โรเบิร์ต แคปแลนเตรียมยก BSC มาบรรยายเต็มวันในไทยครั้งแรก กับหัวข้อ "Extending the Balanced Scorecard to meet the New Strategy Alignment Challenges"

ข่าวทั่วไป Wednesday June 9, 2004 12:55 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--9 มิ.ย.--ซีเอส ล็อกซอินโฟ
โรเบิร์ต แคปแลน เจ้าตำรับ Balanced Scorecard เตรียมยก BSC มาบรรยายเต็มวันในไทยครั้งแรก กับหัวข้อ
"Extending the Balanced Scorecard to meet the New Strategy Alignment Challenges"
ศาสตราจารย์ โรเบิร์ต แคปแลน (Professor Robert Kaplan) กูรูด้านการบริหารจัดการชั้นนำระดับโลก หนึ่งในผู้คิดค้น Balanced Scorecard ระบบการจัดการและวัดประเมินผลที่ได้รับความนิยมมากที่สุดแนวหนึ่งในปัจจุบัน พร้อมเดินทางมาบรรยายเต็มวันครั้งแรกในประเทศไทย ในวันพฤหัสบดีที่ 5 สิงหาคม 2547 ณ โรงแรม พลาซ่า แอทธินี ถ.วิทยุ กับการบรรยายหัวข้อ "Extending the Balanced Scorecard to meet the New Strategy Alignment Challenges" หรือ "Balanced Scorecard กับการประยุกต์ใช้ เพื่อเตรียมรับมือกับความท้าทายเชิงกลยุทธ์แนวใหม่"
Balanced Scorecard (BSC) ได้รับการคิดค้นโดย ศ.แคปแลนจาก Harvard Business School และเดวิด นอร์ตัน ปัจจุบัน BSC เป็นเครื่องมือบริหารจัดการและวัดประเมินผลที่ได้รับความนิยมมากและมีการนำไปใช้อย่างแพร่หลายในองค์กรต่างๆของไทย เช่น ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงไทย กลุ่มซีพี เทเลคอมเอเชียหรือ TRUE กลุ่มชินวัตร และองค์กรอื่นๆอีกมากมาย
Balanced Scorecard เป็นทั้งระบบบริหารจัดการและวัดประเมินผลที่เน้นการวัดผลงาน (performance) ซึ่งได้รับการยอมรับและนิยมนำไปใช้ในองค์กรต่างๆทั่วโลก BSC เป็นเครื่องมือที่ทำให้องค์กรสามารถอธิบายวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ของตนได้อย่างชัดเจน และแปรวิสัยทัศน์และกลยุทธ์สู่การปฏิบัติจริง
Balanced Scorecard ได้เข้ามาแก้ปัญหาแนวทางการบริหารจัดการรูปแบบเก่าที่ยังมีจุดด้อยและไม่มีความชัดเจน โดย BSC ได้บอกถึงแนวทางและสิ่งที่บริษัทและองค์กรต่างๆต้องวัดประเมินเพื่อที่จะทำให้เกิดความ "สมดุลย์" (Balance) กับ มุมมองด้านการเงินไว้อย่างชัดเจน
นอกจากนั้น Balanced Scorecard ยังแสดงให้เห็นถึงผลตอบรับ (Feedback) ทั้งจากกระบวนการดำเนินงานภายในองค์กร และผลตอบกลับจากภายนอก เพื่อที่องค์กรจะได้นำข้อมูลที่ได้จากการวัดประเมินผลไปใช้ในการพัฒนาผลงานเชิงกลยุทธ์ต่อไป และหากองค์กรใช้ Balanced Scorecard ในการบริหารจัดการและประเมินผลอย่างเต็มที่แล้ว BSC จะ พลิกโฉมการวางแผนเชิงกลยุทธ์ (Strategic Planning) จาก "แบบฝึกหัดเชิงวิชาการ" ให้กลายเป็น "ศูนย์บัญชาการหลัก" ในการดำเนินธุรกิจขององค์กรเลยทีเดียว
จากการให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์จากประเทศออสเตรเลียของนางสาวทีน่า แคสเมอร์ ผู้อำนวยการโครงการ จากลีดดิ้ง มายส์ ได้กล่าวว่า " พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร ได้เคยจุดประกายความคิดว่า บริษัทและองค์กรต่างๆในประเทศไทยควรจะใช้ระบบการบริหารจัดการแบบมืออาชีพ เพื่อที่จะได้ก้าวสู่ความสำเร็จในระดับโลก และจากการนำทอม ปีเตอร์ส กูรูด้านการจัดการ มาบรรยายในประเทศไทยเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เราพบว่า นักธุรกิจและผู้บริหารของไทย ยังต้องการความรู้จากกูรูระดับโลกอยู่มาก และ Balanced Scorecard ก็เป็นแนวคิดที่ได้รับการยอมรับและนำไปใช้แล้วในองค์กรใหญ่ๆของประเทศไทย เราคาดว่าการบรรยายของ ศ.แคปแลนในครั้งนี้ จะเป็นการบรรยายที่พิเศษและได้รับความสนใจจากผู้บริหารของไทยเป็นอย่างมาก"
