวาลซึ่งเชือกคอสมิกที่เชื่อกันว่าอาจจะมีความสำคัญต่อการก่อตัวของกาแล็กซี่นั้นอาจจะเกิดขึ้นภายในเสี้ยววินาทีหลังจากเกิดปรากฏการณ์บิ๊กแบ็ง(Big bang)
โดย ศูนย์ฯมีรถบริการรับ จากอาคาร สวทช.โยธี-อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทยรถออก เวลา 12.30 น. ส่งจากอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย-อาคาร สวทช.โยธี รถออก เวลา 16.30 น.
โดยสามารถติดต่อสำรองที่นั่งได้ที่คุณสายพิณ ธนะศิริวัฒนา
หมายเลขโทรศัพท์ 01-899-1380--จบ--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