WWF เปิดรายงาน Living Planet2012 ประชากรโลกที่เพิ่มขึ้น กระหน่ำบริโภค และ ใช้ทรัพยากร จนเกินกว่าที่โลกจะแบกรับไหว

ข่าวทั่วไป Monday May 21, 2012 16:20 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--21 พ.ค.--WWF Thailand WWF Living Planet ปี2012 รายงานผลการวิจัย พบความต้องการทรัพยากรที่เพิ่มสูงขึ้นทุกวัน จากการเพิ่มขึ้นของประชากรโลกโดยล้วนสร้างแรง กดดันอย่างรุนแรงต่อความหลากหลายทางชีววิทยา และคุกคามความมั่นคงสุขภาพและ ความเป็นอยู่ ที่ดีในอนาคต รายงานผลการวิจัยชั้นนำว่าด้วยสุขภาวะโลกที่จัดทำขึ้นทุก 2 ปีของ WWF นี้จัดทำร่วมกับสมาคมสัตววิทยาแห่งลอนดอน และ Global Footprint Network และมีการ เปิดตัวรายงานผลการวิจัยในวันนี้ จากสถานีอวกาศนานาชาติ โดยอันเดร กุยเปอร์ นักบินอวกาศชาวดัทช์ ที่จะให้ มุมมองอันโดดเด่นเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันของโลก ผ่านภารกิจโครงการอวกาศแห่งยุโรป “เรามีโลกเพียงใบเดียว จากจุดนี้ผมมองเห็นร่องรอยกิจกรรมต่างๆของมนุษยชาติ รวมทั้งไฟป่า มลภาวะ ในอากาศ และการกัดเซาะหน้าดิน ซึ่งเป็นความท้าทายที่ล้วนปรากฏในรายงานการวิจัย The Living Planet ฉบับนี้” กุยเปอร์กล่าวในการเปิดตัวรายงานฉบับนี้ระหว่างภารกิจอวกาศครั้งที่สองของเขา “แม้โลกจะได้รับแรงกดดันจากสิ่งที่ไม่ยั่งยืนเหล่านี้ แต่เรายังสามารถจะกอบกู้บ้านของเราได้ และไม่ได้เกิดประโยชน์ต่อเราเท่านั้น แต่เหนือสิ่งอื่นใด คือเพื่อประโยชน์แก่คนรุ่นหลัง” รายงาน Living Planet ฉบับนี้ ใช้ดัชนี Living Planet ในองค์รวม เพื่อวัดระดับความเปลี่ยนแปลงด้าน สุขภาวะระบบนิเวศวิทยาของโลก ด้วยการติดตามแกะรอยสิ่งมีชีวิต 9000กลุ่มประชากรจากสายพันธฺ์ต่างๆรวม 2600 สายพันธุ์ ดัชนีองค์รวมแสดงให้เห็นว่าสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ต่างๆลดลงเกือบร้อยละ 30 จากปี 1970 โดยพื้นที่ที่ได้ รับผลกระทบหนักที่สุดคือเขตร้อน ซึ่งมีการลดลงของสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ต่างๆถึงร้อยละ 60 ในช่วงเวลาไม่ถึง 40 ปี ไม่เพียงแต่แนวโน้มความหลากหลายทางชีวภาพที่ลดลงเท่านั้น เพราะรอยเท้าทางนิเวศน์ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดหลักที่ใช้ในรายงานฉบับนี้ แสดงให้เห็นว่าความต้องการใช้ทรัพยากรธรรมชาติของเรากลายเป็นการใช้ ทรัพยากร อย่างไม่ยั่งยืน “เราใช้ชีวิตราวกับเรามีโลกสำรองไว้ใช้อีกหนึ่งใบ เราใช้ทรัพยากรเพิ่มขึ้นเกินกว่าร้อยละ 50 ของที่โลก จะสามารถผลิตขึ้นใหม่ได้อย่างยั่งยืน และหากว่าเรายังไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเช่นนี้ ตัวเลขจะเพิ่มขึ้นอย่าง