การบรรยายในครั้งนี้เกิดขึ้นโดยความร่วมมือของ Leading Minds และพันธมิตรเช่น สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย หอการค้าอเมริกัน เอเชีย บุ๊คส์ ศศินทร์ เดอะเนชั่น บิสสิเนสเดย์ Thai Institute of Director และ Young Entrepreneurs Organization
สำหรับโปรแกรมในการบรรยายครั้งนี้ จะเน้นเนื้อหาที่อยู่ในหนังสือเล่มใหม่ที่ ศ. แคปแลน แต่งร่วมกับ เดวิด นอร์ตัน ที่ชื่อว่า "Strategy Maps: Converting Intangible Assets into Tangible Outcomes" ซึ่งเพิ่งออกวางแผงและติดอันดับหนังสือขายดีแล้ว
ปัจจุบัน นักธุรกิจและผู้บริหารของไทยยังต้องการความรู้เกี่ยวกับ เครื่องมือในการบริหารจัดการและวัดประเมินผลเชิงกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพและได้รับการยอมรับทั่วโลกอย่าง Balanced Scorecard อยู่มาก และการบรรยายเต็มวันครั้งนี้ นับเป็นโอกาสสำคัญที่นักธุรกิจและผู้บริหารของไทยจะได้รับฟังข้อมูล และซักถามพูดคุย จาก ศาสตราจารย์ แคปแลน ผู้คิดค้น Balanced Scorecard ซึ่งจะทำให้ผู้บริหารของไทยได้มุมมองใหม่ๆ เพื่อนำความคิดด้านการวางแผนกลยุทธ์ ไปสู่ การปฏิบัติจริงเพื่อทำให้เกิดผลงานที่ชัดเจนและจับต้องได้มากขึ้น พร้อมทั้งยังได้รับฟังแนวคิดระดับโลกเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการบริหารจัดการองค์กรของไทยให้ก้าวสู่ความเป็นสากลอีกด้วย การบรรยายครั้งนี้จึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรพลาด
สำหรับการบรรยายในครั้งนี้จำกัดจำนวนผู้ฟังไว้ที่ 500 คน โดยเริ่มลงทะเบียนเวลา 8.00 น. และเริ่มการบรรยายภาคเช้า พักรับประทานอาหารกลางวัน และการบรรยายภาคบ่ายจะเสร็จสิ้นเวลา 16.30 น. สำหรับผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดในการลงทะเบียนที่ได้ สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02-7185601-4 หรือ 02-3197675-8 ต่อ 103, 110 หรือทางอีเมล์ที่ admin@tma.or.th หรือในเวบไซต์ที่ www.tma.or.th
ประวัติศาสตราจารย์ โรเบิร์ต แคปแลน (Robert S. Kaplan)
โรเบิร์ต เอส แคปแลน (Robert S. Kaplan) เป็นศาสตราจารย์มาร์วิน โบเวอร์ด้านการพัฒนาความเป็นผู้นำของ Harvard Business School ศาสตราจารย์ แคปแลน เข้าทำงานที่ Harvard Business School ในปี 1984 หลังจากที่ได้ทำงานที่ The Graduate School of Industrial Administration (GSIA) หรือ สถาบันบัณฑิตบริหารอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัย Carnegie-Mellon เป็นเวลา 18 ปีและได้ดำรงตำแหน่งเป็นคณบดีที่ GSIA ตั้งแต่ปี 1977 - 1983 ศาสตราจารย์ แคปแลน จบการศึกษาระดับปริญญาตรีและโทสาขาวิศวกรรมไฟฟ้าจาก M.I.T. และปริญญาเอกสาขา Operations Research จากมหาวิทยาลัย คอร์แนล และในปี 1994 ศาสตราจารย์ แคปแลน ได้รับการมอบปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยสตุ๊ทการ์ท
