กรุงเทพฯ--9 พ.ค.--สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ
จะมีซักกี่คนที่อยากเห็นโลกกลมๆใบนี้แบบเต็มๆตาจากห้วงอวกาศ แล้วได้เห็นจริงๆ ซึ่งในความเป็นจริงนอกจากนักบินอวกาศแล้ว ก็คงจะไม่มีใครที่มีโอกาสดีที่ได้ขึ้นไปแล้วมองลงมา เห็นโลกในมุมที่ต่างออกไป ถ้าเป็นสมัยก่อนคงพูดได้ว่าอาจเป็นแค่เพียงความฝัน แต่ในโลกแห่งเทคโนโลยีปัจจุบันนี้ เปลี่ยนความฝันให้เป็นความจริง เปลี่ยนเรื่องยากๆให้เป็นเรื่องง่ายๆที่ใครก็สามารถดูภาพถ่ายพื้นผิวโลกจากบนท้องฟ้าผ่านทางกล้องดาวเทียมความละเอียดสูง จากเหตุการณ์ภัยพิบัติน้ำท่วมในปี ๒๕๕๔ ที่ผ่านมาหน่วยงานหนึ่งที่มีบทบาทในการวิเคราะห์พื้นที่นำท่วมทั่วประเทศไทยและวางแผนบริการจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ คือ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) ชื่อย่อว่า สทอภ.หรือ GISTDA สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ก่อตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศจากดาวเทียมและข้อมูลภูมิสารสนเทศ ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งแต่เดิมนั้นการใช้ประโยชน์ทางดาวเทียมเพื่อสำรวจโลกนั้น เริ่มพัฒนามาตั้งแต่สมัยที่เริ่มมีกิจการการบิน นับย้อนกลับไปเมื่อกว่า ๓๐ ปีที่แล้วไทยเป็นประเทศแรกๆในกลุ่มเอเชียที่มีภาพถ่ายทางอากาศ นับเนื่องมาจนถึงปัจจุบันตั้งแต่ประเทศไทยได้ส่งดาวเทียม THEOS เข้าสู่วงโคจรในวันที่ 1 ตุลาคม 2551 เพื่อใช้ในการถ่ายภาพเพื่อการพัฒนาประเทศด้านต่างๆ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานนามดาวเทียม THEOS ว่า ไทยโชต ซึ่งแปลว่าดาวเทียมที่ทำให้ประเทศไทยเจริญรุ่งเรือง ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการพัฒนาประเทศเป็นอย่างมาก ทั้งในด้านการพัฒนาพื้นที่ด้านเกษตรกรรม มองเห็นพื้นที่ดอนมีความแห้งแล้งมาก และพื้นที่ลุ่มซึ่งมีผลกระทบในฤดูฝนที่ทำให้เกิดน้ำท่วมซ้ำซาก สามารถนำภาพถ่ายที่ได้มานั้น นำมาวางแผนเพื่อการระบายน้ำในฤดูน้ำหลาก และกักเก็บน้ำได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุดในฤดูแล้ว โดยในปีที่ผ่านมา ประเทศไทยประสบกับปัญหาอุทกภัยครั้งใหญ่ที่สุดในรอบหลายสิบปี ทาง สทอภ. เองนั้นก็เป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีบทบาทในการวางแผนการระบายน้ำ เพื่อบรรเทาทุกความเดือดร้อนของประชาชนทั่วทุกภูมิภาค มีการแลกเปลี่ยนความรู้ กับหน่วยงานภาพถ่ายดาวเทียมทางอวกาศกับประเทศต่างๆ เพื่อการวางแผนรับมืออุทกภัยและภัยแล้งที่เกิดขึ้นในพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศ การใช้ประโยชน์ดาวเทียมทางด้านเกษตรกรรม เพื่อสำรวจพื้นที่ทางการเกษตร ในการวิเคราะห์ผลผลิตมวลรวมด้านเกษตรกรรมทั้งบริโภคภายในประเทศ และจำหน่ายไปยังต่างประเทศให้เพียงพอต่อความต้องการ ตลอดจนถึงการใช้ดาวเทียมติดตามประเมินพื้นที่ปลูกข้าวในปี 2552/2553 รอบที่ 2 เพื่อใช้วิเคราะห์พื้นที่ปลูกข้าวและขึ้นทะเบียนของเกษตรกรทั้งประเทศ การใช้ประโยชน์จากดาวเทียมเพื่อการสำรวจพื้นที่เสียงที่ใช้ในการผลิตยาเสพติด เช่นพื้นที่ตามหุบเขาและป่าลึก ที่ใช้เป็นพื้นที่ปลูกพืชเสพติดเช่น ฝิ่นและกัญชา ตลอดจนถึงพื้นที่ๆเป็นเส้นทางลำเลียงยาเสพติดและอาวุธสงครามตลอดจนถึงสิ่งของผิดกฎหมายอื่นๆ ด้านระบบนิเวศนั้นยังสามารถใช้ดาวเทียมถ่ายภาพพื้นที่เขาซึ่งอาจต้องสงสัยว่ามีการบุกรุก แผ้วถางป่า การตัดไม้ในพื้นที่อุทยานวนอุทยานป่าสงวนที่สำคัญและเขตรอยต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อวางแผนร่วมมือกับกรมป่าไม้และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนถึงการใช้ดาวเทียมสำรวจพื้นที่ด้านทรัพยากรชายฝั่ง