รวดเร็ว และเมื่อถึงปี 2030 ถึงเราจะมีโลกอีกสองใบ ก็ยังไม่พอใช้” จิม ลีปผู้อำนวยการใหญ่ WWF สากลกล่าว รายงานฉบับนี้เน้นย้ำให้เห็นถึงผลกระทบของจำนวนประชากรโลกที่เพิ่มมากขึ้นและการบริโภคที่มากเกิน ไป ในฐานะ แรงผลักดันสำคัญเบื้องหลังความ กดดันที่มีต่อสิ่งแวดล้อม “รายงานฉบับนี้ เปรียบเหมือนการตรวจสุขภาพโลก ซึ่งผลลัพธ์ชี้ให้เห็นว่าโลกของเรากำลังป่วยหนัก” โจนาธาน เบลลี่ ผู้อำนวยการโครงการอนุรักษ์ของสมาคมสัตววิทยาแห่งลอนดอนกล่าว “การละเลยผลการวินิจฉัย จะส่งผลครั้งใหญ่ต่อมนุษย์ เราสามารถฟื้นฟูความสมบูรณ์ของโลกได้ เพียงแต่ว่าต้องจัดการกับรากเหง้าของปัญหาอย่างแท้จริง นั่นคือการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร และการบริโภคที่มากเกินไป รายงานการวิจัยยังเน้นให้เห็นถึงผลกระทบของการขยายตัวของเมือง ที่จะเป็นแรงขับที่ขยายตัวมากขึ้น ภายในปี 2050 คน 2 คน จากทุกๆ 3 คน จะอาศัยในเมือง ดังนั้นมนุษยชาติจึงจำเป็นต้องพัฒนาวิธีการ จัดการทรัพยากรธรรมชาติที่ดีขึ้นกว่าเดิม “เราสามารถสร้างอนาคตอันมั่งคั่ง ที่มีทั้งอาหาร น้ำ และพลังงานสำหรับประชากร 9000 ล้านหรือ หมื่นล้านคนที่จะอยู่ร่วมกันบนโลกในปี 2050” ลีปกล่าว “หนทางแก้ไขปัญหา อยู่ที่การลดขยะ การจัดการน้ำอย่างชาญฉลาด และการใช้แหล่งพลังงานที่ สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ ที่ทั้งสะอาดและมีอยู่เหลือเฟือ เช่น ลมและแสงอาทิตย์ ความแตกต่างของประเทศที่ร่ำรวยและยากจน เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ถูกกล่าวถึงในรายงาน ประเทศที่มีรายได้สูง ทิ้งร่องรอยการคุกคามระบบนิเวศน์ หรือ ร่องรอยทางนิเวศน์ โดยเฉลี่ยสูงกว่าประเทศที่มีรายได้ต่ำถึง 5 เท่า โดย10อันดับประเทศที่ทิ้งร่องรอยทางนิเวศน์เฉลี่ยสูงที่สุดต่อคน ได้แก่ กาต้าร์ คูเวต สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เดนมาร์ค สหรัฐอเมริกา เบลเยี่ยม ออสเตรเลีย แคนาดา เนเธอร์แลนด์ และไอร์แลนด์ แต่หากดูตามดัชนี Living Planet ในองค์รวมแล้ว ประเทศที่มีการถดถอยทางความหลากหลายด้านชีววิทยา อย่างรวดเร็วมากกว่าหากนับจากปี 1970 เป็นต้นมา กลับเป็นประเทศที่มีรายได้น้อย ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ประเทศที่ยากจน และเปราะบางที่สุดนั้น กลับต้องเป็นผู้ชดเชยให้แก่รูปแบบการดำรงชีวิตของประชาชนในประเทศที่ร่ำรวยกว่า ความ สามารถทางชีวภาพ (ความสามารถในการทำให้ทรัพยากรงอกเงยขึ้นมาใหม่ของแต่ละพื้นที่) ที่ลดลง ทำให้ประเทศนั้นๆต้องนำเข้าทรัพยากรที่จำเป็นจากระบบนิเวศน์ต่างถิ่น ซึ่งจะสร้างความเสียหายในระยะยาวแก่ฝ่ายหลัง ข้อมูลจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่11 (2555-2559) ระบุว่าประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่การเปลี่ยนแปลงสภาวะด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยทุนทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมโทรมจากการเพิ่มขึ้นของประชากร การพัฒนาเศรษฐกิจที่มุ่งการเจริญเติบโตและการแข่งขันทางด้านการค้าและการลงทุนซึ่งทำให้มีการใช้ ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติเกินศักยภาพและกระทบต่อความสมดุลของระบบนิเวศพื้นที่ป่าไม้ของประเทศไทยมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 53.3 ในปี2504 เหลือร้อยละ33.6 ในปี2553อยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์ที่จะรักษาสมดุลของระบบนิเวศพื้นที่ป่าต้นน้ำอยู่ในขั้นวิกฤตถึง 14ล้านไร่ส่งผลให้การเกิดอุทกภัยและปัญหาภัยแล้งรวมทั้งการขาดแคลนน้ำมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น แผนพัฒนาฯ ฉบับล่าสุดยังระบุด้วยว่าปัจจุบันประเทศไทยมีปริมาณน้ำต้นทุนเพียง2 ใน3ของความต้องการใช้น้ำเท่านั้น ในขณะเดียวกันการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพก็มีแนวโน้มสูงขึ้นจากกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ ซึ่งสอดคล้องกับผลการรายงานสถานการณ์ทั่วโลกของ WWF “Living Planet Report ฉบับนี้เปิดมิติของการเปรียบเทียบต้นทุนทางธรรมชาติในรูปของรอยเท้านิเวศที่มนุษย์เราเหยียบย่ำและหยิบใช้อย่างไร้ขีดจำกัดต้นทุนที่ไม่ได้ตีค่าแค่เพียงตัวเงินทำให้เราได้ตื่นรู้ว่าทรัพยากรธรรมชาติจากยอดเขาสู่ทะเลซึ่งก่อกำเนิดปัจจัยสี่ข้าวปลาอาหารให้เราได้กินและขายหารายได้นั้นกำลังลดน้อยถอยลงในอัตราเร่งอย่างน่ากังวลรายงานยังฉายภาพสถานการณ์ที่ไม่ต่างกันในระดับโลกหากเรามีโอกาสมองลงมาจากอวกาศได้ความรู้สึกที่คงไม่ต่างกันก็คือทุกชีวิตบนโลกนั้นเกื้อกูลกันเป็นโลกใบเดียวกันในขณะเดียวกันผลกระทบจากวิกฤตในระบบนิเวศก็ไม่มีเขตแดนเส้นแบ่งเลือกปฏิบัติ” พันธ์สิริวินิจจะกูลผู้อำนวยการWWF ประเทศไทยกล่าว“การผลิตและการบริโภคที่เกินกว่าอัตราการผลิตใหม่ของทรัพยากรในปัจจุบันหมายถึงลูกหลานของเรากำลังมีชีวิตอยู่บนความเสี่ยงมากกว่าเราหลายเท่าในเมื่อเราไม่อาจหาโลกอีกใบมาสำรองได้นี่คือจุดเปลี่ยนที่ทุกคนต้องพร้อมใจกันเริ่มเปลี่ยนด้วยกันตั้งแต่วันนี้” รายงาน Living Planet สรุปวิธีการที่จำเป็นไว้หลายข้อเพื่อเปลี่ยนแนวโน้มการลดลงของดัชนี Living Planet และลดกิจกรรมที่ทิ้งร่องรอยทางนิเวศน์ให้ลงไปอยู่ในขีดจำกัดของโลก วิธีการเหล่านี้ถูกจัดไว้ เป็นกิจกรรม ที่ต้องเร่งทำ 16 ประการ ซึ่งรวมถึงการปรับเปลี่ยนรูปแบบการบริโภคให้ดีขึ้น