กรุงเทพฯ--26 พ.ค.--เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ
เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ และศูนย์ศิลปะนานาชาติ สมาคมฝรั่งเศส กรุงเทพฯ
เสนอ
นิทรรศการศิลปะ
Japanese Animism Now!
อิโนฮานะ ชูอิจิ
และ
อิเคมัทซึ มิโนริ (ภัณฑารักษ์)
พิธีเปิด
17.30 น. วันเสาร์ ที่ 12 มิถุนายน 2547
เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ อาร์ต สเปซ
เวลาแสดงงาน วันจันทร์ ที่ 14 มิถุนายน - วันศุกร์ ที่ 2 กรกฎาคม 2547
วันธรรมดา 09.00 น. - 19.00 น.
วันเสาร์ 09.00 น. - 17.00 น.
(ปิดวันอาทิตย์)
สถานที่ เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ อาร์ต สเปซ
อาคารเสริมมิตร ทาวเวอร์ ชั้น 10 เลขที่ 159 ถนนสุขุมวิท ซอย 21 กรุงเทพฯ
โทรศัพท์ 0-2260-8560-4 โทรสาร 0-2260-8565
นิทรรศการศิลปะร่วมสมัย Japanese Animism Now!
เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ และศูนย์ศิลปะนานาชาติ สมาคมฝรั่งเศส กรุงเทพฯ ภูมิใจเสนอ นิทรรศการศิลปะร่วมสมัย "Japanese Animism Now!" สร้างสรรค์โดย อิโนฮานะ ชูอิจิ ศิลปินและนักเต้นหนุ่มมากความสามารถชาวญี่ปุ่น ณ เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ อาร์ต สเปซ ตั้งแต่วันจันทร์ ที่ 14 มิถุนายน - วันศุกร์ ที่ 2 กรกฎาคม 2547
ในนิทรรศการครั้งนี้ อิโนฮานะ ชูอิจิ จะแสดงผลงานล่าสุดซึ่งจะสร้างสรรค์ขึ้นในประเทศไทยขณะอยู่ในโครงการ อาร์ทติส อิน เรสซิเด้นท์ ของ สมาคมฝรั่งเศส กรุงเทพฯ ซึ่งเขาจะอยู่ที่กรุงเทพฯ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนกรกฎาคม 2547 นอกจากศิลปินทั้งสองแล้ว คุณอิเคมัทซึ มิโนริ ภัณฑารักษ์ชาวญี่ปุ่นจะร่วมเดินทางมาเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนแนวคิดทางศิลปะพร้อมกับเขาด้วย
อิโนฮานะ ชูอิจิ กับการเต้นรำ
"คงมีแค่ อิโนฮานะ ชูอิจิ เท่านั้นที่ร่ายรำได้เมื่อมีคนอ่านนวนิยายเรื่อง 'the prohibition color' ของยูกิโอะ มิชิมา"
ริงโกะ โมโตฟุจิ นักเต้นบุโตชื่อดังของญี่ปุ่นกล่าวไว้ก่อนเธอจะเสียชีวิตเมื่อปีที่แล้ว (2546) การร่ายรำของอิโนฮานะมีพื้นฐานของ โมเดิร์น แดนซ์ แบบยุโรปที่มีการแสดงออกอย่างลื่นไหลชัดเจน และการเต้นบุโตสมัยใหม่ของญี่ปุ่นที่ค่อนข้างไปทางอ่อนช้อยและสำรวม ยิ่งไปกว่านั้น เขายังมีความทรงจำเกี่ยวกับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอยู่ในส่วนลึกของจิตใจอีกด้วย ในครั้งนี้ สำหรับการเต้นรำซึ่งเขาได้ร่วมมือกับนักเต้นชาวไทย ท่านจะสามารถพบกับความสำเร็จของอิโนฮานะ ผู้เฝ้าตามหาวิยาการต่างๆ ในเอเชียและสำนึกร่วมสมัยของมวลมนุษย์
อิโนฮานะ ชูอิจิ กับงานศิลปะ
แต่ก่อนในญี่ปุ่นมีความเชื่อว่าสิ่งต่างๆ นั้นมีชีวิตของตนเอง ดังที่บรรยายไว้ใน [100 bogie over night train
] และสิ่งเหล่านั้นมักได้รับการปฏิบัติราวกับเป็นมนุษย์
ในญี่ปุ่น ภูมิภาคคันโตสามารถมองเห็นได้จากภูเขาฟูจิ ซึ่งทำให้คนในภูมิภาคนั้นนับถือภูเขาฟูจิเสมือนหนึ่งเทพเจ้าหรือพระพุทธ ในภูมิภาคอื่นๆ เช่นในภาคตะวันตก ผู้คนจะสร้างศาลเจ้าจากไม้ แต่ในภาคตะวันออก จะสร้างจากภูเขาหินทั้งลูก หรือพื้นที่ว่างๆ ขนาดไม่ใหญ่โตนัก และสุสานโบราณอย่างภูเขาฟูจิ และสุดท้ายจะสร้าง 'โทริอิ' หรือประตูทางเข้าศาลเจ้าชินโตไว้ด้านหน้า
อิโนฮานะรู้ดีว่าในปัจจุบันคนญี่ปุ่นบางครั้งก็ยังมีความเชื่อเช่นนี้อยู่ เช่นเดียวกับในประเทศไทย และประเทศในเอเชียอื่นๆ ซึ่งความเชื่อเช่นนี้เป็นบางสิ่งที่สูญหายไปจากมาตรฐานของวัฒนธรรมตะวันตก และมันสามารถเป็นแรงผลักดันสำคัญสำหรับความคิดสร้างสรรค์ที่มีอยู่ลึกๆ ของคนในปัจจุบันได้ ดังนั้นเขาจึงต้องการแสดงให้เราเห็นความรู้สึกเช่นนั้นผ่านผลงานศิลปะของเขาที่จะแสดงในประเทศไทย--จบ--
-นห-