ด้วยความที่ศาสตราจารย์ แคปแลน เป็นนักวิชาการที่โดดเด่นด้วยแนวคิดที่เป็นเอกลักษณ์ที่เป็นพลวัต เขาจึงได้รับรางวัล Outstanding Accounting Educator Award ในปี 1988 จาก สมาคมการบัญชีอเมริกัน หรือ American Accounting Association (AAA) และรางวัล CIMA จาก The Charted Institute of Management Accountants จากประเทศอังกฤษ ในฐานะที่ได้เป็นผู้ที่ "มีส่วนช่วยเหลือวิชาชีพการบัญชีอย่างโดดเด่น"
จุดสำคัญของงานวิจัย การสอน และการให้คำปรึกษาของ ศาสตราจารย์ แคปแลนมุ่งเน้นในด้านการเชื่อมโยงต้นทุนและระบบการวัดประเมินผลงาน เข้ากับการเพิ่มพูนกลยุทธ์และความสามารถในการจัดการ ศาสตราจารย์แคปแลน เป็นผู้ร่วมคิดค้นและพัฒนาทั้ง Activity-based costing และ The Balanced Scorecard และยังเป็นผู้แต่งหนังสือ และร่วมแต่งหนังสือกับนักวิชาการคนอื่น กว่า 10 เล่ม และเขียนบทความมากกว่า 120 บทความ
หนังสือเล่มล่าสุดของ ศาสตราจารย์ แคปแลน ที่แต่งร่วมกับ David P. Norton ที่เพิ่งออกวางแผงในปี 2004 นี้ก็คือ Strategy Maps: Converting Intangible Assets into Tangible Outcomes (Harvard Business School Press, 2004)
ศาสตราจารย์ แคปแลน ดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษาด้านการออกแบบระบบการประเมินผลงานและการจัดการต้นทุนในบริษัทชั้นนำในอเมริกาเหนือและยุโรปมากมาย นอกจากนั้น เขายังได้เดินทางไป
บรรยายและจัดสัมมนาอีกมากมายทั้งในอเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ ยุโรป ตะวันออกกลาง เอเชีย และ ออสเตรเลีย/นิวซีแลนด์ ปัจจุบัน ศาสตราจารย์ แคปแลน ดำรงตำแหน่งเป็น ประธานและผู้อำนวยการของ Balanced Scorecard Collaborative และเป็นกรรมการด้านการศึกษาของ The Board of Trustees of the Technion ที่สถาบันเทคโนโลยีอิสราเอล
ศาสตราจารย์ แคปแลนได้แต่งหนังสือและเขียนบทความมากมายเช่น
* The Strategy Focused Organization หรือ "องค์กรยอดกลยุทธ์" (HBS Press, 2001) โดยแต่งร่วมกับ David P. Norton
* The Balanced Scorecard: Translating Strategy into Action (HBS Press, 1996) โดยแต่งร่วมกับ David P. Norton
* Cost and Effect: Using Integrated Cost Systems to Drive Profitability and Performance (HBS Press, 1998) โดยแต่งร่วมกับ Robin Cooper
* 'Having Trouble With Your Strategy? Then Map It' ตีพิมพ์ใน Harvard Business Review (กันยายน - ตุลาคม 2000) โดยแต่งร่วมกับ David P. Norton
* The Promise - and Peril of Integrated Cost Systems' ตีพิมพ์ใน Harvard Business Review และ (กรกฎาคม - สิงหาคม, 1998) โดยแต่งร่วมกับ Robin Cooper
* 'Using Balanced Scorecard as a Strategic Management Systems' ตีพิมพ์ใน Harvard Business Review (มกราคม - กุมภาพันธ์, 1996) โดยแต่งร่วมกับ David P. Norton
นอกจากนั้น ศาสตราจารย์ แคปแลน ยังได้แต่งหนังสือร่วมกับผู้อื่นอีกมากมายเช่น Implementing Activity-Based Cost Management: Moving from Analysis to Action, Measures for Manufacturing Excellence, Relevance Lost: The Rise and Fall of Management Accounting และยังมีหนังสือแบบเรียนเกี่ยวกับการจัดการด้านการบัญชีได้แก่ Management Accounting ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 2000 (พิมพ์ครั้งที่ 3 โดย Prentice-Hall), Advanced Management Accounting ตีพิมพ์ในปี 1998 และ Design of Cost Management Systems พิมพ์ครั้งแรกปี 1999 (ปัจจุบัน พิมพ์ครั้งที่ 2)