เพื่อสำรวจแห่งเสื่อมโทรมของป่าชายเลน เขตอนุบาลสัตว์น้ำ เขตพื้นที่ปะการัง และพื้นที่กัดเซาะชายฝั่งของน้ำทะเล ที่รุกล้ำของน้ำทะเลเข้ามาเพื่อใช้ในการป้องกันการพังทลายชายฝั่ง และพื้นที่งอกชายฝั่ง ซึ่งเกิดจากการไหลวนของมวลน้ำและตะกอนดินทำให้เกิดพื้นดินตื้นเขิน ในบางพื้นที่ส่งผลกระทบต่อการระบายน้ำ ทำให้ทางน้ำไหลไม่สะดวกในช่วงฤดูน้ำหลาก ซึ่งข้อดีของการมีดาวเทียมเป็นของตนเองนั้น สามารถรับรู้ปัญหาของพื้นที่ได้ทั้งหมดด้วยข้อมูลที่ถูกต้องเที่ยงตรง เท่าเทียมกันทั้งประเทศ เทียบเคียงกับข้อมูลเก่าๆได้อย่างเป็นระบบเต็มประสิทธิภาพทั้งหน่วยงานราชการ เอกชน (Total Solution) ตามความต้องการของผู้ใช้ โดยยึดหลักความสมดุลของประเทศใน 3 ด้านคือ ด้านสังคมเศรษฐกิจ ความมั่นคง และสิ่งแวดล้อม
นอกจากนี้ ยังได้บูรณาการข้อมูลเพื่อการพัฒนากับหน่วยงานต่างประเทศ และองค์การระหว่างประเทศ เพื่อพัฒนาต่อยอดเครือข่ายทางด้านธุรกิจ และด้านวิชาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศอย่างต่อเนื่อง ในการที่จะส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางประชาคมอาเซียน สำรวจทรัพยากรด้วยดาวเทียม และการขยายการให้บริการไปสู่ประเทศเพื่อนบ้าน ตลอดจนถึงการพัฒนาบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ ในด้านเทคโนโลยีดาวเทียมและภูมิสารสนเทศ เพื่อรองรับกับความต้องการที่เพียงพอในอนาคต
มาจนถึงวันนี้ สทอภ. ได้จัดทำภาพยนตร์โฆษณาชุดแรกเรื่อง “ GISTDA กับความภาคภูมิใจของผม” เพื่อประชาสัมพันธ์องค์กร สร้างความเข้าใจและรับรู้ถึงบทบาทหน้าที่ ด้านการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ เพื่อการพัฒนาประเทศ ตลอดจนถึงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศให้เป็นประโยชน์สร้างคุณค่าต่อประชาชน
ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยาผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ กล่าวว่า “ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการช่วยพัฒนาประเทศ ประกอบกับรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ทั้งในภาครัฐและเอกชน ในการบริการจัดการทรัพยากร สิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติ ข้อมูลสารสนเทศเป็นดัชนีชี้วัดที่สำคัญ เพื่อประกอบการตัดสินใจ คาดการณ์ล่วงหน้าและจำลองสถานการโดยอาศัยข้อมูลข่าวสาร ตำแห่นง จุดพิกัด (Local Based Service) ได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว และในปี 2555 GISTDA จะมุ่งเน้นเดินหน้า ประชาสัมพันธ์ สร้างความชัดเจน และความเข้าใจ ในบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานอย่างจริงจัง จึงได้ผลิตภาพยนตร์โฆษณาเรื่อง “ GISTDA กับความภาคภูมิใจของผม ” เพื่อให้ประชาชนรับรู้ และนำข้อมูลที่เป็นประโยชน์นี้ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาประเทศและในชีวิตประจำวัน ตามบทบาทหน้าที่อาชีพที่ตนเองถนัด เช่น การเกษตร การใช้ที่ดิน การจัดการป่าไม้และชายฝั่ง การวางแผนผังเมือง ความมั่นคงภายในประเทศและระหว่างประเทศการวางแผนรับมือภัยธรรมชาติ ซึ่ง GISTDA หวังว่าภาพยนตร์โฆษณาเรื่องนี้ จะสามารถสร้างความเข้าใจรับรู้และตระหนักในบทบาทหน้าที่ และนำไปสู่การใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนได้มากที่สุด
ติดต่อ:
สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) ชื่อย่อว่า สทอภ.หรือ GISTDA สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โทร 0-2143-8877 www.gistda.or.th