กรุงเทพฯ--30 พ.ค.--กรมโรงงานอุตสาหกรรม
นายอธิคม เติบศิริ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทฯ และกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ได้ร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Industrial Development) สำหรับพื้นที่เขตประการอุตสาหกรรม ไออาร์พีซี ซึ่งจัดตั้งอยู่ ณ จังหวัดระยอง ทั้งนี้ เพื่อนำแนวคิดการพัฒนาด้วยรูปแบบ Eco Concept ที่ตระหนักถึงงค์ประกอบไตรภาค ได้แก่ เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ในห้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ในความร่วมือครั้งนี้เป็นกรณีศึกษาต้นแบบสำหรับนักลงทุนที่ต้องการจะลงทุนให้นิคมอุตสาหกรรมภายในจังหวัดระยองต่อไป
การพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco — Industry) คือ การพัฒนาที่สร้างความสมดุลทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นหัวใจที่ทำให้อุตสาหกรรมอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างยั่งยืน โดยการบูรณาการแบบสามสามัคคี (ไตรภาค) นี้ ต้องมีอีก 2 มิติ ได้แก่ มิติทางด้ายกาบภาพ และมิติทางด้านการบริหารจัดการเป็นปัจจัยเสริมเพื่อความสมบูรณ์และครบถ้วนด้วย โดยโรงงานต่างๆ ในพื้นที่ฯ จะต้องทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด หรือไม่มีการปล่อยมลพิษ (Zero Emission) ทำให้เกิดการลดทอนหรือการแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ (End of Pipe) โรงงานต่างๆ ต้องร่วมมือกันในการใช้ทรัพยากร การใช้พลังงาน แลกเปลี่ยนของเสีย ฯลฯ ทั้งในและนอกพื้นที่ฯ และต้องสร้างพื้นที่ของการใช้วัสดุหมุนเวียน (Material — cycling Society)โรงงานต่างๆ ต้องสร้างเครือข่ายความร่วมมือโดยชุมชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรและพัฒนาพื้นที่
นายอธิคม กล่าวต่ออีว่า การพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศนี้ ก่อให้เกิดคุณประโยชน์ 2 ต่อ ขั้นแรกจะสามารถประหยัดดทรัพยากร ลดค่าใช้จ่าย ลดการใช้วัตถุดิบ ลดปัญหามลพิษและของเสีย ด้วยการใช้หลักการ 3R การเพิ่มประสิทธิภาพารใช้ทรัพยากรและพลังงาน ช่วยลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มมูลค่าให้กัสินค้าและบริการ รวมทั้งเป็นการเปิดโอกาสในการขยายตลาดตามคุณภาพของสินค้าและบริการ สร้างโอกาสในการขยายฐานการผลิตสินค้าและยริการใหม่ สร้างภาพลักษณ์ของอุตสาหกรรมได้รับจากชุมชนโดยรอบ และได้รับความเชื่อถือทางด้านสิ่งแวดล้อมละกฏหมาย ร่วมทั้งประสิทธิภาพการทำงานของบุคลากรจะเพิ่มขึ้นด้วย
ประโยชน์ต่อที่สอง คือ ประโยชน์แก่สังคมและภาพรวมของการพัฒนาประเทศในการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรและพลังงาน ทำให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ นำไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนและเกิดการพึ่งพาระหว่างอุตสาหกรรม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล ลดปัญหาข้อจัดแย้งระหว่างชุมชนกับอุตสาหกรรมเรื่องการก่อมลพิษ ลดปัญหาการอพยพย้านถิ่นของแรงงานเข้าเมือง ชุมชนมีอากสในการสร้างและขยายเศรษฐกิจของชุมชน คุณภาพชีวิตและสถาพแวดล้อมดีขึ้น เพิ่มโอกาสในการศึกษาและประกอบอาชีพ