นอกจากนั้น เขายังร่วมกับ David Norton และ HBS Publishing จัดทำซีดีรอมตัวใหม่แบบอินเตอร์แอคทีฟที่ชื่อว่า Balancing the Corporate Scorecard และในปี 1994 ฝ่ายจัดการการผลิตของ HBS ได้ออกวีดีโอเทปเป็นซีรีส์จำนวน 4 ตอนในชื่อว่า Measuring Corporate Performance ซึ่งนำเสนอมุมมองและประสบการณ์ของบริษัทต่างๆ ในการใช้ Activity-Based Cost Management และ The Balanced Scorecard
ข้อมูลโดยย่อของ Leading Minds
Leading Minds เป็นแผนกหนึ่งของ Institute for International Research (IIR) หรือสถาบันเพื่อการวิจัยนานาชาติ ซึ่งเป็นบริษัทข้อมูลทางธุรกิจชั้นนำของโลก IIR เป็นบริษัทอิสระที่มีเครือข่ายสำนักงานอยู่กว่า 35 ประเทศทั่วโลก โดย IIR ก่อตั้งขึ้นในปี 1973 และได้เติบโตและพัฒนาอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นบริษัทด้านการจัดประชุมรวมถึงจัดกิจกรรมในการฝึกอบรมและจัดนิทรรศการที่ใหญ่ที่สุดของโลก สำนักงานใหญ่ของ IIR ตั้งอยู่ที่ นิวยอร์ค ลอนดอน แฟรงเฟิร์ต สตอคโฮล์ม ซิดนีย์ โยฮัสเนสเบิร์ก มาดริด และ บัวโนส อายเรส โดยมีเวบไซต์คือ www.iir-global.com
Leading Minds เป็นผู้เชี่ยวชาญในการจัดงานพับลิคอีเวนท์ต่างๆ ทั่วโลก โดยมี The Leading Minds เป็นผู้ให้การสนับสนุน สำหรับผู้บรรยายที่ร่วมบรรยายในงานอีเวนท์ของ Leading Minds นั้น ส่วนใหญ่จะมีผู้ที่มีชื่อเสียงที่มีผู้ติดตามผลงานจากหนังสือหรือสื่ออื่นๆอยู่แล้ว ตัวอย่างวิทยากรที่เคยบรรยายในงานสัมมนาของ Leading Minds นั้น ได้แก่ ทอม ปีเตอร์, แกรี่ย์ ฮาเมล, โรเบิร์ต แคพลาน, ฟิลิป โคทเลอร์, เดฟ อัลริช, เอ็ดเวิร์ด เดอร์ โบโน, แจ๊ค เทราต์, แดเนียล โกลแมน, อัล รียส์, นิโคลัส นิโกรพอนท์, ดอน แทบสก็อต และ ไมเคิล พอร์เตอร์ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นนักพูดที่มีชื่อเสียงทั้งสิ้น Leading Minds เป็นบริษัทที่มีเครือข่ายโยงใยทั่วโลก และมีการจัดงานหรือกิจกรรมที่สำคัญในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค ยุโรป และ แอฟริกา โดยวิทยากรของ Leading Minds นั้นมักจะเป็นนักพูดที่มีชื่อเสียงและได้แต่งหนังสือซึ่งได้รับความนิยมจากคนอ่านมากอยู่แล้ว Leading Minds ทุ่มเทกับการจัดกิจกรรมทุกครั้งโดยการคัดสรรแต่นักพูดชั้นเยี่ยมเพื่อให้ผู้บริหารที่เข้ารับฟังการบรรยายได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ ในการจัดงานทุกครั้งบริษัทมุ่งหวังให้ทั้งผู้พูดและผู้ฟังได้รับประสบการณ์ที่คุ้มค่าและน่าจดจำไปตลอด ตั้งแต่ปี 1999 เป็นต้นมา บริษัทได้จัดงานอีเวนท์กว่า 200 งานและในปี 2004 นี้ บริษัทได้เตรียมกิจกรรมที่น่าสนใจไว้แล้วมากมาย
ในการสัมมนาแต่ละครั้ง เป้าหมายหลักของ Leading Minds จะมุ่งเน้นให้ผู้ฟัง "คิดออกจากกรอบ" และสำหรับการโปรโมตและวางแผนการตลาดของแต่ละอีเวนท์นั้น บริษัทจะให้ความสำคัญกับข้อมูล เชิงลึกของตลาดท้องถิ่นควบคู่ไปกับความชำนาญของ GURU หรือ วิทยากรของ Leading Minds นอกจากนั้น ความพยายามและความทุ่มเทในการทำงานของฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ของบริษัทก็สะท้อนให้เห็นถึงความตั้งใจในการทำงานอย่างเต็มที่เพื่อที่จะสร้างสรรค์งานอีเวนท์ที่จะอยู่ในความทรงจำของผู้ร่วมงานตลอดไป
