นักประดิษฐ์ไทยสร้างชื่อคว้ารางวัลเกียรติยศระดับโลกจากสวิส

ข่าวทั่วไป Monday May 14, 2012 14:21 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--14 พ.ค.--สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดงานแถลงข่าว เรื่อง “วช. หนุนสิ่งประดิษฐ์ไทยคว้ารางวัลจากกรุงเจนีวา” เมื่อวันอังคารที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๕๕ ณ ห้องประชุมบุญนาค ชั้น ๑ อาคาร วช. ๒ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เพื่อเป็นเกียรติแก่นักประดิษฐ์ไทยที่นำผลงานประดิษฐ์คิดค้นไปจัดแสดงนิทรรศการและคว้ารางวัลจากกรุงเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ศาสตราจารย์ นายแพทย์สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เปิดเผยว่า จากการที่สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้ส่งเสริมและสนับสนุนการนำผลงานประดิษฐ์คิดค้นและนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์เข้าร่วมจัดแสดงนิทรรศการในระดับนานาชาติในต่างประเทศมาโดยตลอด เช่น เมื่อปีที่ผ่านมา นักประดิษฐ์ไทยสามารถคว้ารางวัลผลงานประดิษฐ์ระดับสูงสุดรางวัลกรังปรีซ์จากประเทศสาธารณรัฐเกาหลี ในปี ๒๕๕๕ นี้ วช. จึงได้นำนักประดิษฐ์และผลงานประดิษฐ์คิดค้นจาก ๖ หน่วยงาน จำนวน ๑๒ ผลงาน เข้าร่วมแสดงนิทรรศการในงาน “40th International Exhibition of Inventions of Geneva” ณ กรุงเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส เมื่อวันที่ ๑๘ — ๒๒ เมษายน ๒๕๕๕ ซึ่งการจัดงานดังกล่าวรัฐบาลสวิสและองค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก หรือ WIPO (The Swiss Federal Government of the State, the City of Geneva and of the World Intellectual Property Organization) ให้การสนับสนุน มีผลงานประดิษฐ์จาก ๔๖ ประเทศ ๘๙ หน่วยงาน เข้าร่วมแสดงนิทรรศการ จำนวน ๖๔๘ ผลงาน และเป็นที่น่ายินดีที่ผลงานประดิษฐ์ไทยได้รับรางวัล จำนวน ๑๑ ผลงาน ใน ๘ กลุ่มเรื่อง ดังนี้ รางวัลเหรียญทองเกียรติยศ (Gold Medal with the Congratulations of the Jury) ได้แก่ ผลงานเรื่อง “เทคโนโลยีการแปรรูปเปลือกหอยแมลงภู่เหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมอาหารทะเลให้เป็นวัตถุดิบของภาคอุตสาหกรรม” โดย รศ.ดร.สนอง เอกสิทธิ์ และนางสาวฐิลักษกรฐ์ จิรพิสิฐกุล แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับรางวัลในกลุ่ม การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและพลังงาน รางวัลเหรียญทอง (Gold Medal) จำนวน ๔ เรื่อง ได้แก่ ๑. ผลงานเรื่อง “แผ่นนาโนคริสตัลทองคำเพื่อการตกแต่ง ออกแบบ และการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม” โดยรศ.ดร.สนอง เอกสิทธิ์ นายสลิล ลือสุทธิวิบูลย์ และนายสุพีระ นุชนารถ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับรางวัลในกลุ่ม อาหาร เครื่องดื่ม เครื่องสำอาง วิทยาศาสตร์การแพทย์ และสาธารณสุข ๒. ผลงานเรื่อง “แผ่นปิดแผลนาโนไบโอเซลลูโลสเคลือบคริสตัลเงินนาโนสีฟ้า” โดย เภสัชกรอดิศร อาภาสุทธิรัตน์เภสัชกรสมบัติ รุ่งศิลป์ แห่งบริษัท โนวาเทค เฮลธ์แคร์ จำกัด รศ.ดร.สนอง เอกสิทธิ์ และนายเทวารักษ์ ปานกลาง แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับรางวัลในกลุ่ม อาหาร เครื่องดื่ม เครื่องสำอาง วิทยาศาสตร์การแพทย์ และสาธารณสุข ๓. ผลงานเรื่อง “กระเป๋าผ้าเน็คไท” โดย อาจารย์เสาวลักษณ์ โชควิทยา และนางสาวกันย์สินี คูหเทพารักษ์ แห่งวิทยาลัยสารพัดช่างสี่พระยา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาได้รับรางวัลในกลุ่ม งานสิ่งทอ และเครื่องจักรรวมอุปกรณ์ประกอบ ๔. ผลงานเรื่อง “ระบบสนทนาอัตโนมัติเพื่อพัฒนาทักษะการสนทนาภาษาอังกฤษ” โดย ดร.ธันยวัต สมใจทวีพร แห่งสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ได้รับรางวัลในกลุ่ม เทคนิคและสื่อการเรียนรู้ รางวัลเหรียญเงิน (Silver Medal) จำนวน ๔ เรื่อง ได้แก่ ๑. ผลงานเรื่อง “ชุด DNA biosensor สำหรับการตรวจวินิจฉัยโรค” โดย รศ.ดร.โกสุม จันทร์ศิริรศ.ดร.สมชาย สันติวัฒนกุล และดร.