กรุงเทพฯ--29 พ.ค.--บลจ.ฟินันซ่า
นายธีรพันธุ์ จิตตาลาน กรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ฟินันซ่า จำกัด เผยจากปัญหาหนี้ยุโรปทำให้สินทรัพย์เสี่ยงยังไม่น่าในใจในช่วงนี้ และยังส่งผลกระทบถึงตลาดหุ้นไทยฉุดให้ดัชนีลดลงในช่วงที่ผ่านมา แนะนำให้รอดูสถานการณ์โดยลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นเพื่อพักเงินไว้ก่อนเพื่อรอลงทุนเมื่อสถานการณ์คลายตัวลง กองทุนเปิดฟินันซ่าตราสารหนี้พลัส โรล โอเวอร์ 6เดือน3 (FAM FIPR 6M3) จะเปิดเสนอขายครั้งแรก (ไอพีโอ) ตั้งแต่ 25 พฤษภาคม — 6 มิถุนายน 2555 นี้ ด้วยประมาณการผลตอบแทนที่ 3.37% ต่อปีสำหรับการลงทุน 6 เดือนแรก โดยสามารถลงทุนขั้นต่ำเพียง 2,000 บาท นักลงทุนสามารถใช้ช่องทางการลงทุนใหม่ล่าสุดของบริษัทโดยซื้อกองทุนผ่านระบบอินเตอร์เนตได้ที่ศูนย์บริการเคทีซี ทัช 14 สาขา สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 02 352-4050
FAM FIPR 6M3 เป็น specific fund หรือกองทุนรวมตราสารแห่งหนี้ที่มีการกระจายการลงทุนน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐาน มีนโยบายที่จะลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งหนี้ที่มีความสามารถในการชำระดอกเบี้ยและเงินต้น โดยกองทุนจะพิจารณาลงทุนในตราสารแห่งหนี้ ตราสารทางการเงิน และ/หรือ เงินฝาก ของภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหรือผู้ออกตราสารอยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (Investment Grade) โดยในครั้งนี้เราจะลงทุนในเงินฝากธนาคารต่างประเทศ สกุลเงิน USD หรือ CNY กับธนาคาร BOC, Macao หรือธนาคาร CIMB Niaga, Indonesia (Baa3) หรือเงินฝากสกุลเงิน AED ธนาคาร Abu Dhabi Commercial Bank, UAE (F1), ตั๋วเงินหรือเงินฝากธนาคารพาณิชย์ในประเทศ, เงินฝาก AED ธนาคาร Union National Bank, UAE (P-1), ตราสารหนี้ บมจ.เอเซียเสริมกิจลีสซิ่ง (BBB+), ตราสารหนี้, ตั๋วแลกเงิน/หรือหุ้นกู้บริษัทเอกชนที่อยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ ตั๋วเงินคลัง หรือ พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย
เราจะเปิดให้มีการซื้อและขายคืนหน่วยลงทุน ทุก ๆ 6 เดือนโดยประมาณ นับตั้งแต่วันจดทะเบียนกองทรัพย์สินเป็นกองทุนรวม กองทุนนี้เหมาะสำหรับผู้ลงทุนที่ต้องการลงทุนระยะสั้นในตราสารหนี้ภาครัฐและภาคเอกชนและ/หรือ เงินฝาก ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และมีโอกาสรับผลตอบแทนที่สูงกว่าเงินฝากธนาคาร ในระยะเวลานานประมาณ 6 เดือนสำหรับการลงทุนแต่ละรอบ กองทุนมีการลงทุนในต่างประเทศซึ่งเราจะทำการการป้องความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน
สำหรับรอบการลงทุนของการสั่งซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก (IPO)
อัตราผลตอบแทนโดยประมาณเท่ากับ 3.37% ต่อปี ซึ่งคำนวณจากการลงทุน สำหรับรอบระยะเวลาประมาณ 6 เดือน
ตราสารที่ลงทุน ผลตอบแทนของตราสารในรูปสกุลเงินบาทโดยประมาณ (ต่อปี) สัดส่วนการลงทุนโดยประมาณ ผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุนในรูปสกุลเงินบาทโดยประมาณ (ต่อปี) ระยะเวลาการลงทุนโดยประมาณ
เงินฝากธนาคารต่างประเทศ สกุลเงินUSD หรือ CNY กับธนาคาร BOC, Macao,หรือธนาคาร CIMB Niaga,Indonesia(Baa3)หรือเงินฝากสกุลเงิน AED ธนาคาร Abu Dhabi Commercial Bank, UAE (F1) , ตั๋วเงินหรือเงินฝากธนาคารพาณิชย์ในประเทศ** 3.90%* 24.00% 0.93% 6 เดือน
เงินฝากAED ธนาคาร Union National Bank,UAE(P-1)* 3.55% 20.00% 0.71% 6 เดือน
ตราสารหนี้บมจ.เอเซียเสริมกิจลีสซิ่ง (BBB+)*** 3.63% 24.00% 0.87% 6 เดือน
ตราสารหนี้,ตั๋วแลกเงิน/หรือหุ้นกู้บริษัทเอกชนที่อยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้(Inv.Grade)*** 3.48% 30.00% 1.04% 6 เดือน
ตั๋วเงินคลัง หรือ พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย 3.10% 2.00% 0.06% 6 เดือน
ประมาณการค่าใช้จ่ายกองทุน (ต่อปี) (0.24%)
อัตรารับซื้อคืนโดยประมาณ (ต่อปี) 3.37%
หมายเหตุ:
- *Banco Do Brazil, Brazil (BBB+),GS Caltex, Korea(A2) โดยอัตราผลตอบแทนที่เสนอโดยผู้ออกตราสารและมีการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงิน USD หรือ CNY หรือ AED เป็นเงินบาทแล้ว(ข้อมูล ณ วันที่ 24 พฤษภาคม 2555)
- ** เงินฝากธนาคารออมสิน หรือ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ หรือ ตั๋วเงิน หรือ หุ้นกู้ ธนาคารเกียรตินาคิน,ธนาคารไอซีบีซี(ไทย), ธนาคารทิสโก้,ธนาคารทหารไทย,ธนาคารไทยเครดิต เพื่อรายย่อย,ธนาคารกรุงไทย,บริษัททุนธนชาต,ธนาคารแลนด์แอนด์เฮาส์ เป็นต้น (ข้อมูล ณ วันที่ 24 พฤษภาคม 2555 )
- *** ตั๋วแลกเงินหรือหุ้นกู้ เช่น หุ้นกู้ธนาคาร กรุงศรีอยุธยา ,ธนาคารกรุงไทย ,ธนาคารเกียรตินาคิน , บมจ.ดั๊บเบิ้ล เอ (1991)(BBB),บมจ.บัตรกรุงไทย (BBB+),บมจ.เอเซียเสริมกิจลีสซิ่ง (BBB+), บมจ.แสนสิริ (BBB+),บมจ.เอสซี เอสเซท (BBB+),บมจ.แลนด์ แอนด์เฮ้าส์ (A),บมจ.เอเชียน พร็อพเพอร์ตี ดีเวลล็อปเมนต์ (A),บมจ. ศุภาลัย (A-),บมจ.ภัทรลีสซิ่ง (A-),บมจ.ควอลิตี้เฮ้าส์ (A-),บมจ.สวนอุตสาหกรรมโรจนะ(A-),บมจ.อยุธยา แคปปิตอล ออโต้ลิส (A+),บมจ.พฤกษา(A),Banco Bradesco ,Brazil(P-2)* ได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือของผู้ออกตราสารอยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (Investment Grade)
- หากไม่สามารถลงทุนให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้เนื่องจากสภาวะตลาดมีการเปลี่ยนแปลงไป หรือผลการประมูลของตราสารไม่เป็นไปตามที่กำหนด ผู้ถือหน่วยลงทุนอาจไม่ได้รับผลตอบแทนตามอัตราที่ประมาณการไว้
- ทั้งนี้ ตราสารที่ลงทุน สัดส่วนการลงทุน และประมาณการค่าใช้จ่าย อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ หากสภาวะตลาดมีการเปลี่ยนแปลงไป หรือตามที่บริษัทจัดการเห็นสมควร
- กองทุนจะถือทรัพย์สินที่ลงทุนตลอดรอบการลงทุนแต่ละรอบ 6 เดือนโดยประมาณ หากผู้ถือหน่วยไม่ส่งคำสั่งขายคืนหน่วยลงทุนมาภายในวันและเวลาที่กำหนดในการเปิดรับซื้อคืนหน่วยลงทุน บริษัทจัดการจะถือว่าผู้ถือหน่วยลงทุนประสงค์ที่จะลงทุนต่อไปในรอบการลงทุนถัดไป บริษัทจัดการสงวนสิทธิที่จะเปลี่ยนแปลงตราสารที่ลงทุน สัดส่วนการลงทุนและประมาณการค่าใช้จ่าย สำหรับการลงทุนในแต่ละรอบทุก 6 เดือนโดยประมาณ โดยไม่ถือเป็นการแก้ไขโครงการ โดยจะแจ้งรายละเอียดการลงทุนดังกล่าว ในหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปและหรือเว็บไซด์ของบริษัทจัดการ ให้ผู้ลงทุนทราบล่วงหน้า
- การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน
- การลงทุนในหน่วยลงทุนมิใช่การฝากเงิน และมีความเสี่ยงของการลงทุน ผู้ลงทุนควรลงทุนในกองทุนเปิดฟินันซ่าตราสารหนี้พลัสโรล โอเวอร์ 6เดือน3 เมื่อเห็นว่าการลงทุนในกองทุนนี้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์การลงทุนของตนและผู้ลงทุนยอมรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการลงทุนได้
- ในกรณีที่มีเหตุการณ์ไม่ปกติ ผู้ลงทุนอาจได้รับชำระเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุนล่าช้ากว่าระยะเวลาที่กำหนดไว้ในหนังสือชี้ชวน
- ในกรณีที่กองทุนนี้ไม่สามารถดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องได้ ผู้ลงทุนอาจไม่สามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้ตามที่มีคำสั่งไว้
- เนื่องจากกองทุนนี้ลงทุนในต่างประเทศบางส่วน จึงมีความเสี่ยงที่ทางการของต่างประเทศอาจออกมาตรการในภาวะที่เกิดวิกฤตการณ์ไม่ปกติ ทำให้กองทุนไม่สามารถนำเงินกลับเข้ามาในประเทศ ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้ลงทุนไม่ได้รับคืนเงินตามระยะเวลาที่กำหนด
- กองทุนนี้มีความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมของประเทศที่กองทุนไปลงทุน ผู้ลงทุนควรศึกษาถึงปัจจัยต่างๆ ที่อาจมีผลกระทบอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจลงทุน
- กองทุนจะทำการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน (Fully Hedged)
- ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลในหนังสือชี้ชวนให้เข้าใจและควรเก็บหนังสือชี้ชวนไว้เป็นข้อมูลเพื่อใช้อ้างอิงในอนาคต และเมื่อมีข้อสงสัย ให้สอบถามผู้ติดต่อกับผู้ลงทุนให้เข้าใจก่อนซื้อหน่วยลงทุน