ในการจัดงานอีเวนท์ที่มีเอกลักษณ์และมีราคาสูงในแต่ละครั้งของนั้น Leading Minds ได้เสนอโอกาสทางธุรกิจให้บริษัทชั้นนำระดับโลกที่ผ่านการคัดสรรเป็นอย่างดี ซึ่งมีความสนใจในการสื่อสารกับผู้ฟังระดับบนในแนวทางใหม่ที่มีเอกลักษณ์และแตกต่างจากการโฆษณา การจัดงาน และกลุ่มลูกค้าที่มีมาตรฐานทั่วๆไป
ข้อมูลทั่วไปของ คุณทีน่า แคสเมอร์ - ผู้จัดการภาคพื้นเอเชีย แปซิฟิค ลีดดิ้ง มายส์
ในการจัดงานสัมมนาสำคัญๆในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิคแต่ละครั้ง ทีน่ารับผิดชอบงานในส่วนของฝ่ายผลิตและฝ่ายจัดการงานสัมมนาระดับผู้บริหารซึ่งวิทยากรที่บรรยายล้วนแล้วแต่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ และ เป็นผู้นำทางความคิดด้านธุรกิจที่มีชื่อเสียงระดับโลกซึ่งเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ก่อนที่จะร่วมงานกับ ลีดดิ้ง มายส์ ทีน่าเคยเป็นหัวหน้าฝ่ายการตลาดของ IIR Conference ในประเทศออสเตรเลีย และเป็นหนึ่งในสมาชิกรุ่นแรกของ IIR Conference ที่นำทีมเปิดตลาดในยุโรป ทีน่าจบการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านพาณิชยศาสตร์ (เอกการตลาดและการจัดการ) จากมหาวิทยาลัย นิว เซาท์ เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย และมีประสบการณ์กว้างขวางทางด้านการจัดอีเวนท์ และธุรกิจท่องเที่ยว
ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับ Balanced Scorecard
Balanced Scorecard เป็นระบบการจัดการแบบมุ่งผลงาน (Performance Based Management) รูปแบบใหม่ ซึ่งคิดค้นโดย Professor Robert Kaplan อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัย Harvard และ Dr. David Norton ที่ปรึกษาทางด้านการจัดการ โดยทั้งสองคนได้มีการศึกษาและสำรวจถึงสาเหตุของการที่ตลาดหุ้นของอเมริกาประสบปัญหาในปี 1987 และพบว่าองค์กรส่วนใหญ่ในอเมริกานิยมใช้แต่ตัวชี้วัดทางด้านการเงินเป็นหลัก Kaplan และ Norton มองเห็นจุดอ่อนและข้อเสียของการใช้ระบบการจัดการแบบดั้งเดิม จึงได้เสนอแนวคิดที่ชัดเจนในเรื่องของการวัดผลงานขององค์กรโดยแทนที่จะพิจารณาเฉพาะตัวชี้วัดทางด้านการเงิน (Financial Indicators) เพียงอย่างเดียว ทั้งสองเสนอว่าองค์กรควรจะพิจารณาตัวชี้วัดใน 4 มุมมอง (Perspective) เพื่อทำให้การบริหารจัดการและการวัดผลงานเกิดความสมดุลย์ (balance) โดยมุมมองดังกล่าวได้แก่
1. มุมมองด้านการเงิน (Financial Perspective)
2. มุมมองด้านลูกค้า (Customer Perspective)
3. มุมมองด้านกระบวนการภายใน (Internal Process)
4. มุมมองด้านการเรียนรู้และการพัฒนา (Learning and Growth Perspective)
Kaplan และ Norton กล่าวถึงการคิดค้น Balanced Scorecard ไว้ดังนี้
"Balanced Scorecard ยังคงใช้การวัดผลด้านการเงินแบบดั้งเดิมอยู่ แต่การวัดผลด้านการเงินจะบอกถึงเรื่องราวและเหตุการณ์ที่ผ่านมาแล้วเท่านั้น ซึ่งข้อมูลที่ได้ก็อาจจะเพียงพอสำหรับบริษัทในยุคอุตสาหกรรมซึ่งยังไม่ได้นำแนวคิดเรื่องการลงทุนในการพัฒนาความสามารถระยะยาว และความสัมพันธ์กับลูกค้า มาพิจารณาเพื่อใช้เป็นแนวทางสู่ความสำเร็จ อย่างไรก็ตาม สำหรับบริษัทในยุคข่าวสารข้อมูลแล้ว การใช้การวัดผลด้านการเงินนั้น ไม่เพียงพอที่จะใช้ประเมินและใช้เป็นแนวทางในการสร้างคุณค่าในอนาคตที่ได้จากการลงทุนในด้านลูกค้า ซัพพลายเออร์ พนักงาน กระบวนการ เทคโนโลยี และ นวัตกรรม"