ธงชัย แก้วพินิจ แห่งมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และผศ.ดร.จำรัส พร้อมมาศ แห่ง มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับรางวัลในกลุ่ม อาหาร เครื่องดื่ม เครื่องสำอาง วิทยาศาสตร์การแพทย์ และสาธารณสุข ๒. ผลงานเรื่อง “ชุดถอดประกอบต้นกำลังสำหรับรถเข็นคนพิการ” โดย ผศ.ดร.บรรยงค์ รุ่งเรืองด้วยบุญ นายสิทธิชัย ประสิทธิ์ผล นายบดิน บูรณ์วัฒน์เดชา นายธีรพงษ์ สมุทรอัศดง และนายวัศพล พงษ์สุวรรณ แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตได้รับรางวัลในกลุ่ม วิศวกรรมทางการแพทย์สำหรับผู้ทุพพลภาพและด้อยโอกาส ๓. ผลงานเรื่อง “ระบบอบแห้งเอนกประสงค์เชิงพาณิชย์โดยใช้ไมโครเวฟชนิดป้อนคลื่นหลายตำแหน่งที่ไม่สมมาตรร่วมกับระบบลมร้อนและสายพานลำเลียงอย่างต่อเนื่อง” โดย ศ.ดร.ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช นายวิโรจน์ จินดารัตน์ และดร.สมศักดิ์ วงศ์ประดับไชย แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตได้รับรางวัลในกลุ่ม กระบวนการทางวิศวกรรมเครื่องจักรกล และโลหะวิทยา ๔. ผลงานเรื่อง “อุปกรณ์เสริมสำหรับบันทึกลายนิ้วมือด้วย Smartphone เพื่อพิสูจน์ทราบเอกลักษณ์และยืนยันบุคคล” โดย ดร.คเณศ วงษ์ระวี นายพร้อมพงศ์ เพียรพินิจธรรม และรศ.ดร.สนอง เอกสิทธิ์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับรางวัลในกลุ่ม ระบบรักษาความปลอดภัยและระบบเตือนภัย รางวัลเหรียญทองแดง (Bronze Medal) จำนวน ๒ เรื่อง ได้แก่ ๑. ผลงานเรื่อง “คริสตัลเคลย์ของทองคำและเงินสำหรับการขึ้นรูปเครื่องประดับ” โดย รศ.ดร.สนอง เอกสิทธิ์ และนายอภิชาติ เพ็งดำ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับรางวัลในกลุ่ม เครื่องประดับ นาฬิกา และเครื่องมือที่เกี่ยวข้อง ๒. ผลงานเรื่อง “เกร็ดประกายมุกจากเปลือกหอยแมลงภู่ที่มีสมบัติกักเก็บสารออกฤทธิ์และปลดปล่อยช้า” โดย รศ.ดร.ชูชาติ ธรรมเจริญ และรศ.ดร.สนอง เอกสิทธิ์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับรางวัลในกลุ่ม อาหาร เครื่องดื่ม เครื่องสำอาง วิทยาศาสตร์การแพทย์ และสาธารณสุขนอกจากนี้ ยังได้รับรางวัลพิเศษ รางวัล Special prize อีก ๔ เรื่อง ได้แก่ ๑. ผลงานเรื่อง “เทคโนโลยีการแปรรูปเปลือกหอยแมลงภู่เหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมอาหารทะเลให้เป็นวัตถุดิบของภาคอุตสาหกรรม” โดย รศ.ดร.สนอง เอกสิทธิ์ และนางสาวฐิลักษกรฐ์ จิรพิสิฐกุล แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับรางวัลจาก สาธารณรัฐประชาชนจีน (PR.China) ๒. ผลงานเรื่อง “แผ่นปิดแผลนาโนไบโอเซลลูโลสเคลือบคริสตัลเงินนาโนสีฟ้า” โดย เภสัชกรอดิศร อาภาสุทธิรัตน์ เภสัชกรสมบัติ รุ่งศิลป์แห่งบริษัท โนวาเทค เฮลธ์แคร์ จำกัด และรศ.ดร.สนอง เอกสิทธิ์ และนายเทวารักษ์ ปานกลาง แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับรางวัลจาก สาธารณรัฐประชาชนจีน (PR.China) ๓. ผลงานเรื่อง “ชุดถอดประกอบต้นกำลังสำหรับรถเข็นคนพิการ” โดย ผศ.ดร.บรรยงค์ รุ่งเรืองด้วยบุญ นายสิทธิชัย ประสิทธิ์ผล นายบดิน บูรณ์วัฒน์เดชา นายธีรพงษ์ สมุทรอัศดง และนายวัศพล พงษ์สุวรรณ แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตได้รับรางวัลจาก ประเทศไต้หวัน (Chinese Taipei) ๔. ผลงานเรื่อง “ชุด DNA biosensor สำหรับการตรวจวินิจฉัยโรค” โดย รศ.ดร.โกสุม จันทร์ศิริ รศ.ดร.สมชาย สันติวัฒนกุล ดร.ธงชัย แก้วพินิจ แห่งมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และผศ.ดร.จำรัส พร้อมมาศ แห่งมหาวิทยาลัยมหิดลได้รับรางวัลจาก ประเทศไต้หวัน (Chinese Taipei)เลขาธิการ วช. กล่าวเพิ่มเติมว่า นับเป็นอีกก้าวหนึ่งในเวทีระดับสากลที่นักประดิษฐ์ไทยได้มีโอกาสสร้างรากฐานทางการประดิษฐ์คิดค้นและแสดงศักยภาพด้านความคิดสร้างสรรค์ต่อสาธารณชน และยังได้สร้างเครือข่ายด้านการประดิษฐ์คิดค้นระหว่างประเทศไทยกับองค์กรด้านการประดิษฐ์คิดค้นในซีกโลกตะวันตกด้วย ติดต่อ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) 025612445

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