การนำต้นทุนทางธรรมชาติมาคิด รวมกับมูลค่าทางเศรษฐกิจ และการกำหนดกฏหมายและแนวนโยบายในการบริหารจัดการการเข้าถึงอาหาร น้ำ และพลังงานอย่างเป็นธรรม รายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อ เอื้อพันธ์ ชำนาญเอื้อโทร +668 1928 2426email: uchamnanua@wwfgreatermekong เกี่ยวกับ WWF WWF คือหนึ่งในองค์กรเพื่อการอนุรักษ์ที่ได้รับความเชื่อถือมากที่สุด และเป็นอิสระมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก มีผู้ให้การ สนับสนุนมากกว่า 5 ล้านคน และมีเครือข่ายทำงานอยู่ในประเทศต่างๆกว่า 100 ประเทศ พันธกิจของ WWF คือการหยุดการเสื่อมถอยของทรัพยากรธรรมชาติบนโลก และเพื่อสร้างอนาคตที่มนุษย์สามารถอยู่กับธรรมชาติ ได้อย่างกลมเกลียว ด้วยการรักษาความแตกต่างทางชีวภาพของโลก สร้างความเชื่อมั่นว่าการใช้พลังงานที่นำกลับ มาใช้ใหม่ได้ เป็นแนวทางที่ยั่งยืน และเพื่อส่งเสริมการลดมลภาวะรวมทั้งการบริโภคอย่างฟุ่มเฟือย เกี่ยวกับ ZSL ก่อตั้งในปี 1826 สมาคมสัตววิทยาแห่งลอนดอน (ZSL) เป็นองค์กรการกุศลด้านวิทยาศาสตร์ การอนุรักษ์ และการศึกษา บทบาทขององค์กรคือการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์และถิ่นอาศัยของพวกมัน ZSL ดูแลสวนสัตน์ลอนดอน ZSL และสวนสัตว์วิปสเนด ZSL เราทำการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่สถาบันสัตววิทยาและเข้าไปมีส่วนร่วมใน แวดวงอนุรักษ์ในประเทศต่างๆ 50 ประเทศทั่วโลก www.zsl.org เกี่ยวกับ GFN Global Footprint Network ส่งเสริมแนวคิดเศรษฐกิจยั่งยืนด้วยการพัฒนาการใช้รอยเท้าทางนิเวศน์ เป็นเครื่องมือ ในการวัดความยั่งยืน เครือข่ายทำงานร่วมกับพันธมิตรในการจัดทำการวิจัย พัฒนามาตรฐานระเบียบวิธีการ และให้แหล่งข้อมูลที่เที่ยงตรงกับผู้ออกนโยบาย เพื่อช่วยให้การดำเนินเศรษฐกิจของมนุษย์อยู่ภายใต้ข้อจำกัดทาง นิเวศน์วิทยาของโลก www.footprintnetwork.org เกี่ยวกับ ESA องค์การอวกาศแห่งยุโรป (ESA) คือประตูสู่อวกาศของยุโรป พันธกิจขององค์การคือการกำหนดกรอบการพัฒนา ขีดความสามารถทางอวกาศของยุโรป และทำให้แน่ใจว่าการลงทุนด้านอวกาศจะดำเนินต่อไป เพื่อยังผลประโยชน์ มาสู่ประชากรของยุโรป การร่วมมือด้านการเงินและแหล่งองค์ความรู้ต่างๆของชาติสมาชิก ดังนั้นจึงสามารถ ดำเนินกิจกรรมและโครงการต่างๆได้ก้าวไกลกว่าขอบเขตของแต่ละประเทศในยุโรป โครงการต่างๆของทาง องค์การออกแบบมาเพื่อหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโลก สภาพแวดล้อมทางอวกาศในปัจจุบัน ระบบสุริยะ และจักรวาล www.esa.int
แท็ก ชีววิทยา   2012  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