Kaplan และ Norton ได้ตีพิมพ์ผลงานของตนเองครั้งแรกในวารสาร Harvard Business Review ในปี 1992 จากจุดนั้นเป็นต้นมา ทำให้แนวคิดทางด้าน Balanced Scorecard เป็นที่นิยมและใช้กันอย่างแพร่หลายในองค์กรต่างๆทั่วโลกจนวารสาร Harvard Business Review ได้ยกย่องให้เป็นหนึ่งในเครื่องมือทางด้านการจัดการที่มีผลกระทบต่อองค์กรธุรกิจมากที่สุดเครื่องมือหนึ่งในรอบ 75 ปี
เนื่องจากแนวคิด Balanced Scorecard เป็นแนวคิดที่เริ่มเป็นที่รู้จักและใช้กันอย่างแพร่หลายตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 1990 ทำให้หลักการและแนวคิดของ Balanced Scorecard ได้รับการวิวัฒนาการและพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง โดยครั้งแรกที่ Kaplan และ Norton นำเสนอแนวคิดนี้ใน Harvard Business Review เป็นการนำเสนอแนวคิดที่ช่วยในการประเมินผลองค์กรและนำเสนอข้อมูลหรือรายงานให้ผู้บริหาร โดยอาศัยมุมมองอื่นๆ ที่มากกว่ามุมมองทางด้านการเงิน จนกระทั่งในปี 1996 ทั้งสองไปร่วมกันเขียนหนังสือ Balanced Scorecard ขึ้นมา โดยมุ่งเน้นการใช้ Balanced Scorecard เป็นเครื่องมือในการสื่อสารกลยุทธ์ และทำให้เกิดความสอดคล้องเป็นหนึ่งเดียวกันทั่วทั้งบริษัท ปัจจุบันหนังสือเล่มนี้ได้กลายเป็นหนังสือทางธุรกิจที่ขายที่สุดเล่มหนึ่งของ www.amazon.com และมีการแปลเป็นภาษาต่างๆมากมาย
และเนื่องจากมีการนำแนวคิดด้าน Balanced Scorecard ไปใช้อย่างแพร่หลายทั้งในองค์กรธุรกิจและหน่วยงานของรัฐ ทำให้หลักการของแนวคิดนี้ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จนในปี 2000 Kaplan และ Norton ได้ร่วมกันเขียนหนังสืออีกเล่มชื่อ The Strategy-Focus Organization โดยในปัจจุบัน Balanced Scorecard ได้พัฒนามากกว่าเป็นเพียงแค่ระบบในการประเมินผลองค์กรเท่านั้น แต่ได้กลายเป็นเครื่องมือในการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติและเครื่องมือในการบริหารที่ช่วยทำให้องค์กรมุ่งเน้นและให้ความสำคัญกับกลยุทธ์มากขึ้น เพราะ Balanced Scorecard มีรูปแบบและวิธีการที่ช่วยในการถ่ายทอดทิศทางขององค์กร กลยุทธ์ และเป้าหมาย ลงสู่การปฏิบัติเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือที่ดีในการสื่อสารทั้งกลยุทธ์และผลงานสู่พนักงานทุกระดับในองค์กร อันจะนำไปสู่การพัฒนาผลงานอย่างต่อเนื่อง
บรรณานุกรม
ดร. พสุ เดชะรินทร์ เส้นทางจากกลยุทธ์สู่การปฏิบัติด้วย Balanced Scorecard และ Key Performance Indicators, โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
EVENT PROGRAMME - โปรแกรมการบรรยายวันที่ 5 สิงหาคม 2547
8:00 Registration
9.00 Welcome and opening remarks from Leading Minds & Chairperson
9:15 Robert Kaplan - I
The Evolution (Revolution) of the Balanced Scorecard: Creating the Strategy-Focused
Organisation
- The Balanced Scorecard from 1992 to 2004: from performance measurement to a
performance management for strategy implementation
- The Balanced Scorecard Hall of Fame
- How Hall of Fame organisations achieved breakthrough performance: The Five Principles
to Become a Strategy-Focused Organisation
I. Mobilise Executive Leadership for the Change Agenda
- Create the case for change
- Gain commitment of executive team
- Define the strategy for future value creation
II. Develop Strategy Maps and Balanced Scorecards that Communicates Your Strategy
- Financial: Balancing priorities between short-term cost reductions and long-term
revenue growth opportunities
- Customer: Selecting objectives based on your differentiating value proposition.
Customer objectives for four generic strategies
- Best Total Cost
- Product Leadership
- Complete Customer Solutions
- System Lock-in
10:30 Morning tea
10:50 Robert Kaplan - II
Develop Strategy Maps and Balanced Scorecards (cont.)
- Internal Processes: Developing detailed strategic objectives organised by cluster
of four internal processes
- Operations Management
- Customer Management
- Innovation
- Regulatory and Social
- Learning & Growth: Aligning intangible assets to key strategic processes
- Human capital: the role of strategic job families
- Information capital: selecting the strategic IT applications portfolio
- Organisation capital: culture, leadership, alignment, teamwork and knowledge management
- Complete strategy map templates for the four distinct value-creating strategies
- Adapting the Balanced Scorecard to government and non-profit organisations
- Avoiding the pitfalls of key performance indicator (KPI) scorecards
12.30 Lunch
1.45 Robert Kaplan - III
III. Align the Organisation to the Strategy
- Corporate to business units
- Business units to shared services
- Human resources and IT scorecards
IV. Make Strategy Everyone's Everyday Job
- Communication and education
- Aligning employees' personal objectives to strategy
- Linking reward and recognition to performance
V. Make Strategy a Continual Process:
- Integrate Target-setting, Strategic Planning and Budgeting
- Align resource allocation and strategic initiatives
3.15 Afternoon tea
3.35 Robert Kaplan - IV
V. Make Strategy a Continual Process (continued):
- The new management report: using Balanced Scorecard software
- The new management meeting: double-loop learning for testing and adapting the strategy
- The new governance system: using the BSC with Boards of Directors and for communicating
with investors and analysts
Managing the Transformation Process
- Mobilisation Phase: Launching the project
- Alignment Phase: Developing the strategy maps and scorecards
- Sustaining Phase: Motivating and Governing
- The key role for the BSC project leader over the BSC project life cycle: from missionary to consultant to chief of staff
- Creating a Centre of Excellence for Strategy Management
- Pitfalls and landmines
5.00 Closing statement
End of seminar
REGISTER AND PAY BEFORE 2 JULY 2004 FOR A SIGNED COPY OF THE NEW STRATEGY MAPS BOOK!--จบ--
-นท-

แท็ก ESSO  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